The metaphysics problem of the asceticism of bodhisattva

บทนำ ความหมายของการบำเพ็ญทุกรกิริยา
โดยทั่วไป เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องราวเกี่ยวกับการบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ซึ่งเป็นเรื่องที่สืบทอดกันมา หรือ จากการฟังพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือการศึกษานักธรรมจากนักธรรมสนามหลวง หรือ การศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย หรือทั่วโลก เป็นต้น ถือเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจ และควรศึกษาให้ถ่องแท้เพราะเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง
ตามหลักปรัชญา เมื่อผู้ใดก็ตามกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าเป็นความจริง ก็ต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าเรื่องนั้นจริง ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าเรื่องนั้นจริง ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานคนเดียวไม่น่าเชื่อถือ และนักปรัชญาไม่ยอมรับว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นความจริง เพราะพยานคนนั้นอาจจะเป็นคนเห็นแก่ตัว มีอคติต่อผู้อื่น เนื่องจากจากความเกลียดชัง ความรัก ความกลัว และความไม่รู้ เป็นต้น
นอกจากนี้ มนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นสภาวะชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วสลายไปในอากาศ แต่ก่อนที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น จะเสื่อมสลายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตใจของมนุษย์จะดึงดูดอารมณ์เหล่านี้เป็นหลักฐานและสั่งสมไว้ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์นั้น เมื่อรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะคิดจากสิ่งนั้น ๆ เป็นการปรุงแต่งทางจิตที่เรียกว่ากระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล พิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีอายตนะภายในเป็นบ่อเกิดของความรู้ในเรื่องนั้น มีทั้งสิ่งที่มนุษย์ได้รับรู้ได้โดยตรง และสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสการรับรีู้ของมนุษย์ได้ เราจจึงแบ่งความจริงตามแนวคิดอภิปรัชญาเป็น ๒ ประการกล่าวคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.สัจธรรม เป็นต้น
ข้อเท็จจริง เมื่อเราพิจารณาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เราจะได้ยินข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั้งหมด ๑๘ วิชา เพื่อนำความรู้ของพระองค์ทรงใช้ในปกครองอาณาจักรสักกะในฐานะพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งเป็นมหาราชา ผู้ทรงปกครองอาณาจักรสักกะ แต่ความรู้ตามหลักสูตรศิลปศาสตร์ เป็นเพียงความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิต ในระดับประสาทสัมผัสของพระองค์เอง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นจัณฑาล ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายวรรณะ เนื่องจากสาเหตุแห่งการสมสู่กับคนต่างวรรณะ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน และกฎหมายวรรณะในยุคนั้น
พวกจัณฑาลจึงถูกคนในสังคมลงโทษโดยการขับไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต ต้องดำรงชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในพระนครใหญ่เช่น พระนครกบิลพัสดุ์ นครโกลิยะ แม้ว่าจะชราภาพ เจ็บป่วย และนอนตายอยู่ข้างถนน เป็นต้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยความเป็นมาในเรื่องนี้ พระองค์สืบเสาะข้อเท็จจริงและหาหลักฐานจากปุโรหิต ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับ นิติขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี พวกเขาเป็นพยานว่าพรหมและอิศวรเป็นเทพเจ้าจริง สร้างมนุษย์จากพระกายของพระองค์และยืนยันว่า ได้เคยเห็นพรหมและอิศวรในราชอาณาจักรสักกะแล้ว แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตรัสถามถึงประวัติความเป็มาของเทพเจ้าเหล่านั้นไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ ทำให้พระองค์ทรงสงสัยการมีอยู่ของพรหมและอิศวรสร้างมนุษย์จริงหรือไม่ เป็นต้น
๑. การบำเพ็ญทุกรกิริยาของศากยมุนี เป็นวิธีการแสวงหาสัจธรรมวิธีหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่พระภิกษุ พราหมณ์ ปริพาชก ฤาษี เชื่อกันว่า เป็นความรู้ที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติไปสู่โมกข์ เป็นแนวทางการได้มาซึ่งความรู้และความจริงของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยปฏิบัติมาแล้วทุกประการก่อนตรัสรู้กฎธรรมชาติ ดังปรากฏพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๕ (ฉบับมหาจุฬาฯ) ขุททกนิกาย พุทธวงค์ ๒๕. โคตมพุทธวงค์ ข้อ ๑๖.ว่า เราเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงพระราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว ได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ยินข้อเท็จจริงว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกรกิริยามา ๖ ปี ก่อนที่พระองค์จะตัดสินพระทัยเลิกปฏิบัติไป และเลือกวิธีการสุดท้ายด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแบบอาณาปานสติเป็นวิธีสุดท้ายที่พระองค์ทรงใช้พัฒนาศักยภาพของชีวิตพระองค์ไปสู่การตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ในเวลาต่อมาการศึกษากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการบำเพ็ญทุกรกิริยา แม้จะมิใช่วิธีการแบบทางสายกลาง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา ๖ ได้ก็ตาม แต่การศึกษาหาคำตอบไว้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ทุกคน และใช้แก้ไขปัญหาความทุกข์ต่าง ๆ ของชีวิตที่กระทบผ่านอินทรีย์ ๖ ตลอดเวลาได้เช่นเดียวกัน

