The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การปฏิบัติบูชาที่ปาวาลเจดีย์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ



 the worship practice   at  Pawala Pagoda in Tripitaka 



๓.วิธีการปฏิบัติบูชาในปาวาลเจดีย์

       เมื่อผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญมายังพุทธสถานที่เรียกว่า "ปาวาลเจดีย์" ถือเป็นสถานที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาและได้รับการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯเป็นเวลายาวนานถึง ๒๕๖๒ ปีแล้ว  ตั้งอยู่บนเส้นทางแสวงบุญของชาวพุทธในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง (Holy city) ระหว่าง อำเภอปัตนะรัฐพิหาร  กับอำเภอกุสินารา    รัฐอุตตรประเทศ  ผู้แสวงบุญส่วนใหญ่ใช้วัดไทยเวสารีเป็นจุดแวะพักรับประทานอาหารหรือที่โรงแรมก่อนไปแสวงบุญเมืองอื่น   เมื่อเดินทางจากอำเภอปัตนะไปยังอำเภอเวสารี จะผ่านโบราณสถานที่เรียกว่า "สันถาคาร" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานรัฐสภาเมืองเวสารีขนาดใหญ่ในสมัยพุทธกาล  แล้วเลี้ยวซ้าย เราจะเห็นสระขนาดใหญ่ซึ่งถือว่า เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์โบราณประจำเมืองเวสารีของแคว้นวัชชี เป็นต้น  เมื่อลงจากรถทัวร์โดยสารไม่ประจำทาง ผู้เขียนและคณะแสวงบุญเข้าไปในสวนซึ่งเป็นสถานที่ตั้งอยู่ของปาวาลเจดีย์ เมื่อผู้เขียนเดินผ่านแท่นศิลาแกะสลักไว้ว่า     เป็นสถูปที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุที่เจ้าลิจฉวีได้รับส่วนแบ่งจากกุสินาราหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๘ วันก็นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ซึ่งสร้างขึ้นในสถานที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารที่เรียกว่า "ปาวาลเจดีย์" เมื่อผู้เขียนได้บรรยายเรื่องราวของปาวาลเจดีย์ให้ผู้แสวงบุญได้รับฟังพอแล้ว   ผู้เขียนหาสถานที่สำหรับผู้แสวงบุญเพื่อปฏิบัติบูชา ( worship) โดยการนั่งสวดมนต์ไหว้พระพุทธเจ้า และผู้แสวงบุญหาที่นั่งอันสัปปายะได้แล้ว เริ่มสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะสมาทานกรรมฐาน ผู้แสวงบุญเริ่มนั่งสมาธิพร้อมเพียงกัน ผู้เขียนในฐานะพระวิทยากร เริ่มแสดงธรรมะบรรยายเรื่องพุทธสถานปาวาลเจดีย์ให้แก่ญาติฟัง เป็นลำดับต่อไปโดยใช้ภาษาง่ายๆ ว่า สถานที่ท่านทั้งหลายกำลังนั่งสมาธิอยู่ตรงนี้เรียกว่า"ปาวาลเจดีย์" เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้านั้น พระองค์จะเสด็จสู่ปรินิพพานที่สาละวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปาวาลเจดีย์แห่งนี้จึงเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา เพราะในพรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้ายก่อนพระองค์จะปรินิพพาน ทรงจำพรรษาสุดท้าย ที่หมูบ้านเวฬุคามในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงอาพาธอย่างรุนแรงลงทรงเห็นว่า หากพระองค์ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ สามารถดำรงธาตุขันธ์ต่อไปได้ถึงอายุ ๑๒๐ ปีได้ แต่เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาถึงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอด ๔๕ ปีที่ผ่านมานั้น พุทธบริษัทของพระองค์ประกอบด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสถ และอุบาสิกา ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จนบรรลุธรรมในระดับอภิญญา๖ เป็นจำนวนมากตัวอย่าง เช่นพระอัญญาโกณัญญะ ได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว พระพุทธองค์ได้ส่งไปเป็นพระธรรมทูตสายต่างรัฐ(แคว้น) เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ของตน พระสารีบุตรสอนพระโมคคัลลานะด้วยธรรมะประโยคเดียวจนบรรลุโสดาบัน ต่อมาก็พัฒนาศักยภาพของชีวิต จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาไปสู่เมืองต่าง ๆ และมีความกตัญญูเป็นแบบอย่างที่ดีของคนยุคใหม่  นางพิมพายโสธรา สละวรรณกษัตริย์ออกบวชเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์  ส่วนเจ้าชายนันทะน้องชายต่างพระราชมารดาของพระองค์ เมื่อบวชเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาก็พากันสำเร็จพระอรหันต์ เช่นกัน ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วยอนัตลักขณสูตรในความไม่เที่ยงของชีวิต เกิดดวงเห็นธรรม เป็นต้น เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดังนี้ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยปลงอายุสังขารว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้านั้น พระองค์จะเสด็จสู่ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา 

