The epistemological problems of Venuvan Maha Vihara in the Tripitaka
บทนำ
แม้เราจะยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง ก็ตาม แต่โดยธรรมชาติของชีวิตมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมีความลำเอียงต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมืดมนและขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง ตัวอย่างเช่น ในสมัยพุทธกาล พราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญา เมื่อได้ยินความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักจะแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองและคาดคะเนความจริง ตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่นักปรัชญานักตรรกะเหล่านั้น มักจะให้เหตุผลถูกบ้าง ผิดบ้าง
คำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี จากตำราหรือคัมภีร์ศาสนา เป็นต้น อย่าเพ่งเชื่อทันที เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงวางหลักคำสอนไว้เป็นเช่นนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาเรื่องวัดเวฬุวันมหาวิหารว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั้น อย่าเพิ่งเชื่อทันทีเราควรสงสัยก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอแล้ว ก็ใช้เป็นข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้
หากพยานหลักฐานเป็นพยานบุคคลที่จะให้การยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมเป็นความรู้อยู่ในจิตใจของเขาเท่านั้น การเขียนบทความนี้ ผู้เขียนก็มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เมื่อได้เดินทางมาแสวงบุญในพุทธสถานวัดเวฬุวันมหาวิหารหลายครั้งในฐานะผู้แสวงบุญบ้าง ในฐานพระวิทยากรผู้บรรยายเกี่ยวกับวัดแห่งนี้หลายครั้ง ความมีอยู่ของวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาบ่อเกิดความรู้และความจริง ตามหลักญาณวิทยาที่เรียกว่า"ทฤฎีความรู้ประจักษ์นิยม" มีแนวคิดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนนุษย์ต้องรับผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น ถึงจะถือว่าเป็นความรู้และความจริงกล่าวคือ ความมีอยู่จริงของวัดเวฬุวันมหาวิหาร ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์จึงจะถือว่าวัดแห่งนี้มีอยู่จริง
ปัญหาว่าวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ไหนมีพยานหลักฐานจากแหล่งความรู้ใด ถือยันยันข้อเท็จจริงว่าเป็นสถานที่จริง เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสงสัยจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อรวบรวมหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูลในสิ่งที่ตนสงสัยเพื่อหาเหตุผลของคำตอบ ต้องมีระเบียบวิธีคิดจะคิดไปเอง โดยไม่มีข้อเท็จจริงผ่านประสาทสัมผัสของตนมิได้ เพราะทำให้ความรู้กลายเป็นความเท็จได้ จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพจนานุกรมแปลไทย-ไทยอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญานั้น เป็นวิชาที่ว่าด้วยความแท้จริงซึ่งเป็นเนื้อสำคัญของปรัชญา ดังนั้นวัดเวฬุวันเป็นหนึ่งในสรรพสิ่งของโลกและจักรวาล สิ่งที่รับรู้ด้วยขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ อยู่ในโลกของปรากฏการณ์และเป็นสิ่งที่มิได้อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไปแต่อย่างใด

ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลคำว่า "วัด" จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ นั้นได้นิยามความหมายของคำว่า "วัด" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า temple และ Monastery ส่วนคำว่า "เทวสถาน" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ใช้คำว่า temple เช่นเดียวกัน [๑] ส่วนคำว่า เทวสถานเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "temple" หากเราแปลความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึงสถานที่ซึ่งถือว่าเป็นประทับหรือสิงสถิตของเทพเจ้า เทวดาหรือเทวรูป ส่วนคำว่า "วัด" หมายถึง สถานที่ทางศาสนาโดยปกติมีโบสถ์ วิหาร ที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์หรือนักบวช เป็นต้น ส่วนคำว่า Monastery แปลว่า วัด ที่อยู่ของพระ [๒] ดังนั้นคำว่าวัดในพระพุทธศาสนาน่าใช้คำว่า Monastery ถูกต้องมากกว่า ใช้คำว่า temple เป็นต้น ตัวอย่างเช่น The Royal Thai Monastery เป็นต้น
๑.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ที่เมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกับปัญจวัคคีย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในชีวิตจริง และพัฒนาศักยภาพชีวิตของปัญจวัคคีย์ จนสามารถปฏิบัติธรรมตามวิธีการของมรรคมีองค์๘ จนบรรลุถึงความรู้แท้ จริงในระดับอภิญญา ๖ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยส่งพระภิกษุจำนวน ๖๐ รูปเป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปพัฒนาศักยภาพของชีวิตของชาวโลกในดินแดนต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป ส่วนพระองค์จะเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ [๑.มหาขันธกะ มารกถา] ข้อ [๓๒]ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับพระภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลายเราพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมากเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของทวยเทพและมนุษย์ อย่าไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้นความงามในท่ามกลาง และความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้องทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีในตาน้อย มีอยู่ย่อมเสื่อมเพราะมิได้ฟังธรรมจักมีผู้รู้ธรรมภิกษุทั้งหลาย แม้เราจักไปอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม"

