The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

ปัญหาญาณวิทยาของกฎหมายรัฐธรรมนูญในพระไตรปิฎก

 Epistemological problems of constitutional law in the Tripitaka

บทนำ   

           โดยทั่วไปแล้ว   ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าในสมัยพุทธกาลนั้น   ในดินแดนอนุทวีปอินเดียแบ่งออกเป็นแคว้นขนาดใหญ๋  ๒๐ แคว้นและแคว้นเล็ก ๆ อีก ๕ แคว้น      แต่ละแคว้นมีอาณาเขตแน่นอน   มีชุมชนการเมืองตั้งขึ้นมามีประชาชนอาศัยอยู่แน่นอน  มีระบบการปกครองแบบรัฐศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น   เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงแล้วแล้ว ก็ยอมรับความจริงโดยปริยายว่าเป็นความจริงโดยมีเหตุผลที่จะสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นอีกต่อไป แต่ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า         เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งเรืองใดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมายาวนาน  จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา   เป็นต้น  อย่าเชื่อทันที่เราควรสงสัยไว้ก่อน  ผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ    และบทวิเคราะห์บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าหลักราชอปริหานิยธรรมนั้น  เป็นหลักธรรมสำหรับนักบริหารแต่ในสมัยพุทธกาลนั้น   ไม่มีประมวลกฎหมายและพาณิชย์ประกาศบังคับใช้เป็นกิจลักษณะเช่นสมัยปัจจุบันเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายสำหรับนักบริหารได้    ทำให้เราสงสัย "เราจะรู้ความจริงได้อย่างไร" เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใด  เช่น    มนุษย์ตายแล้วสูญเปล่า พรหมสร้างมนุษย์  ฯลฯก็ต้องสงสัยไว้ก่อนว่ายังมิใช่ความจริงจนกว่าสืบเสาะข้อเท็จจริง    และรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูล  เพื่อการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล      และพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ  หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น   ข้อเท็จจริงที่กล่าวถึงในเรื่องนั้นย่อมขาดความน่าเชื่อถือ      ไม่เป็นความรู้สากลไม่สามารถใช้ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการได้  และไม่สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้       

          ปัญหาว่าพยานหลักฐาน    ที่น่าเชื่อถือตามหลักปรัชญาเป็นอย่างไร?   เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในตำราญาณวิทยาเกี่ยวข้องกับที่มาของความรู้ของมนุษย์       ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์    จะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองเท่านั้น                ดังนั้นประจักษ์พยาน (eyewitness)   ที่ยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้  ต้องมีความรู้จากประสบการณ์ของชีวิตผ่านประสาทสัมผัส    และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองหากบุคคลใด       ไม่มีความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ก็จะเป็นประจักษ์พยานไม่น่าเชื่อถือไม่สามารถเป็นพยานยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้        ในการศึกษาปัญหาญาณวิทยาที่เกี่ยวกับหลักอปริหานิยธรรม (the condition of welfare)       โดยทั่วไป นักวิชาการชาวพุทธยอมรับว่าหลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมสำหรับนักบริหารในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ       คำว่า"นักบริหารสมัยอินเดียโบราณ" ไม่ได้มีหน่วยงานรัฐและเอกชนเช่นทุกวันนี้      ทุกประเทศมีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรมตามหลักธรรมกษัตริย์ ประชาชนถูกแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะกล่าวคือ กษัตริย์ พราหมณ์แพศย์  และศูทร เป็นต้น วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่บริหารประเทศ    ดังนั้น ผู้บริหารในสมัยพุทธกาลคือวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่บริหารปกครองประเทศ    

             หลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักบริหารประเทศถือว่า     เป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศหรือไม่เมื่อผู้เขียนค้นหาหลักฐานบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตของพระไตรปิฎก  แต่ไม่พบคำว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือรัฐธรรมนูญ" ผู้เขียนจึงใช้คำว่า "นิติศาสตร์" ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ     ก็พบคำว่า "นิติศาสตร์"ในเชิงอรรถซึ่งตีความหมายจาก "ธรรมของกษัตริย์"ว่าเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศดังหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่๒๕ พระสุตตันตปิฏกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดก  ภาค ๒ [๒๑.อสิตินิบาต]  ๕.มหาสุตโสมชาดก (๕๓๗)ข้อ. ๔๓๐ พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว    เสด็จไปถึงราชมณเฑียรของพระองค์  ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกามเสด็จหวนกลับมาสู่เงื้อมมือของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก       พระองค์ทรงช่างเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรมกษัตริย์เลยนะพระเจ้าขา"      ผลของการค้นหาผู้เขียนพบคำว่า"ธรรมกษัตริย์"นั้นในเชิงอรรถของพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นนั้น     ได้ตีความหมายคำว่า "ธรรมของกษัตริย์"    คือหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศคือรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน เป็นต้น      

        เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และได้ฟังข้อเท็จจริงว่าอาณาจักรต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียมี "ธรรมของกษัตริย์เป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองรัฐและยังเรียกอีกชื่อว่า "หลักอปริหานิยธรรม" และจากที่มาของความรู้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ได้กำหนดคำว่า "รัฐธรรมนูญคือบทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบ และระบอบการปกครองประเทศ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน อำนาจหน้าที่ขององค์กรและความสัมพันธ์ขององค์กร" 

         ส่วนคำว่า "กฎหมาย" มีคำนิยามว่าเป็นคำนาม กฏเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นมา เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไปผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายย่อมได้รับผลร้าย" จากคำนิยามนั้น ผู้เขียนวิเคราะห์ลักษณะของกฎหมายได้ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ 

          (๑) ใครมีอำนาจออกกฎหมาย   เมื่อศึกษาหลักฐานในตำราวิชาการต่าง ๆ ผู้เขียนได้ตีความว่า ในรัฐเอกราชนั้น ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ เพราะเป็นชุมชนการเมืองที่จัดตั้งโดยประชาชน  แต่ไม่ใช่พลเมืองทุกคนจะสามารถใช้อำนาจอธิปไตยในสำนักงานของรัฐสภาได้ เนื่องจากสำนักงานรัฐสภามีขนาดเล็กเกินกว่าที่ทุกคนจะนั่งทำงานได้จำเป็นต้องให้พลเมืองต้องใช้สิทธิและหน้าที่ของตนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตรากฎหมาย หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติแห่งชาติตรากฎหมายบังคับประชาชนในประเทศ หรือ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระมหากษัตริย์ทรงประกาศกฎหมายปกครองประเทศเป็นต้น ในสมัยรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์  วรรณะกษัตริย์มีอำนาจในการตรากฎหมายผ่านระบบรัฐสภา เป็นต้น ตามข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่า ผู้มีอำนาจออกกฏหมายคือ ประชาชน คณะปฏิวัติ ชนวรรณะกษัตริย และพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น  

              (๒) กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์    เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้บัญญัติศัพท์ว่ากฎเกณฑ์คือ "ข้อกำหนดที่วางไว้ให้เป็นหลักปฏิบัติ"     ผู้เขียนตีความว่ากฎหมายคือกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่วางไว้ให้เป็นหลักปฏิบัติ เช่น  ข้อกำหนดที่วางไว้ เพื่อเป็นหลักการในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญาตามมาตรา ๒๘๘ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นซึ่งมีโทษถึงตาย  ในสมัยพุทธกาลนั้น เรียกว่า"ธรรมของกษัตริย์"ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติของนักบริหาร (วรรณะกษัตริย์) แต่ในสมัยพุทธกาลนั้น นักบริหารในวรรณะ ๔      ได้แก่วรรณะกษัตริย์ปฏิบัติหน้าที่ปกครองประเทศ  โดยหลักอธิปริหานิยธรรมเป็นกฎเกณฑ์การของการบริหารประเทศ ตัวอย่างเช่นการประชุมรัฐสภาของสมาชิกรัฐสภาจากวรรณะกษัตริย์ ต้องเข้าประชุมพร้อมกันและเลิกพร้อมกันหลักการบัญญัติกฎหมาย เมื่อสมาชิกรัฐสภาตรากฎหมายแล้วภายหลังจะออกกฎหมายมายกเลิกไม่ได้เพราะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรม เป็นต้น

