The truth problem of Rambha Stupa according to the Mahachulalongkorn Tipitaka

บทนำ ปัญหาความจริงของมกุฏพันธนเจดีย์
ในการศึกษาปัญหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ นั้น วิชาอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาโดยนักปรัชญามุ่งเน้นที่การศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเทพเจ้า เป็นต้น
ทำไมต้องศึกษาปัญหาเหล่านี้ โดยทั่วไป มนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ จึงไม่สามารถรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และมักมีจิตใจที่ชอบอคติต่อผู้อื่นเสมอ ทำให้ชีวิตของมนุษย์ตกอยู่ในความมืดมน จึงไม่สามารถใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเราเรียกว่า "นักปรัชญา" ตามหลักปรัชญานั้น เมื่อใครกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราควรสงสัยก่อนว่าเรื่องนั้นไม่จริง จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมาน เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถ้าไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จริงที่ได้ยินมานั้นไม่น่าเชื่อถือ เพราะมีเพียงคนเดียวคือผู้เห็นเหตุการณ์เอง มักมีคติต่อมนุษย์ด้วยกัันและมีอายตนะภายในของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น จึงไม่สามารถยอมรับได้ว่าเป็นความจริง ความจริงในทางอภิปรัชญาแบ่งออกเป็น ๒ ประภท คือ
๑. ความเป็นจริงที่สมมติขึ้น (appearance)
๒. ความเป็นจริงขั้นปรมัตถ์ (verity)
๑.ความเป็นจริงที่สมมติขึ้น (Appearance) คือสิ่งที่ปรากฎตัวต่อหน้าของมนุษย์ ดำรงสภาวะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และดับสูญไปจากสายตาของมนุษย์ ให้มนุษย์รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า "สังขาร" คือ สิ่งที่เป็นอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง ผสมปรุงแต่งซึ่งแสดงถึงลักษณะของสังขารใน ๓ ประการ กล่าวคือ สังขารมีความเกิดขึ้นปรากฏ เมื่อสังขาร(มีชีวิต) ตั้งอยู่ (ดำรงอยู่) ก็มีความแปรปรวนวนเป็นอย่างอื่นปรากฏ และมีความเสื่อมดับไปปรากฏเป็นต้น ตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่างร่างกายและจิตใจได้ที่เรียกว่าปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดาก็มีความแปรปรวนในการเจริญเติบโตเป็นทารกและคลอดทารกออกมามีชีวิตรอดอยู่ เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะมีโรคภัยเบียดเบียนปรากฏขึ้นมาตลอดชีวิตเมื่อร่างกายต่อต้านโรคภัยเบียดเบียนไม่ได้ ก็จะมีเสื่อมดับคือตายไปปรากฏให้คนอื่นรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของเขาเอง
๒.ความจริงขั้นปรมัติ (ultimate truth) คือ สิ่งที่เป็นธาตุแท้ที่ไม่มีอะไรผสมหรือปรุงแต่งทั้งหมดสิ่งที่เป็นธาตุแท้มีได้ทั้งที่เป็นวัตถุหรือเป็นรูปธรรม ทั้งส่วนที่ไม่ใช่เป็นวัตถุหรือเรียกให้เข้าใจง่ายเรียกว่า "นามธรรม" เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เป็นวัตถุก่อน ธาตุที่เป็นวัตถุนั้น ไม่ได้หมายถึง ธาตุ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลมและธาตุไฟ ดังที่แสดงว่า ส่วนที่แข้นแข็งมีผมขนซึ่งเป็นของร่างกายมนุษย์ เป็นธาตุดิน ส่วนเอิบอาบมีน้ำดี น้ำเสลด เป็นต้นเรียกว่าธาตุน้ำ เป็นต้น
ทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้จากประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าพยานบุคคลนั้น มีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น" ตามทฤษฎีความรู้นี้ผู้เขียนตีความว่ามนุษย์มีความรู้แท้จจริงในเรื่องสิ่งต่าง ๆ เงื่อนไขและปรากฏการณ์ต่าง ๆ บุคคลนั้นต้องรับรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง จึงจะถือว่าบุคคลนั้น เป็นพยานหลักฐานที่สามารถให้การยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประจักษ์พยาน หากพยานบุคคลใด ไม่มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองได้ตามหลักสากลไม่ถือว่า บุคคลนั้นเป็นพยานหลักฐานที่จะให้การยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้ แม้จะมีความรู้แต่เป็นความรู้ที่เกิดจากความนึกคิดของตนเอง แต่ขาดการศึกษาให้เข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องนั้น และการให้ข้อมูลของพยานบุคคลนั้นถือเป็นการให้เท็จ ไม่สามารถรับฟังเป็นหลักฐานยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้แม้เขาจะอธิบายความจริงได้อย่างน่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์ทุกคนมีอคติซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจและเป็นวิธีแสวงหาความรู้ที่ไม่ใช่สากล ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นไม่เป็นที่ยอมรับทางวิชาการของทุกฝ่าย ตัวอย่างเช่น
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา บันทึกจาริกแสวงบุญของพระภิกษุชาวจีน เป็นต้น ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า "มกุฏพันธนเจดีย์" เป็นสถานที่ที่เจ้ามัลละกษัตริย์ทรงจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อ ๒,๖๐๐ ปีที่แล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ไปแสวงบุญที่อำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เป็นครั้งแรกผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงจากพระวิทยากรว่า มกุฏพันธนเจดีย์เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าของเจ้ามัลละกษัตริย์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย และผู้เขียนมีโอกาสไปแสวงบุญกับชาวพุทธไทยหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วงฤดูหนาวของเดือนธันวาคมปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้เขียนและชาวไทยพุทธจำนวน ๓๐ คนได้เดินทางไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง เพื่อปฏิบัติบูชา (worship) อีกครั้งในชีวิตของพวกเขา ผู้เขียนและคณะมาถึงอำเภอกุสินารา เป็นเวลาดึกดื่นใกล้เวลาสี่ทุ่ม ท้องฟ้าในเมืองกุสินาราเมฆครึ้มแล้ว ผู้เขียนมองผ่านกระจกของรถโดยสารเห็นหมอกควันปกคลุมวัดมหานิวารณาในป่าสาลวโนทยานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน แสงไฟสลัวจากหลอดฟูลออเรสเซนต์ติดตั้งบนเสาไฟฟ้า เพื่อเป็นไฟส่องทางให้รถแสวงบุญไปยังวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมือผู้เขียนลงจากรถและได้สัมผัสถึงอากาศที่หนาวเย็นคืนนี้ เราพักที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ที่คณะสงฆ์ไทยได้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การเดินทางของผู้เขียน ไม่ใช่เพียงการได้เห็นสถานที่ปรินิพพานแต่เป็นการแสวงบุญตามรอยบาทพระพุทธบาทที่ตรัสไว้ ในมหาปรินิพานสูตรของพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ว่า "หากพุทธสาวกนึกถึงพระพุทธเจ้าและอยากใกล้ชิดพระพุทธเจ้าเช่นในสมัยพุทธกาลเดินทางด้วยศรัทธามาไปยังอำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ ของเมืองสังเวชนียสถาน ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงให้สาวกของพระองค์ที่ยังคงศรัทธาในหลักคำสอนของพระองค์เดินทางไปปฏิบัติบูชาครั้งหนึ่งในชีวิต
