The problems of the origin of knowledge about Nalanda, the Buddhist Saint City in Tripitaka
บทนำ ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับเมืองนาลันทาในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ
ในการศึกษาปัญหาทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความเป็นจริงของมนุษย์หรือเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตัวอย่างเช่นปัญหาความจริงเกี่ยวกับเมืองนาลันทาเป็นปัญหาที่น่าศึกษาอย่างยิ่งเพราะบันทึกไว้ชัดเจนในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ จะทำให้เราเข้าใจในกฎไตรลักษณ์ (trinity rule) ตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น เมื่อที่มาของความรู้ของมนุษย์ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ เมืองนาลันทาโบราณมีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนาเพราะเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระสารีบุตร ซึ่งทำหน้าที่เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของศากยมุนีพระพุทธเจ้าเป็นเวลาเกือบ ๑,๕๐๐ ปีผ่านไปแล้วที่เมืองนาลันทาอันเก่าแก่แห่งนี้พังทลายลงไปภายใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์ เนื่องจากถูกนักรบจากศาสนาอื่นทำลายและสังหารนักศึกษาและศาสนสถานในพุทธศาสนาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลาย แต่ชื่อเสียงอันดีงามของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็ยังไม่สูญหายไป สัญญาแห่งของมนุษย์ผู้มีดวงวิญญาณที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่พวกเขายังไม่รู้จักพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อชำระล้างอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไปปัญหาว่าเมืองนาลันทาอันเก่าแก่ตั้งอยู่ที่ไหน แม้ในยุคสมัยปัจจุบันรัฐบาลของรัฐพิหารจะยกหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ที่ตั้งห่างเมืองราชคฤห์เก่าแก่นั้นเป็นอำเภอนาลันทา การศึกษาวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบในที่มาของความรู้จากพยานเอกสารในพระไตรปิฎก อรรกถาและบันทึกของผู้แสวงบุญและแผนที่โลกดิจิทัลของกูเกิล ส่วนพยานวัตถุได้แก่โบราณสถานของมหาวิทยาลัยนาลันทาอันเก่าแก่นั้น ที่ปรากฎซากปรักหักพังเป็นหลักฐานหลงเหลือมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน เป็นสิ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาของความรู้ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผลและปราศากข้อพิรุธให้เกิดความสงสัยในความจริงของเหตุผลอีกต่อไป ดังนั้นผู้เขียนจำเป็นต้องวิเคราะห์จากพยานเอกสารและพยานวัตถุเป็นลำดับไปดังต่อไปนี้
๑. สถานที่ตั้งของเมืองนาลันทา (The existence of Nalanda) พระไตรปิฎกเป็นพยานเอกสารที่สำคัญในวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบในความเป็นอยู่ของเมืองนาลันในสมัยพุทธกาล เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่ม๑ ฑีฆนิกาย สีลวรรค ในเกวัฏฏสูตรข้อ ๔๘๑ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี เขตเมืองนาลันทาครั้งนั้นบุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับกราบพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทามั่งคั่งอุดมสมบรูณ์ ประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่นที่ล้วนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค"