             (๓) ใช้บังคับให้บุคคลให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป  เมื่อรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะได้ตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะมีข้อกำหนดในทางปฏิบัติว่า     ห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะและทำงานในหน้าที่ของวรรณะอื่น  เมื่อประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีก็จะบังคับแก่ประชาชนให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไปในแคว้น เช่นราชอปริหานิยธรรมเป็นข้อกำหนดให้วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ในการปกครองรัฐ ต้องปฏิบัติตามหลักราชอปริหานิยธรรมนั้น เป็นต้น  
       
          (๔) ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย  เมื่อกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะมีผลบังคับใช้  และลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เมื่อข้อเท็จจริงในพระไตรปิฏกมหาจุฬา ฯ  ว่ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ เพราะไม่สามารถหักห้ามตัณหาราคะของตนเองได้ ก็สมัครรักใคร่สมสู่กันเป็นสามีภริยากัน เมื่อคนในสังคมที่ตนพำนักอยู่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพียงพอ ก็จะลงโทษผู้นั้นด้วยการลงพรหมทัณฑ์ ด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นพำนักอาศัยในสังคมนั้น  ถือว่าผู้กระทำผิดนั้นได้รับผลร้ายจากการกระทำของตน ต้องสละวรรณะของตนเอง หมดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะต่อไป เป็นคนไร้วรรณะเรียกว่า "พวกจัณฑาล" เพราะพวกเขาไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายจารีตประเพณีของการแบ่งชนชั้นวรรณะ ลูกเกิดมามีสายเลือดไม่บริสุทธิ์ เพราะมีพ่อแม่แต่งงานข้ามวรรณะ พ่อแม่ถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นต้น ต้องไปใช้ชีวิตข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น 

        ปัญหาว่าหลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักกฎหมายในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หรือไม่ ? เมื่อผู้เขียนลงมือสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานหลายฉบับได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่านักวิชาการทางพระพุทธศาสนาหลายท่านให้ความเห็นทางวิชาการพุทธศาสนาสมัยใหม่ว่า" หลักอปริหานิยธรรม"เป็นธรรมะสำหรับนักบริหาร เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาในที่มาของความรู้จาก

            ๒.๑ ราชอปริหานิยธรรม   เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาแสวงหาเหตุของคำตอบในหลักบริหารปกครองรัฐในพระไตรปิฎกนั้น จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับประมวลธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์(ปยุตฺ ปยุตโต)  ข้อ ๒๘๙ กล่าวว่าหลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมกษัตริย์แห่งแคว้นวัชชีหรือวัชชีอปริหานิยธรรมเป็นอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญรุ่งเรืองฝ่ายเดียวสำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง  เป็นต้น [1] 

              ๒.๒ ราชอปริหานิยธรรม เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลของคำตอบของหลักบริหารปกครองรัฐในสมัยพุทธกาล จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ แล้ว เมื่อค้นคว้าหาเหตุผลของคำตอบเรื่องหลักอปริหานิยธรรม จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพาน. ข้อ ๑๓๔ กล่าวว่า.....สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัด พระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระปฤษฏางค์ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า 

           ๑.อานนท์เธอได้ยินไหมว่า "เจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ประชุมกันมากครั้ง ท่านพระอานนท์กราบทูลตอบว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ได้ยินว่า  เจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง  พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า "อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ กล่าว 

