The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก

Metaphysical problems regarding Sakka as a Brahmin religious state in the Tripitaka.

๑.บทนำ 

             โดยทั่วไป  นักศึกษาจากทั่วโลกคงเคยได้ยินความคิดเห็นของนักวิชาการในงานสัมมนาวิชาการในระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น   หลังจากการฟังการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแล้ว พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นทางวิชาการว่า แคว้นสักกะเป็นรัฐที่มีอธิปไตย มีรัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณี (Unwritten Constitution) สำหรับการบริหารประเทศเรียกว่า"หลักราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นหลักการบริหารประเทศที่ยึดถือกันมายาวนาน สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายและบังคับใช้แล้ว กฎหมายนั้นจะไม่สามารถเพิกถอนได้  

      เมื่อแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะปกครองด้วยระบบสามัคคีธรรม (unity) ประชาชนชาวสักกะและชาวโกลิยะถูกแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะ คือวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทรตามกฎหมายวรรณะ  ตามคำแนะนำของปุโรหิตที่เป็นที่ปรึกษาของวรรณะกษัตริย์   พวกเขาเสนอความเห็นของตนต่อรัฐสภาของแคว้นสักกะ  เป็นต้น เมื่อชาวพุทธทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงนี้ พวกเขาก็ยอมรับความจริงโดยปริยายว่า แคว้นสักกะ และแคว้นโกลิยะเป็นรัฐอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง  มาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยไม่ข้อสงสัยใด  ๆ   เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้อีกต่อไป   

๒.ตามหลักอภิปรัชญา  

             โดยทั่วไปแล้ว ในสมัยพุทธกาล ปรัชญาคือความรู้ของพราหมณ์บางกลุ่มที่เรียกว่า "นักปรัชญา" นักตรรกะ  มักแสดงความคิดเห็นหรือมุมมองของตนเกี่ยวกับความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยเหตุผลอธิบายความจริง และคาดคะเนความจริงว่า "อัตตา" "โลกเที่ยง" เป็นต้น  หรือศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นนักปรัชญา นักตรรกะ ศาสดานั้นมักจะแสดงธรรมะที่เรียกว่า"ความจริง" ของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  บางครั้งพวกเขาก็ใช้เหตุผลที่ถูกต้อง บางครั้งพวกเขาก็ใช้เหตุผลที่ผิด  บางครั้งพวกเขาใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง บางครั้งก็ใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง   เมื่อความจริงของคำตอบของนักปรัชญา นักตรรกะ ไม่แน่นอนว่าความจริงคืออะไร   คำตอบนั้นก็ขาดความน่าเชื่อถือ  วิญญูชนไม่สามารถยอมรับว่าทัศนะ หรือความคิดเห็นในเรื่องนั้นว่าความจริงได้   

           อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมตัวกันในครรภ์มารดา   เมื่อมนุษย์เกิดมาจากครรภ์มารดาแล้ว ก็จะได้รับชื่อและนามสกุลใหม่ เพื่อจดจำอัตลักษณ์ของบุคคลนั้นได้ง่ายขึ้น  ปัจจัยทางร่างกายและจิตใจของแต่ละคนขึ้นอยู่กับกันและกัน  หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไป ชีวิตมนุษย์ก็จะสิ้นสุดลงไป   ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตใจของมนุษย์จะอาศัยอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต  อย่างไรก็ตาม  อายตนะภายในร่างกายมีการรับรู้ที่จำกัดและจิตใจของมนุษย์มักจะลำเอียงต่อผู้อื่นเนื่องจากจากความไม่รู้ จึงเกลียดชังผู้อื่น เพราะถูกดูถูกเหยียดหยาม ความกลัวเพราะผู้อื่นมีอำนาจและหน้าที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง อาจทั้งเป็นประโยชน์และโทษตนเองได้ และความรักความเมตตากรุณาต่อกัน   เช่น เพื่อนร่วมงาน ผู้อาวุโส  ญาติพี่น้องกัน อาจช่วยเหลือกันในทางที่ผิด โดยยืนยันความจริงสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เป็นต้น  

           ทำให้ชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในความมืดมน   ขาดปัญญาในการหยั่งรู้ความจริงของชีวิต  ทำให้ผู้คนขาดเชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถพัฒนาตนได้ ขาดแรงบันดาลใจในการต่อสู้ชีวิต เพื่อให้ไปถึงความฝัน เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ  ขาดความรู้ในบทเรียนชีวิต ไม่สามารถนำความรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ด้วยตนเอง   เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิต ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องกลายเป็นภาระของคนในสังคมและประเทศชาติที่ต้องจัดเก็บภาษี เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สิน 

๓.ประเภทของความจริงในพระไตรปิฎก         

            ปัญหาที่ว่าแคว้นสักกะเป็นรัฐของศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณหรือไม่ เป็นปัญหาเชิงปรัชญาที่น่าสนใจที่ควรศึกษา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มนุษย์ ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์     จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัย โดยใช้ปัญหา หรือความทุกข์ของมนุษย์เป็นประเด็นที่ใช้ในการพัฒนา  และค้นหาสาเหตุของปัญหา หรือความทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดจากอะไร เป้าหมายของความจริงของการพัฒนาที่ยั่งยืน และวิธีการแก้ปัญหาของพัฒนามนุษย์ทั่วโลกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

            ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น      เมื่อนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก  มนุษย์  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และข้อพิสูจน์ความจริงของเทพเจ้า  เป็นต้น ก็ต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบของเรื่องนั้น ๆ   หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ  ก็ควรพิจารณาว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวไม่น่าเชื่อถือ มีเหตุผลน้อยและไม่สามารถยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะโดยทั่วไป      มนุษย์จะมีอคติต่อกันเพราะความเกลียดชัง ความรักใครชอบพอ ความกลัว  ความไม่รู้ นอกจากนี้ มนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของตน    ที่มีความสามารถจำกัดในการรับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า  เป็นต้น จึงทำให้มนุษย์มีชีวิตที่มืดมิด จึงไม่รู้สาเหตุของการเกิดโลก    ดาวเคราะห์ต่าง ๆ  มนุษย์  ดวงอาทิตย์ และการมีอยู่ของเทพเจ้า จึงไม่มีเหตุที่จะอธิบายความจริงของเรื่องนี้ได้ 

        เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ว่า ปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์  มีทั้งสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์และสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์   เราจึงแบ่งความจริงทางปรัชญาออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ  

              ๓.๑.ความจริงที่สมมติขึ้น (fictitious reality)  โดยทั่วไป มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติรอบตัว     อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศ     แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะหายไปจากสายตาของมนุษย์    มนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  หรือเหตุการณ์ทางสังคมเหล่านี้ได้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย     เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งเหล่านี้แล้ว                 มนุษย์ก็จะเก็บเรื่องราวต่าง ๆ  ของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์เหล่านั้นไว้  เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์ไม่ได้รับรู้และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น        แต่ยังมีธรรมชาติของนักคิดอีกด้วย    เมื่อรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง   จิตใจจะคิดจากสิ่งนั้น            โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาและนักตรรกะในการอธิบายความจริงของเรื่องนั้น
   
               ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เขียนเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เมื่อได้ยินเรื่องราวของเจ้าชายสิทธัตถะแห่งราชวงศ์ศากยะ  ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเอง   เมื่อผู้เขียนรับรู้เรื่องราวเหล่านี้  ผู้เขียนก็จะเก็บเรื่องราวต่าง  ๆ ของเจ้าชายสิทธัตถะ ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจ ที่สั่งสมอยู่ในจิตของตนเอง คนรับรู้เรื่องน้ำท่วมโลก  มีสาเหตุจากฝนตกหนัก   พายุรุนแรงขึ้น ธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น โดยตรงผ่านอาตนะภายในร่างกายของตนหรือผ่านอินเตอร์เน็ต  แล้วเก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจ     แล้วใช้อารมณ์เหล่านี้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้            หรือคาดคะเนความจริงจากสิ่งที่ได้ยินมานั้นในขณะที่   บางคนเป็นนักตรรกะ  หรือนักปรัชญา       มีอายตนะภายในร่างกายที่จำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ      และมีอคติต่อผู้อื่นด้วยความไม่รู้ ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความมืดมน         ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องสาเหตุของน้ำท่วมโลกจึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาเพื่ออธิบายความจริงของเรื่องนี้ได้   หากแสดงทัศนะถึงสาเหตุที่น้ำท่วมโลก   ฝนตกหนัก   พายุรุนแรง  ธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น      ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง การใช้เหตุผลของนักตรรกะ  นักปรัชญา     บางครั้งก็อาจใช้เหตุผลถูกบ้าง ผิดบ้าง    อาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง   เป็นอย่างนี้บ้าง  ดังนั้นเมื่อความจริงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น     คงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศ          ถือว่าน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์       และเป็นความจริงทีมนุษย์สมมติขึ้น  เป็นต้น 

               เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนลุมพินี   จังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล     เป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในแคว้นสักกะ      พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่เป็นเวลา ๘๐ ปี  ก่อนจะสวรรคตตามกฎธรรมชาติของมนุษย์        ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นเพียงความรู้ในระดับประสาทสัมผัสเท่านั้น      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ         พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง   ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นเพียงความจริง       ที่มนุษย์สมมติขึ้นเท่านั้นตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  เป็นต้น    
 
               แคว้นสักกะในอินเดียโบราณเป็นชุมชนการเมืองที่ชาวสักกะมารวมตัวกันเป็นรัฐอิสระ ที่มีอำนาจอธิปไตยปกครองประเทศ  ภายใต้ การปกครองแบบสามัคคีธรรม   โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔  วรรณะ เมื่อครั้ง แคว้นสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ที่เกิดขึ้นก็ได้รักษาเอกราชไว้ได้ระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่แคว้นสักกะจะล่มสลาย         เพราะสูญเสียอำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง    หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงผนวกแคว้นสักกะเข้ากับอาณาจักรเมารยะ      พระองค์ทรงระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทรงสร้างอนุสรณ์สถานหลายแห่งไว้ในพระพุทธศาสนา   ถือเป็นความทรงจำอันงดงามของมนุษย์ชาติ  ดังนั้น  เมื่อแคว้นสักกะโบราณจึงเป็นชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้น  ดำรงเป็นรัฐเอกราชอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง       และเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติ ตามหลักอภิปรัชญาถือว่าแคว้นสักกะเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น

           ๓.๒ ความจริงขั้นปรมัตถ์      ตามคำนิยามของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้ให้คำจำกัดความของขอบเขตความรู้ไว้   "ปรมัตถ์คือความจริงอันเป็นที่สุด ที่ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้    เพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้เข้าใจง่าย     ผู้เขียนเชื่อว่าความจริงขั้นปรมัตถ์ ก็คือ   ความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ผ่านอาตนะภายในร่างกายของมนุษย์             

                     มนุษย์โดยทั่วไปไม่สามารถรู้ความจริงขั้นปรมัตถุ์ได้ด้วยตนเอง       เนื่องจากธรรมชาติของอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์มีความสามารถในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ       และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้จำกัด     นอกจากนี้  มนุษย์ยังมีอคติต่อผู้อื่นด้วยความไม่รู้ของตนเองซึ่งทำให้ชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในความมืดมน        ชีวิตมนุษย์จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิตว่า  ทำกรรมใดไว้ยอมต้องรัลของตนเอง      พวกเขาจึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาและนักตรรกะ เพื่ออธิบายความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์ได้            

                แม้ว่านักวิทยาศาสตร์   จะแยกเนื้อหาวิทยาศาสตร์ออกจากปรัชญาเพื่อสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์ขึ้นมา   แต่เมื่อบางคนกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีอายตนะภายในร่างกาย    มีความสามารถในการรับรู้ที่จำกัด  และมีแนวโน้มมักมีอคติต่อกัน  ก็ทำให้ชีวิตของพวกเขามืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องต่าง     ๆ   หรือกำหนดความรู้จากอำนาจของสมาธิ เป็นต้น     ดังนั้นเมื่อพวกเขาแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง      นักวิทยาศาสตร์บางคนอาจใช้เหตุผลถูกบ้าง   ผิดบ้าง  เป็นอย่างนั้นบ้าง    เป็นอย่างนี้ บ้าง       ทำให้ความเห็นทางวิชาการขาดความ่าเชื่อถือไม่เป็นที่ยอมรับกันในทางวิชาการ     พวกเขาจึงสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา  เพื่อค้นหาความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน    ยังก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่านักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์  ได้ค้นพบความรู้ซึ่งเป็นความจริงขั้นปรมัตถ์ 

                อย่างไรก็ตาม   ผู้เขียนได้พบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์   ๘    จนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในระดับอภิญญา๖ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า     ในเรื่องนี้ถือเป็นความรู้ที่แท้จริงที่เกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์  หรือพระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า มนุษย์ทำกรรมดีที่เรียกว่า "กุศลกรรม" แล้ว       เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะไปสู่คติโลกสวรรค์   ซึ่งเป็นความจริงอันลึกซึ้งที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ยาก  เพราะขาดปัญญาหยั่งรู้ในเรื่องนี้    เพราะมีอายตนะภายในร่างกายที่มีข้อจำกัดในการรับรู้เว้นแต่จะปฏิบัติ มรรคมีองค์  ๘  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  

                แม้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์      จะทำให้มนุษย์มีความคิดเจริญก้าวหน้าไปมาก            แต่เมื่อมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ    นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์ค้นพบเชื้อโรคซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ที่สุด ที่อยู่เหนือขีดจำกัดของอายตนะภายในร่างกายมนุษย์     ซึ่งไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า หรือ     ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นมานานกว่า ๒,๕๐๐ ปี   หรือดวงดาวที่อยู่ห่างไกลเกินที่มนุษย์จะรับรู้ความจริงได้      แต่ก็ไม่หลักฐานใดที่จะบ่งชี้ว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัจธรรมขั้นสูงสุดอย่างไรก็ตาม        ก็มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณได้บันทึกไว้ว่า    พระโพธิสัตว์ทรงได้พัฒนาศักยภาพแห่งชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘       จนได้ญาณทิพย์ที่เหนือกว่ามนุษย์ทั้งปวงคือความรู้ในระดับอภิญญา ๖  แม้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์          จะช่วยให้มนุษย์ค้นหาความจริงในสิ่งที่ยังสงสัยได้  โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง        และรวบรวมหลักฐาน      เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้โดยใช้เหตุผล       เป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล  แต่สุดท้ายแล้ว  จิตใจของมนุษย์ก็มีหน้าที่ประเมินข้อมูลและใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องนั้น ให้เกิดประโยชน์ต่อนักวิชาการในสาขานั้น ๆ            
               
