The Constitutional Law and the Problems of Metaphysics ๑.บทนำ ปัญหาและความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีตัณหาและความหวาดกลัวต่อสงคราม ไฟป่าและ โรคระบาด ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมาในจิตใจเป็นเวลานาน ดังนั้นมนุษย์จึงชอบที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ตั้งแต่ชุุมชนเล็ก ๆ ไปจนถึงชุมชนทางการเมืองระดับชาติที่เรียกว่า "ประเทศ" หรือแคว้น (country) เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยสงคราม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง นอกจากนี้มนุษย์มักมีเหตุผลในการกระทำของตนเอง แต่ทุกคนล้วนมีอคติและความเห็นแก่ตัวแอบแฝงอยู่ในใจ จึงชอบละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในสังคมทุกวัน
แม้ว่ามนุษย์จะมีหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม แต่ชีวิตมนุษย์มืดมิดเกินไปที่จะมีศรัทธาในคำสอนของพุทธศาสนา เพราะจิตมิจฉาทิฐเกินไปที่จะเชื่อว่า กรรมดีและได้รับผลดีตอบแทน เนื่องจากเห็นตัวอย่างมากมาย ที่เชื่อว่าคนทำชั่วมากมายแล้วได้รับผลดีตอบแทนและเป็นที่ยอมของคนในสังคม เป็นต้น จะทรงสอนเรื่อง "กรรม" มากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว และหลายประเทศได้บรรจุหลักธรรมเรื่องศีล ๕ ของพระพุทธเจ้า ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าประเทศเหล่านั้น จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญากับพลเมืองของตนแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมยังคงประสบปัญหาการละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนาเป็นประจำ ประพฤติผิดทางเพศกับผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติและดูหมิ่นผู้อื่น แสวงหาความสุขโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ ด้วยการดื่มสุราและยาเสพ การกระทำดังกล่าว มักก่อให้เกิดปัญหาสังคม เพราะผู้กระทำความผิดไม่สามารถเข้าใจถึงผลที่ตามมาจากการกระทำของตน และไม่สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินว่าจะทำในลักษณะที่ละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
เมื่อประชาชนไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์มีหิริและโอตตัปปะในการกระทำความผิดต่อหลักศีลธรรมและกฎหมายมากว่า ๒,๕๐๐ปีแล้ว แต่มนุษย์เกิดมาพร้อมอวิชชา(ความไม่รู้) แม้จะมีความรู้มากมายจากประสการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจ เมื่อขาดปัญญาคือความสามารถคิดหาเหตุผลมาอธิบายเจตนาของการกระทำของตนเองได้ ผู้นำประเทศ จำเป็นต้องนำหลักศีลธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ เพื่อประกาศบังคับใช้และรับรองสิทธิและหน้าที่ของประชาชนต่อประเทศชาติ
แต่โดยทั่วไปคนในประเทศใช้ชีวิตอย่างอ่อนแอ มักมีอคติก่อตัวขึ้นอยู่ในจิตใจทำให้จิตใจไม่อ่อนน้อมถ่อมตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จิตไม่มั่นคงในอุดมการณ์ที่จะรักษาอัตลักษณ์ในสังคมโลกและหวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และยุติธรรมผู้คนเหล่านี้ มักขาดสติในตนจึงทำกิจกรรมประจำวันด้วยความประมาทในชีวิตและสามารถระลึกถึงผลการกระทำของตนเองว่า เมื่อกระทำไปแล้วจะเกิดผลต่อชีวิตตนเองอย่างไรจึงขาดปัญญา เพราะไม่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจตนเองนั้นไปแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เมื่อมนุษย์ยังคงกระทำที่ขัดต่อสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในชีวิตประจำวันรัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศจำต้องนำหลักศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมายอาญาเพื่อประกาศบังคับใช้ในสังคม ตัวอย่างเช่นราชอาณาจักรไทยตราประมวลกฎหมายอาญาประกาศใช้บังคับกับประชาชนแล้วเป็นต้น ตามหลักวิชาปรัชญา เมื่อใครกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเป็นความจริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น จะต้องมีหลักฐานความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานหลักฐานเพียงคนเดียวขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์ชอบมีอคติต่อผู้อื่นและมีข้อจำกัดของการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของตนเอง จึงไม่สามารถรับฟังข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นจริงได้