เช้าวันรุ่งขึ้น ผู้เขียนได้สัมผัสอากาศเย็นของเทือกเขาหิมาลัยที่แผ่ลงมาสู่ใจกลางอำเภอกุสินารา น้ำค้างกลั่นตัวจากหมอกเหยือกเย็นจนเป็นหยดน้ำบนหญ้าเปียก เมื่อหมอกเริ่มจางลง เราเห็นแสงแดตกกระทบพื้นและท้องฟ้าสดใส ผู้เขียนยกโทรศัพท์มือถือขึ้นเพื่ออ่านข้อความบนหน้าจอว่า สภาพภูมิอากาศในเขตเมืองกุสินารามีอุณหภูมิ ๙ องศาซึ่งต่ำกว่าประเทศไทยหลายองศา เวลา ๗.๐๐ น. ผู้แสวงบุญ ๓๓ คน นั่งรถจากวัดไทยกุสินาราไปยังมกุฏพันธเจดีย์ห่างไปเพียง ๕๐๐ เมตร เมื่อผู้เขียนมาถึงมกุฏพันธเจดีย์ ได้เห็นความงดงามของชีวิตผู้คน รู้จักคิดหาเหตุผลในการใช้ชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การขายดอกไม้ ขายของที่ระลึก ขายรูป และวิถีชีวิตของพระอินเดียบิณฑบาตที่ปากทางเข้ามกุฏพันธนเจดีย์ นักร้องเพื่อชีวิตได้นำบทสวดไตรสรณคม ที่พระสงฆ์ในประเทศไทยใช้เป็นบทสวดมนต์ประจำในงานมงคลต่าง ๆ มาร้องเพลงเพื่อชีวิตประกอบดนตรีชิ้นเดียวให้นักท่องเที่ยวได้ฟังเพื่อขอเงินบริจาค คนเหล่านี้มีความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น ทำให้พวกเขารู้จักคิดเหตุผลในวิธีการแสวงหาเงินมาเลี้ยงชีพของตนเอง แม้พวกเขาจะมีฐานะทางการเงินคดี แต่ก็เลือกใช้ชีวิตแบบนี้เพราะเป็นวิธีการหาเงินได้ง่ายจากผู้แสวงบุญที่เชื่อว่าการให้เงินกับขอทานเป็นการสร้างทานบารมี แม้พวกเขาจะไม่ใช่ชาวพุทธเพราะพวกเขาเป็นฮินดูเชื่อว่าพระพรหม พระอิศวรและพระนารายณ์ ช่วยให้เขาบรรลุโมกษะได้ พวกเขาดำเนินชีวิตแบบมังสวิรัต เพื่อรักษาร่างกายให้บริสุทธิ์ งดเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์เพื่อฆ่าสัตว์เป็นอาหารวิถีชีวิตของชาวฮินดูก็เป็นเรื่องธรรมดาในสาธารณรัฐอินเดีย
๑. มกุฏพันธนเจดีย์
เมื่อผู้เขียนกับผู้แสวงบุญชาวไทยมาถึงสถูปเก่าแก่ที่เล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตที่มีผู้คนเล่าต่อกันมา เพื่อสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในปัญหาที่น่าสงสัย ผู้เขียนลงจากรถบัส นำกลุ่มผู้แสวงบุญและเดินผ่านประตูเข้าไปที่เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ตรงใกล้ทางเข้าอนุสรณ์สถานนั้น ผู้เขียนเห็นผู้หญิงแม่ลูกอ่อนใช้มือซ้ายอุ้มทารกไว้ในอ้อมแขนเล่นหีบเพลงและร้องเพลงเป็นบทสวดในพระพุทธศาสนา เธอร้องว่า พุทธังสรณะ คัจฉามิ ผู้เขียนฟังแล้ว แปลเป็นภาษาบาลีว่า "ฉันเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง" ..บทนี้เป็นเวลาหลายนาทีนี่คือมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่พระภิกษุใช้เปล่งวาจาเป็นประจำเรียกผู้ศรัทธาไปบวชในหมู่พระสงฆ์และชาวพุทธใช้สวดในพระวิหารอันศักดิ์สิทธิเป็นประจำ มาร้องเป็นเพลงเพื่อชีวิตให้ผู้แสวงบุญนานาชาติ มาพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้เท่าทันความจริงของชีวิต ซึ่งมีจิตเมตตาจะหยิบเงินรูปีบริจาคทานเพื่อพวกเขาจะได้ใช้เงินเหล่านั้นแลกเป็นผักต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องเทศและน้ำมัน ปรุงแต่งชีวิตอยู่รอดในแต่ละวัน พวกเขาขายดอกไม้ไว้ให้เราเพื่ออามิสบูชาในลานมกุฏพันธนเจดีย์อีกด้วย แต่ผู้เขียนปฎิเสธที่จะซื้อจากพวกเขา เพราะเราต้องการทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติบูชามีการสวดมนต์ นั่งสมาธิและฟังคำบรรยายจากพระวิทยากรเพื่อชำระล้างกิเลสอัน เป็นเหตุให้จิตวิญญาณเวียนว่ายตายและกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏมานับครั้งไม่ถ้วน ชำระจิตให้ผ่องแผ้วและไม่ปรารถนาชีวิตเป็นทุกข์ เป็นต้น ผู้เขียนเดินเข้าไปสู่มกุฏพันธนเจดีย์โบราณและระลึกถึงหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ฟังข้อเท็จจริงว่ามัลละกษัตริย์ได้สร้างจิตกาธานด้วยไม้จันทร์หอมสูง ๒๐ ศอกเพื่อจัดพระราชทานเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า เมื่อประชุมเพลิงแล้วจิตกาธานก็หายไปพร้อมกับสรีระของพระพุทธองค์เหลือเพียงเถ้าถ่านเท่านั้น
เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น วัตถุพยานจะถูกสร้างขึ้นเป็นมกุฏพันธนเจดีย์เมื่อใด ? ยังคงเป็นประเด็นที่น่าสงสัย ต้องสอบสวนเพิ่มเติมและรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ เมื่อผู้เขียนค้นคว้าลักษณะสัณฐานของพระเจดีย์เป็นวงกลม ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาครอบคลุมสถานที่พระราชทางเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว เพื่อเป็นวัตถุพยานของสถานที่ประชุมเพลิงไว้หลักฐานพิสูจน์ความจริงในประวัติพระพุทธศาสนา เพราะลักษณะทางพุทธศิลป์อยู่ที่ฐานเจดีย์ทรงกลมคล้ายปากของบาตรขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์อย่างยิ่งที่จะเป็นสถานแห่งความทรงจำนิรันดร์ในพระพุทธศาสนาที่ไม่มีวันตาย ให้เป็นสัญญาที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมวลมนุษย์ตลอดไป ถึงแม้วิญญาณของพวกเขายังเวียนว่ายตายและกลับชาติมาเกิดไม่จบสิ้นก็ตาม
มกุฏพันธนเจดีย์นี้ตั้งตระหง่านมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ได้รับความร้อนของแสงแดด ผ่านเมฆหมอกเย็นที่กระทบหน้าผาสูงตระหง่านของเทิอกเขาหิมาลัย ความหนาวเย็นสะท้อนกลับเบื้องล่างในฤดูหนาว มกุฏพันธนเจดีย์ตั้งอยู่ท่ามกลางสายฝนที่ละลายอิฐปูนของมกุฏพันธนเจดีย์ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองพันปี เมื่อผู้เขียนยืนอยู่ที่ลานมกุฏพันธนเจดีย์ และมองหาร่องรอยของอารยธรรมโบราณที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ มนุษย์ทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อะไร นอกจากพระเจดีย์โบราณที่สร้างด้วยอิฐแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานเครื่องบูชาอื่นใด ที่จะเป็นปริศนาธรรมและพิธีกรรมอันซ่อนเร้นในเจดีย์แห่งนี้ แต่เมื่อผู้เขียนอ่านป้ายแสดงสัญลักษณ์ของอนุสาวรีย์เจดีย์แห่งนี้ เจ้าหน้าที่ก็เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "รามภาร์" ที่ชาวไทยพุทธส่วนใหญ่เรียกว่า "มกุฏพันธเจดีย์" นั่นเอง
๒.พิธีการบำเพ็ญกุศลพระบรมศพของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่ปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งพระพุทธเจ้าตามปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม ที่๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพานข้อ ๒๐๕ กล่าวว่า ..... พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิเสร็จแล้ว จึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์แล้ว จึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่งทำโดยวิธีนี้จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้นแล้วอัญเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็ก เต็มไปด้วยน้ำมันใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบแล้ว ทำจิตกาธานด้วยด้วยไม้หอมล้วนแล้ว ถวายพระเพลิงพระบรมศพสร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรรดิไว้ ในทางสี่แพร่งใหญ่อานนท์พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างนี้แล พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคต เหมือนอย่างพวกปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิพึงสร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิ์ไว้ในทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ จักอภิวาท หรือจักทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น.