                 ด้วยเหตุนี้    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินความจริง    โดยเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อมนุษย์รู้ข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว    พระองค์ทรงสอนว่าเราไม่ควรเชื่อทันที  ควรสงสัยก่อน   จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ    เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ  ก็จะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานเอกสาร    พยานบุคคล พยานวัตถุและหลักฐานเอกสารดิจิทัล    เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระพุทธเจ้าในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น     

              กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าด้วยวิเคราะห์ข้อมูลเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ   ความรู้ทางปรัชญาและพระพุทธศาสนา            ควรเริ่มจากความสงสัยของมนุษย์ และมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ และนักปราชญ์     ชอบแสวงความรู้ในเรื่องนั้น    ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริง     และรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎก    อรรถกถา และบันทึกของพระภิกษุจีน    ๒ รูปที่คัดลอกพระไตรปิฎกกลับไปยังประเทศจีน    รวมถึงโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐต่าง ๆ        เอกสารดิจิทัลได้แก่  แผนที่โลกของกูเกิลและแผนที่  ๒๐  รัฐในสมัยพุทธกาล   เมื่อมีพยานหลักฐานเพียง   หลักฐานดังกล่าวเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผล     เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น         ถ้าไม่พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้    การวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกอย่างเดียว        เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องดังกล่าว     นักวิชาการสมัยใหม่เชื่ิอว่าเหตุผลของคำตอบ    ยังมีน้ำหนักน้อยและข้อเท็จจริงยังคงน่าสงสัยโดยเฉพาะที่ตั้งของรัฐสักกะ เป็นต้น         ดังนั้น ปรัชญาและพระพุทธศาสนา   จึงต้องพัฒนาตัวเองให้เท่าทันวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเป็นที่พึ่งของมนุษย์ในการแก้ปัญหาความทุกข์ในชีวิตได้   

๔.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคว้นสักกะ            

           เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ        อรรถกถา บทความตามเว็บไซต์ต่าง ๆ    เอกสารทางวิชาการอื่น ๆ และแผนที่อินเดียโบราณ และเอกสารดิจิทัล          ได้แก่ แผนที่โลกกูเกิล เป็นต้น      ผู้เขียนก็ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าแคว้นสักกะเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง        มีรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่เรียกว่า "ราชอปริหานิยธรรม"    ใช้ในการปกครองประเทศที่สารสำคัญของกฎหมายว่า    ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว  ระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรมตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ    ได้แก่   วรรณะพราหมณ์วรรณะกษัตริย์   วรรณะแพศย์   วรรณะศูทร โดยกำหนดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย  ที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของวรรณะที่ตนเกิดมาและห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะแคว้นสักกะหรือประเทศสักกะ (Sakka country)   จึงเป็นชุมชนการเมืองที่ถือกำเนิดขึ้น    และชาวสักกะได้ก่อตั้งประเทศสักกะขึ้น   หลังจากแยกตัวเองออกมาจากแคว้นโกลิยะแล้ว  ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล   โดยรักษาเอกราชของแคว้นสักกะเป็นหลายร้อยปีและแคว้นสักกะก็เสื่อมลงตามกฎธรรมชาติ         เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของแคว้นสักกะ        ถูกกองทัพของพระเจ้าอโศกมหาราชทำสงครามยึดอำนาจอธิปไตยไปครอง           

                   แต่ธรรมชาติของชาวสักกะ   เป็นมนุษย์ที่เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้จึงขาดศรัทธาในตนเองว่า   มีความสามารถศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ได้เท่าทันคนอื่น ๆ       ไม่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้และลงมือปฏิบัติ         เพื่อให้เห็นความจริงของชีวิตที่ปรากฏในสังคมที่ตนอาศัยอยู่  ไม่มีสติระลึกถึงเหตุการณ์ที่ผิดพลาดของคนในสังคมที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น       เป็นบทเรียนที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือทำกรรมใด  ๆเป็นคนไม่มีสมาธิจึงมีชีวิตอ่อนแอไม่มีความแน่วแน่ที่จะหักห้ามตัณหาราคะที่เกิดขึ้นในจิตใจได้   จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้ถึงความจริงของการกระทำของตนเองว่า   หากตนสมสู่กับคนต่างวรรณะด้วยความสมัครใจแแล้ว         ผลของการกระทำก็จะเป็นพฤติกรรมที่น่าสงสัย     ก็จะถูกคนในสังคมตรวจสอบพฤติกรรมในเรื่องนี้และสามารถลงโทษได้       ตามกฎหมายด้วยการขับไล่ออกถิ่นพำนักไปตลอดชีวิต   ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตามถนนในเมืองใหญ่   เช่น พระนครกบิลพัสดุ์     และพระนครเทวทหะคนในสังคมยุคนั้นเรียกว่า "จัณฑาล" เป็นต้น

             แม้พยานเอกสารคือพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ   จะมีข้อมูลในเรื่องเหล่านี้อย่างชัดเจน   แต่พยานเอกสารยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ  ที่จะยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ได้     เพราะผู้เขียนยังไม่รู้เลยว่าแคว้นสักกะโบราณ   เป็นเหตุการณ์ทางชุมชนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านนั้น        ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของชุมชนทางการเมืองนี้ตั้งอยู่ในชมพูทวีปนั้น    ในปัจจุบันนั้นตั้งที่ไหนของโลก  ทำให้ผู้เขียนสงสัยในการมีอยู่ของแคว้นสักกะ เมื่อที่มาของความรู้เรื่องแคว้นสักกะนั้นยังไม่ชัดเจน       เพราะผู้เขียนมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายตนเอง        แม้จะจินตนาการตามตำราพระพุทธศาสนา ก็ไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้     เพราะเมืองโบราณกบิลพัสดุ์นั้น  ตั้งอยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ผ่านอาตนะภายในร่างกายของผู้เขียนที่จะรับรู้ร่องรอยของเมืองพระนครกบิลพัสดุ์โบราณได้      ทำให้ผู้เขียนสงสัยการมีอยู่ของเมืองโบราณแห่งนี้     

                แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ (love of wisdom)  เกี่ยวกับแคว้นสักกะต่อไปจึงได้สอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องนี้ทั้งเอกสารหลักฐาน วัตถุพยาน    และประจักษ์พยาน เป็นต้น  แม้ว่าหลักฐานเหล่านี้จะหาได้ยาก    เพราะเวลาผ่านไป ๒,๕๐๐ กว่าปี  พยานหลักฐานเกือบหายไปหมดสิ้น              หลักฐานเดียวที่เหลือในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เท่านั้น         การที่จะเดินทางสำรวจที่ตั้งของอาณาจักรสักกะโบราณแห่งนี้       ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาหิมาลัยในประเทศเนปาลห่างจากไทยกว่า ๓,๐๐๐ กิโลเมตร        เป็นการยากที่จะสำรวจอาณาจักรโบราณแห่งนี้ซึ่งต้องใช้ทุนมหาศาลในการสำรวจแคว้นสักกะซึ่งสูญเสียอำนาจอธิปไตยไปกว่า  ๒,๕๐๐  ปี   หลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าและไม่มีชื่อแคว้นสักกะปรากฏบนแผนที่โลกของกูเกิล
  