๒.ประเภทของความจริง
ตามแนวคิดทางอภิปรัชญานั้นแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวตือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒. สัจธรรม เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของรัฐต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาล แม้ว่าอภิปรัชญาจะสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ แต่กฎหมายรัฐธรรมเป็นอารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นมามาจากความคิดของตนเองดังนั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญเราสามารถศึกษาเชิงอภิปรัชญาว่าด้วยความจริงได้ในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น
เนื่องจากพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ รวมรวบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาหลายเล่ม ยังไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลได้ว่า องค์ประกอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญในยุคอินเดียโบราณ มีลักษณะเป็นอย่างไร และใช้อะไรเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเพื่อให้เห็นองค์ประกอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยพุทธกาลแต่รัฐอธิปไตยแต่ละรัฐไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรมีแต่กฎหมายจารีตประเพณีสงสุดในการบริหารประเทศที่เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม" ที่นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาตีความหลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมสำหรับนักบริหาร
ในยุคอินเดียโบราณ นักบริหารคือวรรณะกษัตริย์ ทำหน้าที่บริหารปกครองประเทศ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมถือได้ว่าหลักราชอปริหานิยธรรม เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามพจนานุกรมฉราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ได้กำหนดความหมายของรัฐธรรมนูญว่า บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบและระบอบการปกครองประเทศ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชน อำนาจหน้าที่ขององค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เป็นต้น จะต้องมีการกำหนดลักษณะโครงสร้างของรัฐประกอบด้วยดินแดนมีอาณาเขตแน่นอนในสมัยพุทธกาลเขตแดนระหว่างแคว้นขึ้นกับแม่น้ำเป็นแบ่งเขตโดยปริยาย เช่น แคว้นวัชชีกับแคว้นมคธมีแม่น้ำคงคากั้นเป็นขอบเขตชัดเจนเป็นต้นประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนนั้นมีอัตลักษณ์เป็นของตัวของตัวเอง แม้ในหลักอปริหานิยธรรมจะมิได้ระบุชัดเจนเช่นเดียวกับในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบันแต่เป็นรับรู้ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าแคว้นต่าง ๆ เป็นรัฐที่ผู้คนอาศัยอยู่ มีอำนาจอธิปไตยบัญญัติกฎหมายปกครองตนเองและตัดสินอรรถคดีเอง
ตัวอย่างเช่น การทำสงครามระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นโกศล แคว้นวัชชีกับแคว้นมคธ แคว้นโกศลกับแคว้นสักกะนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นการยอมรับอำนาจอธิปไตยของกันและกัน โดยปริยายไม่จำเป็นต้องบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักอปริหานิยธรรม ที่กล่าวถึงเรื่องการหลักการประชุมไว้นั้นจึงหมายถึงการประชุมรัฐสภาในการออกกฎหมายก็ได้ การประชุมคณะรัฐมนตรีแสดงถึงการมีอำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศของตนเอง และการประชุมองค์คณะศาลแสดงถึงการมีอำนาจอธิปไตยในการพิจารณาอรรถคดีในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐและประชาชนกับประชาชนโดยอำนาจอธิปไตยในการตัดสินคดียังเป็นของตุลาการของประเทศตนเอง เป็นต้น
