Epistemological problems regarding the Pawala Pagoda in Tripitaka
บทนำ
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกคงเคยได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องปาวาลเจดีย์เป็นสถานที่ปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้าว่าอีกสามเดือนข้างหน้าพระองค์จะเสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินาราจากคำเทศน์ของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและมหายานตามวัดต่าง ๆ ทั่วโลก หรือจากการศึกษาพุทธประวัติในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือการบรรยายธรรมของพระวิทยากรในการแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นต้น เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว เราก็เชื่อความจริงโดยปริยายว่าเป็นเรื่องจริงและไม่สงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกต่อไป แม้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นที่ยุติก็ตาม แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตรัสสอนว่า เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่าเพ่งโดยการฟังตามกัน สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี
ตามหลักญาณวิทยาว่าด้วยปัญหาที่มาของความรู้ของมนุษย์ หรือเรียกอย่างว่าทฤษฎีความรู้ที่นักปรัชญาคิดขึ้นมาหลายทฤษฎีด้วยกันที่เรียกว่า "ประจักษ์นิยม" นักปรัชญามีความคิดเห็นว่า "ที่มาของความรู้มนุษย์ จิตมนุษย์ต้องรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และสั่งสมอารมณ์ของสิ่งนั้นไว้ในจิตใจของตนเอง จึงถือว่าบุคคลนั้นมีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น และสามารถอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานเพื่อให้การยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้ หากบุคคลใดไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอารมณ์ความรู้อยู่ในจิตใจของตนเองแล้ว ถือว่าบุคคลนั้นไม่มีความรู้แท้จริงในเรื่องนั้น แม้จะให้การยืนยันข้อเท็จจริงก็ตามก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้ ดังนั้นนักปรัชญาและนักศาสนากล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ก็ต้องหาพยานหลักฐานยืนยันความจริงในเรื่องนั้น เป็นต้น
ในโปรแกรมการเดินทางไปแสวงบุญที่อำเภอไวสาลี รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดียนั้นในอำเภอมีพุทธสถานหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ แต่เป็นที่รู้จักของชาวพุทธทั่วโลกคือปาวาลเจดีย์เป็นอนุสรณ์ที่สร้างขึ้นมาบนสถานที่ปลงอายุสังขารของศากยมุนีพระพุทธเจ้าเพื่อใช้เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ได้รับส่วนแบ่งจากเมืองกุสินาราเพื่อให้ชาวเวสาลีแห่งแคว้นได้ฉลองและกราบไหว้บูชาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒๕๖๓ ปีผ่านมาแล้ว มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสถานที่แห่งนี้เป็นปาวาลเจดีย์ มันค่อนข้างยากที่จะค้นหาความจริง แม้ว่าธรรมชาติของดวงจิตมนุษย์จะเป็นผู้นึกคิด และมีข้อจำกัดในการรับรู้โดยเฉพาะความรู้ที่มีขอบเขตอยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะรับรู้ได้ แต่มนุษย์ก็ไม่เคยหยุดพัฒนาศักยภาพและทักษะในชีวิตของตน เพื่อให้บรรลุถึงความรู้แท้จริงที่ต้องการคำตอบ เป็นความรู้ที่ตรงเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยในตรรกะที่แท้จริง โดยการสร้างเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้น
การค้นหาที่ตั้งของปาวาลเจดีย์ (Pawal pagoda) นั้น หากผู้เขียนต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกอย่างเดียว อาจเป็นไปได้ว่าเหตุผลของคำตอบไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพราะน้ำหนักของเหตุผลรับฟังได้น้อย จึงยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงอยู่นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากพยานเอกสารเช่น อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์ หรือพระสูตรฉบับอื่น ๆ รวมทั้งบันทึกของผู้แสวงบุญหลังสมัยพุทธกาล พยานวัตถุได้แก่โบราณต่างๆ และเสาหินอโศก และ สถูปต่าง ๆ พยานเอกสารดิจิทัลที่แชร์ในอินเตอร์เน็ต เช่น แผนที่โลกกูเกิล และแผนที่แคว้นโบราณในพระพุทธศาสนาก็ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้เหตุผลของคำตอบอย่างชัดเจนได้