             ๒. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า "เจ้าวัชชีพร้อมเพียงกันประชุมพร้อมเพียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ"ท่านพระอานนท์กราบทูลตอบว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ได้ยินว่า    เจ้าวัชชีพร้อมเพียงกันประชุมพร้อมเพียงกันเลิกประชุมและพร้อมเพียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำพระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า "อานนท์  พวกเจ้าวัชชี พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย  ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชีเจ้าวัชชีพร้อมเพียงกันประชุมพร้อมเพียงกันเลิกประชุมและพร้อมเพียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ    
         ๓. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม ท่านพระอานนท์กราบทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า "พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิมพระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า "อานนท์ พวกวัชชี พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้วถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม  ฯลฯ    
            ๔.อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพนับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของเจ้าวัชชีและสำคัญถ้อยคำเหล่านั้นว่า เป็นสิ่งควรรับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า" พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของเจ้าวัชชีและสำคัญถ้อยคำเหล่านั้นว่า เป็นสิ่งควรรับฟัง"อานนท์ พวกเจ้าวัชชี พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของเจ้าวัชชี และสำคัญถ้อยคำเหล่านั้น ว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง   
  
           ๕. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกเจ้าวัชชีสักการะ ไม่ฉุดคร่าขืนใจสตรี หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า" พวกเจ้าวัชชีสักการะ ไม่ฉุดคร่าขืนใจสตรี หรือกุลกุมารี ให้อยู่ร่วมด้วย" "อานนท์ พวกเจ้าวัชชี พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว พวกเจ้าวัชชีสักการะ ไม่ฉุดคร่าขืนใจสตรี หรือกุลกุมารี ให้อยู่ร่วมด้วย" 

            ๖. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นว้ชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชา อันชอบธรรมที่เคยให้ ที่เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นมิให้เสื่อมสูญไป" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า" พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นว้ชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมืองและไม่ละเลยการบูชา อันชอบธรรมที่เคยให้ ที่เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นมิให้เสื่อมสูญไป"   
   
          ๗. อานนท์เธอได้ยินไหมว่า"พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครองป้องกัน พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า "ทำอย่างไรพระอรหันต์ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นเรา ท่านที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขในแว่นแคว้นเรา"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า" พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครองป้องกัน พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า "ทำอย่างไร พระอรหันต์ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นเรา ท่านที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขในแว่นแคว้นเรา" "อานนท์ พวกเจ้าวัชชี พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครองป้องกัน พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า "ทำอย่างไร พระอรหันต์ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นเรา ท่านที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขในแว่นแคว้นเรา"  

          การตีความ  เมื่อผู้เขียนศึกษา" หลักอปริหานิยธรรม" ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนก็เห็นด้วยกับนักปราชญ์ชาวพุทธหลายคน ที่ให้ความเห็นว่า หลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักสำหรับผู้บริหาร  สมัยพุทธกาลซึ่งได้แก่วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองประเทศตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เมื่อวรรณะกษัตริย์มีจำนวนนับล้านคนจึงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะทำหน้าที่ปกครองประเทศ เพราะไม่มีอาคารรัฐสภาขนาดใหญ่รองรับประชาชนได้ทุกคน ดังนั้น "หลักราชอปริหานิยธรรม"ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของวรรณะกษัตริย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาซึ่งจะมีส่วนในการปกครองรัฐตามหลักความสามัคคี หมั่นประชุมพร้อมเพรียงกัน เลิกพร้อมกันและทำสิ่งต่าง ๆ พร้อมเพียงกัน การกำหนดหน้าที่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับเป็นต้น ตัวอย่างเช่นการใช้อำนาจอธิปไตยของสมาชิกรัฐสภาแห่งรัฐสักกะทั้งอำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการนั้น 