จากพยานหลักฐานของข้อความในพระไตรปิฎกนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นข้อยุติว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าบัดนี้ปัญจวัคคีย์ พระยสและสหายรวม ๕๔ รูป ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตตามวิธีการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖ แล้ว ทรงตัดสินพระทัยส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปประกาศพระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ ในชมพูทวีปเป็นครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระนครพาราณสี แคว้นกาสี และมีผู้ศรัทธาออกบวช ๖๐ คนแล้ว ทรงได้ตัดสินพระทัยส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศจำนวน ๖๐ รูปไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ ในชมพูทวีป ส่วนพระองค์ทรงเสร็จไปเผยแผ่ไปเผยแผ่วิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ แก่ชฏิล ๓ พี่น้องที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธใช้เวลา ๒ เดือน สอนชฏิล ๓ พี่น้องและบริวารที่เข้ามาศึกษาใน ๓ สำนัก จำนวน๑,๐๐๐ คนจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
๒.มูลเหตุของการสร้างวัดแห่งนี้ เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาเพื่อประกาศพุทธธรรมแก่ชาวโลกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี (อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ในปัจจุบัน) แล้วหลังจากแสดงธรรมโปรดชฏิล ๓ พี่น้องที่เมืองอุรุเวลาเสนานิคม ในปัจจุบันเรียกว่าตำบลพุทธคยาใช้เวลาเกือบ ๒ เดือน เปลี่ยนมิจฉาทิฐิเป็นสัมมาทิฐิ สอนให้ชฏิลปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ แล้ว จนจิตบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมาที่เมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยชฏิล ๓ พี่น้องและบริวาร อีก ๑๐๐๐ รูป เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองราชคฤห์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์เกิดดวงตาเห็นธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระราชดำเนินมาประกาศพระพุทธศาสนา ที่พระนครราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุเคยเป็นชฏิลจำนวน ๑๐๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารและประชาชนจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คนถวายการต้อนรับที่ลัฏฐิวัน ณ สวนตาลหนุ่มพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องอนุปุพพิกถาเป็นหลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องของการให้ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกามและอนิสงค์ของการออกจากกามโดยลำดับต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจ ๔ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งพราหมณ์ คฤหบดี จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ คน ตั้งสติพิจารณาพระธรรมเทศนาด้วยความเข้าใจอย่างแจ้งชัดปราศจากข้อสงสัยในชีวิตอีกต่อไป เกิดดวงตาเห็นธรรมจิตบรรลุธรรมระดับโสดาบัน ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ข้อ ๕๖ กล่าวว่า ....ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจ พวกพราหณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงได้อนุปุพพิกถาคือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามานวกถา เนกขัมมานิสังสกถา ..... ในวันต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเสวย ณ พระราชนิเวศน์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เมื่อเสวยภัตตาหารเช้าแล้วพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าทอง ทรงได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแด่พระภิษุสงฆ์มีพระพุทธประทาน เป็นสังฆารามแห่งแรกนี้ไว้ในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระราชดำเนินกลับพร้อมพระอรหันตสาวก ทรงปรารถเหตุที่พระเจ้าพิมพิสารถวายเวฬุวันป่าไผ่ พระพุทธเจ้าทรงมีพบรมพุทธานุญาให้วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
๓. บันทึกของสมณะฟาเหียน

ได้บันทึกในช่วงปี ๙๔๒-๙๕๗ ไว้ว่าเมื่อได้เดินทางออกจากเมืองราชคฤห์อันเก่าแก่ของพระเจ้าพิมพิสาร ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๐๐ เมตร สมณะฟาเหียนได้พบอุทยานป่าไม้ไฝ่ กรัณฑ (เวฬุวัน) ในสมัยนั้นยังมีวิหารโบราณ ที่พระเจ้าพิมพิสารได้สร้างถวายในวัดแห่งนี้ด้วยปรากฎอยู่มีพระภิกษุจำพรรษาช่วยกันดูพระวิหารแห่งนี้ รดน้ำต้นไม้ ปัดกวาดวิหารลานวัดอยู่ในขณะสมณฟาเหียนเข้าไปศึกษาวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
๔.วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ทรงมีจิตศรัทธาถวายสังฆารามแห่งแรกไว้เป็นสมบัติในพุทธศาสนาดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐข้อ ๕๙ ว่า"ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วที่ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายพร้อมพระภิกษุสงฆ์ ......ท้าวเธอทรงดำริว่า "พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ที่แห่งใดอยู่ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้กลางวัน ไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่อึกทึก เว้นจากคนสัญจรไปมาเป็นที่กระทำลับของหมู่มนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ......เราพึงถวายอุทยานเวฬุวันแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข..."
จากพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกกล่าวยืนยัน เป็นพยานหลักฐานว่า วัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา โดยพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ที่ปกครองเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นผู้มีจิตศรัทธาถวายพระอุทยานเวฬุวัน สวนหลวง แด่พระพุทธเจ้า ด้วยเหตุว่า
๑. ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านหรือพระราชวังของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อใช้เป็นประทับเพื่อแสดงพระธรรมเทศนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุที่บวชใหม่พระพุทธศาสนาและใช้บิณฑบาตรเพื่อยังชีพโดยอาศัยผู้อื่น.
