The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทนำ ปริศนาธรรมบนเสาอโศก, หลักฐานพิสูจน์ความจริงในพุทธประวัติ

 Dharma puzzle on Ashoka pillars at Rampurva Bihar, Evidence to prove the truth in the Buddhist history

คำสำคัญ  เมืองRampurwa Bihar เสาหิน หัวสิงโต หัววัว 

๑.บทนำ   

       เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงยกทัพไปทำสงครามกับรัฐต่างๆเพื่อขยายอาณาจักรโมลิยะเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงต้องทนทุกข์ในพระทัยของพระองค์เพราะการทำสงครามกับรัฐต่าง ๆ เป็นชัยชนะที่ได้มาโดยเสียสุขภาพและชีวิต การทำสงครามหลายครั้งทำให้พระวรกายของพระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ชีวิตของพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยทั้งพระวรกายและพระทัย พระองคทรงตกใจกับความรุนแรงของการต่อสู้ระหว่างทหารโมลิยะกับทหารกลิงค์ การเสียชีวิตของทหารทั้งสองฝ่ายทำให้พระองค์ทรงเครียดกับสงครามครั้งนั้นและความเบื่อหน่ายในสงครามอีกต่อไป 
ระหว่างการเดินทางกลับพระนครปัฏตาลีบุตร พระองค์ทรงเห็นความยากจนของประชาชนเพราะภาวะสงครามทำให้พระองค์รู้สึกเบื่อหน่ายอยากจะพ้นจากความทุกข์อยู่ในพระทัยทรงระลึกถึงพราหมณ์แต่สมณะศาสนบุคคลในลัทธิเดิมในแนวคิดของปรัชญาศาสนาพราหมณ์ไม่อาจเป็นที่พึ่งเพียงอย่างเดียวแก่พระองค์ต่อไปได้ แต่เมื่อพระองค์เห็นสามเณรนิโครธทรงมีพระราชศรัทธาและเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้วทรงละลัทธิเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนาพระองค์ทรงปฏิบัติตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าแล้วนั้น จนกระทั่งพระทัยของพระองค์ทรงมีสมาธิอย่างเข้มแข็ง ให้ชำระกิเลสให้หมดจดเหตุแห่งทุกข์ที่ทรงมีอยู่ในพระทัยของพระองค์ได้หมดสิ้นไปและทรงสอนไม่ให้ดำเนินชีวิตอย่างประมาทในการดำเนินชีวิตด้วยการรักษาศีลห้าเพื่อมิให้จิตวิญญาณน้อมรับอกุศลกรรมมาสั่งสมจนกลายเป็นสัญญาอยู่ในพระทัยของพระองค์ เมื่อพระพุทธศาสนา มีลาภสักการะมากมีภัยจากศาสนิกของลัทธิศาสนาอื่นมาบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อแสวงหาลาภสักการะ เนื่องจากพระองค์ให้ความอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ถึงวันละ ๖๐๐,๐๐๐ รูป ในแต่ละวัน 

         จนกระทั่งพระองค์เป็นประธานทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ทำให้พระองค์ทรงดำเนินชีวิตด้วยการมาปฏิบัติบูชาที่ใต้ตนพระศรีมหาโพธิ์เป็นประจำมิได้ขาดทำให้พระองค์ไม่ได้เอาใส่ใจต่อพระนางดิษยรักษ์ พระนางจึงส่งคนไปตัดต้นพระศรีมหาโพธิจนไม่อาจเป็นร่มเงาใช้ในการปฏิบัติบูชาอีกต่อไป ทำให้พระองค์เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งดังนั้นพระองค์ทรงสร้างวิหารเพื่อรักษาสถานที่ตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าไว้ ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ดินแดนต่างๆถึง ๙ สายด้วยกัน รวมทั้งสร้างวัด สถูป วิหาร เจดีย์ และเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ต่างๆรวมทั้ง๘๔,๐๐๐ แห่งรวมทั้งสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อรักษาพุทธสถานอันเกี่ยวข้องพระพุทธเจ้า ในขณะที่พระองค์มีพระชนม์ชีพไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้และความเป็นจริงในพระพุทธศาสนาไว้
  
      ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วผู้เขียนสงสัยว่าหัวเสาหินอโศกที่ Rampurwa Biharนั้น เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไรจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากเสาอโศกต้นที่สร้างและปักไว้ในพุทธสถานแหล่งอื่นโดยวิเคราะห์ที่มาของความรู้จากพระไตรปิฎกอรรถกถาเป็นหลักคำตอบที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์บ่อเกิดของความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์การศึกษาศาสนสถานในพระพุทธศาสนาและกระบวนการวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตต่อการวิจัยในระดับปริญญาเอก เพื่อให้ได้ความรู้ที่มีการตัดสินอย่างสมเหตุสมผล และปราศจากความสงสัยความเป็นจริงในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกต่อไป  

     
๒.ที่มาของความรู้ในบนหัวเสาหินอโศกที่ Rampurwa Bihar 

        การวิเคราะห์หาเหตุผลถึงความรู้และความจริงของเสาหินอโศกที่สร้างขึ้นมาและปักไว้ในดินแดนต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปเผยแผ่หลักธรรมต่างๆ ในพระพุทธศาสนาเพื่อให้มนุษย์นั้นได้ข้ามพ้นจากมิจฉาทิฐิในความเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมานั้น นอกจากมีการค้นพยานเอกสารเช่นพระไตรปิฎกและอรรถกถา และบันทึกของสมณะชาวจีนอีก ๒ รูปก็ตาม แม้จะมีน้ำหนักรับฟังปราศจากข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไปก็ตาม แต่ก็พยานวัตถุที่สร้างขึ้นมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลายพันแห่งที่สร้างขึ้นมาเป็นอนุสรณ์สถาน ล้วนแต่ทรงคุณค่าต่อประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ควรที่จะนำใช้วิเคราะห์หาเหตุผลของความรู้ที่สมเหตุสมผลรับฟังปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป กล่าวคือ 

 
        ๒.๑ ทฤษฎีประจักษ์นิยมความรู้ทุกอย่างเป็นของมนุษย์ ที่มนุษย์ใช้ศึกษาหาความรู้นั้น ในทฤษฎีบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์นั้นมีหลายทฤษฎีด้วยกัน ในที่นี้ขอใช้ทฤษฎีประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่ามนุษย์คนหนึ่งคนใดรับรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียว กล่่าวคือ ฉันรับรู้ความมีอยู่ของเสาหินอโศกนั้น จากการเดินทางไปแสวงบุญในพุทธสถานหลายแห่งในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย โดยเฉพาะที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับรัฐพิหาร ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เสาหินอโศกตั้งอยู่กุฏาคารวัดป่ามหาวัน เป็นเสาหินที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศสาธารณรัฐอินเดียหันหน้าสู่เมืองกุสินารา กับเสาหินอโศกอีกต้นหนึ่ง สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานจากรึกด้วยอักษรพราหมีตั้งอยู่ที่สวนลมพินี เมืองสิทธัตถะนคร ประเทศเนปาล เพื่อระลึกถึงการเสด็จมาเยือนของพระเจ้าอโศกมหาราชในปีที่ ๒๐ ของการครองราชย์สมบัติ หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชได้มาเยือนแล้วได้มีการสร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนาเพราะหลังจากนั้นประมาณอีก ๒๕๓๘ ปีต่อมา ได้มีการขุดค้นโบราณสถานมายาเทวีวิหารพบห้องทำสมาธิของพระภิกษุจำนวน ๑๔ ห้อง เป็นต้น

