Epistemological Problems regarding " life after death in Tripitaka.
บทนำชีวิตหลังความตายในพระไตรปิฎก
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย มันคือ กฎธรรมชาติที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ผ่านอายตนะภายในร่างกายที่สั่งสมอยู่ในจิตใจมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มนุษย์ก็สงสัยความจริงว่ามนุษย์มีความเป็นมาอย่างไร ? ในเรื่องนี้ในสมัยก่อนพุทธกาล พราหมณ์บางคนเป็นนักปรัชญาและนักตรรกะ แสดงธรรม (ความจริง) เกี่ยวกับมนุษย์ตามปฏิภาณของตนเอง ด้วยการให้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของตนเองว่า พระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากร่างของพระองค์เอง เทพเจ้าเหล่านี้นอกจากมีคุณต่อมนุษย์และยังช่วยมนุษย์บรรลุความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาได้ เพียงบูชายัญด้วยของมีค่าต่าง ๆ ผ่านการทำพิธีบูชายัญของพราหมณ์อารยันเท่านั้น
การศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเรื่องความจริงของชีวิต มนุษย์ตายแล้วสูญสิ้นในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ตามหลักวิชาการทางปรัชญา เมื่อบุคคลใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ? จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ ถ้าไม่มีหลักฐานใด มาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น นักปรัชญาจะถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวนั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริงได้ โดยทั่วไป เพราะมนุษย์ชอบอคติต่อกันด้วยความลำเอียงจากความเกลียดชัง ความรักใคร่ชอบพอ ความกลัว และความโง่เขลา และมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ทำให้ประจักษ์พยาน (eyewitness) เป็นต้น
เมื่ออภิปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ ซึ่งเป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ และข้อพิสูจน์ความจริงของเทพเจ้าในยุคอินเดียโบราณ ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของมนุษย์เป็นสะพานเชื่อมต่อกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและคนอื่นตลอดเวลา มนุษยจำเป็นต้องเรียนรู้ประการณ์ชีวิตเหล่านั้นตลอดชีวิตของตนเอง ดังนั้นความจริงทางอภิปรัชญาเมื่อเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงแบ่งออกเป็น ๒ ประการกล่าวคือ
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น (fictitious reality) โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์เอง อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เป็นสภาวะตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และเสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะเลือนหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตของมนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้อวัยวะอินทรีย์ท้ง ๖ในร่างกายของเขา ตัวอย่างของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวในพม่า พายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ น้ำท่วมทางภาคใต้ของประเทศไทย ตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ที่นักเรียนยิงกันในโรงเรียน นักท่องเทียวเหยียบกันตายในสถานเริงรมย์ในต่างประเทศ หลอกกันเล่นแชรืจนเกิดความเสียหายนับสิบล้านบาท เป็นต้น เมื่อจิตรับรู้เหตุการณ์เหล่านั้น ก็จะดึงดูดอารมณ์เหล่านั้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์เป็นผู้คิด เมื่อรู้จากสิ่งไหนก็คิดจากสิ่งนั้น เมื่อมีหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจ ก็จะคิดหาเหตุผลจากสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่นมนุษย์รับรู้เรื่องราวของมนุษย์ว่าเกิดมาต้องตายกันทุกคน เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น ดำรงสภาวะของความเป็มนุษย์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และถึงเวลาชีวิตมนุษย์ก็เสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ และเลือนหายไปจากสายตาของมนุษย์ ดังนั้นตามหลักวิชการทางปรัชญาจึงถือว่าความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของมนุษย์ เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น

๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ (ultimate truth) คือความจริงอันเป็นที่สุดหรือความจริงที่ลึกซึ้งที่สุดยากที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ เป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้อันเป็นที่สุดได้ด้วยตนเอง เพราะอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิด นอกจากนี้มนุษย์ชอบมีอคติต่อผู้อื่นเพราะความเลียดชัง, ความรักใคร่ ความกลัว ความโง่เขลา ทำให้ชีวิตของพวกเขาอยู่ในความมืดมิด เป็นต้น แม้ยุคปัจจุบันเป็นยุคของวิทยาศาสตร์
ตามแนวคิดญาณวิทยา นักปรัชญาได้สร้างทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์ขึ้นมาโดยกำหนดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ ต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าบุคคลนั้นเป็นพยานบุคคลให้การยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้ ตามทฤษฎีความรู้ข้างต้น ผู้เขียนตีความได้ว่า บุคคลที่สามารถเป็นพยานเกี่ยวกับชีวิตตายแล้วสูญไป จะต้องมีความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองได้ จึงจะเป็นพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือและสามารถให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ ในการเขียนบทความนี้ มีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่าชีวิตนั้น ตายแล้วสูญสิ้นหรือไม่
เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และพระไตรปิฎกฉบับหลวง ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพุทธกาล ชาวโกฬิยะมีทั้งเชื้อสายอารยันและดราวิเดียน อาศัยอยู่ในอาณาจักรโกฬิยะ มีพระเจ้าโอกกากราชทรง เป็นมหาราชา ผู้ปกครองอาณาจักรโกฬิยะ ชาวโกฬิยะเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า พระพรหม พระอิศวร และพระอินทร์ สามารถช่วยมนุษยชาติให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและลงโทษมนุษย์ได้ เพียงแต่ทำพิธีบูชายัญกับของพราหมณ์อารยันเท่านั้น ส่วนชาวดราวิเดียนเชื่อว่าน้ำเป็นเทวดา เมื่อชาวโกฬิยะเชื่อว่าเทพเจ้าและเทวดามีอยู่จริง ในยามยากลำบากในชีวิต พวกเขาจะไปสักการะเทพเจ้ากับพราหมณ์ที่นับถือจนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน พวกพราหมณ์จึงมีรายได้จากการบูชาเทพเจ้ามีมูลค่ามหาศาล หากมหาราชเจ้าเมืองใดทำพิธีบูชายัญกับพราหมณ์สำนักใด และเกิดความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็จะเกิดศรัทธาและแต่งตั้งพราหมณ์นั้น เป็นปุโรหิตมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในด้านนิติศาสตร์ขนบธรรมประเพณี และนโยบายทางการเมืองของประเทศนั้น เมื่อปุโรหิตต้องการผูกขาดการทำพิธีบูชายัญเพียงฝ่ายเดียวจึงหาทางจำกัดหน้าที่พรามหณ์ดราวิเดียน โดยถวายคำแนะนำให้วรรณะกษัตริย์ออกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งผู้คนเป็น ๔ วรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการบูชายัญและการประกอบอาชีพ เป็นต้น เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะไว้ดีแล้ว ย่อมยกเลิกไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองอาณาจักรสักกะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลซึ่งถูกลงโทษตลอดชีวิตโดยถูกคนในสังคมขับไล่ออกจากถิ่นพำนัก ต้องใชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์แม้จะอยู่ในวัยชรา ป่วยและตายข้างถนน เป็นต้น

