Analysis of the Dharma puzzle in Black Buddha according to Buddhaphumi's philosophy
การวิเคราะห์ปริศนาธรรมในพุทธองค์ดำ
เมื่อผู้เขียนมาถึงสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธองค์ดำนั้น แม้จะเป็นพระพุทธรูปสร้างมาหลายร้อยปีแล้ว แต่คุณค่าของพระพุทธรูปไม่ได้เสื่อมโทรมแต่อย่างใด เพราะหลวงพ่อพุทธองค์ดำเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เมื่อเหล่าสาวกมาสักการะบูชา พวกเขาจะระลึกถึงคุณของพระองค์
เมื่อผู้เขียนมาถึงสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธองค์ดำนั้น แม้จะเป็นพระพุทธรูปสร้างมาหลายร้อยปีแล้ว แต่คุณค่าของพระพุทธรูปไม่ได้เสื่อมโทรมแต่อย่างใด เพราะหลวงพ่อพุทธองค์ดำเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เมื่อเหล่าสาวกมาสักการะบูชา พวกเขาจะระลึกถึงคุณของพระองค์
ผู้เขียนมีความรู้เกี่ยวกับความจริงของความเป็นอยู่ของหลวงพุทธองค์ดำ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสเป็นครั้งแรกว่าเมื่อเดือนกันยายน ๒๐๐๒ ผู้เขียนและคณะได้เดินทางมาแสวงบุญในพุทธสถานเมืองนาลันทาและสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อมาปฏิบัติบูชาตามรอยบาทของพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ผู้เขียนตั้งใจสวดมนต์ไหว้พระต่อหน้าหลวงพ่อพุทธองค์ดำและได้สัมผัสสะถึงความมีอยู่จริง วิเคราะห์พระพุทธรูปที่เรียกว่า" หลวงพ่อพุทธองค์ดำ" ที่ประดิษฐานตรงหน้านั้นเห็นว่า เป็นพระพุทธรูปมีสีผิวพระวรกายของพระพุทธรูปมีสีดำ ซึ่งต่างจากพระพุทธรูปทั่วไปที่นิยมสร้างเป็นทองหรือสีขาว มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางชนะมารเป็นพุทธศิลป์ที่จำลองสร้างขึ้นมา จากเหตุการณ์ที่พระองค์ทรงตรัสรู้แจ้งใต้พระศรีมหาโพธิ์ บางเหตุผลให้แนวคิดว่าการตรัสรู้แจ้งคือการชนะมาร (กิเลสมาร) ที่ต่อต้านมิให้พระองค์ทรงชนะกิเลสที่มีอยู่ในใจของพระองค์ น่าจะสร้างขึ้นมาในช่วงมหาวิทยาลัยนานาชาตินาลันทาอันเก่าแก่ เปิดทำการเรียนการสอนอยู่น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่นิสิตสร้างขึ้นมาในขณะศึกษารายพุทธศิลป์
เมื่อสร้างไว้แล้วน่าประดิษฐานในพระวิหารของวัดพุทธนานาชาติที่ติดกับมหาวิทยาลัยนาลันทาอันเก่าแก่นั้น จะหยิบยกธรรมะขึ้นมา บรรยายให้ผู้แสวงบุญฟังในวิหารหลวงพ่อพุทธองค์ดำนั้นไม่เคยนึกคิดมาเองล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก บันทึกของนักเดินทางของสมณะจีน ๒ รูป ทำให้ผู้เขียนนึกถึงความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ที่ได้เห็นรูปภาพกองดินขนาดใหญ่ ที่กองโบราณคดีของอังกฤษได้ศึกษาหาร่องรอยเจดีย์โบราณ ที่เชื่อว่าที่เป็นสถูปโบราณที่บรรจุอิฐิสาริกธาตุของพระสารีบุตร ที่ได้สร้างบนสถานที่ประชุมเพลิงศพของพระสารีบุตร
ตามบันทึกของสมณะฟาเหียน บันทึกเป็นปริศนาลายแทงเพื่อผู้คนที่เกิดมาจากยุคปัจจุบัน ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อยืนยันว่าที่เมืองนี้เป็นดินแดนของพระอริยสงฆ์ และจากการศึกษาจากบันทึกของสมณะถั่มซั่มจังว่า มหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพุทธศิลป์ที่สอนการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา เป็นต้นแบบของการหล่อพระพุทธรูปในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกที่สอนนิสิตให้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานและเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติแห่งแรกของโลก ที่มีอายุยืนยาวมาหลายร้อยปีก่อนล่มสลายลงไปตามเหตุปัจจัยของสงครามศาสนา จึงยังคงเหลือพยานหลักฐานด้านเอกสารที่บันทึกและเก็บรักษาไว้ไว้ในดินแดนอันห่างไกลจากแดนพุทธภูมิ ทำให้เหลือเอกสารให้ศึกษาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้น้อยมาก จึงมีปริศนาธรรมของพระพุทธรูปสีดำปางชนะมาร อันซุกซ่อนในมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่และมีชื่อเสียงของโลกแห่งนี้ ทำให้จิตวิญญาณของผู้เวียนว่ายตายเกิดบนโลกมนุษย์ในยุคต่อมา ได้กลับมาเยือนมหาวิทยาลัยนาลันทาที่ล่มสลายไปเหลือแต่ซากปรักหักพัง ยังเกิดความสงสัยใคร่จะศึกษาค้นหาความรู้และความจริงเกี่ยวกับมหาวิทยาแห่งนี้ไปได้ต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่า หลวงพุทธองค์ดำเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพุทธศิลป์ที่สร้างสรรค์โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณ ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรพุทธศิลป์เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณในสมัยรุ่งเรืองด้วยนักศึกษาหมื่นคนเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นจากจินตนาการมีการกล่าวไว้ ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ กล่าวถึงเหตุการณ์ในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตของมนุษย์ทุกคน เมื่อพระองค์ทรงชำระล้างกิเลสที่มืดมิดที่ก่อกำเนิดขึ้นในจิตวิญญาณมนุษย์เป็นเวลานับไม่ถ้วน จนกระทั่งได้ตรัสรู้และเห็นพุทธะภาวะในชีวิต นั่นคือพระองค์ทรงตระหนักว่า ชีวิตมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง เป็นตัวตนที่ต้องไปชดใช้กรรมในนรก ทุกคติ อบาย ตามอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้ในจิตวิญญาณ หรือเป็นตัวตนต้องไปเกิดในโลกสวรรค์ เป็นต้นแต่สิ่งที่เหล่านี้เป็นความมืดมิดของมนุษย์ทุกคนไม่สามารถรู้แจ้งได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะปฏิบัติธรรมด้วยการวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังปรากฎหลักฐานในพระพุทธรูปหลวงพ่อพุทธองค์ดำที่หลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบันนี้
บรรณานุกรม
-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกที่ ๑ ฉบับมหาจุฬา ฯ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ข้อ ๑๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น