ปัญหาญาณวิทยาของรัฐสุวรรณภูมิในพระไตรปิฎก
(Epistemological problems of Suvarnabhumi state in Tripitaka)

บทนำเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารัฐสุวรรณภูมิมีอยู่จริง
โดยทั่วไปแล้ว ประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันเมื่อพวกเขาศึกษาเรื่องราวของความเป็นมาของชาติตนเองจากตำราประวัติศาสตร์ เอกสารทางโบราณคดีต่าง ๆ พระไตรปิฎก และเอกสารทางวิชาการอื่นๆพวกเขาได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ดินแดนที่ราชอาณาจักรไทยตั้งอยู่ในปัจจุบันคือรัฐสุวรรณภูมิ ชุมชนการเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ ดำรงเป็นรัฐเอกราชอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้ว เสื่อมลงตามกฎธรรมชาติ เพราะผู้นำของรัฐอื่น ๆ เข้ามายึดครองรัฐสุวรรณภูมิและใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง เมื่อตรวจสอบแผนที่โลกของกูเกิล ไม่พบหลักฐานบนแผนที่โลกว่า รัฐสุวรรณภูมิเป็นรัฐอิสระ เมื่อรัฐสุวรรณภูมิก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐอิสระ และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วเสื่อมลงเพราะถูกปกครองโดยรัฐอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อผู้คนในราชอาณาจักรไทยยอมรับโดยปริยายว่ารัฐสุวรรณภูมิมีอยู่จริง จึงถือเป็นความจริงสมมติขึ้นตามหลักอภิปรัชญา
โดยทั่วไปแล้ว ประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันเมื่อพวกเขาศึกษาเรื่องราวของความเป็นมาของชาติตนเองจากตำราประวัติศาสตร์ เอกสารทางโบราณคดีต่าง ๆ พระไตรปิฎก และเอกสารทางวิชาการอื่นๆพวกเขาได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ดินแดนที่ราชอาณาจักรไทยตั้งอยู่ในปัจจุบันคือรัฐสุวรรณภูมิ ชุมชนการเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ ดำรงเป็นรัฐเอกราชอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้ว เสื่อมลงตามกฎธรรมชาติ เพราะผู้นำของรัฐอื่น ๆ เข้ามายึดครองรัฐสุวรรณภูมิและใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง เมื่อตรวจสอบแผนที่โลกของกูเกิล ไม่พบหลักฐานบนแผนที่โลกว่า รัฐสุวรรณภูมิเป็นรัฐอิสระ เมื่อรัฐสุวรรณภูมิก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐอิสระ และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วเสื่อมลงเพราะถูกปกครองโดยรัฐอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อผู้คนในราชอาณาจักรไทยยอมรับโดยปริยายว่ารัฐสุวรรณภูมิมีอยู่จริง จึงถือเป็นความจริงสมมติขึ้นตามหลักอภิปรัชญา
เมื่อเรายอมรับความจริงของการมีอยู่ของรัฐสุวรรณภูมิ คำถามที่เกิดขึ้นว่า " เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้เป็นความจริง" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินความคิดเห็นของเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิต เพราะเป็นเรื่องราวที่ได้ยินสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตำราหรือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นความคิดเห็นของครูบาอาจารย์ อย่าเชื่อทันทีควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง เพื่อพิสูจน์หาเหตุมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น (หรือรัฐสุวรรณภูมิ) และเป็นหน้าที่ของญาณวิทยาจะต้องให้คำตอบในเรื่องนี้เพราะญาณวิทยาศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์
