
ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : พระเจ้าอโศกมหาราชกับการส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปยังรัฐสุวรรณภูมิ
พระเจ้าอโศกมหาราชกับการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การเขียนบทความเชิงวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อไขคำตอบเกี่ยวกับความจริงของพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศของราชอาณาจักรโมริยะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมิเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๔๐๐ ปีก่อน นั่นยากพอสมควรเพราะหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้กระจัดกระจายอยู่ในแหล่งต่าง ๆ ในการวิเคราะห์มูลจำเป็นกำหนดหัวข้อเรื่องงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ต้องการศึกษาไว้ก่อน เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจนและใช้ทฤษฎีความรู้ในการรับฟังข้อมูลจากพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสารดิจิทัลว่าน่าเชื่อถือรับฟังได้มากน้อยเพียงใด ตามแนวคิดของญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญาสร้างทฤษฎีความรู้ขึ้นมาหลายทฤษฎีด้วยกัน ในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนใช้ทฤษฎีประจักษ์นิยมเป็นกฎเกณฑ์รับฟังหลักฐานพยานเอกสาร พยานบุคคล และพยานวัตถุ และพยายเอกสารดิจิทัล เป็นต้น ทฤษฎีความรู้นี้มีแนวคิดว่า "บุคคลรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะถือว่าเป็นความรู้และความจริง" ผู้เขียนตีความว่า พยานหลักฐานใดจะเป็นหลักฐานยืนยันความจริงได้ต้องผ่านการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เชื่อถือและยืนยันความจริงในเรื่องที่สงสัยได้
การเขียนบทความนั้น ผู้เขียนได้เขียนจากการรับผ่านประสาสัมผัสของผู้เขียนเอง จากการศึกษาจากพยานเอกสารได้แก่พระไตรปิฎก เป็นหลักของแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลจากนั้นก็ศึกษาจากพยานเอกสารแวดล้อมเพื่อเพิ่มน้ำหนักเหตุของความรู้และความจริงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช รับฟังเป็นข้อเท็จจริงได้ดังนี้ กล่าวคือ๒.๑ พระไตรปิฎก เป็นพยานเอกสารที่บันทึกข้อเท็จจริง-ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล แต่กาลเวลาผ่านไป ๒๓๔ ปี มีการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่เมืองปัฏตาลีบุตรแคว้นโมริยะ ผู้เขียนสงสัยมีการบันทึกถึงเหตุการณ์ในพระไตรปิฎกถึงการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น เมื่อผู้เขียนได้ค้นคว้าหาเหตุผลของคำตอบในพระไตรปิฎกออนไลน์หลายฉบับ โดยสืบค้นคำว่าพระเจ้าอโศกมหาราชในพระไตรปิฎกออนไลน์ ค้นพบว่าในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขททกนิกาย อปทาน ๒.พุทธสัญญกเถระ ประวัติในอดีตชาติพระพุทธสัญญกเถระในเชิงอรรถได้ตีความหมายว่า พระพุทธสัญญกเถระหมายถึงพระวีตโสกเถระเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราชภายหลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปี

จากข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าหลังสมัยพุทธกาลนั้น ยังมีศาสนบุคคลในพุทธศาสนานำหลักธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ มาพัฒนาศักยภาพชีวิตจำนวนไม่น้อยบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖ ได้ ในอรรถกถา มหาวิภังค์ ผู้เขียนค้นพบว่า ประวัติศาสตร์ของชีวิตพระเจ้าอโศกมหาราชเห็นว่าทรงทำสงครามเพื่อแย่งอำนาจอธิปไตยจนได้รับชัย ชนะเหนือดินแดนของแคว้นต่างๆพร้อมกันการสูญเสียเลือดเนื้อ และชีวิตของผู้คนที่เข้าร่วมทำสงครามทั้งสองฝ่ายจำนวนหลายล้านคน ทำให้จิตวิญญาณของพระองค์ทรงน้อมรับมโนภาพอันโหดร้ายทารุณต่อข้าศึกในสงครามได้ผ่านอินทรีย์ ๖ จรเข้ามาสู่ชีวิตของพระองค์ทำให้ชีวิตพระองค์เต็มไปด้วยความเคร่งเครียดอย่างหนัก จากการตรากตำทำสงครามต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระดำริที่จะแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยหลักคำสอนในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อทรงทอดพระเนตรจากพระราชวังที่ประทับส่วนพระองค์ทรงเห็นวัตรปฏิบัติของสมณะพราหมณ์ไม่เหมาะสมกับสมณะสารรูป เมื่อทรงพิจารณาเห็นแล้วไม่เกิดพระราชศรัทธา ทรงดำริว่าการสดับรับฟังคำสอนของสมณะพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว คงหาหลักคำสอนเป็นที่พึงอย่างเดียวของชีวิตให้พระองค์ทรงหลุดพ้นจากความทุกข์ในใจได้แต่อย่างใด
