The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

#หลักฐานพิสูจน์ความจริงของ"ชีวิตตายไม่สูญสิ้น" ในพระไตรปิฎก

#Evidence to prove the truth Life the death  and not lost in  Tripitaka 

บทนำ         

       ในการศึกษาปรัชญาได้แบ่งแนวคิดออกเป็นหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นอภิปรัชญา ญาณวิทยา  จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์และจริยศาสตร์ เป็นต้น  ตามแนวคิดอภิปรัชญานักอภิปรัชญามีความสนใจในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์หรือปัญหาที่ข้องกับมนุษย์ เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ ซึ่งเป็นความรู้ระดับขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ หรือเกินขอบเขตการรับรู้ของประสาทสัมผัสของมนุษย์   เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงแล้ว แต่เรื่องราวก็ปรากฏอยู่ในใจและที่มาของความรู้ในเรื่องนั้นยังไม่ชัดเจน ทำให้มนุษย์สงสัยที่มาของเรื่องนั้นเพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงตามคำสอนของพราหมณ์ในสมัยก่อน ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวช มนุษย์เชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่าแก่นแท้ของชีวิตเกิดจากพระพรหมสร้างมนุษย์จากกายของพระองค์ ดังนั้น พระพรหมจึงเป็นบิดาของมนุษย์ทั้งปวงที่เกิดมาแล้วและกำลังเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมา สาเหตุที่มนุษย์ในสมัยนั้นเชื่อว่าพระพรหมมีอยู่จริง เพราะพราหมณ์อารยันหลายคนที่ดำรงตำแหน่งปุโรหิตได้อ้างเหตุผลยืนยันความจริงว่า พราหมณ์ในยุคก่อนเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะ ดังนั้น  พระพรหมจึงเป็นเทพเจ้าที่มีอยู่จริง ดังปรากฏพยานหลักฐานในในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๘ (มหาจุฬา ฯ) พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคข้อที่ ๑ พรหมชาติสูตรกล่าวไว้ในข้อที่ ๔๒ ได้กล่าวว่า "ภิกษุทั้งหลายบรรดาสัตว์พวกนั้น   ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็นท่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจเป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง   ผู้บันดาล  ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ  ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด    เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ขึ้นมาเพราะเหตุไรเพราะเรามีความคิดมาก่อนว่า  โอหนอ  แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง เรามีความตั้งใจอย่างนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้สัตว์เกิดมาภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้แล้วว่าท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหมเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นท่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล  ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิดพระพรหมผู้เจริญนี้บันดาลพวกเราขึ้นมาเพราะเหตุไร เพราะว่าเราเห็นพระพรหมองค์นี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง"  

     ส่วนพราหมณ์ดราวิเดียนเชื่อว่าน้ำเป็นเทวดา และได้เปิดสำนักบูชาเทวดาเช่นเดียวกับพราหมณ์อารยัน  ในแต่ละปี เกิดผลประโยชน์ (benifits) มูลค่ามหาศาลในการทำพิธีบูชายัญเทพเจ้า และนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์นิกายต่าง ๆ ทำให้พราหมณ์ทั้งสองนิกาย เกิดการแย่งชิงประโยชน์จากการบูชาและหาเหตุผลเพื่อยกย่องเทพเจ้าในนิกายของตนมีศักดิ์สูงกว่าเทพเจ้าของนิกายอื่น   เมื่อมหาราชาจากทั้ง ๑๖ แคว้น ได้มาประกอบพิธีบูชายัญและประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศ ยิ่งมีศรัทธาในพราหมณ์นิกายนั้นมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งหวาดระแวงต่อนโยบายทางการเมืองปกครองของรัฐก็ยิ่งมากขึ้น ก็เป็นการยากที่ชาวอารยันจะใช้อำนาจอธิปไตยของตนเพื่อความเจริญและเป็นประโยชน์แก่พวกอารยันเพียงฝ่ายเดียว เมื่อพราหมณ์อารยันหวนนึกถึงปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความมั่นคงของชาวอารยันจึงหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวดราวิเดียนไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง ทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ และทางศาสนา ที่จะนำมาต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองได้ ชาวอารยันจึงปฏิรูปสังคมโดยการนำหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะและห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะที่บัญญัติไว้ดีแแล้วในหลักอปริหานิยธรรมซึ่งเป็นนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ    การออกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะโดยอ้างว่าพระพรหมสร้างวรรณะไว้ให้ประชาชนทำงานตามหน้าที่ของตน ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๒๘ ของมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๒๒. มหานิบาต  ภูริทัตตชาดก ข้อ ๙๓๒ กล่าวว่า พวกพราหมณ์ถือสาธยายมนต์ พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพทย์ยึดเกษตรกรรม พวกศูทรยึดการรับใช้ วรรณะทั้ง ๔ นี้ก้าวถึงการงานตามที่อ้างมาแต่ละอย่างกล่าวกันว่ามหาพรหมผู้มีอำนาจได้สร้างขึ้นไว้"  