ข้อเท็จจริงจากหลักธรรมของกษัตริย์ที่เรียกว่า"หลักอปรินิยธรรม"นั้นเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศในสมัยพุทธกาลที่กล่าวไว้เด่นชัดโดยเฉพาะว่าด้วยระเบียบการปกครองว่าชนวรรณะกษัตริย์วัชชีนั้นตัวอย่างเช่น ในการเข้าประชุมกันเนื่องนิตย์พร้อมเพียงกันเข้าประชุมและเลิกประชุมพร้อมเพียงกันเท่านั้นในการบัญญัติกฎหมายในการบริหารปกครองประเทศ และตัดสินคดีข้อพิพาทต่างๆเป็นต้น แม้ข้อเท็จจริงในหลักอปริหานิยธรรมนั้นจะมิได้กำนดโครงสร้างของรัฐวัชชีไว้โดยชัดเจนอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ก็เป็นยอมกันว่าเป็นธรรมของกษัตริย์ในการบริหารปกครองประเทศ
(๑) ดินแดนเป็นอาณาเขตอันหนึ่งอันเดียวกันแบ่งแยกประเทศมิได้นั้น แต่เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่โบราณแล้วเห็นว่านักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและนักประวัติศาสตร์ได้เขียนแผนที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าแคว้นวัชชีนั้น มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดกับภูเขาหิมาลัย ทิศใต้จดแคว้นมคธและแคว้นอังคะทิศตะวันตกจดแคว้นกาศีและแคว้นมัลละ ในพุทธกาลได้อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนชัดเจนไม่มีปัญหาการแบ่งเขตแดนประเทศแต่อย่างใด และที่สำคัญการยกทัพมาตีของพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นเพื่อแย่งชิงอำนาจอธิปไตยในแคว้นวัชชีนั้น แสดงให้เห็นว่าแคว้นวัชชีมีอำนาจอธิปไตยในดินแดนเป็นของตนเอง
(๒ ประชาชนผู้เขียนได้ศึกษาหาเหตุผลของคำตอบในวัชชีปุตตสูตรนั้นกล่าวว่าแคว้นวัชชีนั้นมีพระมหากษัตริย์ ๗,๗๐๗ พระองค์ มีพระมหาราชา ๗,๗๐๗ พระองค์และมีเสนาบดีอีก๗,๗๐๗พระองค์ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยืนยันได้ว่าดินแดนแห่งนี้มีประชาชนอาศัยอยู่จริง
(๓) อำนาจอธิปไตยในการบัญญัติกฎหมาย ข้อเท็จจริงในหลักปริหานิยธรรมนั้น นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาหลายท่านเห็นว่าเป็นธรรมสำหรับนักบริหารที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่นักบริหารแบบนักธุรกิจนั้นไม่มีในสมัยพุทธกาล มีแต่ชนวรรณะกษัตริย์เท่านั้นทำหน้าที่ปกครองประเทศตามกฎหมายแบ่งชนชั้นวรรณะดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยของชนวรรณะกษัตริย์ที่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศกระทำในรูปแบบรัฐสภาวัชชีในการบัญญัติกฎหมายก็ประชุมกันเนื่องนิตย์เข้าประชุมและเลิกประชุมโดยพร้อมเพียงกัน เป็นต้น
๔)อำนาจอธิปไตยในการบริหารปกครองประเทศ โดยรัฐบาล แม้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในการปกครองของรัฐโบราณ ที่เรียกในพระไตรปิฎกว่า หลักอปริหานิยธรรมนั้นมิได้ระบุรายละเอียดของการทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เห็นจากหลักอปริหานิยธรรมคือหลักความสามัคคีในการบริหารจัดการประเทศ ให้เป็นไปด้วยความรักใคร่สมานฉันท์ มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนโดยผ่านระบบรัฐสภาของประเทศ เป็นต้น
๕)อำนาจอธิปไตยในการตัดสินอรรถคดี ที่เรียกว่า "อำนาจตุลาการ" ที่พิจารณาและการตัดสินอรรถคดีโดยบริสุทธิ์ยึดหลักยุติธรรมแก่คู่กรณีที่มีความเห็นต่าง ในข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แต่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยหลักอปริหานิยธรรมนั้น เจ้าวัชชีก็เข้าประชุมพร้อมกันเลิกพร้อมกันในการตัดสินคดีความนั้นอยู่ในสัณฐาคารนั้นเช่นเดียวกันเข้าประชุมพร้อมกันและเลิกพร้อมกัน เป็นต้น
