Metaphysical problems concerning Vajji state in the Tripitaka
๑.บทนำ ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับรัฐวัชชี
โดยทั่วไป นักปรัชญามีความสนใจศึกษาปัญหาของอภิปรัชญา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ เช่น มนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ พายุ และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้าซึ่งเป็นที่พึ่งของมนุษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่นักปรัชญาสนใจศึกษานั้น มีทั้งสิ่งที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้โดยอายตนภายในร่างกายของตน เช่น ชีวิตมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น และสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของอายตนะภายในมนุษย์ เช่น ภูต ผี ปีศาจ นรก โลกสวรค์ หรืออภิญญา ๖ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงจำแนกความจริงในอภิปรัชญาได้ ดังนี้
๒.ประเภทของความจริงทางอภิปรัชญา
๒.๑ ความจริงที่สมมติขึ้น (Fictional truth) โดยทั่วไป สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ดับไป นักปรัชญายอมการมีอยู่จริงของสิ่งเหล่านี้ โดยไม่พิจารณาถึงธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งเหล่านี้ เช่น ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งประสูติจากพระครรภ์ของพระนางมายาเทวี มีพระชนม์ชีพอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วพระองค์ปรินิพพาน พระอานนท์ซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งสามารถรับรู้เรื่องราวของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายของพระอานนท์ เมื่อพระอานนท์รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น พระอานนท์ก็จะเก็บเรื่องเหล่านั้นไว้เป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจ เพื่อรักษาหลักคำสอนและหลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าไว้ มิให้สูญหายไปพร้อมการปริพพานของพระพุทธเจ้า คณะสงฆ์ในยุคนั้นจึงได้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกไว้เป็นหมวดหมู่ด้วยการมุขปาฐะ ดังนั้น ชีวิตของพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ชีวิตตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมสลายไปตามกฎไตรลักษณ์ ตามแนวคิดของนักปรัชญา ชีวิตของพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
แคว้นวัชชี เป็นรัฐประชาธิปไตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล เป็นต้นแบบประชาธิปไตยในยุคสมัยปัจจุบัน มีสมาชิกรัฐสภาแห่งแคว้นวัชชีมาจากการเลือกตั้งกันเอง ๗,๗๐๗ องค์ แคว้นวัชชีเป็นชุมชนการเมืองที่เกิดขึ้น ดำรงเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและดับสูญความเป็นแคว้นวัชชีไป เพราะถูกพระเจ้าอโศกมหาราชผนวกแคว้นวัชชีเข้ากับอาณาจักรเมารยะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ดังนั้น เมื่อแคว้นวัชชีมีลักษณะเกิดขึ้น ดำรงเอกราชอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและดับสูญอำนาจอธิปไตย ไป ถือว่าแคว้นวัชชี เป็นความจริงที่สมมติขึ้น
๒.๒ ความจริงขั้นปรมัตถ์ โดยทั่วไป มนุษย์มีชีวิตเต็มไปด้วยความมืดมน เพราะอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ และมีอคติต่อผู้อื่น จึงแสวงหาประโยชน์โดยทุจริต ผิดต่อศีลธรรมและกฎหมาย จึงไม่มีความสามารถคิดอย่างรู้แจ้งแทงตลอดในความเป็นไปของชีวิตว่า เมื่อกระทำกรรมใดไปแล้วย่อมรับผลของการกระทำนั้น
โดยทั่วไปแล้ว การศึกษาปรัชญา เมื่อเรากล่าวถึงข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเมื่อผู้เขียนได้ค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ และอรรถกถา (commentary)แล้วได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า แคว้นวัชชีเป็นรัฐอิสระที่มีอยู่ก่อนเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงออกผนวชและตรัสรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษยแคว้นวัชชีสูญเสียเอกราชหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน เนื่องจากแคว้นวัชชีถูกผนวกเข้ากับแคว้นมคธ หลังจากที่กองทัพวัชชีแพ้สงครามกับพระเจ้าอชาติศัตรู เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯและอรรถกถาเพิ่มเติม ผู้เขียนได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับแคว้นวัชชีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายฉบับ ทำให้องค์ประกอบของแคว้นวัชชี เรื่องราวปรากฏในใจของผู้เขียน มันไม่ชัดเจนว่าแคว้นวัชชีมีประวัติอย่างไร?
