Epistemological problems of Bodhisattva asceticism
บทนำ การบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ
ในการศึกษาความจริงของการปฏิบัติธรรมแบบบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ โดยทั่วไป ถึงแม้ว่าเราจะได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาและฟังพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ทั่วโลก มากว่า ๒,๕๐๐ ปี เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ก็ยอมรับว่าเป็นความจริงโดยปริยาย โดยไม่่ต้องสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบนี้เกี่ยวกับการบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์นี้ อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใดที่่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้ว อย่าไปเชื่อทันที ควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอสำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ เป็นต้น
ปัญหาคือเราจะรู้ความจริงเรื่องการบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะได้อย่างไร ? เป็นหน้าที่ของญาณวิทยาต้องตอบเรื่องนี้ เพราะ ญาณวิทยาสนใจที่จะศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ ญาณวิทยาจึงมีหน้าที่ให้คำตอบว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจริง ? ความรู้คืออะไร ? ความรู้มีลักษณะอย่างไร ? มนุษย์จะสร้างความรู้ได้อย่างไร ? และอะไรคือปัจจัยให้เกิดความรู้ของมนุษย์ ? เป็นต้น
๑.ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จึงไม่มีปัญญาแยกแยะความเห็นในเรื่องต่าง ๆ และไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรจริงหรือเท็จ นั่นเป็นเพราะมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของตนเอง และมีความสามารถในการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านประสาทสัมผัสได้จำกัด เช่น การบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว หรือ ออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพุทธกาลซึ่งผู้เขียนไม่เกิดทันในยุคนั้น เมื่อผู้เขียนมีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องการบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะผ่านประสาทสัมผัส จึงไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องต่อไป ผู้เขียนจึงสืบค้นข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงเรื่องนี้ต่อไป
๒.องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ เมื่อความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างหรือองค์ประกอบของความรู้นั้น เกิดขึ้นเมื่อจิตใจมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตและรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ มาสั่งสมเป็นอารมณ์ในจิตใจของตนเองแล้ว จิตใจวิเคราะห์ข้อมูลอารมณ์ที่มีอยู่ในจิตใจโดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ ดังนั้น องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์เรื่องต่าง ๆ นั้น เราสามารถแยกองค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ได้ดังต่อไป
๒.๑ มนุษย์
๒.๒ รับรู้เกิดจากการปัจจัยร่างกายและจิตใจ
๒.๓ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต
๒.๔ วิเคราะห์ข้อมูล
๒.๕ ใช้เหตุผลอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น
