The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563

บทนำสู่"โมริยะ"รัฐที่สาบสูญในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Introduction to The Moriya, the lost state in Buddhaphumi's Philosophy

 บทนำ 

          ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับอาณาจักรโมริยะถือว่าเป็นปัญหาอภิปรัชญาเรื่องหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง ตามหลักวิชาการปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด    ก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  มัลละเป็นรัฐเล็กๆตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณที่เริ่มต้นจากพระนครกบิลพัสดุ์แห่งรัฐสักกะ    ผ่านพระนครเทวทหะ แห่งรัฐโกลิยะ พระนครพาราณสีแห่งรัฐกาสี   เมื่อพระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน  ซึ่งเป็นอุทยานแห่งมัลละกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครกุสินารา เมืองหลวงแห่งรัฐมัลละ หลังจากที่มัลละกษัตริย์ทรงประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพของพระศากยมุนีพุทธเจ้า  โดยมีกษัตริย์มัลละเป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถือว่าเป็นงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพของศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น เพราะมีผู้มาร่วมงานหลายล้านคนหลังจากพระราชทานเพลิงพระบรมศพของศากยมุนีพุทธเจ้าผ่านไป  ในวันที่ ๘ กษัตริย์มัลละได้เก็บพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าเพื่อบรรจุไว้ในสถูป เพื่อให้ชาวพระนครกุสินาราได้กราบไหว้บบูชาแต่กษัตริย์เจ้าเมืองทั้ง ๘ รัฐได้ยกทัพมาขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุและมัลละกษัตริย์ทรงได้แบ่งปันพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้กับเจ้าเมืองทั้ง ๘ รัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว     ต่อมามีกษัตริย์โมลิยะแห่งพระนครปิปผลิวัน  ทรงส่งคณะทูตที่มีถิ่นพำนักในพระนครปิปผลิวันไปยังพระนครกุสินารา  เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุโดยอ้างว่าพวกเขาอยู่ในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ควรได้รับส่วนแบ่งของพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุไว้ในสถูปเพื่อให้ชาวเมืองปิปผลิวันได้เฉลิมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ  และปฏิบัติบูชาเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า   แต่เมื่อมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปทั้งหมดเหลือแต่พระอังคาร(เถ้าของศากยมุนีพุทธเจ้ากษัตริย์มัลละ จึงมอบให้แก่คณะทูตของกษัตริย์โมลิยะไป 

      เมือผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงจากพระไตรปิฎกข้างต้นผู้เขียนสงสัยว่าพระนครปิปผลิวัน เมืองหลวงของรัฐโมลิยะตั้งอยู่ที่ไหนในอนุทวีป       เมื่อผู้เขียนได้ค้นคว้าหาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ  พบข้อความในพระไตรปิฎกเล่มที่เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตรข้อ ๒๓๘. วรรค๔ กล่าวว่า พวกเจ้าโมริยะผู้ครองกรุงปิปผลิวันได้ทรงสดับว่า "พระผูมีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปถึง"พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์    แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสาริกธาตุและทำการฉลอง"พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราตอบว่า"(บัดนี้ไม่มีส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุพระบรมสารีริกธาตุได้แบ่งกันหมดแล้ว พวกท่านจงนำเอาพระอังคาร(เถ้า)ไปจากที่นี้เถิด"   พวกทูตเหล่านั้นจึงนำเอาพระอังคารไปจากที่นั้นและข้อ๒๓๙".......พวกเจ้าโมริยะผู้ครองกรุงปิปผลิวัน ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระอังคารและทำการฉลองในกรุงปิปผลิวัน" 

    

     แม้จะมีข้อความในพระไตรปิฎของมหาจุฬาเป็นหลักฐานยืนยันความจริงว่าพระนครปิปผลิวันเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรโมริยะ มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยเพิ่มเติมอีกว่าราชอาณาจักรแห่งนี้ ตั้งอยู่ ณ.ที่แห่งใด ที่ผู้เขียนหรือนักวิชาการทางพุทธศาสนา นักโบราณ และนักประวัติศาสตร์ ค้นหาหลักฐานสำคัญของสถานที่ตั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร (เถ้าของพระพุทธเจ้าที่กษัตริย์แห่งโมริยะได้รับส่วนแบ่งจากเจ้ามัลละกษัตริย์แห่งพระนครกสินารา เมื่อได้หลักฐานชัดเจนว่าเป็นสถูปจริงก็เป็นหลักฐานยืนยันความจริงต่อไปอีกว่าสถานที่ตั้งของพระสถูปพระอังคารนั้น เป็นสถานที่ตั้งของพระนครปิปผลิวันแห่งราชอาณาจักรโมริยะชัดเจนมั่นคงปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป นอกจากนี้เมื่อผู้เขียนตรวจสอบหลักฐานจากแผนที่ของรัฐโบราณ ๑๖ รัฐ ที่นักวิชาการทางพุทธศาสนาหลายคนได้สร้างขึ้นจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก และแบ่งปันความรู้บนอินเตอร์เน็ตไม่มีการระบุชื่อ"พระนครปิปผลิวันแห่งแคว้นโมลิยะ"ไว้ในแผนที่ชมพูทวีปโบราณ และเมื่อตรวจสอบรายชื่อแคว้นเล็กแคว้นน้อยอีก ๕ ชื่อก็ไม่ปรากฏรายชื่อพระนครปิปผลิวันเมืองหลวงของรัฐโมลิยะอีกเช่นกัน  เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากข้อความในพระไตรปิฎกมีรายละเอียดของรัฐโมริยะ ประชาชน กษัตริย์ผู้ปกครองรัฐนี้บันทึกไว้หลักฐานน้อยมากทำให้ผู้เขียนสงสัยในความมีอยู่จริงของรัฐโมริยะแห่งนี้ 

           ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนสนใจที่จะค้นหาความจริงของ  "ปิปผลิวันรัฐที่สูญหายไปจากพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ "ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานอย่างเพียงพอแล้ว ก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลหาเพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ โดยรวบรวมพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถาและพยานวัตถุได้แก่สถูปพระพุทธเจ้าที่เมือง Lauria Nandangarh  พยานบุคคลเช่นความเห็นของนักโบราณคดีที่บันทึกการขุดค้นโบราณสถาน น่าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกข้อความไว้ในพระไตรปิฎกได้ เพื่อให้ได้เหตุผลของคำตอบเกี่ยวกับตัวตนของพระนครปิปผลิวัน รัฐโมริยะได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและบทความวิเคราะห์ในเรื่องนี้จะเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล สามารถอธิบายเหตุผลของคำตอบของความจริงแท้ในเรื่องนี้ไม่มีข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไป และจะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรใช้บรรยายให้ผู้แสวงบุญชาวไทยและชาวพุทธนานาชาติได้ฟัง ให้มีเนื้อหาบรรยายเป็นไปในแนวทางเดียวกันส่วนกระบวนการวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาของหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสารและพยานวัตถุให้ได้เหตุผลของคำตอบที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินของคำตอบที่สมเหตุสมผลและปราศจากข้อพิรุธในความจริงของคำตอบอีกต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