ผู้เขียนสงสัยว่าแคว้นวัชชีเป็นรัฐอิสระหรือไม่ ในการเขียนบทความเรื่องแคว้นวัชชีนี้จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีการเมืองเป็นหลักในการกำหนดโครงสร้างรัฐและขอบเขตของความรู้เกี่ยวกับรัฐวัชชีอย่างชัดเจนโดยผู้เขียนใช้ความหมายของคำว่า"ประเทศ"ในพจนานุกรมแปลไทย-ไทยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำนิยามไว้ ๒ ความหมาย กล่าวคือ รัฐหมายถึงบ้านเมือง แว่นแคว้น ประเทศ คือชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนมีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ มีการปกครองอย่างเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น" ในคำนิยามของพจนานุกรมแปลไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้างต้นเป็นทฤษฎีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลในการตอบคำตอบเกี่ยวกับความจริงของรัฐวัชชีในพระไตรปิฎกว่า (๑) รัฐวัชชีเป็นชุมชนแห่งมนุษย์ (๒) รัฐวัชชีมีอาณาเขตแน่นอน (๓) รัฐวัชชีมีอำนาจอธิปไตยใช้ได้อย่างอิสระ (๔)มีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น" จากคำยามดังกล่าวผู้เขียนแยกประเด็นวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสารต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
(๑) รัฐวัชชีเป็นชุมชนแห่งมนุษย์ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๕ วินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรคภาค ๒. ชีวกวัตถุข้อ ๒๓๖. "สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เวฬุวัน สถานที่ให้เยื่อกระแต กรุงราชคฤห์ กรุงเวสาลีเป็นถิ่นอุดมสมบูรณ์ มีอาณาเขตกว้างขวางมีพลเมืองมากมีคนคับคั่งหาข้าวปลาอาหารง่าย และพระไตรปิฎกเล่ม ๕ วินัยปิฎกเล่ม ๕ ฉบับมหาจุฬาฯ มหาวรรคภาค ๒. ข้อ ๒๙๕ กล่าวว่า สมัยนั้นกรุงเวสาลี มีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้า งอกงาม บิณฑบาตรหาง่าย พระอริยบิณฑบาตรได้ง่ายเป็นต้น และในอรรถกถา ขุทททกนิกาย สุตตนิกาย จูฬวรรค รัตนสูตรกล่าวว่า....แต่เมืองเวสาลีในสมัยพระพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว เป็นเมืองมั่งคั่งไพบูลย์ มีพระราชา ๗,๗๐๗ พระองค์ พระยุพราช ๗,๗๐๗ พระองค์ เสนาบดี ๗,๗๐๗ คน และขุนคลัง ๗,๗๐๗ คน เป็นต้น ก็มีจำนวนเท่านั้นก็เหมือนกันสมดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า เมืองเวสาลีเป็นเมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่ยนกล่น มีภิกษาหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวน ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ

จากเนื้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมาข้างต้น ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า ในแคว้นวัชชี เป็นชุมชนแห่งมนุษย์ เพราะอาหารข้าวปลาหาง่ายแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของแคว้นวัชชี พระภิกษุที่จำพรรษาในเมืองนี้บิณฑบาตรเลี้ยงชีพเพื่ออาศัยผู้อื่นเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย เพราะความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ จนผลิตข้าวมากและสามารถส่งข้าวไปขายยังแคว้นต่าง ๆได้ ประชาชนมั่งคั่ง ดังนั้น ประเทศที่จะก่อตั้งต้องมีประชากรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เพราะกิจกรรมทางการเมืองของรัฐขึ้นอยู่กับประชาชน ในการกำหนดปัญหาของประเทศ ตามเนื้อหาที่ว่า พระนครเวสาลีเป็นเมืองที่มีประชากรที่สุดในอนุทวีปอินเดีย เมื่อตอนเหนือของแคว้นวัชชี (Vajji country) ติดกับเทือกหิมาลัยซึ่งเป็นแนวกั้นเมฆและหมอกก่อตัวเป็นเม็ดฝนตกลงสู่เทือกเขาหิมาลัย กลายเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่ที่ราบลุ่มของแคว้นวัชชีตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ในฤดูร้อนแสงแดด