เมื่อมนุษย์สนใจศึกษาปัญหาทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โลก และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เพราะเป็นปัญหาของมนุษย์ทั้งนี้เพราะพวกพราหมณ์อารยันสอนว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากพระกายของพระพรหม และสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะตน ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ควรเชื่อทันที่ ควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีพยานหลักฐานเพียงพอ แล้วก็จะใช้เป็นข้อมูล มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น หากไม่หลักพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจากพยานเพียงคนเดียว ไม่น่าเชื่อถือและไม่อาจยอมรับว่าเป็นความจริงได้เพราะโดยทั่วไปจิตใจของมนุษย์มีขอบเขตการรับรู้ในระดับประสาทสัมผัสที่จำกัด ไม่สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตน ได้ครบถ้วนขององค์ประกอบความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้ นอกจากนี้โดยธรรมชาติของชีวิตมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นด้วยความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชังและความชอบส่วนตัว เป็นต้น พวกเขามักจะทำในสิ่งไม่ควรทำ เช่น การยืนยันข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จเพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีความจริง ทำให้พยานหลักฐานขาดความ่น่าเชื่อถือ และไม่อาจยอมรับฟังคำพยานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่น่าสงสัยนั้นได้ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลเกี่ยวกับความจริงของสถานที่ตั้งของที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์เป็นเวลา ๖ ปี เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อนเป็นความรู้เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรับรู้ และย้อนกลับเวลาไปยังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลในการตอบข้อสงสัยในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนจำเป็นใช้หลักฐานจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารในพระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกของผู้แสวงบุญ และพยานวัตถุได้แก่ ภูเขาดงคสิริเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ดังต่อไปนี้
๑. สถานที่ตั้งของสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๕ ฉบับมหาจุฬา ฯ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปันณาสก์ (๕. พรหมณวรรค ๑๐ สังคารวสูตร) ข้อ ๔๗๗ ว่า"เรานั้นแสวงหาอะไรเป็นกุศลขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือความสงบ ซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่าเมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธ โดยลำดับไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจอันมีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดีน่ารื่นรมย์มีโคจรคามอยู่โดยรอบเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตร เราจึงนั่งณ ที่นั่นด้วยคิดว่า"ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร"
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เราได้ยินข้อเท็จจริงว่า เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาจากสำนักของอาฬารดาบส และอุททกดาบสแล้ว พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากคำสอนอาจารย์ทั้งสองแล้ว มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานในคำสอนของอาจารย์ทั้งสอง เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของชีวิต พระองค์ทรงเห็นว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงศึกษาจากสองสำนักนั้นและหลักปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์นั้น เมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติแล้วทรงไม่สามารถบรรลุความจริงถึงการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรได้ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงตัดสินใจออกจากเมืองราชคฤห์ และเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงเห็นว่า ภูเขาดงคสิริเป็นที่ที่น่าอยู่อาศัย ภูเขาไม่ชันมากทางขึ้นลงจากถ้ำไม่ชันเช่นกันมีป่าไม้อุดมสมบรูณ์ เงียบสงบเหมาะแก่นักพรตมาบำเพ็ญตบะ เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติธรรมที่อยู่ไม่ไกล ไม่มีให้ใครได้รับอนุญาตให้การรบกวนการปฏิบัติธรรมของตน