Epistemological problems regarding the mystery of Luang Por Ong Dam
ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับหลวงพ่อองค์ดำ
ในการจาริกแสวงบุญที่เมืองนาลันทาโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอนาลันทา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดียนั้น ชาวพุทธไทยได้ยินข้อเท็จจริงเรื่อง สถานอันศักดิ์สิทธิ ในพระพุทธศาสนาทั้งสองแห่ง ที่ผู้จาริกแสวงบุญชาวไทยและชาวพุทธทั่วโลก นิยมไปสักการะบูชาพร้อมอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณ อันเป็นสถานที่ตั้งของสถูปสารีบุตรและหลวงพ่อพระองค์ดำ เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนให้เข้มแข็ง มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากอคติและความเศร้าโศก มีบุคลิกภาพที่ดี เหมาะสมต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีความมั่นคงในอุดมการณ์ ที่เป็นเป้าหมายของชีวิตและไม่เกรงกลัวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรม ด้วยความมีสติและปัญญาโดยระลึกถึงความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจด้วยสติ และใช้ความรู้นั้นเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาของตนและผู้อื่นได้ เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อชาวพุทธเดินทางเข้าไปวัดในพุทธศาสนาทั่วโลก และรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองว่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้ว เป็นเวลากว่า ๒๕๖๒ ปีแล้วที่ชาวพุทธเดินอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และตั้งจิตน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะกษัตริย์ และออกผนวชเพื่อค้นหาสังธรรมของชีวิตว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์มีหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์อารยันหรือไม่ มีหลักฐานเพียงใด? พระองค์ทรงใช้เวลาหลายปีกว่าจะค้นพบการพัฒนาศักยภาพชีวิตตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนว่าตัวตนของมนุษย์มีคือวิญญาณ และเพื่อนำความรู้ที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ออกไปเผยแผ่และพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์ทั่วอนุทวีปจนบรรลุถึงความรู้ที่แท้จริงของชีวิตและเพื่อปฏิรูปสังคมมนุษยชาติให้เข้าถึงสิทธิและหน้าที่ของมนุษยชาติอย่างเท่าเทียมกันเมื่อทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตและมีทักษะความสามารถในการปฏิบัติธรรมตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษยชาติมีลักษณะเท่าเทียมกันว่า ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงและอาศัยอยู่ในร่างกาย ในยามมนุษย์ดำรงอยู่ ชีวิตของพวกเขาผัสสะกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว เกิดตัณหาในความอยากได้ อยากมี อยากเป็นกันทุกคน แต่ถ้าความอยากนั้นมีมากจนกลายเป็นความโลภมักจะไม่แสดงอาการของจิตออกมา เกิดตัณหาในความไม่พอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มาผัสสะ จิตมักจะไม่แสดงอาการโกรธออกมาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เกิดตัณหาในความหลงในสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ตนผัสสะจนจิตเกิดอาการหลงรักจนยึดติดปล่อยวางมิได้แต่ไม่แสดงอาการห้คนอื่นรับรู้จิตเกิดตัณหาในความอยากอโหสิกรรมในความรู้สึกทางกายทุจริต ทางวาจาทุจิริต และมโนทุจริตในความริษยาอาฆาต เมื่อผู้นั้นได้ตายไปไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายนั้นและขออโหสิกรรมต่อกัน ต่อร่างกายที่ยังมิได้ถูกเผาไหม้บนเชิงตะกอนนั้น ส่วนจิตวิญญาณอันไร้รูปร่างนั้น ล่องลอยออกจากร่างไปท่องเที่ยวตามภพภูมิต่าง ๆ ต่อไป ตามเชื้อของกุศลกรรมหรือกุศลกรรมที่ห่อหุ้มจิตของตนไว้ เป็นต้น
การตัดสินใจของพระองค์เป็นการช่วยเหลือมนุษย์ทุกคนนั้นได้หลุดพ้นจากความมืดบอดของชีวิต เพราะความนึกคิดของมนุษย์นั้นเชื่อว่าชีวิตถูกพระพรหมสร้างขึ้นมา ย่อมถูกลิขิตไว้แล้วโดยพระพรหมแบ่งมนุษย์ออกเป็นชนชั้นวรรณะใช้ชีวิตตามสิทธิหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น จะไปประกอบอาชีพที่เป็นสิทธิหน้าที่ของชนวรรณะอื่นมิได้ เพราะสงวนไว้สำหรับชนวรรณะนั้นแล้ว แม้กระทั่งการแต่งงานถูกลิขิตไว้ ห้ามมิให้แต่งงานกันกับบุคคลข้ามวรรณะนั้น หากฝ่าฝืนจะถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมโดยเฉพาะบุคคลในครอบครัวของตน เมื่อชีวิตถูกลิขิตจากพระพรหม สภาพบังคับของกฎหมายจารีตประเพณีและ สังคมที่ตนอาศัยอยู่แล้ว มนุษย์จึงข้อจำกัดของการใช้ชีวิตตามตัณหาในความอยากได้ของตนแล้ว ไม่มีแรงบันดาลใจสร้างความฝันของตนเอง และไม่รู้จักคิดหาเหตุผลของคำตอบในวิธีการพัฒนาศักยภาพของชีวิต