จะละลายหิมะบนยอดเขาหลายแห่งทำให้มีน้ำมากที่ราบลุ่มของแคว้นวัชชีจึงเหมาะสำหรับปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรกรรมอื่น ๆ ปีละหลายครั้ง นอกจากนี้ รัฐมีดินแดนทิศะวันออกติดกับแม่น้ำคงคาซึ่งแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นวัชชีกับแคว้นมคธ ธรรมชาติของน้ำที่ไหลผ่านได้นำเอาปุ๋ยที่อุดมด้วยแร่ธาตุจำนวนมากลงสู่ที่ราบลุ่มของแคว้นวัชชี เป็นแร่ธาตุหล่อเลี้ยงต้นข้าวให้เจริญงอกงามอีกด้วย เมื่อที่ดินของรัฐนี้เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรกรรมอื่น ๆ อาหารจึงหาได้ง่ายเพราะพระนครเวสาลีเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากแผนที่โบราณบนอินเตอร์เน็ต ได้ยินข้อเท็จจริงว่าทิศเหนือของแคว้นวัชชีนั้น ติดกับเชิงเขาหิมาลัยในประเทศสหพันธสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลดังนั้นในแต่ละปีในฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝนมีหิมะบนยอดเขาหิมาลัยนั้น จะละลายเป็นน้ำปริมาณมหาศาล ไหลลงมาจากภูเขาหิมาลัยให้เกษตรกรในแคว้นวัชชีทำนากัน เป็นต้น ในปีผ่านมาได้ ๒๕๖๒ ปี ผู้เขียนได้โดยสารรถทัวร์ของผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธจากเมืองปัตนะถึงอำเภอเวสาลี(ดินแดนของเวสาลีในอดีตนั้น) สิ่งที่ผู้เขียนรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ที่เห็นในเส้นทางผ่านนั้น อำเภอเวสาลีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ใช้ปลูกมะม่วง ถั่ว สอดคล้องกับเนื้อหาในพระไตรปิฎกว่าแคว้นวัชชีเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์คือความรู้และความจริงทุกประการ เนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของแคว้นเวสาลีเชื่อมต่อกับเทือกหิมาลัย ถือว่าเป็นกำแพงธรรมชาติของเทือกเขาหิมาลัย ทำให้หมอกที่ลอยมาได้กระทบเทือกเขาหิมาลัย หมอกกลั่นตัวเองกลายเป็นฝนตกลงสู่ที่ราบลุ่มแคว้นวัชชี และไหลสู่แม่น้ำคงคาและแม่น้ำคันดักตลอดทั้งปี ทำให้บริเวณแคว้นวัชชีอุดมไปด้วยน้ำ การเพาะปลูกข้าวทำได้ง่ายผลผลิตของข้าวและพืชอื่นๆมีปริมาณมาก เพราะฉะนั้นแคว้นวัชชีจึงเป็นแหล่งผลิตพืชทางเศรษฐิกิจที่สำคัญในสมัยโบราณของแคว้นวัชชีคือข้าวนั้นเอง
(๒) รัฐวัชชีมีอาณาเขตแน่นอน
ทุกประเทศบนโลกมนุษย์ต้องมีดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิน น่านฟ้า และน่านน้ำ เป็นต้น การแบ่งเขตของทุกประเทศในสมัยพุทธกาลไม่มีการปักมุดเช่นสมัยปัจจุบันแต่ใช้แม่น้ำสาย ๆ ต่างๆเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัฐเมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่โบราณในสมัยพุทธกาลที่เผยแผ่บนอินเตอร์เน็ตนั้นเห็นว่า รัฐวัชชีนั้นมีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนอื่น ๆ ดังนี้ คือ ทิศเหนือติดกับเทือกเขาหิมาลัย ทิศใต้จดกับแคว้นอังคะจัมปา แคว้นมคธ และแคว้นกาสี ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโกสีเขตอังคุตตรปาละ ทิศตะวันตกจดกับแคว้นมัละส่วนเนื้อที่ของรัฐวัชชีโบราณจะมีเนื้อที่กี่ตารางกิโลเมตรนั้น แม้ข้อความในพระไตรปิฎกไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน เมื่อค้นคว้าข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับเนื้อที่ปัจจุบันของ อำเภอเวสารี รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย ที่เคยเป็นที่ตั้งของรัฐวัชชีมาก่อนโดยมีเนื้อที่ ๒,๐๓๖ ตารางกิโลเมตร จึงถือได้ว่าเนื้อที่ของแคว้นเวสาลีเท่ากับอำเภอเวสาลีในสมัยปัจจุบัน
(๓) รัฐวัชชีมีอำนาจอธิปไตยใช้ได้อย่างอิสระ