๒. ปัญหาต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่า "การบำเพ็ญทุกรกิริยา" ในพระไตรปิฎกนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ? เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหาเหตุผลของคำตอบจากที่มาของความรู้จากพยานเอกสารในพจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลศัพท์ของพระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)ให้คำนิยามว่า"ทุกรกิริยา"คือกิริยาทำได้โดยยาก การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมอันวิเศษด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่น การกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ และอดอาหาร เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงได้ปฏิบัติปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง
จากคำนิยามดังกล่าวนั้น ผู้เห็นว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์ ให้หลุดพ้นจากความยึดติดในชีวิตของตนเองด้วยมิจฉาทิฐิ มีจุดประสงค์เพื่อให้ชีวิตมนุษย์นั้นมีจิตอิสระจากกายของตน เพราะในสมัยก่อนพุทธกาลทุกประเทศในสมัยนั้นมีการออกฎหมายจารีตประเพณีรองรับความเชื่อว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาจากพระพรหมและได้แบ่งประชาชน ๔ วรรณะให้มีสิทธิหน้าที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้มนุษย์ในวรรณะสูงมีจิตเกิดมิจฉาทิฐิเกิดความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตของตัวเองว่าดีกว่าชนวรรณะอื่น นำมาซึ่งการดูหมิ่นชนวรรณะอื่น ๆ ที่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายจารีตมีฐานะทางสังคมต่ำกว่าวรรณะตนเอง เมื่อผู้คนในสังคมมีการเลือกปฏิบัติต่อกันแล้วมีชนส่วนหนึ่งละทิ้งวรรณะตนพากันออกบวช เพื่อแสวงหาวิธีการหลุดพ้นจากความทุกข์ที่สั่งสมอยู่ในจิตด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเชื่อของผู้คนก่อนสมัยพุทธกาลนั้นสมณะหลายตนได้ทรมานร่างกาย เพื่อให้จิตมีอิสระจากกายได้คลายความทุกข์ในชีวิตได้
เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ทำการศึกษาหาความรู้และความเป็นจริงด้วยการทดลองทุกวิธีการที่เจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยก่อนได้เปิดสำนักให้ศึกษาวิชาการเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ทดลองปฏิบัติให้ถึงที่สุดของวิธีการสอนของลัทธินั้น ๆ ที่เปิดหลักสูตรสอนเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตแล้ว เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงลงมือปฏิบัติตามแล้ว ได้สั่งสมความรู้ไว้ในจิต และนำความรู้นั้นมาคิดพิจารณาใคร่ครวญตามคำสอนนั้นแล้วเห็นว่าไม่เป็นไป เพื่อตรัสรู้แจ้งแทงตลอดของความทุกข์ได้แล้ว พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเดินทางไปศึกษาต่อที่สำนักใหม่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อไป การบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นวิธีการปฏิบัติที่นักบวชในสมัยก่อนนิยมปฏิบัติกัน มีตั้งแต่วิธีปฏิบัติหลักสูตรพื้นฐานธรรมดาไปจนถึงขั้นอุกฤษอาการปางตายเกินวิสัยมนุษย์ธรรมดา จะผ่านการทดสอบได้เช่นกัดฟัน กลั้นมลหายใจและอดอาหาร เป็นต้น
การบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยานั้น เป็นวิธีการหนึ่งที่มหาวีระเป็นศาสดาในศาสนาเชนใช้บำเพ็ญเพียรด้วยการอดอาหาร เจ้าชายมหาวีระเกิดในวรรณะกษัตริย์ มีพระนามเดิมชื่อว่าวรรธมานะเป็นพระราช โอรสของพระเจ้าสิทธารถะและพระนางตริศแห่งแคว้นวัชชี เมื่อพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษาเกิดเหตุการณ์ ที่ทำให้ชีวิตของพระองค์ทรงเปลื่ยนแปลงไปจากคาดหวังไว้กล่าวชีวิตคือ พระบิดาและพระราชมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ในเวลาไล่เลี่ยกัน เพราะทั้งสองพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาด้วยความยิ่งยวด เมื่อสวรรณคตไปจะทรงเสด็จสู่โลกสวรรค์ ดังนั้นพระราชบิดาและพระราชมารดาทรงมีศรัทธา ในคำสอนดังกล่าวจึงได้บำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด และทรงสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา ทำให้มหาวีระทรงเสียพระทัยมาก จึงทูลขอพระเชษฐาออกบวชเป็นปริพาชก ออกจากเมืองเวสาลีไปและปฏิญญาณตนว่าจะไม่พูดคุยกับใคร
เมื่อครั้งตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยความตั้งใจว่า จะศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เข้าใจชีวิตในความสุขทุกข์ของตัวเอง ในตอนแรกเราก็ศึกษาหลักคำสอนพระพุทธเจ้าในตำราส่วนใหญ่ แค่เป็นการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเรียนรู้ แต่สมรรถนะชีวิตด้วยการลงมือปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งต้องอาศัยเวลายาวนานกว่าจะถึงความรู้ระดับอภิญญา๖ การได้มาเห็นสถานที่จริงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในการบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ยังจะเกิดประโยชน์แก่เรา ให้เกิดศรัทธาในการศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฎิบัติตามคำสอนให้เกิดความรู้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปทำให้เราเกิดข้อคิดว่าชีวิตมนุษย์นั้นมิได้มีสิ่งใดเป็นของตัวเองได้โดยง่ายเลยต้องผ่านบททดสอบต่าง ๆ ของชีวิตทั้งสิ้น สติจากคิดด้วยปัญญาข้อนี้จะทำให้เราต้องตั้งใจและปฏิบัติยิ่งขึ้นไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น