       การแต่งงานข้ามวรรณะ ทำให้เกิดปัญหาทางปกครองเพราะไม่รู้ว่า จะจัดให้บุคคลที่เกิดมานั้นอยู่ในวรรณะใด จึงถูก จัดให้อยู่ในจัณฑาล หมดสิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพ ตามกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะ  แม้ผู้คนในยุคนั้น บางกลุ่มไม่มีความเชื่อในคำสอนเรื่องพระพรหมก็ตาม แต่มิใช่กลัวพระพรหมลงโทษแต่เป็นเพราะ ชนวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองรัฐ ได้ออกกฎหมายให้มีสภาพบังคับให้เชื่อต่อไปทำให้รัฐสักกะนั้นกลายเป็นรัฐศาสนา ประชาชนมีความกลัวจนไม่กล้าโต้แย้งด้วยเหตุผลของความจริงนั้นและมีความน่ากลัวยิ่งเพิ่มขึ้นอีก เมื่อชนวรรณะพรหามณ์ได้กำหนดให้ผู้ควบคุมกฎคนในชุมชนของสังคมได้ลงพรหมทัณฑ์แก่บุคคลไม่มีความเชื่อในพระพรหม ฝ่าฝืนความบริสุทธิ์แห่งวรรณะด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะ ทำให้ลูกที่เกิดมาไม่รู้ให้จัดอยู่ในวรรณะใด กลายเป็นชนไร้วรรณะ ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพเพราะทุกอาชีพสงวนไว้แก่ชนวรรณะอื่นไปหมดสิ้นแล้ว และที่สำคัญการแย่งงานข้ามวรรณะอาจถูกขับไล่ออกจากชุมชนที่ตนเคยอยู่อาศัยหรือถูกทำร้ายจากบุคคลในครอบครัวของตนเอง เป็นต้น 

       เมื่อมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความทุกข์ของความหิวคิดหาแต่เอาชีวิตรอดเพียงอย่างเดียว เมื่อผู้เขียนระลึกเหตุผลข้อนี้แล้วปัญหาต้องพิจารณาต่อไปอีก มนุษย์ตายแล้วมนุษย์ตายแล้วสูญหรือไม่สูญ เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลเรื่องเจ้าลัทธิทั้งหกจากพระไตรปิฎกแล้วผู้เขียนเห็นว่า เหตุผลของคำตอบนั้นส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ ชีวิตตายแล้วสูญ อาจเป็นเพราะมนุษย์ในยุคนั้น ยังไม่รู้วิธีพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้ชีวิตมีอินทรีย์แก่กล้า ไม่มีใครรู้ได้แม้จะมีคำตอบให้กับความสงสัยของสังคมก็ตาม แต่ก็เป็นคำตอบที่เกิดจากความคิดหาเหตุผลของคำตอบจากพวกพราหมณ์ในสมัยก่อนพุทธกาล คิดวิเคราะห์จากข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่วิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้นเป็นเรื่องยากจะอธิบายคำตอบ ให้ผู้คนเกิดความรู้และความเข้าใจอย่างสมเหตุสมผลได้เพราะยังมีข้อพิรุธให้เกิดความสงสัยในความจริงของชีวิตมนุษย์ต่อไป 