      ๒.๒ แผนที่โลก Google Map เมื่อเราตรวจสอบแผนที่โลกแล้วเราค้นพบว่าสถานที่ตั้งเสาหินอโศกนั้น ตั้งอยู่กลางทุ่งนาในเขตเมือง Rampurwa เป็นเมืองพื้นที่การเกษตรกรรมปลูกข้าวเป็นพืชหลักในช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี และปลูกพืชไร่ตลอดทั้งปี เพราะประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เป็นอาหารประเภทผักหรืออาหารเจเป็นส่วนใหญ่ ด้านทิศตะวันออกของเมืองนั้นจดคลองส่งน้ำมีชื่อ Tirhut Canal เพื่อส่งน้ำจากแม่น้ำคันดักไปสู่พื้นที่ทำการเกษตรกรรมอันกว้างใหญ่ของชาวเมือง Rampurwa ที่ทำการเพาะปลูกตลอดทั้งปี เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่โลกของกูเกิลในประเทศสาธารณรัฐอินเดียนั้น เราค้นพบว่าเมือง Rampurwa อยู่ใกล้กับแม่น้ำ Gandak River ใกล้กับชายแดนประเทศเนปาล สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมและระยะทางจากเมืองRampurwa ตั้งอยู่ในรัฐ Bihar ไปสู่เมือง Gorakhpur ในรัฐ U.P. ประมาณ ๑๑๓ กิโลเมตรและห่างจากเมืองกุสินาราประมาณ ๗๑.๓ กิโลเมตร เป็นต้น 

 ๓. มูลเหตุการสร้างเสาหินอโศก
เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิพาเหียรปาสัณฑะ มีแนวคิดว่าสัตว์น้อยใหญ่มีตัณหาและทิฐ เป็นบ่วงมัดสัตว์ไว้ให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีวันสิ้นสุดต่อมาพระองค์ได้สติพิจารณาเห็นว่าสมณะเหล่านั้นไม่บริโภคอาหารปราศจากความสงบระงับไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่ฝึกกิริยามารยาทให้น่าเลื่อมใสน่าศรัทธา เมื่อนิมนต์มาเข้าฉันเพลในพระราชวังแล้ว ทรงเห็นกิริยาไม่สำรวมระวังในวัตรปฏิบัติของสมณะเหล่านั้นแล้วทำให้พระองค์ทรงหมดพระราชศรัทธาเพราะไม่อาจเป็นที่พึ่งของพระองค์ได้ในยามทุกข์ยากของชีวิต เมื่อทรงพบสามเณรนิโครธที่สำรวมระวังในออกบิณฑบาตรผ่านหน้าพระราชวังของพระองค์ ทรงมีพระราชศรัทธาในคำสอนความไม่ประมาทของสามเณรนิโครธ หลังจากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชจิตศรัทธาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ รูปในพระราชนิเวศน์หลังจากนั้นพระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์จำนวน ๙๘ โกฏิ สร้างวัด สถูป และวิหารจำนวน๘๔,๐๐๐ แห่งไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นต้นดังปรากฎพยานหลักฐานในอรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ [1] 

๓.มูลเหตุของการสร้างเสาหินอโศก ๒ ต้นนี้

       กล่าวคือพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ทรงถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุในพระราชนิเวศน์จำนวนหลายแสนครูปทุกวัน ทรงเสด็จมาปฏิบัติธรรมที่ใต้พระศรีมหาโพธิ์เป็นประจำ  ต่อมาเมื่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ถูกทำลายด้วยพระนางดิษยรักษ์สั่งให้คนมาตัดจนหมดสภาพจะเป็นร่มเงาในพระพุทธศาสนาใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติบูชาอีกต่อไป ทรงพระราชทานทรัพย์สร้างวิหารตรงสถานที่พระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้แจ้งใต้พระศรีมหาโพธิ์นั้นและทรงพิจารณาต่อไปอีกว่า ในกาลข้างหน้าความทรงจำของมนุษย์เกี่ยวกับพุทธสถานจะหมดไปตามกาลเวลาทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างศาสนสถานขึ้นมาและค้นหาสังเวนียสถานในช่วงปีพ.ศ.๒๗๒ - ๓๑๒ เพื่อให้ผู้คนที่เวียนว่ายตายเกิดในยุคหลังได้มาปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานต่อไป. 
           