จากข้อความในพระไตรปิฎกข้างต้น ผู้เขียนวิเคราะห์สภาพความเป็นอยู่ของเมืองนาลันทาในยุคของพระพุทธเจ้า ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเมืองเวสาลีพระองค์ทรงเดินทางข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองปาฏตาลีบุตรและเสด็จผ่านเมืองนาลันทาก่อนเข้าสู่ตัวเมืองราชคฤห์และในระหว่างการเดินทาง พระพุทธเจ้าทรงประทับพักผ่อนส่วนพระองค์ที่สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐีหลายครั้ง ในการเสด็จไปประทับ ณ สวนมะม่วงนั้นทำให้ผู้เขียนรู้จากคำกราบทูลว่า
๒. เมืองนาลันทา มั่งคั่งอุดมสมบรูณ์มาก เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาในพระไตรปิฎกถึงความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งของเมืองนาลันทานั้นแม้จะไม่มีการบันทึกไว้เป็นพยานหลักฐานว่าเอกสารในพระไตรปิฎกว่า เมืองนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านใดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอะไรทำให้เมืองนาลันทามีความอุดมสมบูรณ์ และส่งออกไปขายยังต่างประเทศมั่งคั่งก็ตาม แต่เมื่อเราได้วิเคราะห์ถึงข้อมูลของถ้อยคำในพระไตรปิฎมหาจุฬา ฯ และดูสภาพภูมิศาสตร์ที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเองที่ได้เดินทางมาแสวงบุญในเมืองราชคฤห์ และเมืองนาลันทานี้ เมื่อวิเคราะห์หาเหตุผลของสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วเห็นว่าเมืองราชคฤห์เต็มไปด้วยภูเขาหลายลูกด้วยกันเมื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในพระไตรปิฎกนั้นภูเขาเหล่านี้ในสมัยพุทธกาลเคยเป็นป่าดงดิบมาก่อนมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากมีการล่าสัตว์และฆ่าสัตว์ทิ้งไว้เรี่ยราด ทำให้พระภิกษุเกิดความเสียดายจึงนำไปปรุงอาหารเป็นต้น ถ้อยคำในพระไตรปิฎกนั้นแสดงมโนภาพให้ผู้เขียนเห็น ภูเขาหลายลูกมีสภาพเป็นป่าดงดิบมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อภูเขายังเป็นป่าดิบจึงเป็นแหล่งผลิตน้ำธรรมชาติปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ พื้นที่ราบเบื้องล่างอันกว้างไกลของเมืองนาลันทา เมื่อดูสภาพตัวเมืองนาลันทาในยุคสมัยปัจจุบันมีสภาพของทุ่งนาใช้ปลูกข้าวหล่อเลี้ยงผู้คนในรัฐพิหาร
ดังนั้นเมื่อผู้เขียนคิดหาเหตุผลของคำตอบจากสิ่งที่มาผัสสะจากพยานเอกสารในพระไตรปิฎก พยานวัตถุของสภาพทางภูมิศาสตร์ ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อสภาพตัวเมืองนาลันทาเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมคือการปลูกข้าว มีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน ข้าวจึงเป็นสินค้าหลักในส่งออกไปขายในแคว้นต่างๆ จำนวน ๑๖ แคว้น ดังนั้นคำว่า เมืองนาลันทามั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ วิเคราะห์ความหมายของคำว่าอุดมสมบูรณ์ได้ว่า เมืองนาลันทาเป็นแหล่งผลิตข้าวได้ปริมาณมหาศาลและสามารถหล่อเลี้ยงผู้คนในเมืองได้ตลอดทั้งปีส่วนคำว่า มั่งคั่ง นั้น เมืองนาลันทามีรายได้จากการขายข้าวให้แก่เมืองอื่นได้จำนวนหลายล้านโกฏต่อปี เมืองนาลันทาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อุดมสมบรูณ์ไปด้วยพืชผลทางการเกษตรกรรมด้วยการปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก และเศรษฐีในสมัยก่อนจึงส่งข้าวไปขายต่างบ้านต่างเมืองกันที่แคว้นต่างๆในชมพูทวีปทำให้แคว้นมคธมีความเจริญมั่งคั่งแคว้นมคธจึงเก็บภาษีได้มากมายนอกจากนี้เมื่อศึกษาหาเหตุผลของคำตอบเรื่องเศรษฐกิจแล้วในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ผ่านเกณฑ์การตัดสินความอุดมสมบูรณ์อย่างสมเหตุสมผล ผู้เขียนเห็นว่า ความมั่งคั่งของเมืองนาลันทานั้นได้บันทึกไว้เป็นพยานเอกสารในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ว่าเมืองนี้มีเศรษฐีหลายคนด้วยกันได้แก่ เกวัฏฏะเศรษฐี ในอรรถกถากล่าวว่า เศรษฐีนี้มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๔๐ โกฏิเทียบเป็นเงินได้ ๔๐๐ ล้านบาท นอกจากนี้นางสารีแม่ของพระสารีบุตรนั้นเป็นมหาเศรษฐี เช่นกัน เพราะมีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิหรือมูลค่าประมาณ ๘๐๐ ล้านบาทไม่รวมไพร่พล ข้าทาสบริวารอีกเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งเป็นบริวารสมบัติที่ไม่อาจประเมินมูลค่าเป็นตัวเงิน แสดงให้เห็นว่าเศรษฐีเหล่านี้ เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งในเมืองนาลันทาได้เป็นอย่างดี
๓. ประชากรมาก เมืองนาลันทาตั้งอยู่ติดกับเมืองราชคฤห์มากห่างเพียง ๑๖ กิโลเมตรเท่านั้น เปรียบเทียบได้ว่าเมืองนาลันทาเป็นชานเมืองของเมืองหลวงราชคฤห์ เมื่ออยู่ใกล้เมืองหลวงเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวย่อมเกิดเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะมีความสะดวกในการหางานทำ เมื่อเป็นพื้นทำการเกษตรกรรมและเมืองนี้ ตั้งบนเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองปัฎตาลีบุตรเมืองนาลันทาจึงเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่เป็นเมืองผ่านขนสินค้าอุปโภคและบริโภคผ่านเมืองนาลันทาไปสู่เมืองปัฏฏาลีบุตรซึ่งเป็นเมืองชายแดนตั้งอยู่แม่น้ำคงคาและตรงข้ามกับแคว้นวัชชีทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าจากกองคาราวานเกวียนจำนวนมหาศาลเดินผ่านเมืองนี้ในแต่ละปี จึงทำให้นาลันทาเป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจดีอีกเมืองในสมัยพุทธกาล นอกจากนี้ยังมีข้อความในพระไตรปิฎกก็กล่าวไว้อย่างมีเหตุผลสนับสนุนความรู้และความจริง ดังกล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐีเป็นประจำในช่วงเสด็จมาเมืองราชคฤห์ผ่านเมืองนาลันทา
๔. มีศรัทธามากในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้ามาได้ตัดสินพระทัยมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ทรงเปิดสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานในอุทยานวัดเวฬุวันมหาวิหาร โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นศาสนูปถัมภ์และมีบริวารเป็นชฎิลไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ รูปและอุรุเวลาปัสสปนั้น เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสารที่มีชื่อเสียงในสมัยพุทธกาล เมื่อเลิกละลัทธิที่เป็นมิจฉาทิฐิที่หาเลี้ยงชีพตนเองด้วยการประกอบพิธีบูชาไฟที่เป็นไปเพื่อแสวงหาลาภสักการะด้วยเหตุผลที่เราวิเคราะห์ได้มาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นที่ศรัทธาต่อผู้คนในสมัยนั้นที่พร้อมที่จะใช้หลักธรรมในการตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้บรรดากุลบุตรลูกเศรษฐีในเมืองนาลันทา พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะและสหายอีก ๒๕๐ คนตั้งใจสละบ้านเรือนและโคตรในวรรณะของตัวเองเพื่อออกบวชปฏิบัติธรรมชำระล้างบรรดาอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในจิตจนบรรลุธรรมเกิดปัญญาญาณ เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาอีกด้วย ย่อมนำมาซึ่งความศรัทธาของผู้คนในยุคนั้นที่จะมาฟังพระธรรมเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย ผู้เขียนเห็นว่าเมืองนาลันทาเป็นดินแดนที่อุมดสมบูรณ์ ด้วยน้ำธรรมชาติสามารถปลูกข้าวได้พอเพียงในการบริโภค ส่งไปขายต่างแคว้นได้นำมาความมั่งคั่งมาสู่เมืองนาลันทาและมีเศรษฐีหลายคนในเมืองนี้และมีประชากรมาก เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าไปสู่แคว้นอื่น ๆ และมีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นชาวเมืองนี้โดยกำเนิดยังนำมาซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นต้น