๑. สถูปพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า (Buddha's relic Stupa) บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ตามทฤษฎีประจักษ์นิยมในวิชาญาณวิทยาหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีความรู้ของมนุษย์มีแนวคิดว่า"บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์คนใดคนหนึ่งรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่เป็นความจริง จากทฤษฎีดังกล่าวนั้น ผู้เขียนตีความได้ว่าความรู้ที่ถือเป็นว่าความจริงมนุษย์รับรู้จากประสาทสัมผัสของมนุษย์เองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือในปี ๒๐๐๒ ผู้เขียนรับรู้ถึงความมีอยู่ของปาวาลเจดีย์ครั้งแรกผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนครั้งแรก จากการศึกษาข้อมูลโดยอ่านโปรแกรมของการเดินทางมาแสวงบุญครั้งแรกในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ โดยไม่ศึกษาจากตำราเล่มใดมาก่อน โดยคณะผู้แสวงบุญของเราเดินทางจากเมืองนาลันทามาสู่เมืองเวสารีแห่งนี้พระธรรมวิทยากรซึ่งเป็นนิสิตปริญญาเอกรุ่นพี่บอกว่าสถานที่แห่งนี้คือปาวาลเจดีย์สถานที่ปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เมื่อผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธเดินทางมาถึงไวสาลี ลงจากรถทัวร์ที่นำคณะผู้แสวงบุญเดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้แล้ว ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสระน้ำประจำเมืองเวสารีมากนัก เมื่อเดินผ่านประตูเข้ามาสู่พุทธสถานแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ในสวนดอกไม้ มีหลังคาโดมสีเขียวครึ่งทรงกลมยกพื้นสูงคลุมสถานที่แห่งหนึ่งไว้ภายในโดมนั้นมีซากปรักหักพังของอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ของการปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้าผ่านการขุดค้นมาหลายปีแล้ว

ผู้เขียนมองหาป้ายอนุสรณ์พุทธสถานที่บ่งระบุว่าสถานที่แห่งนี้เป็นปาวาลเจดีย์ (Pawala Pagoda) แต่ก็ไม่พบหลักฐานระบุไว้แต่อย่างใด แต่ทางกองโบราณคดีของรัฐพิหารเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า สถูปบรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า (Buddha's relic stupa) ได้ส่วนแบ่งจากเมืองกุสินารา กาลเวลาผ่านไป ๒๕๐๐ กว่าปี กองโบราณคดีได้ขุดค้นพบพระบรมสาริกธาตุจากจากสถูปแห่งนี้ และนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปัตนะตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ จนถึงปัจจุบันนี้ลักษณะของปาวาลเจดีย์ มีลักษณะของสถูปทรงบาตรคว่ำลงอาจจะสร้างด้วยอิฐแบบโบราณ หรือสร้างด้วยอิฐมอญที่ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุในยุคแรกนั้น ส่วนช่องบรรจุน่าจะสร้างด้วยโลงทำจากก่ออิฐถือปูนเป็ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า พระบรมสาริกธาตุบรรจุในผอบแล้วฝังไปสู่ใต้ดินประมาณ ๒ เมตร มีการขุดค้นในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแต่ไม่พบ ทำเป็นเจดีย์รูปทรงบาตรคว่ำทับครอบเจดีย์เก่าอีกครั้งหนึ่งทำให้ได้เค้าโครงของจากฐานเจดีย์ น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้นเพราะหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๘ วันแล้ว พวกมัลละกษัตริย์ได้ประชุมเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ในวันต่อมาได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุแก่เจ้าเมืองต่าง ๆ จำนวน ๘ เมือง กษัตริย์แห่งพระนครเวสาลีเป็นเมืองหนึ่งได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุจากเมืองกุสินาราแคว้นมัลละและได้นำมาบรรจุไว้ในสถานที่แห่งนี้ เมื่อพยานหลักฐานยืนยันเพียงว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุ แล้วเราจะรู้ได้ว่าอย่างไรว่าเป็นสถานที่แห่งนี้เป็นปาวาลเจดีย์
๒.ปาวาลเจดีย์ในพระไตรปิฎก เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ รับฟังได้เป็นข้อยุติว่า ก่อนปรินิพพานศากยมุนีพุทธเจ้านั้นทรงจำพรรษาสุดท้ายที่ ตำบล เวฬุวคาม แคว้นวัชชี ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตร หน้าที่ ๑๒๕ ข้อ ๑๖๓ ได้กล่าวว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามพอพระทัยที่อัมพปาลีวัน รับสั่งเรียกพระอานนท์มาตรัสว่า"มาเถิดอานนท์เราจะไปยังเวฬุวคามกัน พระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเวฬุวคาม ประทับอยู่ในเวฬุวคามนั้นรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงจำพรรษารอบกรุงเวสาลีตามที่ที่มีเพื่อนตามที่ที่คนเคยพบเห็นกัน ส่วนเราจะจำพรรษาที่เวฬุวคามนี้"