การส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศของราชอาณาจักรโมริยะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่รัฐสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นหลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ที่วัดอโศการามในเมืองปัฏตาลีบุตร เป็นเมืองหลวงของรัฐโมริยะ ในยุคปัจจุบันเรียกว่าเมืองปัตนะ เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เป็นต้น การจัดสังคายนาครั้งนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงระลึกถึงคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ มหาวรรคภาค ๑ มหาขันธก มารกถา ข้อ ๓๒ ว่า พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งกับพระภิกษุทั้งหลาย เราพ้นจากบ่วงทั้งปวงแล้ว ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ภิกษุทั้งหลายเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของทวยเทพและมนุษย์ ........... เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์เหตุผลของคำตอบของความรู้ในการส่งพระธรรมทูตไปต่างประเทศเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกที่เมืองพาราณสีนั้น พระพุทธเจ้าทรงส่งพระอรหันต์ล้วนแต่ผ่านการพัฒนาศักยภาพของชีวิต โดยการฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ จำนวน ๖๐ รูป ออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ของชนจำนวนมากนั้น คำว่า "ชนจำนวนมาก" หมายถึง ดินแดนที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยพุทธกาลหมายถึงชาติมหาอำนาจจำนวน ๑๖ ชาติ ชนชาติเหล่านั้นได้รับความทุกข์จากระบอบการปกครองแบบรัฐศาสนา โดยการแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ เพราะชะตาของคนนั้นถูกพระพรหมลิขิตโดยความเชื่อว่ามันเป็นความจริง ส่วนในยุคสมัยราชอาณาจักรโมริยะนั้น ส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศเพื่อเผยแผ่ไปยังดินแดนของรัฐที่ห่างไกลจากราชอาณาจักรโมลิยะ เพื่อประโยชน์ของคนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ที่เมืองท่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่รับซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เช่น เครื่องประดับหินสีต่าง ๆ ลูกปัดพลอยต่าง ๆ จากดินแดนอินเดียโบราณ ส่วนรัฐสุวรรณภูมิยังส่งออกเครื่องเทศต่าง ๆ ไปกับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่กลับ อินเดีย ยุโรป และอาหรับด้วย ดังนั้น เมื่อเมืองท่าเต็มไปด้วยคนงานรับผิดชอบขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าต่างประเทศขนาดใหญ่ เข้ามาที่ท่าเรือและขนสินค้าเครื่องเทศนั้นขึ้นบนเรือสินค้านั้นกลับไปสู่รัฐอินเดียโบราณ

ในยุคหลังพุทธกาล มนุษย์แสวงหาโชคลาภตามเส้นทางการค้าระหว่างเมืองท่าต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งทำมาหากิน ของคนงานบรรทุกสินค้าขึ้นเรือขนาดใหญ่เดินทางไปสู่เอเซียใต้และโลกตะวันตก เมืองท่าต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งทำมาหากินและสถานที่ืั้ผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่ เนื่องจากเครื่องเทศจึงเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวเอเซียใต้ และชาวตะวันตก ทำให้ผู้คนแห่กันไปขายแรงงานที่นั่น เนื่องจากยังยากจน ขาดรายได้จากการหาเลี้ยงชีพและขาดต้นทุนของชีวิต โดยเฉพาะความรู้จากการคิดหาเหตุผลของตนเอง คนบางส่วนถูกขายไปเป็นทาส ต้องทำงานหนักอาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ค่าจ้างผลตอบแทนน้อยไม่พอเลี้ยงชีพได้ พวกเขามองไม่เห็นโอกาสที่จะมีชีวิตสะดวกสบาย
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตัดสินพระทัยส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปเผยแผ่ในดินแดนต่าง ๆ ตามเส้นทางค้าขายทางเรือและทางสายไหม ส่วนพระธรรมทูตต่างประเทศสายที่ ๘ นั้น ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรอินเดียไปสู่เมืองสะเทิมแห่งรัฐสุธรรมาวดี เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่เส้นทางเรือในสมัยโบราณ พระธรรมทูตทั้ง ๙ สาย ออกเดินทางจากจุดเริ่มต้นที่พระนครปัฏตาลีบุตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาทางทิศใต้ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยเรือบรรทุกสินค้า ไปตามเส้นทางการค้าโบราณไปยังรัฐสุวรรณภูมิ