        -ความมีอยู่ของเสาหินทั้งสองต้นค้นพบชาวอังกฤษโดยอาศัยที่มาของความรู้จากหลักฐานของการบันทึกของสมณฟาเหียนและพระซัมกัมจังที่เก็บรักษาไว้ในประเทศจีนและแปลต้นฉบับจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษนำมาเป็นหลักฐานลายแทงค้นหาเสาหินทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดียในเวลาปัจจุบัน เสาหิน ๒ ต้นตั้งตระหง่านมาหลายพันปีก่อนที่เสื่อมสลายลงไปตามกาลเวลา บนยอดเสาหินต้นหนึ่งประดับด้วยรูปสิงโตส่วนเสาหินอีกต้นหนึ่งประดับด้วยประติมากรรมรูปวัว.
 
         -ความมีอยู่ของเสาหินทั้งสองต้น การศึกษาพระพุทธศาสนาให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพุทธสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้านั้น สิ่งที่เราควรกระทำอันดับแรกคือ เราต้องศึกษารากเหง้าทางพระพุทธศาสนาที่บันทึกเป็นหลักฐานที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทเพราะในพระไตรปิฎกจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ  ไว้ในตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันเกือบสมบูรณ์ที่สุดเป็นหลักฐานช่วยวิเคราะห์ของการตีความหมายและวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีเมื่อเจ้าหน้าที่กองโบราณคดีของอินเดียค้นพบว่า มีเสาหินสองต้นอยู่กลางทุ่งนาอันกว้างใหญ่ของเมืองรามปุรวา (Rampurwa Bihar) นอนกลิ้งอยู่กับพื้น บนยอดเสาหินหนึ่งต้นบนยอดเสาหินมีรูปสิงโตตั้งอยู่  ส่วนเสาหินอีกต้นหนึ่งนั้นมีรูปวัวตั้งอยู่ ลักษณะของเสาหินอโศกที่พบนี้ สร้างขึ้นมามีลักษณะเดียวกับเสาหินหลายต้น  ที่ปักไว้ทั่วชมพูทวีป โดยเฉพาะสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และมีการสลักอักษรพราหมีไว้บนเสาหินแสดงให้เห็นว่าเสาหินนี้สร้างขึ้นไว้ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ส่วนจุดประสงค์ของการสร้างเสาหินนี้เพื่อเป็นพุทธสถานเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้ให้ได้ความจริง.   
 
     ๓. พระไตรปิฎกเล่มที่๑๐ พระสุตตันตเล่มที่ ๒ ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๒๐๒ พระอานนท์ได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลาย มาเข้าเฝ้าพระตถาคต ฯ ล ฯ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าพบ..อานนท์สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนี้กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไป.....อานนท์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์ จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมดหลังตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  

          เราวิเคราะห์ได้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระราชศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทรงเสด็จไปปฏิบัติบูชาที่ใต้ต้นพระศรีมหา โพธิ์อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นประจำ และทรงปรารถนาเสด็จไปสู่โลกสวรรค์หลังจากสวรรคตแล้ว ขณะเดียวกันพระองค์ทรงไม่รู้ว่าสังเวชนียสถานนั้นตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง ทรงตัดสินพระทัยออกเดินทางเพื่อแสวงบุญในแดนพุทธภูมิ (Buddhist Yatra) เพื่อค้นหาสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพานของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "สังเวชนียสถานทั้ง ๔"  ทรงโปรดให้สร้างเสาหินปักไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับจารึกอักษรพราหมีบนเสาหินอโศกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ไว้ หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือสถานที่แสดงธรรมครั้งแรกเรียกว่าปฐมเทศนามีการจารึกอักษรพราหมีไว้และสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธ้ตถะ เป็นต้น ทรงไว้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๒  ปีในการค้นหาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ส่วนมูลเหตุที่ทำให้พระเจ้อโศกมหาราชนั้นค้นหาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ นั้น ก็เป็นประเด็นของเรื่องราวที่น่าศึกษาไม่น้อยเพราะเราต้องการจากทราบเหตุผลด้วยการอนุมานความรู้จากเอกสารในพระไตรปิฎกบันทึกของสมณฟาเหียนและสมณะถัมซั่มจัง เป็นต้น สมณะชาวจีนทั้งสองรูปที่เดินทางมาสู่ประเทศอินเดียในช่วงปี พ.ศ. ๙๐๐  และปี พ.ศ. ๑๑๗๐ หรือประมาณ ๑๕๐๐  ปีที่ผ่านมา. 

๔. ปริศนาธรรมบนหัวเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช 

    ผู้เขียนรับรู้เรื่องของเสาหินอโศกแห่งเมือง Rampurwa จากภาพถ่ายที่คณะพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทยจำนวน ๑๒๐ รูปเดินธุดงค์ของคณะธรรมญาตตราในแดนพุทธภูมิเป็นเวลา ๓ เดือน เสาอโศกแห่ง Rampurwa นั้น มีลักษณะไม่แตกต่างไปกว่าเสาหินอโศกกว่าที่อื่นแต่ที่แตกต่างออกไปจากเสาอโศกนั้นเสาหินต้นที่ ๑ หัวเสานั้น แกะสลักเป็นรูปสิงโต ส่วนอีกต้นหนึ่งนั้น เป็นรูปวัวกระทิง (Bull) นั้นผู้เขียนได้ผัสสะเรื่องของเสาหินอโศก ที่Rampurwa แล้วเกิดความสงสัยว่า เสาหินอโศกที่มีรูปแกะสลักสิงโตและรูปวัวบนยอดเสานั้นมีความหมายว่าอย่างไร เป็นประเด็นที่เราต้องวิเคราะห์ตีความหมายจากปริศนาธรรมจากรูปแกะสลักสิงโตและรูปแกะสลักวัวกระทิงเหล่านี้ พยานหลักฐานชิ้นแรกที่เราควรนำมาวิเคราะห์ กล่าวคือ ๓.๑ พระไตรปิฎกฉบับออนไลน์  เมื่อเราศึกษามูลเหตุของการสร้างวัดในพระพุทธศาสนา เสาหินอโศกที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานไว้โดยทั่วไปจะแกะสลักอักษรพราหมีไว้เป็นเครื่องระลึกการเสด็จมาเยือนของพระเจ้าอโศกมหาราช หรือหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ที่สำคัญมีความเกี่ยวพันในเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น  แต่เรื่องราวเหล่านั้นถูกรวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น  หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ สร้างอนุสรณ์ วัด สถูป  เสาอโศก แสดงหลักฐานไว้ให้ผู้แสวงบุญได้ตั้งพุทธานุสสติระลึกถึงเรื่องของพระพุทธเจ้าในสถานที่นั้น ๆ  ในการปฏิบัติบูชา 
         ในประเด็นที่ ๑ เสาหินอโศกมีหัวเสาเป็นรูปสิงโตมีความหมายว่าอย่างไร  เมื่อวิเคราะห์พยานหลักฐานในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ (ฉบับมหาจุฬาฯ) อังคุตตรนิการ ปัญจก-ฉักกนิบาต บทที่ ๙ สีหสูตรว่าด้วยพญาราชสี [๙๙ ] พระภิกษุทั้งหลายเวลาเย็น  พญาราชสีออกจากที่อาศัยแล้วบิดกายชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ  บรรลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วก็หลีกไปหากินพญาราชสีห์นั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ก็จับได้แม่นยำ  ไม่พลาด  ถ้าแม้จะจับกระบือ ก็จับได้แม่นยำ  ไม่พลาด ถ้าแม้จะเสือเหลือง ก็จับได้แม่นยำ  ไม่พลาดที่เดียวข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพญาราชสีห์นั้นคิดว่า"ช่องทางหากินของเราอย่าเสียไป" ภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะ นี้เป็นชื่อตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าอาการที่ตถาคตแสดงแก่บริษัทเป็นสีหนารถ ของตถาคตของแท้คือตถาคต 

