An analysis of The Constitutional Law of Tripitaka

กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ในยุคปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง และมีกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศโดยระบุองค์ประกอบของรัฐ ระบบราชการคือสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการตรากฎหมาย คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารเพื่อปกครองประเทศให้สงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมาย ศาลยุติธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการพิจารณาอรรถคดีทั้งปวง และต้องระบุให้ชัดเจนในกฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกำหนดราชอาณาจักรไทยให้เป็นอาณาเขตที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวและจะแบ่งแยกไม่ได้ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภาในการตรากฎหมาย และใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารประเทศโดยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้บริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเป็นยุติธรรมโดยเอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง แสดงสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยรักษาสิทธิในอาชีพไว้แก่วรรณะใด ๆ เช่นเดียวกับในสมัยก่อนพุทธกาล
กำหนดบทบาทสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการศึกษา การมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ การประกอบอาชีพและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนาของตน มีหน้าที่ปกป้องชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ คุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในชีวิตทุกปีเพื่อให้มีจิตใจที่กล้าหาญด้วยการทำสมาธิ จนจิตบริสุทธิ์ปราศจากอคติและอารมณ์ขุ่นมัว มีบุคลิกอ่อนโยนเหมาะกับการใช้ชีวิตในสังคม มีศรัทธามั่นคงในศิลปวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์แห่งชาติของตนเองและไม่หวั่นไหวต่อภัยคุกคามต่อชีวิต ประชาชนต้องได้รับการศึกษาโดยตรงผ่านระบบการศึกษาของประเทศและทางอ้อมในการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อรับการช่วยเหลือภาครัฐผ่านแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตของประเทศ การเข้าใจเหตุผลของคำตอบในการใช้ชีวิตในระบบการศึกษาระดับชาติและระดับโลก จะต้องได้รับการฝึกทักษะในการทำงาน เพื่อสร้างโอกาสของชีวิตก้าวหน้าอยู่เสมอโดยการฝึกสติ และทำงานโดยระลึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติไว้เป็นที่ตั้งและมีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเหตุผลของคำตอบในความรู้ที่จำกัด ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางการแข่งขันของชีวิตและรับมือกับปัญหาของโลกที่เกิดจากการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ ด้วยการพัฒนาจิตสำนึกของตนให้ทันโลกตลอดเวลา
ปัญหาต้องที่ผู้เขียนต้องตีความต่อไปอีกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญคืออะไร

เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากที่ของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้คำนิยามคำว่า" กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย [2] เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลคำนิยามจากพยานเอกสารพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ได้นิยามว่าเป็นกฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมืองของประเทศนั้น ๆ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่กฎหมายที่บัญญัติออกมาภายหลังนั้นจะยกเลิกและโต้แย้งมิได้ ลักษณะของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีดังต่อไปนี้
๓.๑ กำหนดโครงสร้างรัฐ เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์โครงสร้างของกฎหมายรัฐธรรมนูญในทุกประเทศจะมีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือรัฐต้องประกอบด้วยดินแดนที่มีอาณาเขตที่แน่นอน มีประชากรตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยในดินแดนนั้น ต้องมีวัฒนธรรมตวามเป็นอยู่ของประชาชนและมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและมีอำนาจอธิปไตยในการตรากฎหมายโดยรัฐสภาของตนเอง เพื่อประกาศให้กฎหมายมีผลบังคับใช้กับประชาชน การบริหารจัดการประเทศโดยคณะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ การตัดสินอรรถคดีเป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐและประชาชนกับประชาชนโดยองค์คณะตุลาการของประเทศตนเป็นต้น เช่น ในสมัยพุทธกาล แคว้นวัชชีมีอำนาจอธิปไตยของตนเองในการบริหารจัดการปัญหาของประเทศผ่านระบบรัฐสภาเป็นต้น