มีป่าอยู่ริมฝังแม่น้ำอันสวยงาม แม่น้ำเนรัญชราไหลรินอยู่ตลอดเวลา น้ำใสจนมองเห็นก้นผืนทรายได้เลย เราได้เห็นเต่าและปลาจำนวนมากว่ายน้ำตามริมฝังแม่น้ำ มีท่าเรือที่สวยงาม สะอาดดีน่ารื่นรมย์ มีโคจรคามซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่พระภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต โดยจัดหาปัจจัยยังชีพจากผู้อื่นมาโดยตลอด ไม่เคยขาดภัตตาหารอุปโภคบริโภคหาได้ง่าย เส้นทางคมนาคมสะดวก เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จมาถึง ก็ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าสถานที่แห่งนี้ เหมาะแก่การบำเพ็ญตบะเพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ เมื่อนึกถึงข้อความในพระไตรปิฎกนี้แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธฺสัตว์สิทธัตถะตั้งอยู่ที่ไหนในสาธารณรัฐอินเดีย
๒. แผนที่โลกกูเกิล Google Maps
เมื่อผู้เขียนศึกษาแผนที่โลกของกูเกิลแล้ว ผู้เขียนพบว่า ภูเขาดงคสิริอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเนรัญชราเลย ในฤดูร้อน เมื่อมองจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา สามารถมองเห็นภูเขาดงคสิริได้อย่างชัดเจน ในรัชสมัยพระเจ้าพิมพิสารทรงปกครองแคว้นมคธและยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของแคว้นมคธ แต่ในยุคปัจจุบันได้มีการเรียกและตั้งชื่อว่า"ตำบลพุทธคยา" อำเภอพุทธคยา รัฐพิหารซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ผู้แสวงบุญชาวไทยชอบเรียกว่า"ภูเขาดงคสิริ" ส่วนชาวฮินดูเรียกว่า"Dungeshwari Hill"ส่วนถ้ำที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญตบะเรียกว่า "ถ้ำดงเกสวารี" (Dungeshwari Cave)เพื่อบรรลุถึงความจริงของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์จริงหรือไม่ เมื่อพุทธสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากริมฝังแม่น้ำเนรัญชรา ภาษาราชการของอินเดียและในแผนที่โลกของกูเกิลเรียกว่า "แม่น้ำฟัลกุ" (Falgu River) ในสมัยพุทธกาล ขนาดของแม่น้ำเนรัญชราน่าจะกว้างยาวถึงเชิงเขาดงเกสวารี เพราะผู้เขียนสังเกตลักษณะของบ้านของคนท้องถิ่นที่สร้างอาศัยใช้อิฐทำจากดินเหนียว ที่มาจากดินในหมู่บ้านมีตะกอนโคลนตมไหลไปตามกระแสน้ำเนรัญชรา พวกมันตกตะกอนและทับถมมาเป็นเวลานาน ทำให้แม่น้ำแคบลงเหลือเท่าที่เห็นในปัจจุบัน กว้างประมาณ ๑ กิโลเมตรเท่านั้น
๓. ภูเขาดงเกสวารี (Durgeshwari Hills)
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหาความรู้ในสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองโดยฟังการบรรยายประวัติพุทธศาสนาจากพระวิทยากรหลายครั้ง และเป็นความรู้สั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้เขียนเอง ผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญครั้งสุดท้ายในปี ๒๕๕๗ ภูเขาดงเกสวารีตั้งอยู่ไม่ไกลจากเจดีย์พุทธคยา ตั้งอยู่ในวัดมหาโพธิ ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และมรดกโลกทางวัฒนธรรมเป็นระยะทาง ๒๐.๑ กิโลเมตร ตามเส้นทางจากเจดีย์พุทธคยาไปตามถนนพุทธคยา และเลี้ยวขวาที่สะพานแมนปูร์ (Manpur Bridge) เข้าสู่ภูเขาดงเกสวารี ถ้าเรายึดเจดีย์พุทธคยาเป็นศูนย์กลาง ถ้ำแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์พุทธคยา และทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชรา เซอร์คันนิ่งแฮมส์นักโบราณคดีชาวอังกฤษมาพิสูจน์เรื่องนี้แล้ว เขาพิจารณาและยอมรับโดยให้เหตุผลว่าภูเขาปักโพธิ (Pragbodhi Mountain) มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่มีมาช้านาน เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ทรงประทับอยู่ในฤดูฝนเป็นเวลา ๖ ปีเพื่อบำเพ็ญตบะ ก่อนพระองค์จะเสด็จไปบำเพ็ญเพียรทางจิต ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ใกล้บ้านนางสุชาดาเป็นลำดับไป.
๔. ข้อมูลสภาพทางภูมิศาสตร์ที่
ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางมายังสถานที่บำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะแห่งนี้หลายครั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นพระวิทยากร และนำผู้แสวงบุญจากประเทศไทยหลายคณะ ไปปฏิบัติบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยการนำสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิเพื่อฟังคำบรรยายวิปัสสนากรรมฐานจากผู้เขียนที่หน้าถ้ำดงเกสวารี เส้นทางเดินขึ้นไปสู่ถ้ำดงสเกสวารี มีลักษณะเป็นทางที่ลาดชันขึ้นไปประมาณ ๓๐ องศา ยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร เป็นทางลาดซิเมนต์ บางช่วงของเส้นทางบริเวณปากถ้ำตั้งสูงกว่าศาลาในวัดของลามะอีกประมาณ ๕ เมตร มีบันไดขึ้นไปอีกประมาณชั้นครึ่ง ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่แม่น้ำฟัลกุ (Falgu River)มีลักษณะเป็นโพรงเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เป็นถ้ำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สาเหตุเกิดจากน้ำฝนตกลงมาแล้วไหลไปตามซอกหินกัดเสาะหิน เป็นเวลาหลายพันปีทำให้หินละลายไปตามเส้นทางทำน้ำไหลภายในมีแท่นหินธรรมชาติที่ลาดเอียงเล็กน้อยตัวถ้ำมีขนาดเล็กพอที่หย่อนตัวเข้าหลบแดดน้ำฝนตกอากาศหนาวได้เหมาะสำหรับหลีกผู้คนซ่อนเร้นภาวนาได้ ผู้เขียนเห็นว่าพระโพธิสัตว์คงใช้สถานที่แห่งนี้พัฒนาศักยภาพของพระองค์จนถึงขั้นอุกฤษ จนกระทั่งพระวรกายของพระองค์ซูบผอมลงเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกของพระองค์เป็นเวลายาวนานถึง ๖ ปี วิธีการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นับว่า เป็นความเพียรที่ยิ่งยวดยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือนปฏิบัติได้เท่าพระองค์ได้ โดยทั่วไปมนุษย์ธรรมดาอดอาหารได้ไม่กี่วันสังขารก็ลาลับดับสิ้นไป แต่พระองค์ดำรงชีพได้ถึง ๖ ปียากที่มีผู้ใดจะเสมอเหมือนพระองค์ได้ การบำเพ็ญที่สุดแห่งความทุกข์ด้วยทรมานทางกายขั้นอุกฤษมาถึงจุดสิ้นสุดตามกฎไตรลักษณ์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อพระโพธิสัตว์เป็นลมล้มลงไปนานนับหลายชั่วโดยไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือพระองค์ให้พ้นจากความทรมานแต่อย่างใด เมื่อพระโพธิสัตว์ได้สติฟื้นขึ้นมาพระองค์ทรงพิจารณาข้อมูลที่เป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตของพระองค์ทรงเห็นว่า วิธีการนี้มิใช่ทางสายประเสริฐที่ จะนำพระองค์ไปสู่ความหลุดพ้นได้แต่อย่างใด ตัดสินพระทัยเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว พระองค์จะปฏิบัติด้วยวิธีการอย่างใดต่อไปทรงระลึกถึงประสบการณ์ที่เคยประพฤติปฏิบัติมาก่อนออกบวชเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงเยาว์วัย พระองค์ระลึกได้ถึงการเจิญอาณาปานสติ น่าจะเป็นทางที่ประเสริฐไปสู่ความหลุดพ้นได้เป็นการปฏิบัติแบบทางสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปพระองค์จึงตัดสินใจเริ่มเจริญอาณาปานสติอีกครั้ง และปฏิบัติเรื่อยไปตามโคนต้นไม้สู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมและหันมาฉันภัตตหารเพียง ๑ มื้อ เพื่อให้ร่างกายของพระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่ได้เพื่อการบำเพ็ญภาวนา
๕. จริยศาสตร์ : การปฏิบัติบูชา
ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์เป็นเพราะมีจิตสั่งสมอยู่เครียดจากการเร่งรีบในการทำงานหนักตลอดเวลาทั้งวัน เป็นทำงานที่ต้องแลกกับสุขภาพของตนเอง เมื่อเลิกงานแล้วจิตต้องเลือกว่าจะไปนอนหลับพักผ่อนหรือไปสถานเริงรมย์ในที่ต่าง ๆ ก็เลือกไประบายความ เครียดออกจากจิตของตนด้วยการการดื่มสุรายาเมา เรื่องธรรมดาของชีวิตมนุษย์ทุกคนโดยความทุกข์สะสมอยู่ในจิตของผู้คน มูลเหตุมาจากการทำงาน หนักต้องแลกกับสุขภาพ ทำกิจกรรมดื่มสุรายาเมาให้ตนมีความสุขในความมัวเมาของชีวิตนานขึ้น หรือเล่นเกมส์ออนไลน์จนขาดการพักผ่อนของร่างกาย เมื่อตะหนักถึงผลของคำตอบข้อนี้ได้ดังนี้ มนุษย์จำเป็นต้องหาวิธีการผ่อนคลายจากความทุกข์อยู่ในใจตนให้ได้มิฉะนั้นต้องไปรักษาสุขภาพของตนที่โรงพยาบาล ทรัพย์เงินทองที่ตนมีอยู่นั้นไม่อาจซื้อชีวิตใครมารองรับความทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บนั้นแทนตนได้การเดินทางมาสู่ถ้ำ ที่โคตมะพระโพธิสัตว์ทรงใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรทุกขกิริยาเพื่อหาความรู้ และความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้น ลักษณะของถ้ำนั้นมิได้แตกต่างจากถ้ำทั่วไปแต่อย่างใด เมื่อผู้แสวงบุญมาดูถ้ำเฉย ๆ ว่าตรงนี้เป็นสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา คงไม่มีใครอยากจะมาดูแต่อย่างใด แต่ถ้ามาแล้วชาวพุทธไทยทุกคณะได้เดินตามรอยบาทของพระศาสดาสัมสัมพุทธเจ้าแล้ว ด้วยการปฏิบัติบูชาแล้ว มีการประกอบพิธีกรรมบูชาคุณของพระพุทธเจ้าตามวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการปฏิบัติบูชาเพื่อนำจิตวิญญาณไปสู่ความรู้ระดับอภิญญา ๖ แล้ว เกิดความสงบสุขในชีวิตแล้วทุกคนก็คงอยากจะมาเป็นต้น. อันดับแรกเราด้วยการปฏิบัติบูชาเริ่มต้นทำสวดมนต์ทำวัตรเช้าหรือเย็นแล้ว แต่โอกาสว่าจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่า ลจะมีคณะผู้แสวงบุญมากน้อยเพียงใดการสวดมนต์เป็นการสำรวมกายและวาจานั้น เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้เข้าสู่หลักศีลเพราะจิตของผู้สวดมนต์จิตมุ่งมั่นจดจ่อกับบทสวดมนต์ไม่วอกแวกไปสู่ที่อื่นใดอีก หรือไปเบียด เบียน ผู้อื่นทางกายวาจาและจิต เพราะใช้วจีกรรมในการสวดมนต์อย่างเดียว ดังนั้นวจีกรรมที่กระทำไปแล้วก็จะกลายเป็นความรู้สั่งสมไว้ในจิตของตัวเอง.
ประการต่อมานั้น การสวดมนต์ยาวนานต้องใช้ความอดทนในการสวดอย่างมากบางคณะเป็นชั่วโมง ๆ ก็มี ถ้าใครจดจ่อกับการสวดมนต์ยาวนานนั้น ทำให้จิตเป็นสมาธิเหลือเพียงการสวดมนต์เพียงอย่างเดียว การสวดมนต์ยาวนานด้วยความอดทนอดกลั้นนั้นจิตย่อมมีกำลังของสมาธิ ประการสุดท้าย เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว พระธรรมวิทยากรก็จะพากล่าวนำการสมาทานพระกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนาในขณะเดียวกันก็แสดงธรรมเทศนาแก่ญาติโยมฟังขณะนั่งสมาธิด้วยเพื่อให้ญาติโยมใช้จิตใคร่ครวญความรู้ที่ฟัง เพื่อให้เกิดวิถีปัญญาไปด้วยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยิ่งให้เกิดสภาวะปิติด้วยยิ่งเป็นการสั่งสมบุญกุศลในจิตของตนด้วย.
แต่เมื่อฉันมีโอกาสเดินทางมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในประเทศอินเดียมีโครงการปฏิบัติธรรมสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา ฉันจึงไม่ยอมทิ้งโอกาสไปจึงตัดสินใจเดินทางสู่ภูเขาแห่งนี้เพื่อชมถ้ำอันเป็นสถานที่พระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาของก่อนตรัสรู้แจ้งในความจริงในกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคน สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาแห่งนี้ในแต่ละวันตลอดทั้งปีจะมีชาวพุทธจากทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติบูชาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่ฤดูหนาวในเดือนตุลาคมข้ามปีใหม่ไปถึงเดือนมีนาคมของทุกปี อากาศบนภูเขาที่นี้เย็นสบายดี ฉันเดินขึ้นมาไม่รู้สึกเหนื่อยเลย แม้จะเป็นเชิงเขาบางช่วงลาดชันก็ตามในช่วงฤดูร้อนเดือนมีนาคมและเมษายน ฉันสามารถมองเห็นภูเขาดงคสิริและวัดธิเบตอย่างชัดเจน ได้จากถนนเลียบแม่น้ำเนรัญชราทางฝั่งตะวันตก ภูเขาแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ฝังอยู่ในจิตของผู้คนทั่วโลกที่เล่าเรื่องสืบต่อกันมาไม่เคยสิ้นสุด เมื่อมาถึงเจดีย์พุทธคยาแล้วพวกเขาต้องปฏิบัติบูชาในภูเขาแห่งนี้ด้วย เพื่อให้ข้ามพ้นความทุกข์ของภัยในวัฏสงสารที่ไม่เคยสิ้นสุดของผู้ประมาทในการใช้ชีวิตด้วย.
บรรณานุกรม
https://www.google.co.th/maps/place/Bodhgaya,+Bihar,+India/Falgu River.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น