๓. เมืองนาลันทาหลังพุทธกาลในอรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์นาฬนทวรรคที่ ๒ จุนทสูตรอรรถกถาจุนทสูตรที่ ๓. กล่าวว่า ในพรรษาสุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม ส่วนพระสารีบุตรมาจำพรรษาที่เมืองสาวัตถีเมื่อเข้าสมาบัติผลการเข้าสมาบัติแล้วเกิดปริวิตกว่าพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธสาวกใครจะปรินิพพานก่อนได้ความว่าอีก ๗ วันพระสารีบุตรจะปรินิพพานก่อน พิจารณาเห็นนางสารีมารดาของเรา เป็นมารดาพระอรหันต์ ๗ องค์ ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงตัดสินใจกลับไปปรินิพพานที่บ้านเกิด เพื่อโปรดมารดาก่อนปรินิพพานหลังจากประชุมเพลิงแล้ว พระจุนทะนำอิฐิธาตุของพระสารีบุตรมาถวายพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าได้ทรงปรินิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว กาลเวลาของฤดูหนาว ฤดูร้อนและฤดูฝน ผ่านไปเกือบ ๒๐๐ ปี กาลเวลาก็เดินทางมาถึงยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งประเทศจีนด้วย
๒.๒ หนังสือจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ในเมื่อปีพ.ศ.๙๔๒-๙๕๗ สมณะฟาเหียนได้จาริกประเทศจีนสืบหาอารยธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อตัดลอกพระไตรปิฎกและจาริกแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่าหากพุทธสาวกใด มีความต้องการอยู่ใกล้ชิดศากยมุนีพระพุทธเจ้าเช่นในสมัยพุทธกาลให้เดินทางไปด้วยศรัทธาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แล้ว เมื่อถึงกาละถึงแก่ความตาย) จิตวิญญาณของผู้นั้นจะไปจุติโลกสวรรค์ เป็นต้น การแสวงบุญสู่มาเมืองนาลันทาแห่งแคว้นมคธ หลวงจีนฟาเหียนได้บันทึกข้อความกลับไปสู่ประเทศจีนว่า"พบเพียงสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา" ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าแม้สมณะฟาเหียนไม่ได้กล่าวว่าสถูปที่พบในช่วงนั้นเป็นสถูปของใครและบรรจุสิ่งที่ควรเคารพบูชาเป็นอะไรก็ตาม แต่เมื่อพระสารีบุตรเป็นชาวเมืองนาลันทาโดยกำเนิดเป็นอัครสาวกของศากยมุนีพระพุทธเจ้าและมีเอตทัคคะในด้านปัญญา ผู้เขียนจึงเชื่อว่าเป็นสถูปที่บรรจุพระสาริกธาตุของพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งและเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้านอกจากนี้พยานเอกสารในบันทึกของสมณะฟาเหียนก็ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใดแสดงข้อความให้เห็นว่ามีซากปรักหักพังของตัวอาคารมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิหารของวัดนานาชาติได้สร้างไว้เพื่อรับรองนิสิตของชาตินั้น ๆ เดินทางมาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งขึ้นแล้วในช่วงยุคหลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาคัดลอกพระไตรปิฎกในชมพูทวีปในช่วงประมาณปีพ.ศ.๙๔๒-๙๕๗ สมณฟาเหียนได้มาจาริกสืบหาพระพุทธศาสนาและคัดลอกพระไตรปิฎกน่าจะเป็นฉบับภาษาสันสกฤตแต่ไม่มีการบันทึกว่าเมืองนาลันทานั้น มีสถาบันการศึกษาคือมหาวิทยาลัยนาลันทาแต่อย่างใดจากหลักฐานที่บันทึกไว้พบเพียงแต่สถูปองค์หนึ่งเท่านั้นไม่หลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่ามีว่ามีตัวอาคารของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใดดังปรากฎหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียนหน้า ๑๔๘ บันทึกไว้ว่า "ฟาเหียนกับพวกได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านนาละซึ่งเป็นสถานที่เกิดของพระสารีบุตร..ในตำบลนี้มีสตูปที่ได้ก่อสร้างขึ้นไว้ ณ สถานที่ประชุมเพลิงพระสารีบุตรองค์ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ [๑]