๒. การคมนาคมสะดวกเมื่อชาวเมืองราชคฤห์บุคคลใดมีปัญหาของชีวิตก็สามารถสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าในวัดเวฬุวันมหาวิหารได้ง่าย สถานตั้งอยู่ไกลจากพระราชวังพระเจ้าพิมพ์สารมากนัก เพื่อรู้แจ้งตลอดของความทุกข์ของชีวิตตัวเองได้ง่าย เพราะไม่ไกลจากหมู่บ้านที่ตัวเองอาศัยอยู่ได้ เมื่ออุทยานเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารมาก่อน เส้นทางคมนาคมจึงได้รับการพัฒนาให้ได้รับความสะดวกสบาย
๓. ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้กลางวัน เมื่อชาวเมืองราชคฤห์ผู้ประสบกับความทุกข์ซ้ำซากเกิดขึ้นในจิตใจของตัวเองสามารถเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้เพื่อปรึกษาความทุกข์ในชีวิตได้ในเวลากลางวัน เพื่อจัดการกับปัญหาเพื่อให้จิตรู้แจ้งแทงตลอดในความทุกข์นั้น ๔. ที่มาความรู้ของผู้เขียนความรู้และความมีอยู่จริงของวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น ตามทฤษฎีความรู้ในสาขาญาณวิทยา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญานั้น ในทฤษฎีประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่า "ความรู้และความเป็นจริงนั้น ต้องสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น" ดังนั้น บ่อเกิดที่มาของความรู้จึงเกิดจากประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่มีอยู่จริง กล่าวคือผู้เขียนได้รับรู้ในความมีอยู่จริงของวัดเวฬุวันมหาวิหารผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง เมื่อเดือนกันยายนปี ๒๐๐๒ ผู้เขียนได้เดินทางมาแสวงบุญในวัดแห่งนี้ในโครงการปฏิบัติธรรมในแดนพุทธภูมิของนักศึกษาเมืองพาราณสี สภาพของวัดเป็นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา มีการแสดงอาณาเขตของวัดด้วยการกั้นรั้ว ล้อมรอบขอบชิดแสดงอาณาเขตเด่นชัดแน่นอน ภายในวัดมีสระน้ำหนึ่งแห่ง มีต้นไผ่ขึ้นเต็มไปหมดตั้งอยู่ไม่ไกลจาก ตโปธาราน้ำพุร้อนใต้ดินไหลตลอดทั้งปีแต่วัดแห่งนี้กลายเป็นวัดร้างไปแล้ว ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา เช่น สมัยพุทธกาล แต่กองโบราณคดีของอินเดียได้ล้อมกำแพงไว้ ยังได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นพุทธสถานหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองราชคฤห์อันเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลให้ผู้แสวงบุญที่เดินทางจากทั่วมุมโลกมาประกอบพิธีปฏิบัติบูชา และตั้งพุทธานุสสติระลึกถึงการทรงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ได้เดินทางมาเยี่ยมชมไม่เคยขาดสายมีการรักษาบรรยายกาศให้เหมือนสมัยพุทธกาลไว้เป็นอย่างดี ในวัดเวฬุวันมหาวิหารแห่งนี้นั้น ได้มีการอนุรักษ์สระน้ำที่พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำไว้มีการปลูกต้นไม้ไผ่ไว้เป็นสวนเช่นเดียวกับพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารในสมัยพุทธกาล เมื่อคณะของเราเดินทางมาถึงเสียค่าเข้าชม ๕๐ รูปี ก็เดินทางไปสู่บริเวณลานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดเล็กไว้คณะของเราเริ่มพิธีกรรมปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิประกอบคำบรรยายของพระธรรมวิทยากร แม้วัดแห่งนี้เหลือแต่ร่องรอยไว้ให้เราจินตนาการย้อนหลังไปถึงเหตุการณ์สมัยเมื่อ ๒, ๕๐๐ กว่าปีแค่คุณค่าของสถานที่แห่งยังเป็นมนต์ขลังที่เราสนใจศึกษาหาคำตอบในประเด็นที่สงสัยต่อไปอีกไม่มีวันจบสิ้น เราค้บพบว่าเดิมวัดเวฬุวันมหาวิหารนั้น เป็นพระราชอุทยานหลวงเวฬุวัน เป็นสวนป่าไผ่ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธมีเมืองหลวงชื่อว่าราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงใช้พระราชอุทยานเวฬุวันแห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนพระอริยาบถส่วนพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังราชคฤห์อันเก่าแก่ เป็นสถานที่ประทับของพระเจ้าพิมพิสารเป็นสถานที่รื่นรมย์ของสวนไฝ่ มีความสงบเงียบ อยู่บนเส้นทางคมนาคมเดินทางไปมาอย่างสะดวกสบาย เหมาะแก่พระองค์และข้าราชบริพารได้เสด็จมาฟังธรรมะและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า
บรรณานุกรม
(๑) https://dict.longdo.com/search/เทวสถาน.
(๒) https://dict.longdo.com/search/Monastery
(๓) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ข้อ ๕๖
(๔) พระยาสุรินทรฤาชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์). จดหมายเหตุ จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ครั้งที่ ๒ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, หน้า๑๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น