จากข้อความในพระไตรปิฎกนั้นเราวิเคราะห์ได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานให้จัดการพระบรมศพของพระพุทธเจ้าด้วยการเอาผ้าใหม่ห่อพระบรมศพแล้ว จึงห่อด้วยสำลีแล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำวิธีเดียวกันนี้จนครบ ๑๐๐ ชั้นแล้ว อัญเชิญพระบรมศพของพระพุทธเจ้าลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมัน และใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบไว้ ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพวกมัลลกษัตริย์ได้ตรัสถามพระอานนท์ควรจะปฏิบัติพระสรีระของพระพุทธเจ้าอย่างไร พระอานนท์ได้คำตอบว่า พึงปฏิบัติต่อพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับพระมหาจักรพรรดิ ดังปรากฎความในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพาน ข้อ ๒๓๐ กล่าวว่าจากนั้น พวกมัลละได้ตรัสถามพระอานนท์ดังนี้ว่า พวกข้าพเจ้าพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร? ท่านพระคุณเจ้าท่านพระอานนท์ได้ถวายพระพรว่า"พระมหาบพิตรพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตเหมือนอย่างพวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระมหาจักรพรรดินั่นแหละ พวกมัลละได้ตรัสถามว่า พวกเขาจะปฏิบัติต่อพระบรมศพมหาจักรพรรดิอย่างไร พระคุณเจ้า.
ท่านพระอานนท์ถวายพระว่า"พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิเสร็จแล้ว จึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่งทำโดยวิธีนี้จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้นแล้ว อัญเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มไปด้วยน้ำมันใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบแล้ว ทำจิตกาธานด้วยด้วยไม้หอมล้วนแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพสร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิ์ไว้ในทางสี่แพร่งใหญ่ อานนท์พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างนี้แล พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างพวกปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิ์ไว้ในทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกระเบียบดอกไม้ของหอม หรือจุรณ จักอภิวาทหรือจักทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น จักการกระทำนั้นจะเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนานเทอญ.
๓. การประชุมเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า
ในพระไตรปิฎกเล่มที่๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพาน ข้อ ๒๒๗. กล่าวว่า ลำดับนั้นพวกเจ้ามัลละผู้ครองกุสินารารับสั่งข้าราชบริพาร พนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงเตรียมของหอม ระเบียบดอกไม้ และเครื่องดนตรี ทุกอย่างที่มีในกรุงสินาราเตรียมให้พร้อม แล้วทรงถือเอาของหอม ระเบียบดอกไม้ ครื่องดนตรี ทุกอย่างและมีผ้า๕๐๐ คู่ เสด็จเข้าไปยังสาลวันของพวกเจ้ามัลละซึ่งอยู่ตรงทางเข้าเมืองตรงไปยังพุทธสรีระ ทรงสักการะ เคารพ นอบน้อม บูชา ระเบียบดอกไม้ และของหอม ทรงคาดเพดานผ้า ตกแต่งเครื่องมณฑลมาลาอาสน์ ให้วันนั้นหมดไปด้วยกิจกรรมอย่างนี้ต่อมาพวกเจ้ามัลละกษัตริย์ผู้ครองกรุงกุสินาราทรงดำริว่า วันนี้เย็นเกินไปที่จะถวายพระเพลิง พระสรีระของพระผู้มีพระภาค พรุ่งนี้เราจะถวายพระเพลิงจากนั้นก็ทรงสักการะเคารพนอบน้อมบูชา พระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอม ทรงคาดเพดานผ้า ตกแต่งด้วยมณฑลมาลาอาสน์ ให้เวลา วันที่ ๒ วันที่ ๓ วันที่ ๔ วันที่ ๕ วันที่ ๖ หมดไป พอถึงวันที่ ๗ พวกเจ้ามัลละกษัตริย์ผู้ครองกรุงกุสินาราทรงดำริว่า"เราสักการะเคารพนบนอบบูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีระเบียบดอกไม้และของหอม จะอัญเชิญพระสรีระของพระผู้มีพระภาคไปทางทิศใต้ของเมืองเสร็จแล้ว จึงถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคนอกพระนครทางทิศใต้
๔. การแบ่งพระบรมสาริธาตุแก่เจ้าเมืองทั้งแปด
ในพระไตรปิฎกเล่มที่๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพาน ข้อ ๒๓๖. กล่าวว่า พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตรได้ทรงสดับว่า "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินาราจึงทรงส่งราชทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา"พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้างจะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลองพวกเจ้าลิจฉวีผู้ครองกรุงเวสาลีได้ทรงสดับว่า"พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินาราจึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา" พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง.
พวกเจ้าศากยะชาวกบิลพัสดุ์ได้ทรงสดับว่า "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินาราจึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา"พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระญาติผู้ประเสริฐที่สุดของพวกเราพวกเราควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้าง จะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง".
