Introduction: Life After Death according to Buddhaphumi's Philosophy
คำสำคัญ ชีวิต ตายแล้วไม่สูญ
๒. แนวคิดเรื่องชีวิต
๓. ชีวิตตายแล้วไม่สูญ
๑.บทนำ
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาก็ต้องตาย มันเป็นกฎของธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนสามารถรับรู้ได้ผ่านอาตนะภายในร่างกายของตนเอง และสั่งสมเป็นอารมณ์ในจิตใจมายาวนาน ไม่มีมนุษย์คนใดมีชีวิตเป็นอมตะ แม้มนุษย์ทุกคนจะรู้ว่าวันหนึ่ง ชีวิตของตนจะต้องตายอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่มีใครอยากจะตายอย่างแน่นอน ดังนั้น มนุษย์จึงคิดหาวิธียืดอายุของตนให้มีอายุยืนยาวต่อไป โดยทำพิธีกรรมต่อดวงชะตาชีวิตของตนให้มีอายุยืนยาวต่อไป แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครหนีความตายได้ เมื่อความตาย เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจในเส้นทางแห่งสังสารวัฏมายาวนาน ความตายจึงเป็นความจริงอันเป็นที่สุดของมนุษย์ต้องเผชิญด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ในสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง เมื่อความตายใกล้เข้ามา ผู้คนในอนุทวีปอินเดียจะพึ่งพราหมณ์ ให้ทำพิธีกรรมเสริมดวงชะตาให้มีอายุยืนยาว
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าศากยมุนีทรงประชวรหนัก แต่พระองค์ทรงเจริญอิทธิบาท๔ (ใช้พลังอำนาจฤทธิ์ ๔ ประการ) เพื่อรักษาธาตุและร่างกายของพระองค์ใว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยปลงอายุสังขารอีก ๓ เดือนข้างหน้าว พระองค์จะปรินิพพาน ในวาระสุดท้ายของชีวิตพระพุทธเจ้าก็ทรงละร่างกายไปในยุคของวิทยาศาสตร์มีความเจริญรุ่งเรืองมนุษย์ผลิตยาหลายชนิด เพื่อรักษาชีวิตมนุษย์ไว้แต่สุดท้ายชีวิตมนุษย์ก็ต้องตายอยู่ดี ดังนั้น ความตายของมนุษย์จึงเป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ ทุกคนจึงเกิดมาเพื่อตายเป็นกฎธรรมชาติแห่งชีวิตสำหรับทุกคนที่ต้องเผชิญกับความตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้น

เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อตาย แต่ก็ยังมีข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนยังคงสงสัยว่ามีชีวิตหลังความตายหรือไม่ ? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลของผู้เห็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันซึ่งให้การสอดคล้องต้องกันว่า ไม่เคยเห็นคนตายฟื้นคืนชีพและกลับมาหาบุุคลในครอบครัวอย่างใด เมื่อศพถูกเผาแล้วไม่เหลืออะไร? ยกเว้นแต่ขึ้เถ้าและกระดูกที่เหลือวางบนสังกะสีเก่าเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและพยานวัตถุนั้นแสดงให้มนุษย์ทุกคนเห็นว่าความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์เกี่ยวกับความตายของมนุษย์นั้น เมื่อชีวิตมนุษย์ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายด้วยความตายไป
ปัญหาว่า มนุษย์มีวิญญาณหรือไม่ เมื่อเราศึกษาหลักฐานในตัวเราเอง เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องตายไป ในความรู้ระดับประสาทสัมผัสนั้น แต่เมื่อตายแล้ว ตัวเราและคนอื่น ๆ ก็ไม่เคยเห็นวิญญาณออกจากร่างของผู้ตายแต่อย่างใด แต่มีหลักฐานที่ได้ยินข้อเท็จจริงที่เล่าให้ฟังกันสืบต่อกันมาว่าฝันเห็นคนตายไปเกิดบนสวรรค์ บ้างไปชดใช้กรรมในนรกบ้าง หรือกลับมาเกิดบ้าง ดังนั้น เมื่อเรายังไม่มีความรู้เรื่องวิญญาณจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เราจะตัดสินด้วยเหตุผลของเราเองว่าชีวิตมนุษย์นั้นไร้วิญญาณ เมื่อมนุษย์ตายสูญเปล่าก็จะเป็นความคิดที่มีเหตุผลค่อนข้างไม่ถูกต้องเพราะมนุษย์มีขอบเขตการรับรู้ที่จำกัด และมีอคติต่อผู้อื่น เมื่อวิญญาณเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับรู้ได้ เหมือนดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปหลายล้านปีแสง ก็ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เว้นแต่จะใช้กล้องส่องทางไกลช่วยในการมองเห็นการมีอยู่ของดาวเหล่านั้น เป็นต้น
ในอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ ผู้เขียนถือว่าชีวิตมนุษย์เป็นความจริงที่สมมติขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปและค่อย ๆ จางหายไปในธรรมชาติ ในขณะที่ญาณวิทยาถือว่า ความรู้ที่แท้จริงต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น วิญญาณของคนตายนั้นยากสำหรับคนทั่วไปที่จะรับรู้ได้ เพราะความรู้อยู่เหนือขอบเขตทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ แต่ปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่าคนตายแล้วสูญเปล่าหรือไม่? มีเหตุผลที่จะอธิบายหรือไม่? ผู้เขียนต้องศึกษาหลักฐานจากเอกสารหลักฐาน พยานวัตถุ และพยานบุคคลเพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์คำตอบอย่างมีเหตุผล ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคอินเดียโบราณ มนุษย์เชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระพรหม
ปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่า มนุษย์ตายแล้วไปไหน เมื่อศึกษาแนวคิดอภิปรัชญาของพราหมณ์หกนิกายในพระไตรปิฎก พวกเขาให้เหตุผลของคำตอบทำนองเดียวกันว่า มนุษย์ตายแล้วสูญเปล่า เป็นต้น แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตมนุษย์มีจิตใจเป็นตัวตนที่แท้จริง จึงเป็นไปตามเจตนาของการกระทำและอารมณ์ของการกระทำที่สั่งสมในจิตใจแม้ตายไปเกิดในสังสารวัฏไม่รู้ว่ากี่ครั้ง คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวิญญาณผ่านวัฏจักรแห่งความตายและการกลับมาเกิดใหม่หลายครั้งในสังสารวัฏ ?