เมื่อผู้เขียนค้นหาหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ วินัยปิฎกเล่มที่ ๕ ฉบับมหาจุฬา ฯ มหาวรรคภาค ๒ ๑๗๘. สีหเสนาปติวัตถุว่าด้วยสีหเสนาบดีสาวกของนิครนถ้นาฏบุตร ข้อ ๒๙๐ได้กล่าวว่า สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงนั่งประชุมในสันถาคารกล่าวสรรเสริญพระพุทธ กล่าวสรรเสริญคุณพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่างๆ จากถ้อยคำในพระไตรปิฎกนั้น เมื่อวิเคราะห์หลักฐานหาเหตุผลของคำตอบในพระไตรปิฎกนั้น ผู้เขียนเห็นว่า แคว้นวัชชีนั้น มิได้มีระบอบการปกครองแบบสมบูรณญาสิทธิราชย์โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเพียงผู้เดียวเช่นเดียวกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งรัฐมคธแต่อย่างใดเพราะวิเคราะห์ว่าถ้อยคำว่าเจ้าลิจฉีผู้มีชื่อเสียงหมายถึงเจ้าลิจฉวีผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาจำนวน๗,๗๐๗ พระองค์นั้นกำลังนั่งประชุมเรื่องการบริหารบ้านเมืองในสันถาคาร การประชุมรัฐสภาแห่งเจ้าลิจฉวีนั้นแสดงให้เห็นว่าในรัฐวัชชีนั้น รัฐสภาแห่งเจ้าลิจฉวีนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศทั้งอำนาจนิติบัญญัติอำนาจตุลาการและอำนาจบริหาร เป็นต้น
(๓.๑) ตัวอย่างของการใช้อำนาจบริหารของรัฐสภาแห่งรัฐวัชชีนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศ ดังปรากกฏพยานเอกสารได้ข้อความบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค รตนสูตร ได้กล่าวว่าเมื่อเมืองเวสาลีเกิดทุพภิกภัย อมนุษยภัย และโรค ๓ ประการ ทำให้ชาวเมืองได้รับความเดือดร้อน ชาวเมืองเวสาลีเข้ากราบทูลพระราชาว่เกิดภัย ๔ ประการภายในพระนคร ในสมัยก่อนย้อนเวลาไป ๗ ชั่วราชกุลภัยเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นบัดนี้เกิดขึ้นแล้วเห็นเป็นเพราะพระองค์ไม่อยู่ในธรรมมหาลิกษัตริย์ผู้เป็นประธานรัฐสภาแห่งรัฐวัชชีได้เรียกประชุมสมาชิกรัฐสภาที่สัณฐาคารแจ้งเหตุต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า..พวกท่านจงตรวจสอบว่าเราไม่อยู่ในธรรมข้อใด ประชาชนพิจารณาประเพณีทุกอย่างก็ไม่พบข้อบกพร่องใดของพระราชา เมื่อไม่มีข้อบกพร่องของพระราชาจะแก้ปัญหาภัยทั้ง ๓ ประการได้อย่างไร ในที่ประชุมเสนอว่าที่ประชุมรัฐสภาบางพวกเสนอว่าให้เจ้าลัทธิทั้งหกภัยก็จะสงบเพียงก้าวเท้าลงสู่แผ่นดินเมืองเวสาลี บางพวกเสนอว่าพระพุทธเจ้าเพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก เมื่อพระองค์ก้าวลงเมืองเวสาลีภัยจะสงบลงเป็นต้น ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่นี้ในพรรษาที่ ๕ เพื่อแสดงหลักธรรมในรัตนสูตรได้กล่าวถึงเมืองไวสาลี เกิดทุพภิกขภัย เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเสด็จไปเมืองราชคฤห์ ทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เมืองเวสารี เพื่อให้ภัยนั้นสงบนี้แสดงให้เห็นว่าอำนาจบริหารประเทศแก้ไขภัยในแคว้นวัชชีนั้นแก้ไขโดยสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร เป็นต้น
(๓.๒) ใช้อำนาจตุลาการ กรณีนางอัมพปาลี เกิดเป็นอุปปาติกะ ที่โคนต้นมะม่วง ในพระราชวังเมืองเวสาลี นางถูกเรียกว่าอัมพปาลี คำว่า อุปปาติกะตามพจนานุกรมแปลไทย-ไทย ราชบัณฑิตหมายถึงผุดขึ้นมาเองโดยไม่อาศัยพ่อแม่ แต่ในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนแล้วนางน่าจะถูกพ่อแม่นำมาทิ้งไว้ที่โคนต้นมะม่วงจึงถูกตั้งชื่อว่าอัมพปาลี แปลว่าผู้รักษาต้นมะม่วงนั้นเอง อุปปาติกะแปลว่าผู้คุ้มครองรักษาต้นมะม่วงก็ได้ ในอรรถกถากล่าวว่า พนักงานเฝ้าอุทยานพบนางอยู่ใต้โคนมะม่วงจึงพานางไปสู่เมืองหลวงเวสาลี บรรดาเจ้าชายทั้งหลายเห็นรูปร่างหน้าตา สะสวย น่าเลื่อมใส มีเสน่ห์น่ารักใคร่ ดังนั้นเจ้าชายทั้งหลายต่างเกิดจิตราคะมีความปรารถนาอยากได้นางเป็นหม่อมต้องห้ามของตนทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพื่อความเป็นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอาณาเขตแคว้นวัชชีแล้วที่มีหลักการปกครองแบบอปริหานิยธรรม ยึดหลักธรรมเนียมประเพณีกันไว้ นางจึงยืนเรื่องนี้พิจารณาต่อรัฐสภาเมืองเวสาลีให้ตัดสิน เขาจึงแต่งตั้งให้เป็นหญิงนครโสเภณีนี่คือการใช้อำนาจตุลาการในการตัดสินปัญหาของนางอัมพปาลี และรัฐสภาใช้อำนาจบริหารแต่งตั้งเธอเป็นหญิงนครโสเภณี ด้วยในเวลาเดียวกัน.
