Buddhaphumi's philosophy: Introduction to the color of aesthetics in Wat Phra sir sanphet

๑.บทนำ
๒.สีสันแห่งสุนทรียภาพในจิตมนุษย์
๓.วัดพระศรีสรรเพชญ์
๔.วิเคราะห์สีสันแห่งสุนทรียภาพในวัดพระศรีสรรค์เพชญ์
๑.บทนำ
๒.สีสันแห่งสุนทรียภาพในจิตมนุษย์
๓.วัดพระศรีสรรเพชญ์
๔.วิเคราะห์สีสันแห่งสุนทรียภาพในวัดพระศรีสรรค์เพชญ์
๑.บทนำ
ในช่วงที่ผู้เขียนว่างจากการสอนวิชาปรัชญาตามหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ฯ วิทยาเขตนครราชสีมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอเมือง จังหวัดพระนครอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตเมืองหลวงเก่าของราชอาณาจักรสยาม ที่มีชื่อเสียงในด้านปรัชญาของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและวัฒนธรรมอันดีงาม มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร เป็นต้น พ่อค้าอินเดียหลายรุ่นเดินทางโดยเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ส่งสินค้าต่าง ๆ เช่น แก้ว แหวน เงินทอง พลอยสีไปขายแก่ชาวพื้นเมืองในดินแดนของรัฐสุวรรณภูมิ และบาทหลวงในศาสนาคริสต์ได้เดินทางจากทวีปยุโรปเพื่อเผยแผ่คำสอนของศาสนาคริสต์แก่ชาวอยุธยา ที่มีจิตใจยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นดินแดนที่ขึ้นด้วยรอยยิ้มที่แสดงถึงความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้คนที่เดินทางไกลข้ามมหาสมุทรอินเดียอันกว้างใหญ่มาขึ้นฝั่งเพื่อเผยแผ่คำสอนของพระเจ้า บาทหลวงฝรั่งเศส ได้บันทึกเรื่องราวของชาวพระนครศรีอยุธยาในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมด้านพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น เป็นจดหมายเหตุภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนั้นเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของบาทหลวงชาวฝรั่งเศส และสั่งสมอยู่ในจิตใจให้เป็นความทรงจำของตนกลับไปสู่ประเทศฝรั่งเศส เล่าถึงเรื่องราวของวิถีชีวิตของชาวพระนครศรีอยุธยาในยุคนั้น เป็นสัญญาเกี่ยวกับความทรงจำของความมีชีวิตอยู่ของผู้คนในพระนครแห่งนี้ วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในพระนครอันยิ่งใหญ่ยุคนั้นสีสรรของศิลปวัฒนะธรรมด้านก่อสร้างที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มการแต่งกายของผู้คนอาหารการกิน และยารักษาโรคสินค้าบริการที่ส่งขายไปยังต่างประเทศพระนครศรีอยุธยาแห่งตะวันออกได้ถูกถ่ายทอดลงบนตัวอักษรภาษาฝรั่งเศสเป็นเรื่องราว ให้ผู้คนเกิดมาในยุคหลังได้เสพอรรถรสไม่เคยรู้สึกว่าตนอิ่มเหมือนอาหารมือเช้ากลางวัน และมื้อเย็นที่ดื่มกินตลอดทั้งชีวิตของผู้คน กลายความทรงจำที่ผู้แสวงโชคทั่วโลกที่ยังเป็นความรู้สั่งสมอยู่ในจิตของผู้คน แม้จะล่วงลับไปแล้วไม่รู้กี่ภพชาติไม่รู้กี่อสงไขยก็ ตามก็ไม่เคยหายไปจากจิตของผู้คนการกลับมาเกิดบนโลกมนุษย์ กว่าจะเวียนกลับมาเยือนถิ่นพระนครอันสวยงามแห่งนี้ อีกต้องอาศัยเหตุปัจจัยของบุญทำกุศลกรรม และการอธิษฐานบารมีนั้นผูกมัดสัญญาให้จิตมาปฏิสนธิกลับมาเกิดที่นี้อีก
ดังนั้นเมื่อชีวิตมนุษย์ไม่เคยตายแล้วสูญ เพราะมีจิตของมนุษย์ออกจากร่างกายที่อาศัยเพียงชั่วคราวไปจุติจิตสู่ภพชาติใหม่ เช่นเดียวกันกับพระนครศรีอยุธยาเมืองหลวงของอาณาจักรสยามที่ยิ่งใหญ่ แม้ตัวเมืองพระนครเคยมีชีวิตจะล่มสลายไปแล้วแต่ชื่อเสียงของพระนครศรีอยุธยาไม่เคยตายแล้วสูญสิ้นไปจากจากความสัญญาของมนุษย์ ผู้เคยมาเกิดในสถานที่แห่งนี้พวกเขาได้เคยซึ่มซับความรู้ผ่านประสบการณ์ของประสาทสัมผัส เกี่ยวกับความมีชีวิตแห่งพระนครอันเคยรุ่งเรืองเช่นเดียวกันไว้ มีอยู่ในชั่วนิจนิรันดร์นอกจากนี้ความฉลาดของพวกเขาได้บันทึกคำบอกเล่าของผู้คนใน ชื่อเสียง เกียรติยศ ความงดงามของชีวิต และประวัติศาสตร์ ล้วนแต่ยังปรากฏหลักฐานของทรงจำของผู้คน ได้บันทึกอยู่ในเอกสารพงศาวดารเป็นจำนวนมาก และบันทึกของบาทหลวงผู้นำข่าวประเสริฐแก่ผู้คนในดินแดนต่างๆ ให้ผู้คนที่เคยใช้ชีวิตในยุคนั้นกลับมาเกิดใหม่ และศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นไม่รู้จักจบสิ้น ผู้เขียนตัดสินเขียนเรื่องสีสรรแห่งสุนทรียศาสตร์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ (The color of aesthetics in Wat Phra sir sanphet) นี้เพื่อเก็บความงดงามของชีวิตของชาวพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้อนุชนศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตเป็นการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยความคิดมีเหตุผลส่วนตัวของผู้เขียนเอง แต่กระบวนการคิดจากการเขียนนี้คงเป็นประโยชน์ผู้อ่านท่านนำไปคิดต่อยอดใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของตัวเองเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น