The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับรัฐสุวรรณภูมิ

Metaphysics Problems Concerning Suvarnabhumi State

๑.บทนำ ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของรัฐสุวรรณภูมิ

    
                  โดยทั่วไปแล้ว    ผู้คนบางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ  นักปรัชญา พวกเขาสนใจในการศึกษาความจริงของสิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต      พวกเขามีความรู้ที่สามารถรับรู้ได้โดยตรงผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองเช่นความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกโดยเจตนา เช่น  การฆ่าคน   การฉ้อโกง     การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ยินยอม   การดื่มสุราและเสพยา  เป็นต้น  หรือเหตุการณ์ทางสังคมในด้านการเมือง  การศึกษา การพัฒนาประเทศ   เศรษฐกิจ  ศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งคือความรู้เป็นสิ่งที่อยู่เหนือระดับการรับรู้ของมนุษย์ได้     เป็นต้น

            ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ  เป็นนักปรัชญา     เมื่อพวกเขาได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ       มนุษย์    โลก  และการมีอยู่ของเทพเจ้าที่เล่าต่อกันมา ๆ     ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  มักแสดงทัศนะ(หรือความเห็น) ของตนเองตามปฏิภาณตามหลักเหตุผลหรือคาดคะเนความจริง เช่นเรื่องของอัตตา โลกเที่ยง  เป็นต้น  แต่นักตรรกะ นักปรัชญาเหล่านี้มักใช้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงของเรื่องนี้      บางครั้งใช้เหตุผลที่ผิดบ้าง บางครั้งใช้เหตุผลที่ถูกบ้าง  ใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง  ใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง       

             ดังนั้น  เมื่อนักตรรกะ นักปรัชญาเหล่านี้ให้เหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ ยังไม่ชัดเจนว่าความจริงของเรื่องนั้นมีความเป็นอย่างไรแล้ว    วิญญูชนได้ยินความจริงของคำตอบของเรื่องนั้นจากนักตรรกะ นักปรัชญาแล้ว  ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นความจริงเป็นต้น 

๒.ประเภทของความจริง

           ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ นั้น    ตามหลักอภิปรัชญาของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแบ่งความจริงออกเป็น ๒  ประเภทคือ
  
           ๒.๑ สังขตธรรม  (Conditioned- things) หมายถึงธรรรมที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ ขันธ์ ๕    
           ๒.๒.อสังขตธรรม  (Uncondition) หมายถึงธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งได้แก่นิพพาน เป็นต้น   

           ความเป็นจริงของรัฐสุวรรณภูมิ          เมื่อผู้เขียนสืบค้นหาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว  ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า มีปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนสงสัยว่า    หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓    พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตจากราชอาณาจักรโมริยะ     มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมินั้น ปัญหาความจริงว่า รัฐสุวรรณภูมิตั้งอยู่ที่ไหน? เป็นปัญหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษา   เพราะเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย   และเพื่อดูพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ ที่ได้รับการถ่ายทอด อนุรักษ์ และพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต  

         ในการศึกษาเรื่อง"รัฐสุวรรณภูมิ"ซึ่งมีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา     เนื่องจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แพร่หลายในแผ่นดินนี้           ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เขียนจึงเกิดความสงสัยว่าใครเป็นกษัตริย์ในรัฐสุวรรณะภูมินี้      แม้ว่าหัวข้อรัฐสุวรรณภูมิจะถูกแชร์กันในเว็บไซต์ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตแต่เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลในเอกสารดิจิทัล      เรื่องราวก็ปรากฏขึ้นในความคิดของผู้เขียน ประวัติศาสตร์ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ       ผู้เขียนจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ "รัฐสุวรรณภูมิ"   เพิ่มเติมและรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอ      จากนั้นผู้เขียนจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผล      ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัญาในการอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับรัฐสุวรรณภูมิ ดังนี้ 

       เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่ารัฐสุวรรณภูมิ นั้นคือดินแดนที่มีอาณาเขตตั้งอยู่ในประเทศพม่า ไทย ลาว เขมร  เวียดนาม มาเลย์และสิงคโปร์เป็นต้น    และ ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๙     พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวรรค ๗.ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส ข้อ ๕๕. วรรค ๖ กล่าวว่า อีกนัยหนึ่งเธอถูกตัณหาครอบงำ ถูกกามตัณหาตรึงไว้แล้ว      เมื่อจะแสวงหาโภคทรัพย์ ก็ต้องแล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าลมหนาว ฝ่าร้อนถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง  ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความหิวกระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ (ตะกั่วป่า)  ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ (รัฐชวา) ตามลิงรัฐ (นครศรีธรรมราช) วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ  สุวรรณภูมิรัฐ  ตั้มพปาณิรัฐ  สุปปทกรัฐ  เภรุกัจฉรัฐ  สุรัฏฐรัฐ ภั้งคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ......เป็นต้น            
             เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ลงกรณ และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่า ชาวอนุทวีปอินเดียรู้จักรัฐสุวรรณภูมิ มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล    โดยในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณข้างต้นได้กล่าวไว้ว่า"รัฐสุวรรณภูมิ"  เป็นดินแดนของรัฐอิสระ       ที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองตั้งแต่สมัยศาสนาพราหมณ์จนถึงปัจจุบัน    ส่วนในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณได้กล่าวไว้ว่า การเดินทางไปหาทรัพย์ ความร่ำรวย (โภคะทรัพย์) ในรัฐสุวรรณภูมินั้นจะต้องล่องเรือข้ามมหาสมุทร(อินเดีย) คำว่า "เรือ" หมายถึง     เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่บรรทุกสิ่งของต่าง ๆ เช่น หินหลากสี   กำไล สร้อยข้อมือ      เป็นต้น       คำว่า "มหาสมุทร" หมายถึง  มหาสมุทรอินเดีย  ในสมัยพุทธกาล รัฐสุวรรณภูมิยังเป็นรัฐเล็ก  ๆ   และรัฐอื่น ๆ ยังเป็นรัฐอิสระ เช่น รัฐตักสิลา รัฐชวา      หรือรัฐโยนก  เป็นต้น  

           การเดินทางไปหาโภคะทรัพย์ คำว่า "โภคะทรัพย์"เป็นทรัพย์สิ่งของที่ใช้บริโภคและอุปโภค  เช่น    รัฐสุวรรณภูมิมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตพริกไทยดำ และเครื่องเทศต่าง ๆ  ที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของพ่อค้าในเส้นทางการค้าโบราณ      พริกไทยดำมีราคาแพงจนถูกเรียกว่า "ทองคำดำ" เป็นต้น          เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงเรื่อง "รัฐสุวรรณภูมิ"  จากหลักฐานเอกสารในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ แล้วผู้เขียนอนุมานความรู้ได้ว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าศากยมุนี  ยังทรงพระชนม์อยู่      และพระสารีบุตรยังไม่นิพพานที่เมืองนาลันทาพระพุทธเจ้าทรงรับรู้ว่านอกจากดินแดนแห่งชมพูทวีปแล้ว ยังมีดินแดนอันห่างไกลและความอุดมสมบูรณ์อีกในโลกมนุษย์      ความปรารถนาของมนุษย์ จึงเกิดขึ้นในจิตใจ    พวกเขาเดินทางแสวงหาความรำรวย จากเครื่องเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะพริกไทยดำ     ซึ่งหายากสำหรับชาวชมพูทวีป ชาวอาหรับ และชาวเอเธนดินแดน  เหล่านั้นได้แก่รัฐชวา รัฐสุวรรณภูมิ  รัฐตักโกล รัฐตามลิง เป็นต้น  
    

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