โดยทั่วไป บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ตามทฤษฎีเชิงประจักษ์นิยมในญาณวิทยากำหนดว่า ความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงตามแนวคิดของทฤษฎีข้างต้นนั้น โดยธรรมชาติของที่มาของความรู้ ผู้รับรู้ความจริงผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น จึงจะสามารถให้การยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้ผู้เขียนเห็นว่า"ชีวิตมนุษย์ทุกคนตายแล้วสูญสิ้นไป เพราะ เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ไม่มีใครเห็นว่าคนตายกลับฟื้นคืนชีวิตมาเป็นปกติได้อีกครั้งหลังความตายและไม่มีใครรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนว่าวิญญาณของคนตายได้ละร่างไปสู่ภพภูมิอื่นแล้ว
ตามแนวคิดทางอภิปรัชญาของปรัชญาตะวันตกว่าด้วยทฤษฎีสสารนิยม มีแนวคิดว่า สสารเป็นบ่อเกิดของโลก จักรวาล และมนุษย์ เป็นต้น ทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษย์กำหนดไว้ว่า มนุษย์ทุกคนมีร่างกายประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล โทรศัพท์มือ เป็นต้น ส่วนจิตเป็นสิ่งที่ไม่อยู่จริง อาการของจิตไม่ว่า ความทุกข์ ความสุขและอุเบกขา นึกคิด ความเข้าใจนั้น เป็นผลการรวมตัวของสสารเท่านั้น
ตามแนวคิดของทฤษฎี ผู้เขียนตีความว่า เมื่อสสารเป็นบ่อเกิดของมนุษย์ร่างกายมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องจักรกล ส่วนจิตนั้นไม่มีอยู่จริงดังนั้นตามแนวคิดทฤษฎีสสารนิยมแสดงเหตุผลของคำตอบยอมรับว่าร่างกายเป็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้วชีวิตมนุษย์ย่อมขาดสูญไม่เหลืออะไร เพราะคิดว่าจิตเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริงนั้นเอง นอกจากนี้ผู้เขียนเคยมีข้อสงสัยว่าหลังจากประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลศพอุทิศแก่ผู้ตายตามความเชื่อในศาสนาแล้ว ก็ไม่เคยมีใครเห็นผู้ตายฟื้นคืนชีพกลับมาเยี่ยมบุคคลในครอบครัวแต่ก็ได้ฟังข้อเท็จจริงที่บอกเล่ากันสืบต่อกันมาเท่านั้นว่า ญาติคนนั้นฝันเห็นผู้ตายยังวนเวียนอยู่ในบ้านจิตวิญญาณยังมิได้ไปเกิดที่ภพภูมิอื่นๆแต่อย่างใดบางครั้งก็มี พระมักจะทักว่าจิตวิญญาณของผู้ตายยังไม่ได้ไปจุติจิต (เกิด) ในภพภูมิอื่นแต่อย่างใด ยังใช้ชีวิตจิตวิญญาณวนเวียนอยู่แต่ในบ้านเก่าที่เคยอยู่อาศัย เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนจึงตัดสินใจศึกษาข้อมูลเรื่อง The dead not lost (ตายแล้วไม่สูญ) โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎก อรรถกถา พระสูตร คัมภีร์ต่าง ๆ และหนังสือเล่มอื่น ๆ เป็นต้น คำตอบที่เขียนไว้ในบทความที่ได้จากวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสารดิจิทัลนั้นจะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมวิทยากรใช้ข้อมูลในการบรรยายให้แก่ผู้แสวงบุญไทยพุทธในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อให้ข้อมูลวิชาพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการบรรยายดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้ในพยานหลักฐานต่าง ๆ นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยของนิสิตปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนา ให้เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อพิรุธสงสัยในข้อเท็จจริง อีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น