๔.๒ ระบอบการปกครองคำว่า"ระบอบ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ นั้นได้นิยามไว้ว่า แบบอย่าง ธรรมเนียม อีกคำนิยามหนึ่งนั้น คือระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบการปกครองสมบูรณายาสิทธิราชย์ เป็นต้น ในหลักอปริหานิยธรรมได้กล่าวถึงระเบียบการปกครองโดยให้ประชาชนในวรรระกษัตริย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศชาติอย่างชัดเจนว่าเจ้าวัชชีต้องการให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองทุกยุคทุกสมัยมิไปสู่ทางเสื่อมเลยนั้น ด้วยจิตใจที่มีความสามัคคีไว้วางใจซึ่งกันและกัน ปัญหาของประเทศได้รับการบริหารจัดการผ่านรัฐสภาทุกอย่างแสดงถึงระเบียบการปกครองของรัฐวัชชีนั้นเป็นระบอบสามัคคีธรรมเป็นต้นแบบประชาธิปไตยยุคสมัยปัจจุบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ แต่อำนาจนั้นได้รับการพิจารณาจากรัฐสภาอีกขั้นหนึ่งก่อนประกาศใช้เหมาะยุคสมัย เพราะรัฐสักกะ รัฐวัชชีเป็นเพียงรัฐ ๆ แต่มีประชาชนไม่มากปัญหาของประเทศมีน้อย เป็นต้น ๔.๓ การใช้อำนาจอธิปไตย ต้องอิสระจากการชี้นำของต่างชาติในการบัญญัติกฎหมาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของประชาชนในประเทศมีคณะรัฐบาลในการบริหารปกครองประเทศ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีศาลยุติธรรมในการตัดสินคดีความให้เกิดความยุติธรรมในประเทศเป็นต้นตามหลักอปริหานิยธรรมนั้น รัฐสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการและอำนาจบริหารเอง ซึ่งต้องหาตัวอย่างเพื่อใช้วิเคราะห์การใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวต่อไป เป็นต้น ตามคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อนำไปใช้วิเคราะห์หลักอปริหานิยธรรมนั้นผู้เขียนเห็นว่าองค์ประกอบของหลักอปริหานิยธรรมตามคำนิยามนั้นหลายข้อนั้น สอดคล้องกับบทบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงอนุมานความรู้ได้ว่า หลักปริหานิยธรรมนั้นคือกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐชนบทขนาดเล็กในชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลดังที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
The Constitutional Law and the Problems of Metaphysics
๑.บทนำ ปัญหาและความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีตัณหาและความหวาดกลัวต่อสงคราม ไฟป่าและ โรคระบาด ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมาในจิตใจเป็นเวลานาน ดังนั้นมนุษย์จึงชอบที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ตั้งแต่ชุุมชนเล็ก ๆ ไปจนถึงชุมชนทางการเมืองระดับชาติที่เรียกว่า "ประเทศ" หรือแคว้น (country) เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยสงคราม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง นอกจากนี้มนุษย์มักมีเหตุผลในการกระทำของตนเอง แต่ทุกคนล้วนมีอคติและความเห็นแก่ตัวแอบแฝงอยู่ในใจ จึงชอบละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในสังคมทุกวัน

แม้ว่ามนุษย์จะมีหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม แต่ชีวิตมนุษย์มืดมิดเกินไปที่จะมีศรัทธาในคำสอนของพุทธศาสนา เพราะจิตมิจฉาทิฐเกินไปที่จะเชื่อว่า กรรมดีและได้รับผลดีตอบแทน เนื่องจากเห็นตัวอย่างมากมาย ที่เชื่อว่าคนทำชั่วมากมายแล้วได้รับผลดีตอบแทนและเป็นที่ยอมของคนในสังคม เป็นต้น จะทรงสอนเรื่อง "กรรม" มากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว และหลายประเทศได้บรรจุหลักธรรมเรื่องศีล ๕ ของพระพุทธเจ้า ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าประเทศเหล่านั้น จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญากับพลเมืองของตนแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมยังคงประสบปัญหาการละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนาเป็นประจำ ประพฤติผิดทางเพศกับผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติและดูหมิ่นผู้อื่น แสวงหาความสุขโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ ด้วยการดื่มสุราและยาเสพ การกระทำดังกล่าว มักก่อให้เกิดปัญหาสังคม เพราะผู้กระทำความผิดไม่สามารถเข้าใจถึงผลที่ตามมาจากการกระทำของตน และไม่สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินว่าจะทำในลักษณะที่ละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่