            เมื่อวิเคราะห์ว่าหลักอปรินิยธรรมมีสภาพบังคับทางกฎหมายสำหรับประชาชนหรือไม่ ผู้เขียนตีความว่าในหลักอปริหานิยธรรมได้กำหนดสภาพบังคับทางกฎหมายไว้ว่า จะไม่บัญญัติในสิ่งที่มิได้บัญญัตินั้น และผู้เขียนเห็นว่าเมื่อหลักอปริหานิยธรรมบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะได้ประกาศให้สภาพบังคับใช้แล้ว เป็นตราเป็นกฎหมายจารีตประเพณีแล้วภายหลังจะตรายกเลิกกฎหมายว่าด้วยชนชั้นวรรณะมิได้เพราะเป็นการขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมที่ตราไว้ว่าบัญญัติในสิ่งที่มิได้บัญญัตินั้นให้ทำหรือไม่ล้มเลิกสิ่งที่บัญญัติไว้แล้วต้องยึดถือตามจารีตประเพณีเรื่องชนชั้นวรรณะต่อไป ตัวอย่างเช่นเมื่อกฎหมายแบ่งวรรณะบัญญัติกฎหมายไว้ให้ชนวรรณะพราหมณ์มีสิทธิ และหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมสวดสาธยายพระเวทได้ ชนวรรณะอื่นไม่สิทธิและหน้าที่เช่นชนวรรณะพรหมณ์ หรือ บัญญัติให้ชนวรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศเช่นชนวรรณะอื่นไม่มีสิทธิหน้าที่ในการปกครองได้ บัญญัติให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพเช่น ชนวรรณะแพศย์เป็นต้น ส่วนคำว่าไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ดีแล้วถือมั่นตามวัชชีธรรมตีความว่า เมื่อได้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะแล้ว จะไม่ยกเลิกล้มระบบวรรณะนั้น ยึดถือว่าวัชชีธรรมคือธรรมของกษัตริย์ที่เจ้าวัชชีเคยปฏิบัติกันมา เพื่อความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของประเทศแต่เพียงฝ่ายชนวรรณะสูงเพียงฝ่ายเดียว ส่วนพจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺ ปยุตฺโต) ได้ให้คำนิยามว่า หลักคำสอนอปริหานิยธรรม ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นธรรมของกษัตริย์วัชชี คำว่า "ธรรมกษัตริย์" กล่าวคือ หลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศด้วยระบบสามัคคีธรรม (ของแค้วนวัชชีและแคว้นสักกะ เป็นต้น )  เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้เกิดความสามัคคีของประชาชนทุกส่วนภูมิภาค ทำให้แคว้นวัชชีไม่ตั้งอยู่ในความเสื่อม มีเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียว ธรรมกษัตริย์ข้อนี้จึงเหมาะสมกับแนวคิดของวิธีการปกครองให้ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารประเทศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นในแคว้นสักกะปกครองด้วยระบบสามัคคีธรรมเช่นเดียวกัน เพราะผู้เขียนได้เห็นร่องรอยของหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ข้อ ๒๒ กล่าวว่า....สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ (สัณฐาคาร) ที่พวกเจ้าศากยะผู้ครองกบิลพัสดุ์ ทรงสร้างให้เสร็จไม่นาน...... 

             จากข้อความในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ได้ว่า "ท้องพระโรงหลักใหม่" ของสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์นั้นคือสันถาคารเพราะคำว่า "ท้องพระโรง" ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงตีความหมายว่าเป็นสันถาคารหรือรัฐสภาเป็นสถานที่ประชุมพิจารณาตัดสินปัญหาของรัฐของสมาชิกรัฐสภามาจากวรรณะกษัตริย์ของเจ้าศากยวงศ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ การใช้อำนาจอธิปไตยในการออกกฎหมายที่เรียกว่า"นิติบัญญัติ" ต้องได้รับความเห็นชอบรัฐสภาศากยวงศ์การใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารประเทศที่เรียกว่า"อำนาจบริหาร"นั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นนายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาเป็นคณะรัฐมนตรี การบริการประเทศต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาศากยวงศ์เท่านั้น ในการใช้อำนาจอธิปไตยในการพิจารณาอรรถคดีต่างๆ ที่เรียกว่า"อำนาจตุลาการ" นั้น รัฐสภาศากยวงศ์เป็นองค์คณะศาล โดยมีพระมหากษัตริย์หัวหน้าองค์ศาลผู้พิจารณาเช่นเดียวกันเป็นต้นในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ได้กล่าวถึงคำว่า"พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์" ข้อความนี้ ผู้เขียนคิดวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบได้ว่า พวกเจ้าศากยวงศ์หมายถึงชนวรรณกษัตริย์นั้นมีหน้าที่ปกครองพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะนั้น มีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรมโดยมีสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์นั้นเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ หน้าที่ เป็นต้น. 


ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