บทนำ:กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสักกะตามหลักปรัชญาในแผ่นดินพุทธภูมิ (Introduction: The constitutional Law of the Royal Sakka in Buddhaphumi's Philosophy)
๑.บทนำ
ในยุคปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง โดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อแสดงเอกราชของประเทศตนเอง เช่น ราชอาณาจักรไทย มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๖ หมวด โดยหมวดทั่วไประบุไว้ดังนี้ หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา๑-๒) หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด ๗ รัฐสภา หมวด ๘ คณะรัฐมนตรี หมวด ๙ ศาล หมวด ๑๐ ศาลรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๑ องค์อิสระ หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ หมวด ๑๓ อัยการ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด ๑๕ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ เพื่อใช้ในการบริหารราชอาณาจักรไทย เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิภาคต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียในสมัยพุทธกาล จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปีก่อน เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง ชาวอารยันและชาวดราวิเดียนยึดครองดินแดนในอนุทวีปอินเดียพวกเขาได้ก่อตั้งแคว้น(country)ของตนเอง ประกาศตนเป็นประเทศอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศของตน เพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการประกอบอาชีพ การศึกษา การเมือง การศาสนาและพิธีกรรมทางศาสนา ประชาชนมีหน้าที่ปกป้องชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงอัตลักษณ์ของตนต่อประชาคมโลกอย่างมีศักดิ์ศรี และได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์นั้น ซ่อนอยู่ในจิตใจของพวกเขาและโดยปกติพวกเขามักจะไม่แสดงตนให้ผู้อื่นเห็นเพื่อรักษามารยาททางสังคม แต่พวกเขามักก่อเหตุรุนแรง เพื่อทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นอยู่เป็นประจำแสดงให้เห็นถึงความโง่เขลาของพวกเขา เพราะขาดสติสัมปชัญญะในการเรียกความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจ เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาชีวิต ส่งผลให้พวกเขาขาดปัญญาในการคิดนำความรู้นั้น เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบต่อปัญหาที่น่าสงสัย เมื่อพวกเขากระทำการดังกล่าวก็จะละเมิดความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน พวกเขาจะต้องได้รับผลกรรมจากการกระทำของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเช่นนี้ เมื่ออาณาจักรสักกะมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองของตนเอง มีเขตแดนชัดเจนและมีแม่น้ำโรหินีเป็นพรหมแดนระหว่างอาณาจักรสักกะกับอาณาจักรโกลิยะ เมื่อประชาชนก่อตั้งชุมชนการเมืองของตน โดยมีศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าเราจะยอมรับความมีอยู่จริงของอาณาจักรสักกะโดยปริยายว่า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์ประกอบความรู้ของความเป็นอาณาจักรสักกะยังไม่ชัดเจน เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าอาณาจักรสักกะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศหรือไม่ ? และผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของอาณาจักรสักกะในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณต่อไป โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ผู้เขียนก็ใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องกฎหมายธรรมนูญแห่งแคว้นสักกะจากหลักฐานพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่น ๆ โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา มาอธิบายความจริงของคำตอบ เป็นต้น
บทความในบล็อคนี้ จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยในการบรรยายแก่ผู้แสวงบุญ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยมีเนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าที่ใช้วิเคราะห์หลักฐาน จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจในการวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินความจริงของคำตอบอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น