(๓.๓) เมืองเวสารีแห่งนี้ เคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธมาก่อน เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเคยยกทัพมาโจมตีหลายครั้งกว่าจะได้รับชัยชนะ เพราะชาววัชชีนั้นมีความรักใคร่สมัครสมานสามัคคีกันมาก เพราะ มีการประชุมรัฐสภาวัชชีเป็นประจำ แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีรูปแบบการปกครองรัฐในระบอบสามัคคีธรรม ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภา ดังปรากฎในพยานเอกสารของพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาในมหาปรินิพพานสูตรในข้อ ๑๓๑ ได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นพระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี รับสั่งว่า "เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้ให้พินาศย่อยยับ"
จากข้อความในพระไตรปิฎกนั้น เราวิเคราะห์ได้ว่า...รัฐวัชชีมีการปกครองประเทศโดยรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ทำให้เจ้าลิจฉวีแห่งรัฐวัชชีจำนวน ๗,๗๐๗ พระองค์ เป็นสมาชิกรัฐสภา มีจิตใจรักใคร่สามัคคีพร้อมเพียงกัน ต่างฝ่ายลงมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพแข็งแกร่งมาก มีทักษะในการทำสงครามมาก จนพระเจ้าอชาตศัตรูมารุกราน ทำสงครามแย่งอำนาจอธิปไตยจากเจ้าลิจฉวีพ่ายแพ้ไปหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าประชาชนในแคว้นวัชชีมีความเจริญรุ่งเรืองมากชาววัชชีเป็นบุคคลที่มีศักยภาพในการศึกษา และมีทักษะนำความรู้ด้านศิลปวิทยาการต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและประเทศชาติเป็นอย่างดี.
๔. มีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น

ในการปกครองของรัฐต่าง ๆที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองได้ ประเทศเอกราชทุกประเทศในโลกที่ผ่านการรับรองของสมาชิกสหประชาชน ต้องมีอำนาจอธิปไตยเป็นตนเองในการบริหารปกครองประเทศ เมื่อผู้เขียนศึกษาหาข้อมูลเรื่องอำนาจอธิปไตยจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้นได้ให้คำนิยามว่าอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐที่จะบังคับบัญชาในอาณาเขตของตนเมื่อผู้เขียนศึกษาคำนิยามแล้วจากที่มาของความรู้นั้น ผู้เขียนตีความได้ว่า อำนาจอธิไปไตยเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐที่จะบังคับบัญชาประชาชนในรัฐของตนเองแบ่งออกเป็น ๓ อำนาจด้วยกันคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการและอำนาจบริหาร เป็นต้น ข้อเท็จจากพระไตรปิฎกนั้น ในสมัยพุทธกาลนั้นในดินแดนชมพูทวีป มีรัฐอิสระมีอำนาจอธิปไตยของตนไม่น้อยกว่า ๑๖ รัฐ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นระเบียบฐานในการปกครองประเทศหรือไม่เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อความใน http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/ จากพระไตรปิฎออนไลน์ของมหาจุฬา ฯ แล้ว ไม่มีคำว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่ารัฐในสมัยพุทธกาลนั้น มิได้บัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้น เป็นลายลักษณ์อักษรประกาศใช้บังคับในแคว้นตนเช่นในสมัยในปัจจุบันแต่อย่างใด