เมื่อประชาชนไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์มีหิริและโอตตัปปะในการกระทำความผิดต่อหลักศีลธรรมและกฎหมายมากว่า ๒,๕๐๐ปีแล้ว แต่มนุษย์เกิดมาพร้อมอวิชชา(ความไม่รู้) แม้จะมีความรู้มากมายจากประสการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจ เมื่อขาดปัญญาคือความสามารถคิดหาเหตุผลมาอธิบายเจตนาของการกระทำของตนเองได้ ผู้นำประเทศ จำเป็นต้องนำหลักศีลธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ เพื่อประกาศบังคับใช้และรับรองสิทธิและหน้าที่ของประชาชนต่อประเทศชาติ
แต่โดยทั่วไปคนในประเทศใช้ชีวิตอย่างอ่อนแอ มักมีอคติก่อตัวขึ้นอยู่ในจิตใจทำให้จิตใจไม่อ่อนน้อมถ่อมตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จิตไม่มั่นคงในอุดมการณ์ที่จะรักษาอัตลักษณ์ในสังคมโลกและหวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และยุติธรรมผู้คนเหล่านี้ มักขาดสติในตนจึงทำกิจกรรมประจำวันด้วยความประมาทในชีวิตและสามารถระลึกถึงผลการกระทำของตนเองว่า เมื่อกระทำไปแล้วจะเกิดผลต่อชีวิตตนเองอย่างไรจึงขาดปัญญา เพราะไม่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจตนเองนั้นไปแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เมื่อมนุษย์ยังคงกระทำที่ขัดต่อสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในชีวิตประจำวันรัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศจำต้องนำหลักศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมายอาญาเพื่อประกาศบังคับใช้ในสังคม ตัวอย่างเช่นราชอาณาจักรไทยตราประมวลกฎหมายอาญาประกาศใช้บังคับกับประชาชนแล้วเป็นต้น ตามหลักวิชาปรัชญา เมื่อใครกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเป็นความจริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น จะต้องมีหลักฐานความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานหลักฐานเพียงคนเดียวขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์ชอบมีอคติต่อผู้อื่นและมีข้อจำกัดของการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของตนเอง จึงไม่สามารถรับฟังข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นจริงได้
๒.ประเภทของความจริง
ตามแนวคิดทางอภิปรัชญานั้นแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวตือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒. สัจธรรม เป็นต้น

ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของรัฐต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาล แม้ว่าอภิปรัชญาจะสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ แต่กฎหมายรัฐธรรมเป็นอารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นมามาจากความคิดของตนเองดังนั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญเราสามารถศึกษาเชิงอภิปรัชญาว่าด้วยความจริงได้ในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น
เนื่องจากพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ รวมรวบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาหลายเล่ม ยังไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลได้ว่า องค์ประกอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญในยุคอินเดียโบราณ มีลักษณะเป็นอย่างไร และใช้อะไรเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเพื่อให้เห็นองค์ประกอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยพุทธกาลแต่รัฐอธิปไตยแต่ละรัฐไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรมีแต่กฎหมายจารีตประเพณีสงสุดในการบริหารประเทศที่เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม" ที่นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาตีความหลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมสำหรับนักบริหาร
ในยุคอินเดียโบราณ นักบริหารคือวรรณะกษัตริย์ ทำหน้าที่บริหารปกครองประเทศ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมถือได้ว่าหลักราชอปริหานิยธรรม เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามพจนานุกรมฉราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ได้กำหนดความหมายของรัฐธรรมนูญว่า บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบและระบอบการปกครองประเทศ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชน อำนาจหน้าที่ขององค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เป็นต้น จะต้องมีการกำหนดลักษณะโครงสร้างของรัฐประกอบด้วยดินแดนมีอาณาเขตแน่นอนในสมัยพุทธกาลเขตแดนระหว่างแคว้นขึ้นกับแม่น้ำเป็นแบ่งเขตโดยปริยาย เช่น แคว้นวัชชีกับแคว้นมคธมีแม่น้ำคงคากั้นเป็นขอบเขตชัดเจนเป็นต้นประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนนั้นมีอัตลักษณ์เป็นของตัวของตัวเอง แม้ในหลักอปริหานิยธรรมจะมิได้ระบุชัดเจนเช่นเดียวกับในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบันแต่เป็นรับรู้ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าแคว้นต่าง ๆ เป็นรัฐที่ผู้คนอาศัยอยู่ มีอำนาจอธิปไตยบัญญัติกฎหมายปกครองตนเองและตัดสินอรรถคดีเอง
ตัวอย่างเช่น การทำสงครามระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นโกศล แคว้นวัชชีกับแคว้นมคธ แคว้นโกศลกับแคว้นสักกะนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นการยอมรับอำนาจอธิปไตยของกันและกัน โดยปริยายไม่จำเป็นต้องบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักอปริหานิยธรรม ที่กล่าวถึงเรื่องการหลักการประชุมไว้นั้นจึงหมายถึงการประชุมรัฐสภาในการออกกฎหมายก็ได้ การประชุมคณะรัฐมนตรีแสดงถึงการมีอำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศของตนเอง และการประชุมองค์คณะศาลแสดงถึงการมีอำนาจอธิปไตยในการพิจารณาอรรถคดีในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐและประชาชนกับประชาชนโดยอำนาจอธิปไตยในการตัดสินคดียังเป็นของตุลาการของประเทศตนเอง เป็นต้น
ข้อเท็จจริงจากหลักธรรมของกษัตริย์ที่เรียกว่า"หลักอปรินิยธรรม"นั้นเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศในสมัยพุทธกาลที่กล่าวไว้เด่นชัดโดยเฉพาะว่าด้วยระเบียบการปกครองว่าชนวรรณะกษัตริย์วัชชีนั้นตัวอย่างเช่น ในการเข้าประชุมกันเนื่องนิตย์พร้อมเพียงกันเข้าประชุมและเลิกประชุมพร้อมเพียงกันเท่านั้นในการบัญญัติกฎหมายในการบริหารปกครองประเทศ และตัดสินคดีข้อพิพาทต่างๆเป็นต้น แม้ข้อเท็จจริงในหลักอปริหานิยธรรมนั้นจะมิได้กำนดโครงสร้างของรัฐวัชชีไว้โดยชัดเจนอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ก็เป็นยอมกันว่าเป็นธรรมของกษัตริย์ในการบริหารปกครองประเทศ
(๑) ดินแดนเป็นอาณาเขตอันหนึ่งอันเดียวกันแบ่งแยกประเทศมิได้นั้น แต่เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่โบราณแล้วเห็นว่านักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและนักประวัติศาสตร์ได้เขียนแผนที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าแคว้นวัชชีนั้น มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดกับภูเขาหิมาลัย ทิศใต้จดแคว้นมคธและแคว้นอังคะทิศตะวันตกจดแคว้นกาศีและแคว้นมัลละ ในพุทธกาลได้อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนชัดเจนไม่มีปัญหาการแบ่งเขตแดนประเทศแต่อย่างใด และที่สำคัญการยกทัพมาตีของพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นเพื่อแย่งชิงอำนาจอธิปไตยในแคว้นวัชชีนั้น แสดงให้เห็นว่าแคว้นวัชชีมีอำนาจอธิปไตยในดินแดนเป็นของตนเอง
(๒ ประชาชนผู้เขียนได้ศึกษาหาเหตุผลของคำตอบในวัชชีปุตตสูตรนั้นกล่าวว่าแคว้นวัชชีนั้นมีพระมหากษัตริย์ ๗,๗๐๗ พระองค์ มีพระมหาราชา ๗,๗๐๗ พระองค์และมีเสนาบดีอีก๗,๗๐๗พระองค์ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยืนยันได้ว่าดินแดนแห่งนี้มีประชาชนอาศัยอยู่จริง