           แต่สถานะของดินแดนสักกะ(Sakka country) นั้น     ก็ปรากฏชัดจากหลักฐานในพระไตรปิฎกเถรวาทและมหายาน แต่เป็นเพียงหลักฐานเอกสารเท่านั้น     พยานวัตถุที่แสดงว่าดินแดนที่เคยตั้งเป็นแคว้นสักกะอยู่ที่ไหน ? ส่วนพยานที่เกิดในยุคนั้น ล้วนเสียชีวิตไปจนหมดแล้วและวิญญาณได้ออกจากร่างไปเกิดใหม่ในวัฏสังสารแล้ว ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๐ แคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียสละอำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเองให้กับสาธารณรัฐอินเดียซึ่งเป็นประเทศเอกราชที่ตั้งขึ้นใหม่โดยแคว้นต่าง ๆ หลังจากแคว้นเหล่านั้นได้รับเอกราชจากการปกครองของอังกฤษ

          ในปี พ. ศ. ๒๕๐๐ นายชวาหะร์ลาล เนรูห์  นายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐอินเดียได้เชิญชวนประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกให้สร้างวัดขึ้นในสังเวนียสถานทั้ง ๓ แห่ง ที่สาธารณรัฐอินเดีย และสวนลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า    ตั้งอยู่ที่อำเภอรูปานเดฮี (Rupandehi)     จังหวัดหมายเลข ๕  ของประเทศเนปาล  ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๓๐๐ เนื่องจากพราหมณ์ได้ปฏิรูปศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดู โดยงดเว้นการบูชายัญด้วยฆ่าสัตว์บูชายัญและงดการกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร  เมื่อพฤติกรรมของพราหมณ์เปลี่ยนไป จึงเป็นที่ศรัทธาของมหาราชาแห่งรัฐต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย 

         เมื่อศาสนาพุทธถูกทำลายโดยมหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆที่นับถือศาสนาฮินดู  จึงเปลี่ยนวัดในศาสนาพุทธหลายแห่งเป็นวัดฮินดู ดัดแปลงเสาหินอโศกเป็นศิวลึงค์    ทำให้ศาสนาพุทธหายไปจากอาณาเขตของสาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล   ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนา  โดยมีเพียงหลักฐานซากปรักหักพังของโบราณสถานทางพุทธศาสนาไว้    ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกหลักคำสอนเรื่อง "ความประมาท" ของพระพุทธเจ้าและบันทึกไว้เป็นหลักฐานไว้ในพระไตรปิฎกเท่านั้น  

           เมื่ออินเดียและเนปาลเปิดประเทศให้ชาวพุทธทั่วโลกให้ชาวพุทธจากทั่วโลกเดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔    และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชาวพุทธให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง     ชาวพุทธทั่วโลกจึงเดินทางไปแสวงบุญ  เพื่อเจริญรอยตามพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔     และชาวพุทธเริ่มให้ความสนใจศึกษาพระไตรปิฎกมากขึ้นกว่ายุค อื่น  ๆ ทำให้วงวิชาการพระพุทธศาสนากลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ซึ่งพระภิกษุที่เป็นผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาทั้งทางวิชาการ และการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘  เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตชาวพุทธ จึงได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก หัวข้อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่น ๆ เริ่มมีการใช้ในการสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในการบรรยายให้ผู้แสวงบุญได้ฟังอีกครั้ง  

๔.การมีอยู่ของแคว้นสักกะ           

          การพิสูจน์การมีอยู่จริงของแคว้นสักกะนี้ จึงต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสารดิจิทัลเป็นต้น อย่างไรก็ตาม  องค์ประกอบของความรู้ของความเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ ตามประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยยังไม่ชัดเจน จึงต้องกำหนดขอบเขตความรู้ในเรื่องนี้ขึ้นมาโดยใช้คำจำกัดความของคำว่า "รัฐ" ที่อธิบายไว้ในพจนานุกรมแปลไทย - ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของรัฐศาสนาพราหมณ์ จากหลักฐานต่าง ๆ  ตามหลักเหตุผลโดยใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับแคว้นสักกะให้ชัดเจนยิ่งขึ้น    

       ในเรื่องลักษณะของความเป็น"รัฐ" นั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า "ประเทศ" ว่า บ้านเมือง แว่นแคว้น และประเทศ เป็นต้น   ตามพจนานุกรมแปลไทย - ไทยราชบัณฑิตยสถานได้นิยามว่า "รัฐคือชุมชนแห่งมนุษย์ที่มั่นอยู่ในดินแดน อันมีอาณาเขตแน่นอนมีอำนาจอธิปไตยจะใช้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น [1] 
           ตามคำนิยามดังกล่าวข้างต้นดูเหมือนจะซับซ้อน  แต่จริง ๆ แล้ว ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก  ๆ  ที่เข้าใจง่าย เราลองแยกองค์ประกอบของความรู้ในเรื่องรัฐ"ได้ดังต่อไปนี้  
         ๔.๑ ชุมชนแห่งมนุษย์ 
         ๔.๒ ตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาขตแน่นอน 
         ๔.๓ มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้โดยอิสระ
         ๔.๔การปกครองอย่างเป็นระเบียบ       เพื่อประโยช์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน

          ตามองค์ประกอบของความรู้ของนักปรัชญาข้างต้น เราสามารถตีความในเรื่องความเป็นรัฐได้ โดยใช้เหตุผล    ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาเพื่ออธิบายความจริงของลักษณะของความเป็นรัฐดังนี้

          ๔.๑. รัฐสักกะเป็นชุมชนแห่งมนุษย์   โดยธรรมชาติ มนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ในจิตใจเพื่อต่อสู้กับความกลัว ดังนั้น   พวกเขาจึงเป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนทางการเมืองเพื่อปกป้องสิทธิและหน้าที่ของตนไม่ให้ใครละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของตน เมื่อชุมชนขยายตัวขึ้นก็จะพัฒนาตนเอง     เป็นรัฐอิสระที่มีอธิปไตยของตนเอง ดังนั้น คำว่า"รัฐ"จะต้องมีผู้คนอาศัยอยู่ในดินแดนนั้น จึงถือเป็นรัฐสมบูรณ์ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หากรัฐใดไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ก็จะกลายเป็นรัฐร้างและไม่สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ ก็จะสูญเสียความเป็นรัฐไป 

          มีปัญหาที่สงสัยเกี่ยวกับความจริงของชุมชนชาวสักกะ   เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๑ [ฉบับมหาจุฬา ฯ หน้า: ๕๒๒] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑.โสตาปัตติสังยุต] ๓.สรณานิวรรค ๑.ปฐมมหานามสูตร [ข้อ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นเมืองที่มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีถนนคับแคบ ภายในพระนครกบิลพัสดุ์นั้นในสมัยพุทธกาลนั้นจะเห็นช้างบ้าง เห็นม้าบ้าง เห็นรถ เห็นเกวียนบ้าง เห็นคนพลุกพล่านขวักไขว่...... 