เมื่อค้นหาโดยใช้คำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือนิติศาสตร์ผู้เขียนพบคำว่า"ธรรมของกษัตริย์"ในเชิงอรรถได้อธิบายว่าเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองรัฐได้แก่หลักอปริหานิยธรรมที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายแห่งด้วยกันถือว่าเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่ยิ่งใหญ่ในยุคสมัยและเป็นต้น แบบของแนวคิดในการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับเช่นในยุคสมัยปัจจุบัน เพราะมีลักษณะสำคัญที่จะทำให้เรารู้ว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งเมืองไวสารี มีสภาพบังคับเหมือนกฎหมายทุกประการและกฎหมายที่บัญญัติมาภายหลังจะโต้แย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ กล่าวคือเมื่อบัญญัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้แล้ว จะไม่เลิกล้มสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว เป็นต้น หลักอปริหานิยธรรมดังกล่าวนั้นจึงตีความได้ว่า กฎหมายที่บัญญัติออกมาภายหลังนั้นจะไปขัดแย้งกับหลักอปริหานิยธรรมมิได้ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในยุคปัจจุบันนี้ เป็นต้น
๕. Ruin of the fort of Lichhavi King Visha (ซากป้อมโบราณสถานของกษัตริย์ลิจฉวี)

เป็นพยานเพื่อแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของรัฐวัชชี เมื่อผู้เขียนเข้าไปในเมืองเก่าเวสา ลี ผู้เขียนมองหาสันถาคาร (The fort) ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐสภาแห่งรัฐวัชชี สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลแล้วว่าที่ยังมีร่องรอยเป็นโบราณสถาน ให้ผู้เขียนรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ได้อนุมานความรู้ว่า เป็นสถานประชุมรัฐสภาของเจ้าลิจฉวีซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีสมาชิกรัฐสภาแห่งรัฐวัชชีจำนวน ๗,๗๐๗ คนเข้าประชุมพร้อมเพียงกัน และเลิกพร้อมกันที่แสดงออกถึงความสามัคคีของชนวรรณะกษัตริย์ลิจฉวี เมื่อผู้เขียนเดินทางจากเมืงปัฏตาลีบุตรผ่านตัวเมืองเก่าเวสาลีไม่นานนัก มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสันถาคารตั้งอยู่ไกลมาก มีลักษณะเป็นซากปรักหักพังของโบราณสถานที่ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันของก้อนอิฐิทำจากโคลนดินของแม่น้ำคงคาที่เจ้าหน้าที่กองโบราณของรัฐพิหารได้ทำการขุดค้นหาหลักฐานมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เขาเขียนป้ายเป็นหลักฐานว่า Ruin of the fort of Lichhavi King Vishal ในพระไตรปิฎกเรียกว่า "สันถาคาร" คำว่าสันถาคารมีความหมายว่าอย่างไร ในความหมายของเชิงอรรถกล่าวว่า สันถาคารมีความหมาย ๒ นัย คือนัยที่๑หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับมหาชน อาคารถูกสร้างขึ้นกลางใจเมืองคนที่อยู่รอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศสามารถมองเห็นได้คนที่เดินทางมาจากทิศทั้ง ๔ จะพักผ่อนในอาคารแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้าไปพักในที่สะดวกสำหรับตนนัยที่ ๒ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อพิจารณาราชกิจสำหรับราชตระกูล [๓]
ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า สันถาคารแห่งนี้ เป็นที่ทำการประชุมรัฐสภาแห่งรัฐวัชชีที่เจ้าลิจฉวี ๗,๗๐๗ พระองค์ มาร่วมกันประชุมโดยพร้อมเพียงกันตามหลัก "ราชอปริหานิยธรรม" ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมของกษัตริย์" เป็นหลักนิติศาสตร์สูงสุดในการบริหารปกครองรัฐวัชชี ดังปรากฏข้อความเป็นพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกหลายฉบับ ราชอปริหานิยธรรมจึงเป็นกฎหมายรัฐนูญจารีตประเพณีมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่ประกาศใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน แต่ในยุคปัจจุบันความยิ่งใหญ่นั้นเหลือเพียงร่องรอยของซากปรักหักพังของสันถาคารแห่งแคว้นวัชชีเท่านั้น ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าทุกอย่างแค่เคยมีเท่านั้นมีแต่ไม่เที่ยงจริงนี่ฤาคือรัฐสภาอันยิ่งใหญ่ที่มีผ่านกาลเวลามายาวนานและมีการบันทึกในพระไตรปิฎมายาวนานกว่าสองพันกว่าปีแล้ว เมื่อฉันได้เห็นร่องรอยของความรู้และความเป็นจริงที่ต้องใช้การอนุมานความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ในที่อื่นต่อไปการได้ศึกษาค้นคว้าจากบ่อเกิดของความรู้เกี่ยวรัฐสภาแห่งนี้ จากร่องรอยอารยธรรมของโบราณนั้นทำให้ผู้เขียนมีความเชื่อว่า เมืองเวสารีเป็นรัฐอิสระเคยมีอยู่จริงในในพระไตรปิฎกแต่ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอ ให้เชื่อว่ารัฐแห่งนี้เคยมีรัฐสภาอันยิ่งใหญ่ของแคว้นวัชรีจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในแหล่งอีกต่อไป
การวิเคราะห์ที่มาของความรู้เกี่ยวกับแคว้นวัชชีนั้น เมื่อหลักความรู้จากโบราณสถานที่เจ้าหน้าโบราณคดีของรัฐพิหาร แต่ยังไม่เพียงพอให้เราเชื่อว่าสถานรัฐสภาแห่งนี้ที่มีอยู่จริง แต่เรายังมีพยานหลักฐานอื่น ๆ น่าเชื่อและเก่าแก่ที่สุดคือ พระไตรปิฎกฉบับต่าง ๆ ที่ได้บันทึกเรื่องต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาลไว้เป็นพยานหลักฐาน เป็นร่องรอยความรู้ไปนำไปอยู่ความจริงได้ ตั้งอยู่ในเมืองเวสาลี เมื่อผ่านตัวเมืองนานนัก ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่าตั้งอยู่ไกลมากนักมีซากปรักหักพังของโบราณสถานที่ก้อนอิฐิทำจากโคลนดินของแม่น้ำคงคา ที่เจ้าหน้าที่กองโบราณได้ทำการขุดค้นหาหลักฐานมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เขาเขียนป้ายเป็นหลักฐานว่า Ruin of the fort of Lichhavi King Vishal ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เรียกว่า"สันถาคาร" คำว่า สันถาคาร มีความหมายว่าอย่างไร ในความหมายของเชิงอรรถกล่าวว่า สันถาคารมีความหมาย ๒ นัย คือนัยที่ ๑ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับมหาชน อาคารถูกสร้างขึ้นกลางใจเมืองคนที่อยู่รอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศสามารถมองเห็นได้ คนที่เดินทางมาจากทิศทั้ง ๔ จะพักผ่อนในอาคารแห่งนี้ก่อนที่จะเข้าไปพักในที่สะดวกสำหรับตนนัยที่ ๒ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อพิจารณาราชกิจสำหรับราชตระกูล [๓]
ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าสันถาคารเป็นสถานที่ทำการประชุมรัฐสภาโบราณของชาวลิจฉวีมาประชุมโดยพร้อมเพียงกันตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในการปกครองประเทศสถานที่แห่งนี้ สันถาคารจึงเป็นแบบอาคารรัฐสภาในการปกครองในยุคปัจจุบันดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกแต่สันถาคารที่ยิ่งใหญ่นั้น เหลือเพียงแต่ร่องรอยของโบราณที่ฝังลึกลงไปสู่ใต้ดิน ให้เรารู้ว่าสภาวะปรากฎการณ์ของสันถาคารที่เคยมีอยู่นั้น เป็นสิ่งไม่เที่ยงจริง นี่ฤาคืออาคารรัฐสภาอันยิ่งใหญ่ เหลือแต่สารัตถะที่มีการบันทึกในพระไตรปิฎกเท่านั้น เมื่อเห็นอาคารัฐสภาของแคว้นวัชชีแล้วเจ้าลิจฉวีใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์จากเชิงอรรถ เห็นว่าในเชิงอรรถนั้นได้กล่าวถึง ให้เป็นสถานที่พิจารณาราชกิจ คำว่า "ราชกิจ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า กิจของพระราชาทั้งส่วนพระองค์และของราชการ คำว่า ราชการ คืองานของรัฐบาลและงานแผ่นดิน สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของราชการทั้งของรัฐบาลและพระเจ้าแผ่น ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่บัญญัติกฎหมาย พิจารณาการจัดการบริหารรัฐวัชชีเป็นต้น และพิจารณาอรรถคดีทั้งปวงด้วย เป็นต้น