           การเดินทางมาสู่สถานที่แห่งนี้ทำให้พวกเราระลึกถึงคำสอนของพระองค์ว่า ชีวิตเป็นสิ่งไม่เที่ยง เราไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ วันนี้อาจจะเป็นวันของใครพรุ่งนี้ก็เป็นของเราเช่นเดียวกัน เป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอน หากเรายังไม่ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความรู้ระดับเดียวกับพระอริยบุคคลทั้งหลายแล้ว ยังมัวเมาในโลกธรรมแปด ยินดีในลาภยศทั้งหลาย แก่งแย่งชิงดีกันตลอดเวลาแล้ว ยึดติดคำสรรเสริญนินทาจนกลายเป็นสัญญาอยู่ในจิตอย่างนั้น กายกรรมทุจริต วจีกรรมทุจริตและมโนกรรมทุจริตดังกล่าว ย่อมไม่มีความสุขในชีวิตจากความสงบในการปล่อยวางทุกสิ่งที่จรเข้ามาสู่ชีวิตของตนเอง  แต่สำหรับศายมุนีพระพุทธเจ้านั้น ทรงกำหนดอายุไขยของพระองค์เองได้ว่าอีก ๓ เดือนพระองค์ปรินิพพาน แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์ผู้ผ่านการพัฒนาศักยภาพของชีวิตมีความรู้ระดับพระอรหันต์ที่เรียกว่าอภิญญา๖ นั้น ย่อมกำหนดรู้ถึงวันที่ตนลาลับดับสังขารไปสู่การปรินิพพานได้ ส่วนปุถุชนยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพของชีวิตต่อไปได้ ย่อมไม่อาจกำหนดปลงอายุสังขารเช่นพระพุทธเจ้า เพราะขาดพัฒนาศักยภาพของชีวิตตน ย่อมขาดสติความรอบรู้เพราะมัวแต่สนใจแต่สิ่งที่ตนผัสสะแล้ว เกิดตัณหาในความเป็น อยากได้ อยากมี และอยากพ้นในสิ่งที่ตนเกิดนิพพิทา และอยากให้ผู้อื่นสนใจ เมื่อได้ฟังพระวิทยากรบรรยายเรื่องของพระพุทธเจ้าในสถานที่แห่งนั้น ขณะนั่งสมาธิทำให้จิตของเราได้นึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น ๆ กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก พระวิทยากรผู้บรรยายจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบรรยายให้สนุก  เพราะเมื่อครั้งผู้เขียนยังเป็นพระธรรมวิทยากรบรรยายเรื่องราวในแดนพุทธภูมิ แม้จะรู้สึกว่าชีวิตเหนื่อยแค่ไหน แต่ใจตนก็ยังมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำงาน แม้จะเป็นการบรรยายในพุทธสถานที่เดิม ๆ บ่อย ๆ ข้อมูลซ้ำ ๆ แต่ผู้เขียนไม่รู้สึกนิพพิทาเกิดความเบื่อหน่ายในการบรรยายหรือทำงาน เพราะคิดว่าถือเป็นความเพียรอย่างหนึ่งของชีวิต หลังจากหมดฤดูกาลแสวงบุญแล้ว ต้องใช้เวลาวันรักษาสุขภาพของร่างให้ฟื้น ยังมีความสุขที่ได้ทำการศึกษาเรื่องราวความจริงจากพระไตรปิฎกทำ ให้เรามองสภาพทางภูมิศาสตร์ในสมัยพุทธกาลได้ ทำให้เราเห็นมโนภาพจากพระไตรปิฎกชัดเจนยิ่งขึ้น เกิดประโยชน์การพัฒนาศักยภาพตนเองและช่วยแนะนำให้คนอื่นเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าช่วยให้พระพุทธศาสนาของเราเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปและเกิดบุญกุศลแก่ชีวิตของตนเอง 