ส่วนข้อโต้แย้งของมีนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่ามหาวิทยาลัยนาลันทาไว้ในโลกออนไลน์น่าจะสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ได้เปิดสถูปที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุทั่วชมพูทวีปได้มีการก่อสร้างสถูปบรรจุอิฐิธาตุพระสารีบุตรไว้ในมหาวิทยาลัยนาลันทาเก่าก่อนนั้นผู้เขียนเห็นว่าในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชน่าจะสร้างวัดขึ้นมาเป็นก่อน เพื่อดูแลสถูปแห่งนี้ที่บรรจุอิฐิธาตุของพระสารีบุตร พระอรหันต์ชาวนาลันทาไว้ในสถูปแห่งนี้ เพื่อใช้เคารพบูชาเพื่อระลึกถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหลักธรรมใช้พัฒนาศักยภาพของชีวิต ส่วนการสร้างมหาวิทยาลัยนาลันทา น่าจะมีการสร้างขึ้นในยุคหลัง เพราะมีพยานเอกสารและพยานวัตถุนั้น สร้างขึ้นมาหลังจากสมณะฟาเหียนกลับไปสู่ประเทศจีนแล้ว ประมาณ ๕ ปีและอีก ๔๐๐ ปีต่อมา ก็มีบันทึกของสมณะถั่มซั่มจังในการเดินทางมาแสวงในชมพูทวีป
๒.๓ สถูปของพระสารีบุตรเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญบอกตัวตนของนาลันทาเป็นเมืองพระอรหันต์ในพระไตรปิฎกมีการสร้างสถูปขึ้นมา เพื่อบรรจุอิฐิธาตุของพระสารีบุตรพระอรหันต์ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเพื่อยืนยันตัวตนของพระอรหันต์ ในปี พ.ศ.๙๕๘ - ๙๙๘ พระเจ้าศักราทิตย์หรือพระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ ทรงสร้างวัดขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาขึ้นมาหนึ่งแห่งในเมืองนาลันทา ในยุคต่อมากษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะหลายพระองค์เป็นผู้ปกครอง ได้ก่อสร้างวัดเป็นสถาบันการศึกษา เนื่องในโอกาสต่าง ๆ อีกหลายวัดรวมเป็น ๖ วัดติดต่อใกล้เคียงกันสุดท้ายมีการสร้างกำแพงล้อมวัดจนกลายเป็นนาลันทามหาวิหาร หรือมหาวิทยาลัยนาลันทากลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาการใช้ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ชาติ
ในปี พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ พระเจ้าหรรษาวรรธนะทรงเป็นศาสนูปถัมภ์มหาวิทยาลัยนาลันทา
ในปี พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ สมณะเหี้ยนจังจากประเทศจีนได้จาริกสืบหาพระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ และคัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาทั่วประเทศอินเดีย และได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนาลันทาได้บันทึกเรื่องราว ไปสู่ประเทศจีนจึงทำเราได้หลักฐานชิ้นสำคัญถึงความมีอยู่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และได้ตัดสินใจเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลันทาและได้บรรยายเรื่องของอาคารสถานที่ ที่นักศึกษาใช้เป็นสถานที่ศึกษาและศิลปกรรมที่งดงามของสถานที่แห่งนี้เป็นเอกสารกลับไปสู่ประเทศจีน รวมทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนสอนในสมัยนั้นไว้ เป็นหลักฐานให้ผู้คนยุคหลังได้คิดวิเคราะห์จินตนาการย้อนหลังไปสู่สมัย เมื่อ ๑,๕๐๐ กว่าปีแล้วให้มนุษย์ได้นึกคิดย้อนหลังสู่เหตุการณ์ในสมัย (ยังมีตอนต่อไป)
บรรณานุกรม
[๒]-พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๖ หน้า๑๐๐-๑๐๑
[๑]หนังสือจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน หน้า ๑๔๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น