The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

บทนำ: มรดกของพระพุทธเจ้าตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ


 Introduction: The Dharma heritage of the Buddha in Buddhaphumi's philosophy

บทนำ  

           เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ    ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพระนครกุสินาราเคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณระหว่างแคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นกาสี และแคว้นมคธมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมากในยุคอินเดียโบราณ เนื่องจากพ่อค้าแห่งแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะส่งกองคาราวานขายข้าวไปยังแคว้นต่าง ๆ จึงต้องเดินทางผ่านเมืองนี้และพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีส่งผ้าไหมกาสีไปขายที่แคว้นสักกะ      เพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะและพระบรมวงศานุวงศ์ได้ฉลองพระองค์ที่ทำจากผ้าไหมกาสีแห่งเมืองพาราณสีในชีวิตประจำวัน  เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในแผนที่โบราณ ที่เผยแผ่ตามเว็บไซต์หลายแห่งอินเตอร์เน็ต จะเห็นว่าเมืองกุสินาราของแคว้นมัลละนั้นดินแดนทางทิศเหนือติดต่อกับแคว้นโกลิยะกับแคว้นสักกะ  ทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นโกศล  ทางด้าทิศตะวันออกจดกับแคว้นวัชชี  ส่วนทางทิศใต้จดกับแคว้นกาสีในปัจจุบัน วัดมหาปรินิพพานอยู่ห่างจากชายแดนเมืองโสเนาลี (Sonauli border) ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของสาธารณรัฐอินเดีย มีพรมแดนติดกับเมืองสิทธัตถะนครของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ทุ่งนาของชาวเมืองกุสินาราปลูกข้าวเสร็จแล้วและต้นข้าวเขียวขจีขึ้นสู่ท้องฟ้า เนื่องจากฝนตกตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากจึงไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย เพื่อหล่อเลี้ยงให้ชาวอนุทวีปอินเดียให้ดำรงต่อไปได้ เมื่อย้อนกลับไปกว่า ๒,๕๖๓  ปี พระศากยมุนีพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกอีก  ๕๐๐ องค์ ได้เดินทางจากพระนครเวสาลี แคว้นวัชชี เพื่อไปยัง สาลวโนทยานตั้งอยู่ที่พระนครกุสินาราของแคว้นมัลละ หลังจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้าจะปรินิพพานที่พระนครกุสินารา  เมื่อการจาริกผ่านไปกว่า ๘๙ วันด้วยสัจจบารมีของพระศากยมุนีพุทธเจ้าและในวาระสุดท้ายของชีวิตพระศากยมุนีพุทธเจ้าจะสิ้นสุดลง  พระองค์เสด็จไปถึงสาลวโนทยานแห่งพระนครกุสินารา พระองค์ทรงเอนพระวรกายลงบนแท่นหินที่อยู่ระหว่างใต้ต้นสาละ ๒ ต้น เพื่อทรงแสดงเทศนากัณฑ์สุดท้ายก่อนที่พระองค์จะเข้านิโรธสมาบัติ เพื่อปรินิพพานตามกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติบูชาเพื่อรักษาจิตวิญญาณ   ให้บริสุทธิ์ปราศจากราคะและทุกข์ในสังสารวัฏอีกต่อไป พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้พวกมัลละกษัตริย์จัดพิธีบำเพ็ญกุศลพระบรมศพของพระพุทธองค์เป็นเวลา ๗ วัน 

             โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตายกันทุกคน เมื่อมาตัวเปล่า เมื่อสิ้นลมหายใจ ก็ต้องตายไปพร้อมกับตัวเปล่าเช่นกัน เป็นความรู้ได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัส แต่ความจริงไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์คิด ตามคำสอนของของพระพุทธเจ้า ชีวิตมนุษย์นอกจากจะมีร่างกายแล้วยังมีจิตใจเป็นองค์ประกอบสำคัญ จะขาดร่างกายหรือจิตใจไม่ได้ หากขาดสิ่งใดไป ชีวิตมนุษย์ไม่สามารถดำรงต่อไปได้และต้องตายทันที จิตใจของมนุษย์มีลักษณะที่จะรับรู้ (วิญญาณ) สิ่งต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสของตัวเอง เมื่อรับรู้ มันจะเก็บหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ (นามธรรม) ไว้ในจิตใจของบุคคลนั้น  โดยธรรมชาติของจิตในมนุษย์เป็นนักคิด (ปรุงแต่งหรือสังขาร) จนเกิดกิเลสแฝงตัวอยู่ในจิตใจ และปรารถนาจะครอบครอง พวกเขาตัดสินใจทำธุรเพื่อให้ได้เงินมา ซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ รถยนต์ และเงินทอง ไว้ในครอบครองของตนเพื่อความสะดวกสบายในชีวิต มีฐานะเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น และมีความพอใจในชีวิตของตน แต่เมื่อจิตวิญญาณมนุษย์เป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง เมื่อตายไป มนุษย์ไม่สามารถเอาทรัพย์สินที่มีรูปร่างจับใส่จิตวิญญาณติดตามไปสู่โลกอื่น ๆ ได้ ต้องละทิ้งสมบัติซึ่งเป็นวัตถุไว้กับโลก ให้ผู้อื่นที่มองเห็นค่าใช้ประโยชน์หรือเข้าครอบครองเป็นเจ้าของชั่วคราวบนโลกนี้อีกต่อไป 

             ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนสงสัยว่า ก่อนที่ศากยมุนีพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานทรงประทานทรัพย์มรดกแก่พุทธบริษัท (Buddhist company) ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผู้เขียนสนใจที่จะค้นคว้าในเรื่องนี้ต่อไปและรวบรวมหลักฐาน เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์หาเหตุผลเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่อง "มรดกของพระพุทธเจ้า"  โดยรวบรวมหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถาและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นต้นพยานวัตถุได้แก่พุทธสถานต่าง  ๆ  นำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์นั้น จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมวิทยากรนำไปใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญชาวพุทธไทยในแดนพุทธภูมิให้มีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้เกี่ยวกับมรดกธรรมของพระพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์แก่การวิจัยของนิสิตในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาพระพุทธศาสนาในการวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบ ของหัวข้อวิจัยให้ได้ความรู้และความเป็นจริงปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