Introduction: Bodhisattva's asceticism according to Buddhaphumi's Philosophy
บทนำ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา
ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับการบำเพ็ญตบะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ตามหลักปรัชญานั้น ถือเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่ควรศึกษา เพราะมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์ แม้เราจะศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับโลกในสาขาต่าง ๆ โดยเรามีใบปริญญาบัตร เพื่อแสดงระดับความรู้และความสามารถของตนในสาขาวิชาที่เราศึกษานั้น และเป็นที่เคารพนับถือของสาธารณชนทั่วไป ทำให้จิตใจมนุษย์หลงตัวเอง ติดอยู่ในความสำเร็จทางโลกมากกว่าความจริงของชีวิต เมื่อคนเราเกิดมาด้วยความไม่รู้ พวกเขาจึงเรียนรู้ที่จะกระทำตามค่านิยมของโลก มากกว่าการแสวงหาความจริงในชีวิตของตนเอง
เมื่อเราเกิดมา มนุษย์ทุกคนยังไม่มีความรู้ระดับความจริงอันสูงสุดในสัจธรรม ที่เราเรียกว่า "ความiรู้ระดับปรมัตถ์ หากเรารู้สัจธรรมของชีวิตตัวเอง เราก็จะหลุดพ้นจากการยึดติดในความไม่เที่ยงของตนเอง เมื่อชีวิตเราไม่แน่นอน ชีวิตคนอื่นก็ไม่เที่ยงเช่นกัน อย่ายึดติดกับฐานะทางสังคมด้วยการร้องไห้คร่ำครวญ นี่แสดงถึงความอ่อนแอของชีวิต และไม่มีใครสามารถแก้ทุกข์ทางใจของเราได้ ยกเว้นตัวเราเอง เมื่อเราศึกษาความเชื่อในศาสนาพราหมณ์จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และบทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น เราจะได้ยินข้อเท็จจริงที่ว่าความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม มนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายเป็นสะพานเชื่อมกับเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้คงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศ เมื่อมนุษย์รับรู้สภาวะเหล่านี้ และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ เมื่อจิตใจของมนุษย์ ได้วิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่ผลการวิเคราะห์และการฟังข้อเท็จจริงก็ยังไม่ชัดเจนถึงที่มาของเรื่องนั้น? เนื่องจากมีหลักฐานไม่เพียงพอ เราจึงสงสัยข้อเท็จจริงนั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นนักปรัชญา พระองค์ชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่จริงของเทพเจ้า พระองค์ทรงสืบหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยนั้น
แต่ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์นั้น ฟังข้อเท็จจริงจากพยานเพียงคนเดียว ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความจริงอีกในส่วนของปรัชญาพุทธภูมินั้น การฟังข้อเท็จจริงจากพยานเพียงคนเดียวนั้นไม่น่าเชื่อถือ และพระพุทธเจ้าทรงไม่ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นเรื่องจริง โดยธรรมชาติของมนุษย์ องค์ประกอบของชีวิตเกิดขึ้นจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจก่อให้เกิดชีวิตมนุษย์ใหม่ จิตใจของมนุษย์อาศัยอยู่ในร่างกาย และใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายรับรู้ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและสั่งสมเรื่องราวเหล่านี้ เป็นหลักฐานทางอารมณ์นั้นให้เป็นข้อมูลในจิตใจ เมื่อมีข้อมูลสั่งสมอยู่ในจิตใจมากพอ ก็วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นไม่ว่าจริงหรือเท็จ
แต่ธรรมชาติของมนุษย์มีอคติต่อผู้อื่น เพราะความเกลียดชัง, ความกลัว, ความหลง, ความโง่เขลาและมีข้อจำกัดในการรับรู้ ดังนั้น สิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ หรือ เชื้อโรคที่เล็กที่สุด หรือสิ่งที่อยู่ไกลเกินประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับรู้ได้ มนุษย์จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อใช้ในการรับรู้ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์อารยันได้สั่งสอนประชาชนในอนุทวีปอินเดีย ให้เชื่อความจริงในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า พระพรหมและพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่ช่วยให้บรรลุความฝันในชีวิต และพราหมณ์ชาวดราวิเดียนสอนว่าแม่น้ำเป็นเทวดาที่ช่วยให้ผู้คนบรรลุความฝันในชีวิตเช่นกัน
แม้ว่าคนในอนุทวีปอินเดีย จะไม่มีความรู้เรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมความรู้เรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดาไว้ในใจเหมือนพวกพราหมณ์ก็ตาม แต่พวกเขาเชื่อมั่นเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดา ตามคำสอนที่ผู้ใหญ่ในแคว้นสักกะได้เล่าขานและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ และตกลงที่จะทำพิธีบูชาเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์ด้วยสิ่งของมีค่าต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บรรลุความฝันในชีวิต สิ่งของมีค่าต่างๆได้สร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้แก่พราหมณ์อารยันและดราวิเดียน แ่ต่ผลประโยชน์จากการบูชาเทพเจ้านั้นมีมากมายมหาศาล ส่งผลให้พราหมณ์อารยันเกิดความละโมบและต้องการผูกขาดในการบูชาเทพเจ้า
เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต (priesthood) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งสักกะในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี ต่อมาพวกปุโรหิตเห็นว่าหากพวกพราหมณ์มิลักขะ ยังเป็นที่ศรัทธาของประชาชนอาจได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตได้ในอนาคตก็สร้างปัญหาทางการเมืองของประเทศศก็นำเสนอหลักคำสอนของพราหมณ์ต่อรัฐสภาแห่งแคว้นสักกะให้เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์และศูทร เป็นต้น หากคนในวรรณะใดฝ่าฝืนหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยมีเพศสัมพันธ์กับคนจากวรรณะอื่นหรือแต่งงานระหว่างวรรณะ กฎหมายให้อำนาจคนในสังคมลงโทษด้วยการถูกไล่ออกจากที่อยู่อาศัยตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์และพระนครเทวทหะ แม้ในวัยชรา เจ็บป่วย และตายข้างถนน เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และอรรถกถาก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ปกครองแคว้นสักกะ พระองค์ทรงมีสิทธิและหน้าที่ปกครองประเทศ ตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ทรงประสูติ พระองค์ทรงสำเร็จหลักสูตรศิลปศาสตร์จำนวน ๑๘ วิชา พระองค์ทรงมีเชื้อสายดีจากราชวงศ์ศากยะ เป็นที่รักของพระบิดาพระมารดาและประชาชน เป็นต้น ทรงมีความรู้ดีในกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดที่ใช้การปกครองอาณาจักรสักกะที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของผู้บริหารในยุคนั้น
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมชาวพระนครกบิลพัสดุ์ และประพาสสวนหลวงที่พระนครกบิลพัสด์ุ พระองค์ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลที่ฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยมีเพศสัมพันธ์กับวรรณะอื่นหรือการแต่งงานข้ามวรรณะ และถูกสังคมลงโทษโดยถูกเนรเทศออกจากสังคมไปตลอดชีวิต และใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ แม้จะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วย และนอนตายข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเสร็จสิ้นแล้วพระองค์ทรงนำปัญหาจัณฑาล มาพิจารณาเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือจัณฑาลให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานซึ่งประจักษ์พยานได้แก่ พราหมณ์ปุโรหิตได้ยืนยันข้อเท็จจริงต่อเจ้าชายสิทธัตถะว่า พระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์จริง พวกเขาเคยเห็นพรหมและอิศวรในอาณาจักรสักกะมาก่อนที่พระองค์จะประสูติ แต่เมื่อพระองค์ตรัสถามประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตคนใดตอบได้ พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ โดยทรงเสนอให้ออกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะในอาณาจักรสักกะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ แต่รัฐสภาไม่เห็นชอบเพราะเป็นข้อห้ามตามหลักอปริหานิยธรรม มาตรา ๓ ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพิจารณเห็นว่าระบบการเมืองของอาณาจักรสักกะ เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะทั้ง ๓ อำนาจ คืออำนาจในการตรากฎหมาย อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ จึงเป็นอุปสรรคต่อปฏิรูปสังคมของพระองค์เองให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ในการศึกษา อาชีพและการมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นสมณะในขณะเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้พระองค์ทรงมองเห็นทางออกจากปัญหาของประเทศ เมื่อการมีอยู่ของเทพเจ้า ยังคงเป็นเรื่องที่น่าสงสัย และพระองคควรค้นหาสัจธรรมแห่งชีวิตมนุษย์ต่อไปและกฎหมายรัฐธรรมจารีตประเพณีสูงสุด ก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปอาณาจักรสักกะ เมื่อได้ฟังข้อความเห็นแล้ว เขาก็เห็นว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ถือเป็นที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีจิตเมตตาช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความมืดมิดของชีวิต เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยละทิ้งวรรณะกษัตริย์เพื่อผนวช เพื่อศึกษาค้นคว้าหาความจริงชีวิตต่อไป
ปรัชญา&แดนพุทธภูมิ |
บทความที่ได้จากการวิเคราะห์เกี่ยวกับการบำเพ็ญตบะ จะเป็นข้อมูลให้พระวิทยากรนำไปใช้ในการบรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวพุทธในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งเพื่อให้เนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการพิจารณาความจริงของปรัชญาพุทธภูมิ โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายข้อเท็จจริงเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในระดับปริญญาเอก และสามารถใช้เป็นแนวทางในการวิจัยระดับปริญญาเอกได้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในหัวข้อวิจัยและความเป็นจริงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น