         เมื่อผู้เขียนตรวจสอบหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระนครกบิลพัสดุ์เมืองหลวงของแคว้นสักกะนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองเพราะเป็นเมืองการค้ามีความอุดมสมบูรณ์เพราะปลูกข้าวได้ปริมาณมาก  ประชาชนจำนวนมากตั้งถิ่นฐานและอยู่รวมกัน ชาวกบิลพัสดุ์ประกอบธุรกิจค้าขายข้าวและส่งออกสินค้าข้าวไปต่างประเทศ และสั่งซื้อเสื้อผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะผ้าไหมจากแคว้นกาสีอันเลืองชื่อ เป็นที่นิยมในหมู่กษัตริย์ เมื่อแคว้นสักกะเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เพราะเป็นแหล่งผลิตข้าวและปลาที่หาได้ง่าย ดังนั้น ในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ชนชั้นสูงนิยมสร้างปราสาทในเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยมีการสร้างบ้านเรือนมากมายหลายหลัง บนท้องถนนมีการจราจรคับคั่งไปด้วยช้าง ม้า รถ เกวียนผู้คนเดินทางไปมาหาสู่กันตลอดทั้งวัน  นี่คือปรากฎการณ์ทางสังคมในเมืองกบิลพัสดุ์  เมื่อไม่มีหลักฐานเอกสารและพยานบุคคลอื่นใด ที่จะยกข้อความมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะสงสัยคำตอบอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าแคว้นสักกะเป็นรัฐอิสระที่มีผู้คนอาศัยอยู่จริง และเจริญรุ่งเรืองในช่วงยุคต้นพุทธกาลแล้ว

๒.แคว้นสักกะตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่มีอาณาขตแน่นอน   

         เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเล่มที่ ๙   พระสุตตัตปิฎกเล่มที่ ๑ (ฉบับมหาจุฬาฯ) ฑีฆนิกายสีลกขันธวรรค ๓. อัมพัฏธสูตรกล่าวว่าข้อ(๒๗๖) ว่าพระเจ้าโอกกากราชตรัสถามอำมาตย์ราชบริพารว่า เวลานี้พระราชกุมารอยู่ไหนเวลานี้ อำมาตย์ตอบว่าพระราชกุมารอยู่ราวป่า ณ สากะใหญ่ ริมฝั่งโบกขรณี เชิงเขาหิมพานต์"  

            ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงมาว่าแคว้นสักกะเป็นชุมชนการเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู๋แล้ว ยังมีปัจจัยอีประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแคว้นสักกะต้องมีอาณาเขตและมีพรมแดนชัดเจนติดกับแคว้นอื่น เมื่อพระเจ้าโอกกากราชทรงสั่งให้พระโอรสและพระธิดาไปสร้างเมืองใหม่ คือเมืองกบิลพัสดุ์ขึ้น   เมืองใหม่ของพระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโอกกากราช ตั้งอยู่ในบริเวณชายป่าสัก  ริมฝั่งอ่างเก็บน้ำโบกขรณีและเชิงเขาหิมพานต์  ในยุคต่อมา  แคว้นสักกะประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากแคว้นโกลิยะ    เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว   พบว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับที่ตั้งของแคว้นสักกะที่ต้องวิเคราะห์ดังนี้  

             ๒.๑  ป่าสากะใหญ่   เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณนั้น   ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงมาว่า เมื่อพระเจ้าโอกกากราช ทรงตัดสินพระทัย  ที่จะพระราชทานราชสมบัติแก่พระโอรสที่ประสูติจากพระมเหสีองค์ใหม่ แล้วพระองค์ทรงสั่งพระโอรสและพระธิดาของพระมเหสีองค์แรก ไปสร้างเมืองใหม่ที่ป่าสากะคำว่า "ป่าสากะ" ผู้เขียนได้ศึกษาความจริงของ "ต้นสาละ" จากเอกสารทางวิชาการด้านป่าไม้บนอินเตอร์เน็ต   ผู้เขียนได้ค้นพบข้อมูลว่าต้นสาละเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่พบตามธรรมชาติในป่าหิมาลัย ในสหพันธรัฐประชาธิปไตยเนปาล ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณที่ว่า เมืองใหม่ของพระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโอกกากราชตั้งอยู่ในเขตป่าสาละแห่งเทือกเขาหิมาลัยอย่างไม่มีข้อกังขา   เมื่อไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะยกข้อเท็จจริงมาโต้แย้ง และหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกอีกต่อไป   ผู้เขียนเห็นว่า ชุมชนการเมืองของแคว้นสักกะตั้งอยู่ในเขตป่าสาละจริง 

       ๒.๒ ริมฝั่งสระโบกขรณี    เมื่อผู้เขียนศึกษาเรื่องอาณาเขตของแคว้นสักกะจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลกรณแล้ว ก็ได้ยินข้อเท็จจริงว่า แคว้นสักกะตั้งอยู่ในดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน เมืองใหม่กบิลพัสด์ุตั้งอยู่ในป่าสาละ ซึ่งเป็นที่ตั้งอันเหมาะสมและอยู่ริมทะเลสาบสโปกขรณี เพื่อเป็นแหล่งน้ำให้ราษฎรได้บริโภคและอุปโภคอย่างพอเพียง  เพื่อหุงหาอาหาร ซักเสื้อผ้า    ชำระล้างร่างกาย  ทำการเกษตร  และเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติให้ประชาชนจับปลามาบริโภคได้ตลอดทั้งปี 

         ปัญหาว่าสระโบกขรณีมีหรือไม่ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ ผู้เขียนได้มีโอกาสธุดงค์ไปที่อำเภอกบิลพัสดุ์จังหวัดหมายเลข๕ ตั้งอยู่ในทางใต้ของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล มีโอกาสได้เยี่ยมชมทะเลสาบจากาดิสปูร์ ( jagadispur Lake) หรือรัฐบาลเรียกว่าอ่างเก็บน้ำจากาดิสปูร์ (Jagadispur Reservoir)  เนื้อที่ ๒๒๕ เฮกเตอร์หรือประมาณ ๑,๔๐๐ กว่าไร่ มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำบางอันกา (Banganga River)  ผู้เขียนเห็นว่าสถานที่แห่งนี้คือสระโบกขรณีที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎก เพราะเป็นหนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเนปาลตั้งอยู่ไม่ไกลจากซากปรักหักพังของเมืองกบิลพัสดุ์โบราณ  (Ancient Apilavastu)  

 ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ของทะเลสาบจากาดิสปูร์ (jagadispur Lake) ตั้งอยู่ในอำเภอกบิลพัสดุ์ และไม่ไกลจากเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณ สภาพทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันจึงสอดคล้องกับข้อมูลในพระไตรปิฎก เมื่อผู้เขียนดูภาพถ่ายของแผนที่โลก (Google Map)     เราพบทะเลสาบขนาดใหญ่ใกล้เชิงเขาของเทือกเขาหิมาลัย และรายล้อมไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรมของชาวเนปาลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมฝั่งทะเลสาบนั้น ผู้เขียนเห็นว่า Jagadispur Reservoir ซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่นั้นคือสระน้ำโบกขรณีได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนั้นเอง  