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลของพระไตรปิฎกออนไลน์ นั้น รับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่า ในพรรษาสุดท้ายนั้นพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ทรงจำพรรษาที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี เมื่อไม่มีพยานหลักฐานจากคัมภีร์อื่นใดยกขึ้นมาโต้แย้งข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เมืองเวสาลีจริง เป็นความรู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในความจริงตามพระไตรปิฎกอีกต่อไป
๓. สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนมายุสังขารในพรรษาสุดท้ายที่ ๔๕ นั้นเพราะทรงอาพาธอย่างรุนแรงจนเกือบจะปรินิพพาน ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัล พระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๑๖๓ กล่าวว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในอัมพปาลีวันแล้ว......พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จมาถึงเวฬุคามประทับในเวฬุคามนั้นรับสั่งเรียกพระภิกษุทั้งหลาย......... .....พวกเธอจงจำพรรษารอบกรุงเวสาลีส่วนเราจำพรรษานี้ที่เวฬุคามนี้ " และข้อ ๑๖๔.กล่าวว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ได้เกิดอาการประชวรอย่างรุนแรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นไม่พรั่น พรึ่ง ทรงพระดำริว่า "การที่เราไม่บอกผู้ปัฏฐาก ไม่อำลาพระภิกษุสงฆ์ปรินิพพานนั้น ไม่เหมาะแก่เรา ทางที่ดี เราควรใช้ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงใช้ความเพียรขับไล่อาการพระประชวรนั้น ทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่ อาการประชวรจึงสงบ..

เมื่อผู้เขียนข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลตามพระไตรปิฎกออนไลน์นั้นรับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่า ในพรรษาสุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่เวฬุคาม ทรงล้มป่วยลงอย่างรุนแรงเกือบปรินิพพานแต่พระทรงตั้งสติระลึกคุณของผู้อุปัฏฐากว่ายังทรงมิได้กล่าวลาเป็นสิ่งไม่อันควร ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ ด้วยความเพียรอดทนขับไล่อาการประชวรนั้น เพื่อดำรงชีวิตต่อไป จนอาการประชวรสงบลง เมื่อไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดยกขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นข้อยุติในพระไตรปิฎกให้เกิดความสงสัยในเหตุผลของคำตอบอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงอาพาธอย่างรุนแรง และทรงเจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อใช้ความเพียรขับไล่อาการประชวรจนสงบลง ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ในยุคสมัยปัจจุบันนั้นปาวาลเจดีย์ตั้งอยู่ที่ไหนเมื่อข้อมูลในพระไตรปิฎกยืนยันข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นข้อยุติว่าพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ที่พระนครเวสารี เช่นนี้แล้ว ดังปรากฎหลักฐานในพยานเอกสารจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค หน้าที่ ๑๒๕ ข้อ ๑๖๖ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังกรุงเวสารีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า "อานนท์เธอจงถือผ้านิสิทนะ(ผ้ารองนั่ง) เราจะเข้าไปพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์" ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถือผ้านิสิทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้ายังปาลวาลย์เจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวาย ท่านพระอานนท์ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร"
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯนั้น ข้อเท็จริงรับฟังได้เป็นข้อยุติว่า ในยามเช้านั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปบิณฑบาตที่เมืองเวสารีก่อนแล้วเสด็จไปเสวยพระกระยาหาร และทรงพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์ ผู้เขียนเห็นว่าสถานที่ปลงอายุสังขารนั้นตั้งอยู่ในพระนครเวสาลี ปัจจุบันกลายเป็นอำเภอเวสาลี รัฐพิหาร เพราะแคว้นเวสาลีได้มอบอำนาจอธิปไตยให้แก่สาธารณรัฐอินเดียไปแล้วเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและนักโบราณคดีแห่งรัฐพิหารหลายท่าน ได้วิเคราะห์พยานหลักฐานจากกองดิน และมีการขุดค้นพบพระบรมสาริกธาตุได้ถูกบรรจุในสถูปดินแห่งนี้เชื่อว่าสถานที่แห่งนี้ที่เป็นเนินดินแห่งนี้นั้นคือปาวาลเจดีย์ เป็นสถานที่ปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้าจริงเพราะไม่วิธีอื่นใดจะรักษาปาวาลเจดีย์ดีไว้ได้ นอกจากสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นมาเพื่อรักษาปาวาลเจดีย์ไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น