๒.๕ ทฤษฎีประจักษ์นิยม เป็นทฤษฎีบ่อเกิดของความรู้ของมนุษย์ มีแนวคิดว่า มนุษย์คนใดคนหนึ่งรับรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จากแนวคิดดังกล่าวเราวิเคราะห์ได้ว่า บ่อเกิดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งของมนุษย์ จะเป็นความจริงเกิดขึ้น เมื่อจิตวิญญาณได้รับรู้เรื่องของสิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านอินทรีย์ ๖ แล้ว จิตวิญญาณก็นำเรื่องราวเหล่านั้นมาคิดพิจารณาหาเหตุผลจากหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ เมื่อวิเคราะห์จนได้คำตอบที่สามารถอธิบายความรู้ได้อย่างสมเหตุสมผลและเป็นความจริงไม่มีพยานหลักฐานใดมาโต้แย้งให้เป็นข้อพิรุธปราศจากข้อสงสัยในคำตอบอีกต่อไป กล่าวคือผู้เขียนรับรู้สภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองเวสารี เมืองหลวงของแคว้นวัชชีนั้น ตั้งแต่ปี ๒๐๐๒ เมื่อผู้เขียนเดินทางมาแสวงบุญในพุทธสถานเมืองเวสาลีเป็นครั้งแรก ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง เมื่่อของคณะของผู้เขียนได้เดินทางข้ามแม่น้ำคงคาที่สะพานมหาตมะคานธีพ้นไปแล้วเราเห็นดินแดนเมืองเวสารีนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำคงคาเหมาะสมสำหรับทำการเกตรกรรมเพาะปลูกถั่วดาล ปลูกกล้วยและปลูกข้าวในทุ่งนาของช่วงฤดูฝนเมืองเวสาลีจึงเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตรเป็นต้น ตลอดเส้นทางของการเดินทาง ผู้เขียนเห็นวิหารในศาสนาฮินดูเป็นสถานที่ตั้งของเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ชาวฮินดูเขานับถือประดิษฐานในวิหาร ที่ตั้งวางเรียงรายสองข้างถนนหนทาง ตั้งอยู่เป็นช่วงๆ แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของความเชื่อในเทพเจ้ายังฝังอยู่ในจิตวิญญาณของพวกเขาเคยมีในอดีต ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันอำเภอเวสาลีอยู่ห่างจากเมืองปัตนะประมาณ๖๔ กิโลเมตรเมื่อรถบัสของคณะผู้แสวงบุญชาวไทยได้วิ่งไปบนสะพานมหาตมคานธีที่สร้างขึ้นมาใช้ข้ามแม่น้ำคงคา คณะของเรามองจากหน้าต่างของรถทัวร์โดยสารไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ผู้เขียนเห็นสวนกล้วยที่ปลูกเรียงรายตลอดริมฝั่งแม่น้ำคงคา นอกจากเห็นเศษผ้าและเศษเถ้าเหลือจากการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายบนฝั่งสวรรค์ของแม่น้ำคงคาแห่งเมืองเวสาลี เพื่อส่งจิตของผู้คนไปจุติจิตบนสรวงสวรรค์ เพื่อสถิตอยู่กับพระศิวชั่วนิจนิรันดร์การอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์ผู้คนจึงอย่างมีความหวังและเป้าหมายที่แน่นอนในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง บรรลุเป้าหมายที่ควรจะเป็น ที่เห็นได้ด้วยตาจากการเดินทางไปแสวงบุญสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ สองข้างถนนจากเมืองปัฏนะ เป็นเมืองเกษตรกรรมปลูกข้าว ข้าวโพดเห็นมากที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา กล้วยและถั่วดาลยังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ตัวบ้านเมืองเป็นชนบท เป็นส่วนใหญ่เป็นอาหารหลักส่งขายไปยังเมืองต่างๆ เป็นเมืองที่น้ำท่วมบ่อยเมืองหนึ่งของประเทศอินเดีย มีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำคงคาและแม่น้ำคันดัก ประชาชนที่ตั้งรกรากในดินแดนแถบนี้เรียกว่าลิจฉวี บนริมฝั่งแม่น้ำคงเป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อความสะดวกในการใช้น้ำบริโภคและอุปโภคเพื่อการเพาะปลูก
บรรณานุกรม
๑.http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314
๒.http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=4803
๓.(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๒/๒๒๙-๒๓๐)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น