มนุษย์จึงจมปลักกับความทุกข์เพราะตัณหาในความอยากได้ของตนที่ปรารถนาสิ่งใดมิได้สิ่งนั้นมาสนองความอยากตนเอง และคิดแก้ปัญหาทุกข์ให้คลายลงไปด้วยความมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียงและโผฏฐัพพะ และธัมมารมย์ เป็นทางเสื่อมของชีวิตเพราะเป็นความสุขที่แลกกับสุขภาพของตน การเดินทางมาแสวงบุญในเมืองนาลันทามีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานไว้หลายแห่งในเมืองนี้ ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยพุทธศิลป์ของหลวงพ่อพุทธพระองค์ดำนั้นมีความหมายว่าอย่างไร จำเป็นต้องหาเหตุผลของคำตอบจากที่มาของความรู้ดังต่อไปนี้กล่าวคือ
๑. พระพุทธรูปพุทธองค์ดำนั้น มีความหมายอย่างไร เป็นเรื่องน่าจะวิเคราะห์หาเหตุผลให้เกิดความรู้และความจริง พุทธศิลป์ในหลวงพ่อพุทธองค์ดำ เมื่อผู้เขียนผัสสะแล้วจึงมีความสงสัยอยู่ ๒ ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ (๑) ทำไมจึงสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ให้พระวรกายมีสีดำ ศิลปินผู้สร้างพระพุทธรูปนี้ต้องการสื่อถึงความหมายอะไรให้เกิดขึ้นในพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมานี้เป็นสิ่งที่นักวิชาการทางพุทธปรัชญา ควรวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบในความรู้ และความเป็นจริงในพระพุทธรูปปางชนะมารสีดำสนิทองค์นี้กันต่อไป
๒. พระไตรปิฎก เป็นที่มาของความรู้ของชีวิตจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า นอกจากจิตวิญญาณเป็นตัวตนแท้จริงของชีวิตมนุษย์แล้วเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญที่ยืนยันว่าจิตวิญญาณชีวิตมนุษย์ทุกคนต่างอยู่ในอำนาจของอวิชชาคือความมืดมิดมาก่อนเพราะความโง่เขลาคือไม่รู้มาก่อนแต่อย่างใดว่า ในชีวิตตนมีจิตวิญญาณเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏ เพราะตนเองไม่เคยพัฒนาศักยของชีวิตให้รู้แจ้งถึงความเป็นไปในการดำเนินชีวิตควรเป็นอย่างไรดังปรากฏพยานหลักฐานในความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกเล่มที่๑ พระวินัยปิฎกที่๑ฉบับมหาจุฬา ฯ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ข้อ ๑๒......พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ ในยามแรกแห่งราตรี ความมืดมิดคืออวิชชา เราจำกัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เราเปรียบเสมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีความเพียรอุทิศกายและใจ"จากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นนั้น เราวิเคราะห์ได้ว่าความมืดมิดในชีวิตของพระองค์ อันเป็นปริศนาธรรมะซุกซ่อนอยู่ในจิตวิญญาณ อันเป็นตัวตนที่แท้จริงของพระองค์กินเวลามาแล้วไม่น้อยกว่าสี่อสงไขย ๑ แสนกัปป์นั้นเปรียบได้ดุจสีดำสนิทที่ติดพระวรกายของหลวงพ่อพุทธองค์ดำทั้งองค์ แต่จะเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไปไม่มีวันสิ้นสุดตราบใดชีวิตมนุษย์ผู้นั้นยังมัวเมากิเลสภายนอกและสั่งสมนอนเนื่องอยู่ในจิตวิญญาณอย่างนั้นเพราะไม่รู้จักวิธีจำกัดความมืดบอดของจิตวิญญาณที่กิเลสได้ห่อหุ้มอยู่นั้น ในจิตวิญญาณตลอดการเดินทางในสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้น

ข้อเท็จจริงเป็นข้อยุติว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงมนุษย์เป็นคนหนึ่งที่เกิดในวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองแคว้นสักกะ ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน ทรงสำเร็จการศึกษา ๑๘ สาขาวิชา ทรงพบปัญหาสังคม มีมูลเหตุจากแนวคิดของปรัชญาศาสนาศาสนาพราหมณ์ นำไปพัฒนาสู่ปรัชญาการเมืองด้วยการออกกฏหมายจารีตประเพณีแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะทำให้ชีวิตผู้คนตกอยู่ในความมืดบอดของชีวิตมีความทุกข์และหาทางออกของชีวิตมิได้ เมื่อได้ผัสสะผ่านตาของผู้เขียนในพระพุทธรูปองค์นี้ ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่าพระพุทธองค์ดำที่ประดิษฐานอยู่วิหารข้างมหาวิทยาลัยนาลันทานั้น มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางชนะมารหรือปางสะดุ้งมาร เป็นพระอิริยาบถของศากยมุนีพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติตามวิธีการมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งตรัสรู้ที่ใต้พระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ดังกล่าวในปัจจุบันเรียกว่าวัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi temple) ดังปรากฎในพยานเอกสารบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่๑ มหาวิภังค์ภาค ๑ เวรัญชกัณฑ์ วิชชา ๓ [๑๒] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสดังเนิน ปราสจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติคือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๖ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้างและวิวัฏฏกัปบ้าง หลายกัปว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้นมีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจุติในภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ พราหมณ์เราได้บรรลุวิชชาที่๑ ในยามแรกแห่งราตรี ความมืดมิดคืออวิชชา เราจำกัดได้แล้ว แสงสว่างคืออวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ พราหมณ์นี่คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกครั้งที่๑ ของเราเหมือนการเจาะออกจากกระเปาะของลูกไก่"
จากพยานเอกสารบันทึกข้อความในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นนั้นผู้เขียนวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้ ความมืดมิดของชีวิตคืออวิชชาเมือเปรียบเทียบสีกับความมืดมิดของชีวิตเปรียบเทียบได้กับสีดำ กล่าวคือสีดำ ความมืดมิดชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นก่อนออกผนวชนั้น พระองค์ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจในชีวิตว่าตนตัวตนของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้นที่ผัสสะได้ด้วยอินทรีย์ ๖ นั้น มิใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะตัวตนที่แท้จริง คือจิตวิญญาณที่อาศัยในร่างกายมนุษย์เท่านั้นและเมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้ว จิตวิญญาณก็จะออกจากร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิอื่นต่อไป เมื่อพระองค์ออกผนวชและปฏิบัติตามวิธีการมรรคมีองค์๘ ทรงค้นพบความจริงของชีวิตดังกล่าวหลังจากสมัยพุทธกาลผ่านไปเกือบ ๑,๐๐๐ ปี มีการมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น มาเป็นแห่งแรกของโลกในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เปิดหลักสูตรวิชาพุทธศิลป์วิชาตรรกศาสตร์ และวิชาพระไตรปิฎก เป็นต้น ในวิชาพุทธศิลป์นั้นได้สอนวิธีแกะสลักพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลวงพ่อพุทธองค์ดำน่าเป็นพระพุทธรูปองค์สร้างขึ้นมาจากจินตนาการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลันทา เมื่อสร้างเสร็จไปนำไปประดิษฐานในพระวิหารของวัดนานาชาติ ตั้งอยู่รายล้อมรอบมหาวิทยาลัยนั้น และเป็นพยานวัตถุหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ในมหาวิทยาลัยนาลันทานั้น สอนวิชาพระไตรปิฎกให้นิสิตศึกษาได้ค้นคว้าเนื้อหาของหลักธรรมวินัยในพระไตรปิฎกพอถึงวิชาพุทธศิลป์นั้น นักศึกษาวิชาพุทธศิลป์ได้นำความรู้ในพระไตรปิฎกโดยระลึกถึงพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติธรรม เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น นำมาพิจารณาออกแบบพระพุทธรูปปางชนะมารให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา เพื่อระลึกถึงของพระพุทธเจ้า เมื่อชีวิตก่อนตรัสรู้นั้นชีวิตของพระองค์เคยมืดมิดมาก่อน นิสิตในวิชาพุทธศิลป์นั้นจึงมีเอาหินทรายสีดำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปองค์ดำ แสดงถึงว่า ชีวิตมนุษย์เคยความมืดมิดมาก่ และเมื่อแกะเป็นพระพุทธรูปองค์ดำชนะมารนั้นแสดงให้เห็นชีวิต ที่เคยมืดมิดเป็นสีดำสามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า"พุทธ" ของพระพุทธเจ้านั้นตามพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า ผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้วคำว่าผู้ตรัสรู้หมายถึงบุคคลผู้รู้แจ้งได้แก่พระพุทธเจ้า เมื่อ พระองค์ปฏิบัติสมาธิ จนจิตวิญญาณของพระองค์ทรงบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตอ่อนโยน มั่นคงไม่หวั่นไหวในผัสสะของกิเลสที่จรเข้าสู่จิตผ่านอินทรีย์ ๖ ตลอดเวลาทรงรู้แจ้งว่าชีวิตมนุษย์มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เห็นจิตวิญญาณจุติมาอุบัติสู่ครรภ์มารดาเห็นจิตวิญญาณของสัตว์น้อยใหญ่ไปจุติจิตในภพภูมิของนรก สวรรค์และโลกมนุษย์ตามกรรมที่อยู่ในจิตวิญญาณของตนเองส่วนผู้ตื่นหมายถึงผู้รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตจน จิตวิญญาณรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นของกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ เห็นจิตวิญญาณไปจุติจิตในภพภูมิอื่นๆรู้ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตัวเองเป็นต้น ผู้เบิกบานหมายถึงผู้นั้นได้ชำระล้างอาสวกิเลส ด้วยความรู้ที่เรียกว่าอาสวขยญาณ สามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของจิตวิญญาณได้ จิตย่อมเบิกบานได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น