ปัญหาต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าเราจะได้อย่างไรชีวิตตายแล้วสูญ ตามแนวคิดทางญาณวิทยานั้น มีแนวคิดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์มนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนได้เท่านั้น จึงถือว่าความรู้ในเรื่องนั้น เป็นความจริง หากความรู้ใดไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองแล้ว ถือว่าเป็นที่เป็นเท็จในเรื่องนั้น ของตนชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ตายแล้วสูญใช่หรือไม่ มีเหตุผลของคำตอบเพียงใด
๑.ทฤษฎีว่าด้วยความรู้ว่าด้วยความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย
ในแนวคิดทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยมนั้นมีแนวคิดว่า " สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่จริงต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น" จากทฤษฎีความรู้นั้น ผู้เขียนตีความได้ความรู้ใดจะมีอยู่จริงมิใช่ความรู้ที่เป็นเท็จ มนุษย์ต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่มีอยู่จริงตัวอย่างเช่นความตายของคนนั้นมนุษย์รับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัสว่าเป็นความจริง มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่าชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญหรือไม่มีเหตุผลเพียงใดในยามมีผู้เสียชีวิตลงไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ นั้นคนธรรมดาทั่วไปนั้นไม่เคยมีใครเห็นผ่านประสาทสัมผัสของตนเห็นจิตวิญญาณของคนตายออกจากร่างกายไปสู่ภพภูมิอื่นแต่อย่างใด เพราะเป็นความรู้เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรับรู้ได้ ทำให้มนุษย์หลายคนไม่เชื่อว่า วิญญาณเป็นสิ่งมีอยู่จริงเมื่อระลึกถึงข้อเท็จจริงได้เช่นนี้ คนทั่วไปวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบนั้น คนส่วนใหญ่นั้นมักจะตอบว่า"ชีวิตตายแล้วสูญเท่านั้น"เพราะเมื่อเผาศพคนตายไหม้ไปจนหมดสิ้นแล้วเหลือแต่ขึ้เถ้ากระดูกเท่านั้นดังนั้นตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมแล้วผู้เขียนเห็นว่าชีวิตมนุษย์ทุกคนตายแล้วสูญเพราะไม่มีใครเห็นผ่านประสาทสัมผัสตนว่าวิญญาณออกจากร่างไปสู่ภพอื่นแต่อย่างใด
๒. ลัทธิของครูปูรณะ กัสสปะ เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑ ฉบับมหาจุฬา ฯ ฑีฆนิกายสีลขันธวรรคสามัญผล ลัทธิของครูปูรณ กัสสป ข้อ [๑๖๖] "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูปูรณะ กัสสปะ ตอบว่า "มหาบพิตร เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเองใช้ให้ผู้อื่นตัดเบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้โศกเศร้าเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเองใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ตัดช่องเบา ปล้น ทำโจรกรรมในบ้านหลังเดียว ดักซุ่มในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(ทำเช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารสัตว์เหล่าในปฐพีนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้เบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปเกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา...."

๓. แนวคิดของอชิตะเกสกัมพล เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑ [ฉบับมหาจุฬา ฯ]ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๓.สามัญญผลสูตรลัทธิที่ถือว่าอัตตาตายแล้วแล้วขาดสูญข้อ [๑๗๑] "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูอชิตะ เกสกัมพลตอบว่า "มหาบพิตร ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญบูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี บิดาไม่มีคุณ มารดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นก็ไม่มี สมณพรหามณ์ผู้ประพฤติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งก็ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิตธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาศธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ ๕ นำศพไป ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้ากลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบการเซ่นสรวงสิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่านคนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้นว่างเปล่า เป็นเท็จไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลา หรือคนฉลาดย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก"

๔. ครูมักขลิโคสาล มีมโนคติเกี่ยวกับแก่นแท้ของชีวิตว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ดังปรากฏพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับที่ ๘ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๑ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๓.สามัญญผลสูตร ลัทธิครูมักขลิโคสาล [๑๖๘] ......ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่ใช่เพราะการกระทำของตน มิใช่เพราะการกระทำของผู้อื่นไม่ใช่เพราะการกระทำของมนุษย์ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์...

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น