(๓) อำนาจอธิปไตยในการบัญญัติกฎหมาย ข้อเท็จจริงในหลักปริหานิยธรรมนั้น นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาหลายท่านเห็นว่าเป็นธรรมสำหรับนักบริหารที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่นักบริหารแบบนักธุรกิจนั้นไม่มีในสมัยพุทธกาล มีแต่ชนวรรณะกษัตริย์เท่านั้นทำหน้าที่ปกครองประเทศตามกฎหมายแบ่งชนชั้นวรรณะดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยของชนวรรณะกษัตริย์ที่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศกระทำในรูปแบบรัฐสภาวัชชีในการบัญญัติกฎหมายก็ประชุมกันเนื่องนิตย์เข้าประชุมและเลิกประชุมโดยพร้อมเพียงกัน เป็นต้น
๔)อำนาจอธิปไตยในการบริหารปกครองประเทศ โดยรัฐบาล แม้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในการปกครองของรัฐโบราณ ที่เรียกในพระไตรปิฎกว่า หลักอปริหานิยธรรมนั้นมิได้ระบุรายละเอียดของการทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เห็นจากหลักอปริหานิยธรรมคือหลักความสามัคคีในการบริหารจัดการประเทศ ให้เป็นไปด้วยความรักใคร่สมานฉันท์ มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนโดยผ่านระบบรัฐสภาของประเทศ เป็นต้น
๕)อำนาจอธิปไตยในการตัดสินอรรถคดี ที่เรียกว่า "อำนาจตุลาการ" ที่พิจารณาและการตัดสินอรรถคดีโดยบริสุทธิ์ยึดหลักยุติธรรมแก่คู่กรณีที่มีความเห็นต่าง ในข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แต่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยหลักอปริหานิยธรรมนั้น เจ้าวัชชีก็เข้าประชุมพร้อมกันเลิกพร้อมกันในการตัดสินคดีความนั้นอยู่ในสัณฐาคารนั้นเช่นเดียวกันเข้าประชุมพร้อมกันและเลิกพร้อมกัน เป็นต้น
๔.๒ ระบอบการปกครองคำว่า"ระบอบ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ นั้นได้นิยามไว้ว่า แบบอย่าง ธรรมเนียม อีกคำนิยามหนึ่งนั้น คือระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบการปกครองสมบูรณายาสิทธิราชย์ เป็นต้น ในหลักอปริหานิยธรรมได้กล่าวถึงระเบียบการปกครองโดยให้ประชาชนในวรรระกษัตริย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศชาติอย่างชัดเจนว่าเจ้าวัชชีต้องการให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองทุกยุคทุกสมัยมิไปสู่ทางเสื่อมเลยนั้น ด้วยจิตใจที่มีความสามัคคีไว้วางใจซึ่งกันและกัน ปัญหาของประเทศได้รับการบริหารจัดการผ่านรัฐสภาทุกอย่างแสดงถึงระเบียบการปกครองของรัฐวัชชีนั้นเป็นระบอบสามัคคีธรรมเป็นต้นแบบประชาธิปไตยยุคสมัยปัจจุบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ แต่อำนาจนั้นได้รับการพิจารณาจากรัฐสภาอีกขั้นหนึ่งก่อนประกาศใช้เหมาะยุคสมัย เพราะรัฐสักกะ รัฐวัชชีเป็นเพียงรัฐ ๆ แต่มีประชาชนไม่มากปัญหาของประเทศมีน้อย เป็นต้น ๔.๓ การใช้อำนาจอธิปไตย ต้องอิสระจากการชี้นำของต่างชาติในการบัญญัติกฎหมาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของประชาชนในประเทศมีคณะรัฐบาลในการบริหารปกครองประเทศ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีศาลยุติธรรมในการตัดสินคดีความให้เกิดความยุติธรรมในประเทศเป็นต้นตามหลักอปริหานิยธรรมนั้น รัฐสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการและอำนาจบริหารเอง ซึ่งต้องหาตัวอย่างเพื่อใช้วิเคราะห์การใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวต่อไป เป็นต้น ตามคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อนำไปใช้วิเคราะห์หลักอปริหานิยธรรมนั้นผู้เขียนเห็นว่าองค์ประกอบของหลักอปริหานิยธรรมตามคำนิยามนั้นหลายข้อนั้น สอดคล้องกับบทบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงอนุมานความรู้ได้ว่า หลักปริหานิยธรรมนั้นคือกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐชนบทขนาดเล็กในชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลดังที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
บรรณานุกรม
[1] พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรมจาก htt://www.84000.org/Tipitaka/dic/d_item.php?=289 เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
[2] http://www.royin.go.th/dictionary/กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น