      การท่านทั้งหลายเดินทางมาแสวงบุญในแดนพุทธภูมิจะผ่านเมืองสำคัญหลาย ๆ โดยเมืองที่เกี่ยวข้องกับสถานประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมครั้งแรก และสถานที่ปรินิพพาน เป็นการเดินทางที่เหนื่อยล้าของชีวิตนั่งรถทัวร์โดยสารไม่ประจำทางเป็นระยะทางไกลดึกตื่นเช้า ด้วยความเหนื่อยล้า แต่มิได้ปริปากบ่นให้ให้ได้ ถือว่าเป็นบำเพ็ญความเพียรที่ยิ่งยอดอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงแล้วก็ยังนั่งสวดไหว้พระด้วยจิตแน่วแน่ สำรวมกายวาจาเป็นการสังเคราะห์เข้าหลักศีล เพราะจิตมิได้สร้างมโนภาพของอคติเกิดขึ้นในใจแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ขณะทำสมาธิภาวนา การที่ท่านทั้งหลายอดทนนั่งสมาธิด้วยจิตจดจ่อกับคำบรรยายของพระธรรมวิทยากรนั้นต่อไปโดยไม่ย้อท้อเป็นเวลาหลายนาที ถือว่าเป็นทำสมาธิเพื่อให้จิตใจเข้มแข็งและฝืนต่อเวทนาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี  และเมื่อเกิดมโนภาพอันฟุ้งซ่านเพราะสัญญาของกรรมเก่าที่ได้สั่งสมอยู่ในจิต ผุดขึ้นมาและรบกวนการปฏิบัติบูชาของพวกท่านทำให้หันเหจิตตนจากการพัฒนาศัยภาพทางจิตหรือลดละการทำความเพียรภาวนานั้น  แต่พวกท่านทั้งหลายยังคงตั้งใจภาวนาและปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้น ไม่ยึดติดมโนภาพเหล่าได้  ทำให้สัญญานั้นหายไปเอง   ช่วยทำให้จิตของพวกท่าน เกิดปิติสุขได้ ในชีวิตของพวกท่านเอง   

          ดังนั้นอาการประพฤติและปฏิบัติบูชาที่ทำไปแล้วในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ยังเป็นสัญญามีอยู่ในจิตพวกท่าน สิ่งที่มีอยู่นั้นจะอยู่ในลักษณะของนามธรรมที่สั่งสมในจิต  เมื่อเข้าสู่จิตก็ห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่นและนอนเนื่องอยู่ในจิตอยู่อย่างนั้นไม่มีวันสิ้นสุดและสัญญานี้ยังเป็นต้นทุนสำคัญของชีวิต ที่ได้สั่งสมความรู้ไว้เป็นกุศลกรรมไว้ เมื่อตายไปจิตก็จะไปจุติจิตในสุคติภูมิ ดังนั้นเมื่อพวกเรารู้ว่าการปฏิบัติบูชาในแดนสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นกรรมอย่างหนึ่งจัดว่าเป็นกรรมสุจริต   เมื่อชีวิตถึงแก่ความตายไปชีวิตไม่ได้ตายแล้วสูญเปล่า แต่มีจิตที่ห่อหุ้มด้วยเจตสิกที่เป็นกุศลกรรมจิตของบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น จึงไปจุติจิตในสุคติภูมิตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เราควรพิจารณาถึงการปฏิบัติบูชาอยู่เสมอ ๆ ตลอดชีวิตของตน อย่าปล่อยให้ชีวิตของไปตามอารมณ์ของความทะยานอยากจนขาดสติเพราะจะเป็นการสั่งสมอกุศลกรรมให้มีอยู่ในจิตของตน เมื่อตายไปจิตก็จะจุติจิตในสุคภูมิตามพระพุทธองค์ทรงค้นพบและตรัสไว้ในหลักคำสอนเรื่องวิชชา๒ 

         เมื่อท่านทั้งหลายการเดินทางไปแสวงบุญสังเวชนียสถานและพุทธสถานด้วยศรัทธา  ทำให้เกิดการสั่งสมความรู้มีอยู่ในจิตนั้น การปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ประเทศอินเดียเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำเพราะเป็นบุญกุศลอย่างหนึ่งของชีวิต  ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้และได้ผลของการเปลี่ยนแปลงทางจิตอย่างเดียว กัน ที่เห็นได้ด้วยตนเองเพราะ อารมณ์ของการปฏิบัติบูชาในพุทธสถานทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น การทำวัตรเช้าบนรถทัวร์ไปสู่พุทธสถาน วัตรเย็น และบำเพ็ญเพียรด้วยจิต ด้วยการนั่งภาวนาอดทนต่อวิบากของชีวิต ในการนั่งรถทัวร์โดยสารไม่ประจำทาง เดินทางไกลไปสู่สังเวชนียสถานในเมืองต่าง ๆ เป็นระยะทางประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตรติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา ๘ วัน อารมณ์ความสุข และความทุกข์จะสั่งสมอยู่ในจิตจนกลายเป็นสัญญาความจำได้ของผู้นั้นตามตามติดจิตของผู้นั้นไปจุติจิตสู่โลกหน้าด้วย แม้ในภพชาติปัจจุบัน ไม่ว่าเราจะเดินทางไปสู่สถานที่ไหนของประเทศไทยก็ตาม สิ่งที่สั่งสมเป็นบุญกุศลมีอยู่ในจิตนี้ก็ตามไปด้วย แม้จะเดินทางกลับมาสู่ประเทศไทยแล้วหลายเดือนแล้วก็ตาม พวกเรายังระลึกถึงเหตุการณ์ที่เดินทางไปปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ อยู่เสมอ ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่บุญกุศลอยู่ในจิตของเราเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