พวกเจ้าถูลีผู้ครองอัลลกัปปะได้ทรงสดับว่า "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานในกรุงกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา"พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงควรจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้างจะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและทำการฉลอง".

๒. พวกมัลละกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา
๓. พวกเจ้าลิจฉวีผู้ครองกรุงเวสาลี
๔. พวกเจ้าศากยะชาวกบิลพัสดุ์
๕. พวกเจ้าถูลีผู้ครองอัลลกัปปะ
๖. พวกเจ้าโกลิยะผู้ครองกรุงรามคาม
๗. พราหมณ์ผู้ครองกรุงเวฏฐทีปกะ
๘. พวกมัลละกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา
๔.วิธีปฏิบัติบูชาในมกุฏพันธนเจดีย์ (จริยศาสตร์)
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงสาลวโนทยานของเจ้ามัลละกษัตริย์ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพาน ข้อ ๑๙๘. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกกับท่านพระอานนท์มาตรัสว่ามาเถิดอานนท์ เราจะข้ามไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดีตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน" ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดีตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน"แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์ตรัสว่า "อานนท์เธอช่วยตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันศรีษะไปทางทิศเหนือเราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก" ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาททรงมีสติสัมปชัญญะ เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ผลิตดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศ โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเจ้าเพื่อบูชาพระตถาคตเจ้าดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคตทั้งสังคตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต.
ข้อ ๑๙๙. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกกับท่านพระอานนท์มาตรัสว่าต้นสาละทั้งคู่ผลิตดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเจ้าเพื่อบูชาพระตถาคตเจ้าดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต ทั้งสังคตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ตถาคตจะชื่อว่าบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสถหรือุบาสิกาเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ผู้นั้น ผู้นั้นชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้นอานนท์เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ อานนท์เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล" จากข้อความในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้น เราวิเคราะห์ได้ว่า การบูชาด้วยความนอบน้อม ความเคารพในพระพุทธเจ้า ตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้านั้น แบ่งออกเป็นอย่างคือ
๑. การบูชาด้วยดอกไม้ดนตรีทิพย์ สังคตทิพย์เป็นเครื่องสักการะถือว่าเป็นการอามิสบูชา
๒. การปฏิบัติบูชาด้วยการปฏิบัติสมควรแก่ธรรม เป็นการบูชาอย่างยอดเยี่ยมเรียกว่าปฏิบัติบูชาในการบูชาทั้งสองอย่างพระพุทธเจ้าโปรดให้พุทธสาวกปฏิบัติบูชาด้วยการน้อมกายวาจาและ เจตนาของจิตเดินตามทางสายประเสริฐหรือมรรคมีองค์ ๘ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการบูชาอย่างยอดเยี่ยม เป็นวิธีการนำไปสู่ความระดับสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า อภิญญาหก วิธีปฎิบัติบูชาของฉัน เมื่อฉันเดินทางมาสู่วัดนิรวารณา อันสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าครั้งแรกตั้งแต่ปี ๒๐๐๒ นั้น นอกจากญาติโยมจะตระเตรียมดอกไม้ ธูป เทียนเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการปฏิบัติตามวิธีการบรรลุธรรมตามรอยบาทพระศาสดาตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติบูชาที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้พุทธสาวกของพระองค์พึงควรปฏิบัติ เพราะเป็นวิธีการนำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ในชีวิตได้ และทำให้พระพุทธศาสนาไม่ไร้ซึ่งพระอรหันต์คำว่า "มรรคมีองค์ ๘" ว่า โดยย่อก็คือวิธีการปฏิบัติหลักไตรสิก ขาได้แก่
ศีล ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า ศีลเป็นข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดของปฏิบัติทางกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อยส่วนสมาธิให้ความหมายว่าความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมใจให้จิตแน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในการเดินทางมาปฏิบัติบูชา ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยขณะพวกเราประกอบพิธีกรรมอนุโลมว่าเป็นการสำรวมกายวาจาไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจาเพราะสวดมนต์ไหว้ จิตของเราผู้สวดมุ่งไปที่ การสวดมนต์จิตไม่วอกแวกไปสนในสิ่งอื่นนอกจากบทสวดมนต์และพระพุทธรูปางปรินิพพานที่อยู่ตรงหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น