มูลเหตุพระโพธิสัตว์มองเห็นชีวิตไม่ได้ตายแล้วสูญ

       การออกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งคนออกเป็นวรรณะต่างๆถือเป็นความผิดพลาดอย่างมากของมนุษยชาติ เพราะทำให้มนุษย์ขาดแรงบันดาลใจ ในการพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความรู้ระดับอริยบุคคล มนุษย์ส่วนใหญ่ มีความรู้แค่ระดับผ่านประสาทสัมผัสของอินทรีย์ ๖ เท่านั้น บุคคลมีเวลาว่างและได้รับความสะดวกสบายในชีวิต มักจะคิดหาเหตุผล เพื่อโน้มน้าวจิตใจให้คนวรรณะอื่นหลงเชื่อเพื่อรักษาผลประโยชน์ตนเองเท่านั้น และส่วนผู้ขาดปัญญาเพราะมักจะมีกลัวหาทางเอาตัวรอดอย่างเดียว จึงไม่มีสติระลึกถึงความรู้ผ่านประสบการณ์ที่จรเข้ามาสู่ชีวิตตน จึงไม่กล้าคิดหาเหตุผลของข้อโต้แย้งในความเชื่อเทพเจ้านั้นในเวลาต่อมา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จประพาสพระนครแล้ว เห็นปัญหาของประเทศเพราะประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มูลเหตุเพราะอาชีพตามกฎหมายนั้น ส่วนใหญ่สงวนไว้แก่ประชาชนวรรณะสูง ส่วนประชาชนไร้วรรณะนั้น เมื่อถูกพรหมทัณฑ์จากสังคม จึงสร้างสังคมตนเองขึ้นมา ด้วยการเพิ่มจำนวนประชากรเกิดไร้ขอบเขตจำกัดขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิต เพราะมีฐานะยากจน ขาดสิทธิในที่ดินทำกิน และขาดการศึกษาจึงไม่มีความรู้ในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ ที่จะเข้าถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองในการศึกษานั้นได้ เฉพาะชนในวรรณะพราหมณ์และวรรณะสูงอื่นๆเท่านั้น เมื่อชีวิตประชาชนมีข้อจำกัดเพราะมีแต่ความรู้มาจากผัสสะเท่านั้น มนุษย์สมัยจึงรู้จักแค่ทุกข์เพราะการขาดโอกาสของชีวิต เพราะถูกบีบคั้นจิตมิจฉาทิฐิผ่านมาเข้ามาสู่ชีวิตเท่านั้นเรียกว่ามีความปราถนาสิ่งใดมิได้สิ่งนั้นย่อมเกิดความทุกข์