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตัดสินพระทัยส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปเผยแผ่ในดินแดนต่าง ๆ ตามเส้นทางค้าขายทางเรือและทางสายไหม ส่วนพระธรรมทูตต่างประเทศสายที่ ๘ นั้น ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการเดินทางโดยเรือข้ามมหาสมุทรอินเดียไปสู่เมืองสะเทิมแห่งรัฐสุธรรมาวดี เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่เส้นทางเรือในสมัยโบราณ พระธรรมทูตทั้ง ๙ สาย ออกเดินทางจากจุดเริ่มต้นที่พระนครปัฏตาลีบุตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาทางทิศใต้ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยเรือบรรทุกสินค้า ไปตามเส้นทางการค้าโบราณไปยังรัฐสุวรรณภูมิ
ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า คณะพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปยังรัฐสุวรรณภูมินั้น ไปลงเรือบรรทุกสินค้าที่ท่าเรือพระพุทธเจ้า (Buddha Ghart) บนฝั่งแม่น้ำคงคา ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ไปสู่เมืองท่ากัลการ์ต้า (Kokata) รัฐเวสเบงกอล และนั่งเรือสินค้าขนาดเล็กเลียบชายฝั่งตะวันออกไปสู่เมืองท่า Visakhapatnam ตอนกลางชมพูทวีป ผ่านทะเลอันดามันไปยังเมืองสะเทิมซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยราชอาณาจักรมอญ เนื่องจากหลักฐานในพระไตรปิฎกได้บันทึกไว้ว่า พระพุทธศาสนามาเผยแผ่อาณาจักรมอญโบราณตั้งแต่สมัยของตปุสสะและภัทลิกะ พ่อค้าวานิชย์ ได้พระเกศาจากพระพุทธเจ้า คงเป็นไม่ได้ว่าพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระจะเดินธุดงค์มาเองทางตอนเหนือของประเทศพม่า.

ปัญหาว่า ดินแดนสุวรรณภูมินั้นกลุ่มชนชาติพันธ์ใดมาตั้งรกรากไว้ตั้งแต่เริ่มแรก คำว่า สุวรรณภูมิ หมายถึง ดินแดนอันเป็นที่อยู่อาศัยชองชาติพันธ์ มอญ ไทย พม่า เป็นต้น ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์นั้น ตามพงสาวดารพม่านั้นชนชาติมอญนั้นเป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุด มาตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในทางทิศใต้ของประเทศพม่าในยุคสมัยปัจจุบันอาณาเขตของมอญยุคโบราณได้แก่ อาณาจักรสุธรรมวดีหรืออาณาจักรสะเทิมที่ตั้งก่อนปีพ.ศ. ๒๔๑ อาณาจักรนี้มีกษัตริย์ปกครอง ๕๙ พระองค์ มีเมืองสะเทิมเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ระหว่างราชอาณาจักรมอญโบราณกับราชอาณาจักรมคธ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียโบราณ และอาณาจักรสิงหลของประเทศศรีลังกาก่อนอาณาจักรสุธรรมวดีจะล้มสะลายลงไปเพราะเหตุปัจจจัยจากการทำสงครามแผ่อำนาจของอาณาจักรพุกามในปี พ.ศ. ๑๖๐๐ กษัตริย์ที่ปกครองพระองค์สุดท้าย คือ พระเจ้ามนูหาเราสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของรัฐสุธรรมาวดีได้ดังนี้
๓.๑. ดินแดนของอาณาจักรสุธรรมวดี น่าจะมีอาณาเขตในดินแดนทางภาคใต้ของประเทศพม่าทั้งหมด และรวมทั้งดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรทวารวดีทั้งหมด
๓.๒ ประชาชน มีเชื้อสายมอญ
๓.๓ ความเชื่อ ชนมอญนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท
มีเรื่องราวเกี่ยวกับการนับถือพระพุทธศาสนาของพวกมอญ กล่าวไว้ในศิลาจารึกของชเวดากองว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วได้มอบพระเกศาธาตุให้ตปุสสะและภัทลิกะ มาประดิษฐานในเจดีย์ ชเวดากองและหลังจากสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตสายที่ ๘ มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิรัฐ แสดงให้เห็นว่า ในดินแดนสุวรรณภูมินั้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐก็ตามแต่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้เดินทางมาสู่อาณาจักรแห่งนี้ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ แล้วยังนั่งอยู่ในของผู้คนมาถึงทุกวันนี้ แม้ผู้คนจะเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วกี่รอบก็ตาม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น