        ๒.๓ เชิงเขาหิมพานต์  คำว่า "หิมพานต์" ในเบื้องต้นเมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่แหล่งความรู้ในพยานเอกสารพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น  คำว่า "หิมพานต์" หมายถึงป่าหนาวแถบเหนือของอินเดียหมายถึงป่าดงดิบในเขตภูเขาหิมาลัย  และเมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแผนที่โลกกูเกิลได้ชี้ชัดว่า ภูเขาทางตอนเหนือของสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล คือเทือกเขาหิมาลัยตั้งอยู่จริง ๆ  

         ๒.๔ แผนที่โลก(Google Maps)   เมื่อผู้เขียนค้นคว้าแผนที่โลกกูเกิลซึ่ง ซึ่งเป็นเอกสารดิจิทัลเป็นพยานที่สำคัญต่อพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียมซึ่งเป็นแผนที่โลก ที่นักวิชาการเห็นพ้องกันว่าเป็นแผนที่โลกที่แม่นยำที่สุด และเป็นสากลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้                หากนักโบราณคดีมีแผนคิดที่จะใช้ข้อมูลในพระไตรปิฎกในการสำรวจภาคสนาม  เพื่อค้นหาป่าสาละ สระโบกขรณี และที่ราบเชิงเขาหิมาลัยเพื่อหาที่ตั้งของเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ค่อนข้างยากเนื่องจากข้อจำกัดของประสาทสัมผัสของมนุษย์ ในการค้นหาดินแดนแห่งแคว้นสักกะ ต้องใช้ทีมงานสำรวจขนาดใหญ่ มีการใช้งบประมาณจำนวนมากและใช้เวลาหลายปี  

           เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอแล้ว   ได้ข้อมูลแล้ว จะต้องใช้ทีมงานของนักวิจัยในหลายสาขา มาวิเคราะห์โดยอนุมาน เพื่อค้นหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับการมีอยู่ของแคว้นสักกะ คำตอบจากการวิจัยจะความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล และเหตุผลสามารถอธิบายเหตุผลของข้อเท็จจริงที่ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของสถานที่ตั้งของรัฐสักกะ เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่โลก (Google Map) ผู้เขียนค้นพบชื่อเมืองกบิลพัสดุ์ถูกระบุไว้ในพยานเอกสารดิจิทัลคือแผนที่โลกของกูเกิลอย่างชัดเจน ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงเขาหิมาลัย ห่างกัน ๑๖ กิโลเมตรนอกจากนี้ในแผนที่โลกของกูเกิล ใกล้กับเมืองกบิลพัสดุ์มีทะเลสาบโบราณขนาดใหญ่อีก ๑ แห่ง ตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน ทำให้ปราศจากข้อสงสัยของความร้และความจริงที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกแต่อย่างใด (ตรวจ) 

          ๒.๕ อาณาเขตของแคว้นสักกะติดต่อกับแคว้นใด เมื่อผู้เขียนตวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารดิจิทัลคือ แผนที่อนุทวีปอินเดียในสมัยพุทธกาล ได้นักวิชาการหลายท่านได้จัดทำขึ้นมาและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวบนอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนหลายฉบับ ผู้เขียนคาดคะเนความจริงได้ อาณาเขตของแคว้นสักกะนั้น ทิศเหนือติดกับเทือกเขาหิมาลัย ทิศตะวันตกติดกับแคว้นโกลิยะ ทิศตะวันออกติดกับแคว้นมัลละ ทิศใต้ติดกับแคว้นโกศล 

           ดังนั้น ความจริงจากหลักฐานเอกสารดิจิทัลนั้น แผนที่ชมพูทวีปอินเดียที่เผยแผ่ทางออนไลน์นั้น ผู้เขียนวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้และคาดคะเนความจริง จากพยานเอกสาร พยานวัตุ และพยานเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกของกูเกิลนั้น  ผู้เขียนเห็นว่า ดินแดนแคว้นสักกะชนบทนในสมัยพุทธกาล เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในป่าสาละอันเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในภูเขาหิมาลัยแล้ว ประชาชนตั้งถิ่นฐานอยู่บนริมฝั่งสระน้ำโบกขรณีแล้ว   และดินแดนตั้งอยู่ใกล้กับเชิงเขาหิมพานต์ด้วย เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่โลกกูเกิล    และแผนที่ชมพูทวีปโบราณผู้เขียนเห็นว่า ทางทิศเหนือของพระนครกบิลพัสดุ์นั้น เป็นเทือกเขาหิมาลัย มีเป็นลักษณะทอดยาวไปยังดินแดนของหลายรัฐ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระนครกบิลพัสดุ์  ตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาพถ่ายจากดาวเทียมในแผนที่โลกกูเกิล เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลและไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุผลในความมีอยู่ของรัฐสักกะต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าพระนครกบิลพัสดุ์ตั้งอยู่กับเชิงหิมาลัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   
๓.รัฐสักกะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
     
    ประเทศหรือรัฐอิสระต้องมีอำนาจประชาธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน ดังปรากฏหลักฐานที่มาของความรู้จากพยานเอกสารออนไลน์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ [2] และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น ๓ อำนาจด้วยกันกล่าวคือ อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมายผ่านรัฐสภาที่เรียกว่า"สัณฐาคาร"เป็นที่ประชุมของรัฐสภา อำนาจนิติบริหารผ่านประชุมของคณะรัฐบาลเพื่อประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อลงมติในการตัดสินปัญหาต่างๆของประเทศ  อำนาจตลุลาการ ในการตัดสินอรรถคดีต่าง ๆ  มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้อย่างอิสระมิได้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐหนึ่งรัฐใดเป็นต้นในสมัยพุทธกาลนั้น แคว้นสักกะ มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ใช้อำนาจออกตนอย่างอิสระ ไม่ปรากฏหลักฐานใดในพระไตรปิฎกว่า แคว้นสักกะนั้นอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐโกศลและรัฐโกลิยะแต่อย่างใดมีแต่ราชอาณาจักรโกศลนั้นที่ยกทัพมาโจมตีเพราะมิจฉาทิฐิของพระเจ้าวิฑูฑพะดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าแคว้นสักกะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง 

๔.รัฐสักกะมีการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อประโยช์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน             

        ในยุคปัจจุบัน เมื่อรัฐเป็นชุมชนการเมืองขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่  แต่ละคนมีอุปนิสัยและความชอบตามตัณหาที่แตกต่างกัน  เมื่อผู้คนแสวงหาสิ่งที่ชอบ เพื่อสนองตัณหาที่ไม่มีวันจบสิ้น    ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่สิ้นสุด ก่อให้เกิดการขัดแย้ง   การทำร้ายและฆ่ากัน การลักขโมยเล็ก ๆ น้อย ๆ  การลักพาตัวคนรัก   การดูหมิ่นเหยียดหยามกัน และการดื่มสุราเพื่อเพิ่มปริมาณความสุขในชีวิต ซึ่งก็คือความสุขที่ได้จากการแลกเปลี่ยนสุขภาพ  ผลการกระทำดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ต่างคนต่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิตและแสวงหาผลประโยชน์จากสังคมที่ตนอาศัยอยู่ตามตัณหา เมื่อได้รับผลประโยชน์ที่ตนต้องการแล้ว ชีวิตก็สุขสบาย  แต่ถ้าไม่ได้สิ่งที่ต้องการ  ก็จะอิจฉาริษยาจิต มีความเห็นผิดและหาทางแก้แค้น โดยไม่สามารถคิดแก้ไขตนเองด้วยสติปัญญาของตนเอง