          ๑. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
          ๒. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ 
          ๓. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสถทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
          ๔. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
          ๕. แม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ  โดยที่สุดแม้จะแก่คนขอทานและพรานนก ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพข้อนั้นเพราะเหตุไร  ภิกษุทั้งหลาย เพราะถตาคตเป็นผู้หนักแน่นในธรรม เคารพธรรม. 
        ความหมายในเชิงอรรถ ๑. สีหนารถ หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทางอาจอง ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่นพระทัยในศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ (ทิ.สิ.ฏีกา  ๔๐๓/๔๓๒) 
           จากหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกและในความหมายเชิงอรรถคำว่าสิงโต หมายถึงพระพุทธเจ้า       ผู้มีความสง่างามองอาจ พระองค์ทรงไม่เกรงกลัวผู้ใด     เพราะทรงมั่นพระทัยในหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษยชาติทุกคน เป็นไปตามกฎแห่งกรรมกันทุกคน ไม่มีใครหลีกพ้นจากผลของกรรมตัวเองได้ และวิธีปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ของพระองค์   การแสดงธรรมของพระองค์ทรงให้เกียรติแก่ชนทุกชนชั้นวรรณะไม่ยกเว้นแม้คนขอทาน 

        ในประเด็นที่ ๒. เสาหินอโศกมีหัวเสาเป็นรูปวัวกระทิง มีความหมายว่าอย่างไร คำว่าโดยเคารพแปลมาจากคำว่า "สกฺกจฺจํ" ในที่นี้หมายถึงความตั้งใจจริงเอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องสำคัญดุจในประโยคว่า"วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ แปลว่าจ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง"(วิ.ม.๕/๒๕๕/๑๙) และเทียบทีป.ปา.อ.๒๖๗/๑๔๗ องฺปญฺจก.อ.๓/๑๕๔/๕๙ และตามนัยองฺปญฺจก.อ. ๓/๙๙/๔๕  

         จากข้อความดังกล่าวข้างต้นเราวิเคราะห์ได้ว่า รูปวัวกระทิงบนเสาหินอโศกนั้นมีปริศนาธรรมหมายถึงพุทธสาวกของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยพุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น  พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอนพุทธสาวกให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (มรรคมีองค์๘) ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏแต่ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อพระองค์ดำรงอยู่เบญจศีลเบญจธรรมแล้ว  

     ผลจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับเสาหินอโศกทั้ง ๒ ต้น ตั้งอยู่ในเมือง Rampurwa Bihar ผู้เขียนวิเคราะห์แล้วเห็นว่า ยอดเสาหินอโศกต้นหนึ่งเป็นรูปสิงโตที่แกะสลักตั้งอยู่บนยอดเสาหินอโศกเมื่อตีความหมายในพระไตรปิฎกว่าด้วยสีหสูตรนั้น พญาราชสีห์หมายถึง "พระพุทธเจ้า ส่วนที่ตั้งบนยอดเสาหินอโศกอีกต้นหนึ่งนั้นคือ รูปวัวกระทิงหมายถึงพุทธสาวกของพระองค์  ตามพยานหลักฐานที่ปรากฎในพระบาลีที่กล่าวไว้ว่า "วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ  แปลว่า จ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง" 

        ปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยต่อไปอีกว่าสถานที่ตั้งเสาหินอโศกมีความสำคัญอย่างไร น่าหมายถึงสถานที่แสดงธรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่พุทธสาวก ก่อนเสด็จสู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่เมื่อเราวิเคราะห์ต่อไปอีกว่า รูปวัวเป็นวัวกระทิงซึ่งเป็นสัตว์ป่าพระพุทธเจ้าทรงปกป้องสัตวโลกทุกชนิดมิใช่แต่มนุษย์เท่านั้น ดังนั้น พระราชวินิจฉัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ทรงปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าโดยเฉพาะวัวกระทิง ด้วยทรงสร้างเสาหินเป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์  มิให้มีการล่าสัตว์วัวกระทิงไปบูชายัน เป็นต้น   (ยังมีต่อ)

บรรณานุกรม 

[1] http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=1&p=3

(๑). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๒๒ หน้า : ๑๖๙



            

1 ความคิดเห็น:

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำจากผู้อ่านทุกท่าน

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