the Buddha's legacy according to Epistemology in Buddhaphumi's philosophy
บทนำ ปัญหาความจริงเกี่ยวกับมรดกของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก

โดยทั่วไปแล้ว แม้ว่ามนุษย์เกิดมาเปลือยเปล่า แต่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะและปัญญาเป็นของตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงเรียนรู้จากความยากจน และใฝ่ฝันอยากจะมีความมั่งคั่งโดยเฉพาะปัจจัย ๔ ได้แก่ ที่อยู่อาศัยของตนเองที่เรียกว่า "อสังหาริมทรัพย์" บ้านพร้อมที่ดิน ห้องชุดในคอนโดมีเนี่ยม และเงินทอง เป็นต้น เครื่องแต่งกายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องปกปิดอวัยวะที่ทำให้เกิดความละอายแก่ใจของตน เมื่อมนุษย์ผลิตปัจจัยทั้ง ๔ ออกมาใช้แล้ว ย่อมต้องใช้เหตุผลอธิบายคุณค่าของปัจจัย ๔ เหล่านั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แพงขึ้น เพื่อยกระดับชีวิตในสังคม เมื่อร่างกายของมนุษย์เสื่อมโทรมตลอดเวลา ก็ต้องการอาหารหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีแรงทำงานต่อไปจนกว่าจะพอใจ เมื่อมนุษย์ไม่อยากตายและอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็หายามารักษาโรค เป็นต้น แต่ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนเบื่อง่าย จึงแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ มาสนองตัณหาองตนเองตลอดเวลา ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น เมื่อมนุษย์กล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด เช่นมนุษย์ โลก ปรากฏรณ์ทางธรรมชาติ และข้อพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น ก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถ้าไม่หลักฐานมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบ ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นขาดความเชื่อน่าถือและนักปรัชญาไม่ยอมรับว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นความจริง เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักมัอคติต่อกันในความเกลียดชัง, ความรักใคร่, ความกลัว และความโง่เขลามักช่วยเหลือกันในทางที่ผิดศีลธรรมและกฎหมาย และอวัยวะอินทรีย์ ๖ของร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่มีอยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่นพลังงานของสสารทุกชนิด เป็นต้น ตามแนวคิดเชิงอภิปรัชญานั้น แบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น (Fictitious Reality) โดยทั่วไปแล้ว สภาพธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ ซึ่งเกิดเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วสลายตัวเป็นอากาศธาตุ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะเลือนหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตของมนุษย์สามารถรับรู้ทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ในสังคมเหล่านี้ได้ด้วยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของเขา ตัวอย่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว พายุในทะเล, น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่นเหตุการณ์ที่นักเรียนยิงกันในโรงเรียน คนเหยียบกันตานในสนามบอล เป็นต้น จิตของมนุษย์จะดึงดูอารมณ์เหล่านั้นเป็นหลักฐานในจิตใจ แต่เป็นธรรมชาติของจิตมนุษย์ที่จะคิดจากหลักฐานที่มีอยู่ในจิตใจของตน ก็จะวิเคราะห์หลักฐานหาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ว่า อะไรคือสาเหตุ? ความจริงที่เรียกว่า "ธรรม" หรือธรรมชาติเป็นสภาวะ, สิ่งของ, ที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนเพราะมันเกิดขึ้น สภาวะนี้ตั้งอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและเลือนหายไปสายตาของมนุษย์ ในทำนองเดียวกัน ชีวิตของมนุษย์คือสภาวะของร่างกายและจิตรวมกันอยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อคนเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แต่ก็ไม่อยากตาย พวกเขาจึงทำพิธีสืบชะตาให้ชีวิตมีอายุยืนยาวต่อไปอีก แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาก็ตายเหมือนคนอื่น ๆ หรือวิญญาณของพวกเขาเองก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกอื่นไม่สิ้นสุด เมื่อมนุษย์ตายไปวิญญาณจะออกจากร่างไปเกิดในภพภูมิอื่น ส่วนวิญญาณจะเกิดภพภูมิไหนก็ขึ้นอยู่กับผลแห่งกรรมที่สั่งสมอยู่ในดวงวิญญาณ เป็นต้น ในช่วงชีวิตของมนุษย์ ได้ทำธุรกิจ และมีความมั่งคั่งในชีวิต มีอสังหาริมทรัพย์ อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว เงินฝากหลายล้าน เป็นต้น เมื่อตายไป พวกเขาก็ทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ฯลฯ ทรัพย์สินไม่สามารถนำพาได้ด้วยจิตวิญญาณได้ เว้นแต่อารมณ์ของสิ่งเหล่านี้จะห่อหุ้มจิตวิญญาณไปสู่ภพภูมิอื่น แม้พระพุทธเจ้าทรงเป็นอริยบุคคล แต่พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ เกิดแล้วก็ต้องตายเหมือนมนุษย์ทั่วไป

การรวบรวมหลักฐานเรื่อง"มรดกของพระพุทธเจ้า" เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ มีความสำคัญมากเพราะช่วยสืบสานพระราชปณิธานของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง ย่อมไม่ประพฤติผิดไปจากพระธรรมวินัยและสามารถนำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้บรรลุความรู้ในระดับอภิญญา๖ และนำความรู้นั้นไปพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้อื่น เพื่อให้คนในสังคมใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักศีลธรรมของพระพุทธเจ้าและกฎหมาย เป็นต้น การศึกษางานเผยแผ่พระพุทธศาสนาและคำสอนของศายกมุนีพระพุทธเจ้าทรงมอบให้คณะสงฆก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานนั้น เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรจะสนใจศึกษาข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องนี้ เพราะการที่พระพุทธศาสนาจะฝังรากลึกในจิตใจของมนุษย์และจะดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง ไม่เพียงแต่หน้าที่ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะต้องศึกษาและนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตอย่างมีความสุขการศึกษาเชิงวิเคราะห์ของพระพุทธศาสนาโดยใช้เหตุผลวิเคราะหข้อมูลเรื่องมรดกของพระพุทธเจ้า จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯและพยานเอกสารอื่น ๆ พยานบุคคลได้แก่ความเห็นของนักวิชาการทางปรัชญาศาสนา นอกจากนี้ยังมีพยานวัตถุได้แก่ โบราณสถานอีกหลายแห่งซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงการทรงเผยแผ่งานของพระพุทธเจ้า จะทำให้เหตุผลของคำตอบในเรื่องมรดกธรรมของพระพุทธเจ้า มีความเป็นสากลและทำให้คนที่มีศรัทธาอยู่แล้ว เกิดความศรัทธามากขึ้นส่วนคนที่ไม่เคยได้ยินก็จะมีศรัทธา ดังปรากฎข้อมูลของพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสาร พยานวัตถุ และ แผนที่โลกออนไลน์ได้ ดังต่อไปกล่าวคือ