        ดังนั้น ประเทศที่เพ่งก่อตั้งขึ้นทั่วโลก จะต้องได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติว่า เป็นรัฐที่สามารถปกครองตนเองได้ มีเอกราช กล่าวคืออำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง  เป็นต้น เช่น เมื่อแคว้นสักกะได้ประกาศเอกราช แยกตัวเองออกจากแคว้นโกลิยะก็สามารถปกครองตนเองได้ และมีรัฐอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ ตั้งอยู่ห่างจากพระนครเทวทหะไปประมาณ ๘๐ กิโลเมตร   มีแม่น้ำโรหินีเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของแคว้นทั้งสองให้อิสระจากกัน 

สระโบกขรณีที่เรียกว่า jagadispur Lake 
        ๔.๑ กฏหมายรัฐธรรมนูญของแคว้นสักกะ 
โดยทั่วไป ประเทศหรือแคว้น (country) ที่ชุมชนการเมือง ได้สถาปนาเป็นรัฐอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง จะต้องมีรัฐธรรมนูญเป็นมาตรฐานในการปกครองประเทศ เพื่อประกันสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ปัญหาที่ยังข้อสงสัยจะต้องค้นหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา นักตรรกะในการอธิบายความจริงของความคำตอบว่าแคว้นสักกะมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นระเบียบในการบริหารปกครองแคว้นสักกะหรือไม่ 

        เมื่อผู้เขียนค้นหาข้อมูลคำว่ากฏหมายรัฐธรรมนูญในพระไตรปิฎกดิจิทัล   ก็ไม่ปรากฏกหลักฐานในเรื่องนี้บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแต่อย่างใด  ผู้เขียนตัดสินใจค้นหาข้อความอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือคำว่า "นิติศาสตร์" ผู้เขียนค้นพบข้อความคำว่านิติศาสตร์ที่ใช้ในการอธิบายคำว่า"ธรรมของกษัตริย์"ในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาลงกรณ เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒.อสีตินิบาต] ๕.มหาสุตโสมชาดก[๔๓๐] พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือโจรโปริสาทเสด็จไปถึงราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกาม เสด็จกลับมาสู่เงื้อมมือของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์ช่างเป็นผู้ไม่ฉลาด ในธรรมของกษัตริย์ เลยนะพระเจ้าข้า" 

            คำว่า"ธรรมของกษัตริย์" ได้ถูกอธิบายไว้และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หลักนิติศาสตร์" ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ในการบริหารประเทศของชนชั้นวรรณะกษัตริย์ในอดีต เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมหจุฬาลงกรณออนไลน์ รับฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าในสมัยพุทธกาลนั้นแคว้นแต่ละแคว้นในชมพูทวีปนั้น มีระเบียบปฏิบัติในการบริหารปกครองประเทศเรียกว่า "ธรรมกษัตริย์หรือหลักนิติศาสตร์" ไม่ใช้คำว่า "รัฐธรรมนูญ" เหมือนในปัจจุบัน   ส่วนหลักธรรมสำหรับนักบริหารที่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณออนไลน์เรียกว่า"หลักราชอปริหานิยธรรม" แต่นักบริหารในสมัยพุทธกาลไม่ได้มีความหมายหลากหลายเหมือนปัจจุบันนี้ ผู้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะ ได้แก่ ชนวรรณะกษัตริย์มีสิทธิหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศเท่านั้น 
   
         ๔.๒ ประเด็นที่ว่าแคว้นสักกะมีการแบ่งวรรณะหรือไม่ เป็นอย่างไร เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓  ทีฆนิกายปาฏิกวรรค [๔.อัคคัญญสูตร] ข้อ ๑๑๔..... พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น...และข้อ. ๑๑๕....วรรณ ๔ เหล่านี้คือ (๑)กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ และ(๔) ศูทร 

       ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔.พราหมณมนวรรค] ๕.จังกีสูตร ข้อ ๔๓๕ วรรคสุดท้าย.....สมณโล้นเหล่านี้ เป็นสามัญชนเกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นกัณหชาติ (วรรณะศูทร) และในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ ] ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒.จุฬวรรค] ๗.พรหมณธัมมิกสูตร ข้อ.๓๑๘  กษัตริย์ พราหมณ์ พร้อมทั้งแพศย์และศูทรที่เป็นเผ่าพันธ์ุแห่งพรหม ที่ได้รับความคุ้มครองจากวงศ์ตระกูลของตน.... 

            เมื่อผู้เขียนได้ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฏกออนไลน์แล้ว ก็ได้ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นที่ยุติว่า ชาวสักกะเชื่อว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา ได้แก่ วรรณะกษัตริย์  วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร   โดยพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาส่วนต่าง ๆของพระวรกายแห่งพระองค์ พวกพราหมณ์นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหม และวรรณะศูทร จากพระบาทแห่งพระพรหมที่ทรงสร้างขึ้นมา  ส่วนวรรณะกษัตริย์และวรรณะแพศย์ แม้จะยังหาหลักฐานในพระไตรปิฎกมิได้ แต่ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตเล่มที่ ๑๗ รับฟังได้ว่า ชนวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เป็นเผ่าพันธ์ุแห่งพระพรหม เมื่อไม่มีพยานหลักฐานใด      ยกขึ้นมาหักล้างโต้แย้งข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณให้มีข้อพิรุธเป็นอย่างอื่น ผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเห็นว่าชาวแคว้นสักกะนั้นในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น มีความเชื่อว่าพระพรหมทรงมีอยู่จริง และสร้างชาวประชาชนชาวสักกะ ๔ วรรณะได้แก่ชนวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์วรรณะแพศย์และวรรณศูทรจากพระวรกายแห่งพระพรหมจริง

      ๔.๓ มีปัญหาต่อไปอีกว่า เมื่อแคว้นสักกะออกกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งประชาชนออกเป็นวรรณะ ๔ พวกแล้ว เกิดปัญหาต่อประชาชนชาวสักกะตามมาอย่างไร   เกิดปัญหาคนไร้วรรณะขึ้นมาในสังแคว้นสักกะ  เมื่อมีการแต่งงานข้ามวรรณะขึ้นมาในระหว่างคนวรรณะพราหมณ์กับคนวรรณะศูทรหรือวรรณะอื่น ๆ ต้องสูญเสียสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพของตนตามวรรณะที่เกิดมาตามกฎหมาย และลูกที่เกิดมากลายเป็น "ชนไร้วรรณะ" เช่นกันที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พวกจัณฑาล" 

       ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่  ๑๔ (ฉบับมหาจุฬา ฯ)  อังคุตตรนิกาย  ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ๕.พราหมณวรรค  ๒.โทณพราหมณสูตร ข้อ ๑๙๒  วรรคสุดท้ายกล่าวว่า.......พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาลเป็นอย่างไร   คือพราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนต์อยู่ ๔๘ ปีแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่อาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง  ไม่ชอบธรรมบ้าง  แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็นนักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง  ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง  ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหานางพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง  สมสู่กับนางพราหมณีบ้าง สตรีชั้นนางกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้างเพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตรบ้าง  เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง  พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับเขาอย่างนี้ว่า "ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญเพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง เขาตอบอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญเปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง" เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาลเป็นอย่างนี้แล"    

             เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกออนไลน์แล้ว พบข้อเท็จจริงว่า เมื่อคนวรรณะพราหมณ์สมสู่กับหญิงวรรณะกษัตริย์บ้าง วรรณะแพศย์บ้าง และวรรณะศูทรบ้าง พวกเขาจะต้องละทิ้งวรรณะที่ตนเกิดมา สูญเสียสิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามสิทธิโดยกำเนิด กลายเป็นคนไร้วรรณะ  ส่วนเด็กที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะ   เมื่อบุตรเกิดมาจากวรรณะที่ไม่บริสุทธิ์ทางสายเลือด ก็กลายเป็น "พวกจัณฑาล" เช่นกัน  

      เมื่อจำนวนคนไร้วรรณะเพิ่มมากขึ้นทุกปี     ก็มีปัญหาการดูหมิ่นเหยียดหยามกันมากขึ้นกลายเป็นปัญหาทะเลาะวิวาทมากขึ้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมายแห่งประเทศสักกะ นำไปสู่การสูญสิ้นศรัทธาในพระพรหม  เมื่อคนวรรณะสูงเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เป็นเรื่องยากที่ชนวรรณะกษัตริย์    จะปกครองประเทศที่เจริญรุ่งเรืองได้โดยอาศัยคนวรรณะสูงเท่านั้น 

      ๕ ซากโบราณสถานเมืองกบิลพัสดุ์โบราณ (the ancient apilavastu) เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง "การมีอยู่ของเมืองกบิลพัสดุ์โบราณ    เมื่อกรมโบราณคดีเนปาลค้นพบสวนลุมพินี สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ   พวกเขาก็พบหลักฐานที่ยืนยันด้วยอักษรพรหมีที่สลักบนเสาหินอโศก        ที่ตั้งอยู่ในวัดมายาเทวี (Maya Devi temple) นั้น ว่าเป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะแล้ว 

          การค้นหาเมืองกบิลพัสดุ์โบราณนั้น โดยใช้เสาหินอโศกเป็นจุดเริ่มต้น ได้ค้นพบเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในอำเภอTaulihawa เมื่อดูแผนที่โลกกูเกิล    วัดระยะทางพบว่าเมืองนี้ตั้งอยู่ห่างจากสวนลุมพินีและเทือกเขาหิมาลัยค่อนข้างมาก ต่อมารัฐบาลเนปาลได้เปลี่ยนชื่อเขตTaulihawa เป็นเขตกบิลพัสดุ์ เพื่อย้ำเตือนชาวพุทธว่า ที่นี้ คือบ้านเกิดของพระพุทธเจ้า 

            เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบติดกับเทือกเขาหิมาลัย จึงถูกใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานเอกสารที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า ชาวแคว้นสักกะและชาวแคว้นโกลิยะนั้น ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักทั้งสองแคว้น เคยทำสงครามแย่งน้ำกันทำนา แม้สถานะแห่งราชวงศ์ศากยวงศ์ จะสูญสลายไปเพราะถูกทำลายตั้งแต่สมัยพระเจ้าวิฑูทัพพะ  ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลนำทัพไปทำลายล้างชนวรรณะแห่งราชวงศ์ศากยะ   ๒ ปีก่อนพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน แต่ปัจจุบัน แคว้นสักกะก็มีการสร้างเมืองขึ้นใหม่และน่าจะตั้งอยู่ในเขตประเทศอินเดีย 
       
        การวิเคราะห์ข้อมูล   เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ  พยานวัตถุของโบราณสถานทางพุทธศาสนา อันเก่าแก่ที่เรียกว่า"Anciennt kapilvastu"  และสระโบกขรณีที่เรียกว่า "๋Jagadispor Reservoir" นั้น   รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเป็นชุมชนทางการเมืองของแคว้นสักกะ ที่ชาวสักกะก่อตั้งขึ้นอยู่ในพื้นที่ 

          (๑) เขตป่าสาละ       ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าเป็นพืชท้องถิ่นของเนปาลจริง      ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่มีเหตุผลที่ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงจากหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในประเด็นอีกต่อไป

            (๒) ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบโบกขรณีเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคนั้น เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ในใจของผู้เขียนโดยตรง  เมื่อเขียนได้เดินธุดงค์มาที่พระนครกบิลพัสด์ุ            ในยุคสมัยปัจจุบันเรียกว่า อำเภอกบิลพัสดุ์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า มีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเนปาล เรียกว่า "๋Jagadispor Reservoir"  ตั้งอยู่ในอำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี นี้ เป็นสถานที่ผลิตน้ำอุปโภค และบริโภคของประชาชนในเมืองนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเชื่อได้ว่าแหล่งน้ำใช้บริโภคและอุปโภคตั้งแต่ในสมัยอนุทวีปอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราชจริง   

           (๓) ติดกับภูเขาหิมาลัยเมื่อตรวจสอบข้อมูลสถานที่ตั้งอำเภอกบิลพัสดุ์กับพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ แผนที่โลกของกูเกิลแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าภูมิประเทศของเขตกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบติดเชิงเขาหิมาลัย เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีน้ำไหลจากภูเขาหิมาลัย เหมาะแก่การเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ในฤดูฝน ชาวสักกะสามารถปลูกข้าวได้อุดมสมบูรณ์และส่งออกไปยังประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  สามารถนำความมั่งคั่งสู่แคว้นสักกะได้ ในฤดูแล้ง พวกเขาปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งออกไปยังแคว้นต่าง ๆ ได้ 

          ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ตั้งของประเทศสักกะ สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายฉบับ  พยานวัตถุได้แก่โบราณสถานหลายแห่ง  ที่สร้างในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  และหลักฐานดิจิทัลโดยเฉพาะแผนที่อินเดียโบราณ และแผนที่โลกของกูเกิล เป็นต้น  เมื่อหลักฐานสอดคล้องกับข้อเท็จจริง  และไม่มีหลักฐานใดที่จะมาหักล้างที่ตั้งอาณาเขตของแคว้นสักกะได้ ข้อเท็จจริงในหลักฐานเหล่านั้น ก็สมเหตุสมผลที่จะทำเรายืนยันข้อเท็จจริงที่ว่าที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุ์นั้น อยู่ในเขตกบิลพัสดุ์ จังหวัดหมายเลข ๕ ของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประเทศเนปาล เป็นต้น

        


บรรณานุกรม


[1]http://www.royin.go.th/dictionary/อธิปไตย
[2] https://dictionary.sanook.com/search
/ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