       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชนและเห็นความทุกข์ยากของชาวจัณฑาลเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดอาชีพ และขาดการศึกษาเพราะขาดสิทธิและหน้าที่ในวิชาชีพตามกฎหมายจารีตประเพณี มีการแบ่งคนเป็น ๔ วรรณะ ทำให้คนจัณฑาลขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ขาดรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว จึงมีฐานะยากจน และไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเพื่อออกไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เนื่องจากข้อจำกัดของกฎหมายต้องใช้ชีวิตบนข้างถนน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาและดำริอยากปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกันในทุกวรรณะ เมื่อพระองค์ทรงเสนอกฎหมายผ่านรัฐสภาของประเทศแล้วมิได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเพราะขัดต่อหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ พระองค์ตัดสินพระทัยออกบวช เพื่อแสวงหาเหตุผลของคำตอบในความรู้และความจริงชีวิตมนุษย์ที่พระองค์ทรงสงสัยนั้นว่า เมื่อพระพรหมเป็นเทพเจ้าที่มีอยู่จริงและทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจริงหรือไม่ หากพระองค์ทรงสร้างชีวิตมนุษย์ขึ้นมาจริงแล้ว ทำไมไม่ทรงสร้างให้ชีวิตมนุษย์ทุกคนเป็นอมตะ แต่พระองค์ปล่อยให้มนุษย์ทุกวรรณะต้องแก่ชราเจ็บป่วยไข้และตายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด เมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้วได้ทดลองพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธีด้วยกัน วิธีสุดท้ายของการพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ จนชีวิตของพระองค์ทรงบรรลุถึงความรู้และความจริงของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ ผลของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และทรงนำหลักธรรมของความรู้นั้นไปสอนผู้อื่นให้ผู้อื่นเป็นพระอริยบุคคลได้ทำให้มนุษย์รู้ว่าทุกคนนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตตนให้มีความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เพียงลงมือปฏิบัติพัฒนาศักยภาพด้วยตนเองเท่านั้น ก็จะรู้ว่าตนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงและอาศัยอยู่ร่างกายเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อร่างกายหมดสภาพการใช้งานให้จิตอาศัยเพื่อรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกอีกต่อไป จิตจึงจำเป็นต้องออกจากร่างกายไปสู่ภพภูมิอื่นต่อไป ประเด็นที่น่าศึกษาหาเหตุผลของคำตอบในความรู้และความจริงของชีวิตว่า 

       มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนรู้คำสอนทางพระพุทธเจ้าว่า "ชีวิตมนุษย์ตายแล้วไม่ได้แล้วสูญนั้น"ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าเมื่อมนุษย์คนใครได้ทำกรรมดีแล้วย่อมได้รับผลของกรรมดีตอบสนอง ส่วนใครทำชั่วย่อมได้รับความชั่วตอบสนองไม่ช้าหรือเร็วก็ตามมีเหตุผลของคำตอบอย่างไรจึงคิดเช่นนั้นเพราะมนุษย์มีธรรมชาติของจิต เมื่อผัสสะสิ่งใดย่อมคิดหาเหตุผลของสิ่งและเก็บความรู้และเชื่อว่าเป็นความจริงของตนนั้นสั่งสมไว้อยู่ในจิตของตนเองที่เรียกว่า "สัญญา"นั้นเอง แม้การกระทำของตนนั้นจะไม่มีใครมีส่วนรู้เห็นก็ตามแต่สุดท้ายแล้วเมื่อถูกเรียกตัวไปสอบสวนแล้ว ต้องยอมจำนนต่อพยานหลักฐานที่เป็นพยานแวดล้อมนั้นโดยเฉพาะพยานหลักฐานจากตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ และนอกจากนี้มนุษย์ได้สร้างเครื่องมือทางเทคโนโลยี่ด้านอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลพฤติกรรมของมนุษย์ไว้ในแต่ละวันในโทรศัพท์มือถือแล้ว ยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบที่ตนเองสงสัยได้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลชีวิตของมนุษย์ตายแล้วไม่ได้สูญนั้นมีที่มาของความรู้จากหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหลายแห่งด้วยกัน และครูบาอาจารย์ในรุ่นหลังได้เจริญตามรอยบาทของพระพุทธเจ้านั้น ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามวิธีการมรรคมีองค์ ๘ และได้ผลการปฏิบัตินั้นคือผู้นั้นมีความรู้ในระดับอภิญญา ๖  โดยเฉพาะเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏส่วนบุคคลที่ยังไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องชีวิตตายแล้วมิสูญนั้น เป็นเพราะเขายังมิได้ริเริ่มต้นพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองด้วยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ผู้นั้นจึงยังมองมิเห็นกฎธรรมชาติของชีวิตดั่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ (ค้นพบ) นั้นเอง.  
           
บรรณานุกรม 
[1]https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/history_of_philosophy/13.html
[๑.] http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=2
  



ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