๑. การแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔
ก่อนปรินิพพานนั้นพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นพระภิกษุทั้งหลายมีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดแล้วรู้สึกเป็นที่เจริญใจแต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จล่วงลับไปแล้วพระภิกษุทั้งหลาย ไม่มีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธเจ้าอีกต่อไปและควรจะปฏิบัติอย่างไร ให้สงบระงับเสียซึ่งความทุกข์จากความคิดถึงพระองค์ (พระพุทธเจ้า) พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าให้เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ดังปรากฎพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร คำถามพระอานนท์ ข้อ ๒๐๒.ว่าท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าตถาคตข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้ย่อมได้พบได้ใกล้ชิด ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปข้าพระองค์จะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายเป็นที่เจริญใจพระผู้มีพระภาคตรัสว่าอานนท์"สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งเป็นที่ศูนย์รวมที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งอะไรคือ
๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า" ตถาคตประสูติในที่นี้
๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้
๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตทรงประกาศธรรม จักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้
๔.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตได้เสด็จดับขันธ
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานในที่นี้
๑. กุลบุตรผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า คำว่า ศรัทธา มีความหมายว่าอย่างไรที่มาของความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่าเป็นคำนามว่าความเชื่อ ความเลื่อมใสและ ตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ประยุตฺโต) ได้นิยามว่า เชื่อในสิ่งที่สิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อประกอบด้วยเหตุผล ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงามและการทำความดีไม่ลู่ไหลไปตามลักษณะภายนอก ศรัทธามี ๔ อย่างคือ ๑.๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม กล่าวคือการกระทำ๑.๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๑.๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อผลของกรรม ๑.๔. ตถาคตโพธิสัทธาเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒.ไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ คำว่าสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ได้แก่สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาเพื่อปฏิบัติบูชา ด้วยการสวดมนต์ไหว้พระพุทธเจ้าฟังธรรมบรรยายและนั่งสมาธิภาวนาด้วยเป็นการพัฒนาศักยภาพของชีวิตเพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง ๆ ยิ่งขึ้นไป
๓. ระลึกว่าพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ประกาศธรรมจักรและปรินิพพานพระพุทธเจ้ากล่าวคือ การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะให้รู้ว่า พระองค์ทรงได้รับการทูลเชิญมาลงมาเกิดในโลกมนุษย์มนุษย์การตรัสรู้ ทำให้รู้ว่าชีวิตพัฒนาศักยภาพของชีวิตได้การแสดงปฐมเทศนา แสดงถึงพระมหากรุณาที่ยิ่งใหญ่ให้มนุษย์ทั้งหลายได้รู้ว่า ตนเองสามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตได้ตนให้บรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖ ได้
๔. เมื่อผู้แสวงบุญได้ปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถาน เมื่อตายแล้วจะได้ไปสวรรค์ สาเหตุของการไปสวรรค์เพราะการพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติบูชาสักวันย่อมบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖ได้ เมื่อชีวิตสิ้นลงไปแล้วจิตวิญญาณย่อมออกจาร่างกายนั้นไปจุติจิตบนโลกสวรรค์ด้วยเหตุผลที่วิเคราะห์มาแล้วผู้เขียนเห็นว่าการรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธสาวกที่มีต่อพระพุทธเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลไว้ โดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษานำมาสู่การสืบสานประเพณีนี้ไว้แก่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ไว้ในการประกอบพิธีสามีจิกรรมในช่วงเข้าพรรษเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ส่วนการต่อยอดของการแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง๔ ได้แก่ประเพณีไหว้พระและปฏิบัติบูชาในพุทธสถานต่าง ๆ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้น มาก่อให้เกิดธุรกิจทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา และวัฒนธรรมด้วยนำคณะผู้แสวงบุญไปสู่แดนพุทธภูมิในแต่ละปีจำนวนหลายร้อยคณะเกิดประเพณีการสวดพระไตรปิฎกการบวชในแดนพุทธภูมิ เกิดกระแสทางปัญญาในการศึกษาพระไตรปิฎกมากยิ่งขึ้น เป็นต้น (ยังมีต่อ)
บรรณานุกรม
๑. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร คำถามพระอานนท์ ข้อ ๒๐๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น