๓.๒ ระบอบการปกครอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในแต่ละประเทศ นักปรัชญาทางการเมืองของประเทศนั้น จะต้องมีเหตุผลสำหรับคำตอบในการออกแบบประเทศที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและผู้นำของประเทศจะต้องมีความกล้าที่จะแสดงออกถึงภูมิปัญญาของชาติตนเอง ประชาชนในสังคมเมืองและชนบทต้องมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศของตนโดยรัฐบาลจะสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจร่วมกันเพื่อลดช่องว่างทางความคิดที่ก่อให้ทิฐิมานะได้และก่อให้ความสามัคคีของประชาชน และมีความเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียวตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นพุทธกาล รัฐมหาอำนาจในชมพูทวีปมีรูปแบบการปกครองระบอบสามัคคีธรรม พัฒนาแนวคิดมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เรื่องพระพรหมสร้างมนุษย์และกำหนดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา โดยอ้างว่าพระพรหมทรงสร้างไว้ให้แก่ประชาชนของพระองค์ การแบ่งชนชั้นวรรณะทำให้เกิดมิจฉาทิฐิชนวรรณะพรหมณ์ชอบดูหมิ่นชนวรรณะต่ำ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันของชนต่างวรรณะ และเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างออกไปจนไม่มีวันสิ้นสุดและที่สำคัญมนุษย์ มีตัณหาในความรักในความอยากได้มาครอบครอง โดยไม่สนใจข้อจำกัดเรื่องชนชั้นวรรณะทำให้ลูกที่เกิดมานั้น ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องวรรณะเพราะมีวรรณะไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น ในการปกครองประเทศนั้น ชนวรรณะกษัตริย์ทุกคนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารปกครองประเทศผ่านระบบรัฐสภา โดยสมาชิกรัฐสภามาจากวรรณะกษัตริย์ทั้งหมด เช่น รัฐสภาแห่งแคว้นวัชชีนั้น พวกเจ้าวัชชีและสมาชิกอีกหลายพระราชวงศ์ เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการบัญญัติกฎหมาย การบริหารประเทศ และการพิจารณาตัดสินอรรถคดี เป็นต้น ส่วนราชอาณาจักรไทยนั้น สมาชิกรัฐสภามาจากการแต่งตั้งส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์มาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น
๓.๓ การใช้อำนาจอธิปไตย คำว่า "อธิปไตย"จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่า "อำนาจสูงสุดของรัฐที่ใช้บังคับบัญชาในอาณาเขตของตน เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์จากองค์ประกอบของรัฐนั้น มีประชาชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐอำนาจอธิปไตยนั้น ประชาชนเป็นเจ้าของแต่มอบอำนาจให้สมาชิกรัฐสภา เป็นผู้ทำหน้าที่แทนในการบัญญัติกฎหมายเท่านั้นเป็นรัฐบาลผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศเท่านั้น ส่วนการใช้อำนาจของตุลาการนั้น ใช้วิธีการสอบคัดเลือกจากประชาชนในรัฐนั้นว่าเป็นผู้ผ่านการพัฒนาศักยภาพของชีวิต ผ่านสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศและมีจิตวิญญาณของผู้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมโดยยึดถือความจริง มีความเป็นสากลเป็นที่ตั้งมีความเหมาะสมเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการตัดสินอรรถคดีได้ตัวอย่างเช่นในสมัยพุทธกาลนั้น รัฐสภาของแคว้นวัชชีใช้อำนาจอธิปไตยในการบัญญัติกฎหมายรัฐสภาเป็นคณะรัฐบาลในการบริหารปกครองประเทศ และรัฐสภาเป็นศาลยุติธรรมในการตัดสินคดีความให้เกิดความยุติธรรมในประเทศเป็นต้น
๓.๔ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คำว่า "สิทธิ" นั้น โดยพื้นฐานของชีวิตประชาชนทุกคน ต้องมีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพและการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติให้สิทธิหน้าที่พิเศษแก่ชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด เมื่อมีสิทธิแล้วย่อมเกิดหน้าที่ในผลประโยชน์ที่ตนได้มานั้น คือตอบแทนคืนสู่แผ่นดินด้วยการนำความรู้ไปพัฒนาแผ่นดินให้ยั่งยืนต่อไป โดยไม่เลือกปฏิบัติตามชนชั้นวรรณะ เป็นต้น
๓.๕ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย ให้ถือประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง ให้ความบริสุทธิ์ยุติธรรม ในสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติเพราะเสียงประชาชน คือเสียงสวรรค์ที่แสดงออกมาผ่านผู้นำ (ในสมัยพุทธกาล) แต่ในยุคปัจจุบัน รัฐบาลควรฟังเสียงประชาชนแสดงความเห็นผ่านโลกออนไลน์เพราะสะท้อนปัญหาความต้องการที่แท้จริงและผู้นำรัฐในระดับต่าง ๆ ควรเดินทางเข้าช่วยเหลือเองแสดงสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับจากแผ่นดินเพื่อทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ เป็นต้น
บรรณานุกรม
[1] พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรมจาก htt://www.84000.org/Tipitaka/dic/d_item.php?=289 เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
[2] http://www.royin.go.th/dictionary/กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น