ศรัทธาในพระพุทธศาสนาในเช้าวันหนึ่งขณะพระองค์ประทับยืน บนพระตำหนักในพระราชวังปัฏตาลีบุตรทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ กำลังเดินบิณฑบาตรด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงาม ด้วยอาการสำรวมอินทรีย์ ๖ ทรงเกิดพระราชศรัทธาในสามเณรูปนั้น ทรงโปรดนิมนต์ไปรับบิณฑบาตรในพระราชวังปัฏตาลีบุตร และทรงตรัสถามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงรับรู้ถึงหลักคำสอนของความไม่ประมาทในการใช้ชีวิตทรงน้อมนำมาปฏิบัติใช้ทุกวันด้วยการนิมนต์สามเณรนิโครธ พระภิกษุรูปอื่น ๆ มารับบิณฑบาตรเป็นทำการทำบุญถวายทานเพื่อสั่งสมกุศลกรรมไว้ในพระทัยของพระองค์ในพระราชวังปัฏตาลีบุตรเป็นประจำทุกวัน ต่อมาเมื่อสามเณรนิโครธเข้าบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้เป็นผู้นำพระเจ้าอโศกมหาดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรมแล้ว และถืออุโบสถศีลในวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ, วันแรม ๑๔ ค่ำ และ๑๕ ค่ำด้วยแล้ว ทรงถวายมีพระราชศรัทธาถวายภัตตาหารเช้าทุกวันแด่พระภิกษุจำนวนหกแสนรูปทุกวันในพระราชนิเวศน์พระราชวังปัฏตาลีบุตรด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๓๔ ทรงทำการสังคายนาครั้งที่ ๓ มูลเหตุของการสังคายนานั้น เป็นเพราะพระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้การอุปถัมถ์พระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์ได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต สมณะในลัทธิอื่นได้ปลอมตัวบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมากนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาของชาวพระนครปัฏตาลีบุตร หลังจากการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ เป็นเวลา ๙ เดือนเสร็จแล้ว ทรงระลึกได้ว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งเป็็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า ได้ถูกตัดทิ้งทำลายไปโดยพระนางติสยรักษ์พระมเหสีของพระองค์เอง ทรงเห็นว่าการจะรักษาศรัทธาในพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไปอีกได้ ควรให้ประชาชนชาวมคธ เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกนั้นเพื่อให้ประชาชนน้อมนำคำสอนมาปฏิบัติตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ประชาชนจะมีความเข้มแข็งมีจิตเป็นที่พึ่งของตนเองได้ เพื่อรักษาสังเวชนียสถานทั้งไว้ให้ประชาชนชาวมคธเดินไปปฏิบัติบูชา พระองค์เห็นควรถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างวัดในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ สร้างเสาหินไว้เป็นอนุสรณ์สถานในพุทธสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิหาร สถูป จำนวน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูวีป เป็นต้น
ส่วนมูลเหตุการส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ทั้งหมด ๙ สายนั้น เป็นเพราะในสมัยนั้นยังใช้วิธีการมุขปาฐะในการจดจำพระไตรปิฎกเนื้อหาของพระไตรปิฎกอาจสูญหาย ไปพร้อมความตายของผู้จดจำได้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นการรักษาความรู้ในพระพุทธศาสนาไว้ในยามพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลงไปอาจจะสืบค้นหาคำสอนในพระพุทธศาสนาในดินแดนอื่นได้ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในยามที่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกนั้น เกือบจะสูญหายไปจนหมดสิ้นไปจากอินเดียแล้ว พุทธสถานในประเทศอินเดียเกือบถูกทำลายไปหมดสิ้น ถูกยึดเป็นวิหารในศาสนาอื่น ๆ ก็มีการสืบค้นหาโบราณสถานในพระพุทธสถานนั้นโดยอาศัยคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับสิงหล เป็นต้นเป็นแผนที่ลายแทงใช้ค้นหาพุทธสถานเหล่านั้น การสังคายนาพระไตรปิฎกในศรีลังกา และมีการจารึกพระไตรปิฎกไว้ในพยานเอกสารต่าง ๆ ช่วยรักษาพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าไว้เป็นอย่างดี
1. https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น