The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา

Buddhaphumi's philosophy: The reason is the tool of the philosopher.

คำสำคัญ   เหตุผล  เครื่องมือ  นักปรัชญา
สารบาญ  
๑.บทนำ ความเป็นมาของปัญหา
๒. เหตุผลคืออะไร
๓. เหตุผลในฐานะเป็นเครื่องมือ  
๔. เหตุผลกับการตั้งคำถาม    
๕. เหตุผลกับการวิเคราะห์
๖.เหตุผลกับการโต้แย้ง
๗.ข้อจำกัดของเหตุผล
๘.บทสรุป  


๑.บทนำ 

              โดยทั่วไปแล้ว   มนุษย์บางคนในโลกเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา  ธรรมชาติของมนุษย์มีองค์ประกอบชีวิตที่มาจากปัจจัยของร่างกายและจิตใจ  ชีวิตของมนุษย์คนใหม่   เริ่มจากวิญญาณปฏิสนธิ (ถือกำเนิด) ในครรภ์มารดา  เจริญเติบโตในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน และคลอดมามีชีวิตรอด    โดยธรรมชาติร่างกายและจิตใจต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  จิตใจใช้อาตนะภายในร่างกายรับรู้สิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต และรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ  อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์  เมื่อรับรู้สิ่งไหน พวกเขาก็จะคิดจากสิ่งนั้น คือหลักฐานทางอารมณ์เหล่านั้น ที่มีอยู่ในจิตใจของตน   เพื่อแสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามปฏิภาณของตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริงในเรื่องนั้น 

            เมื่อมนุษย์มีธรรมชาติของอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ  และมีอคติต่อผู้อื่นด้วยความไม่รู้ของตนเอง มักมีความเห็นเกี่ยวกับความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว      เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญา มักมีการใช้เหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องใดเรืองหนึ่ง อาจใช้เหตุผลถูกบ้าง  อาจใช้เหตุผลผิดบ้าง อาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง อาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อเหตุผลของคำตอบไม่แม่นอนว่าความจริงคืออะไรแล้ว วิญญูชนจึงไม่ยอมรับได้ว่าเหตุผลของคำตอบของนักตรรกะ นักปรัชญานั้นเป็นความจริงได้ ตัวอย่างเช่น นักตรรกะและนักปรัชญาศึกษาความจริงว่าโลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ?      เมื่อมนุษย์รับรู้ข้อเท็จจริงผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมความรู้เหล่านั้น เป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจว่าในดินแแดนของโลกที่ตนอาศัยอยู่นั้น มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เราคาดคะเนความจริงว่าโลกหมุนรอบตัวเอง   ทุกปีบรรยายกาศของโลกแต่ละพื้นที่มีหลายฤดู เมื่อรับรู้แล้ว  มนุษย์ก็เก็บเรื่องราวของฤดูต่าง ๆ เหล่านี้      เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในใจ พวกเขายังใช้หลักฐานทางอารมณ์ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ด้วยการคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผลอธิบายความจริงว่า โลกและดวงอาทิตย์เป็นสสารที่มีพลังงานในตัวเองคือมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล เมื่อดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก ก็จะมีแรงโน้มถ่วงมากกว่า จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ดวงอาทิตย์ดึงดูดโลกและดวงดาวอื่น ๆ  ให้เป็นบริวาร แรงเหวี่ยงทำให้โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้เกิดความร้อนบนผิวโลกต่างกัน เป็นปัจจัยที่ทำให้ฤดูกาลต่าง  ๆ   บนโลกใน ๑   ปี    เป็นต้น 

              เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงแสวงหาสัจธรรมของชีวิตเมื่อพระองค์ทรงค้นพบมรรคมีองค์ ๘ แนวทางปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น จากการเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏ เมื่อพระองค์ตรัสรู้ความจริงว่า    ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางกายและจิตใจ โดยวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดา ปัจจัยทั้งสองนี้ซึ่งอยู่ซึ่งกันและกัน ชีวิตมนุษย์จะขาดปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ หากชีวิตมนุษย์ขาดปัจจัยร่างกายคือครรภ์มารดาของตนแล้ว วิญญาณก็จะไม่สามารถปฏิสนธิวิญญาณได้     หากไม่มีวิญญาณ ร่างกายก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ส่วนเหตุผลเป็นคำนามธรรม  ที่นักปรัชญาสมมติขึ้นโดยใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาเพื่อใช้อธิบายความเป็นมาของสิ่งต่าง  ๆ "  

๒. เหตุผลคืออะไร?  มีขอบเขตและความหมายอย่างไร ?   

              โดยทั่วไป  มนุษย์มีธรรมชาติการคิด ที่เรียกว่า "จินตนาการ" ไร้ขอบเขตจำกัด   โดยสร้างภาพขึ้นมาในจิตใจจากสิ่งที่เกิดในชีวิต  แต่ในสมัยพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า นักปรัชญา , นักตรรกะ มักแสดงทัศนะหรือความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลหรือคาดคะเนความจริง   เช่น อัตตา, โลกเที่ยง  แต่นักตรรกะ นักปรัชญา มักจะมีการการใช้เหตุผลบางครั้งก็ผิดบ้าง บางครั้งก็ถูกบ้าง  บางครั้งก็เป็นอย่างนั้นบ้าง  บางครั้งก็เป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงของคำตอบนั้นไม่ชัดเจนแน่ว่า ความจริงคืออะไร ? วิญญูชนฟังเหตุผลอธิบายความจริงของแล้ว ไม่อาจยอมรับคำตอบนั้นเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้ 

       ปัญหาว่า "เหตุผล" คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ? ตามพจนานุกรม Oxford Languagesคำว่า "เหตุผล" หมายถึงสาเหตุ คำอธิบายหรือเหตุผลสนับสนุนการกระทำ หรือเหตุการณ์ เป็นต้น  โดยทั่วไปจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น กลางวันกลางคืน  ฤดูร้อน  ฤดูฝน   ฤดูหนาว  การเกิด  การแก่ การเจ็บและความตายของมนุษย์  สิ่งเหล่านี้มีลักษณะของการเกิดขึ้น มีอยู่ชั่วขณะหนึ่งและดับไป    สิ่งเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เมื่อมนุษย์รับรู้และเก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจแล้ว   หลังจากนั้นพวกเขาก็ใช้เรื่องราวเหล่านี้ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น  ๆ  อย่างสมเหตุสมผล  

ตัวอย่างเช่น
 
             สาเหตุของฤดูกาลบนโลกมนุษย์นั้น      โดยมีสาเหตุหรือต้นเหตุมาจากปัจจัยที่โลกและดวงอาทิตย์เป็นสสารที่มีพลังงาน และส่งพลังงานไปดึงดูดซึ่งกันและกัน   เมื่อดวงอาทิตย์มีพลังงานมากกว่า จึงดึงดูดโลก ให้กลายเป็นดาวบริวารของตนเองและเหวียงโลกให้โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีในขณะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์    แต่ระยะห่างดวงอาทิตย์บนทางโคจรใกล้ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดอุณหภูมิความร้อนจากแสงอาทิตย์บนโลกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุหรือที่มาของฤดูกาลบนโลกมนุษย์  นอกจากนี้แรงเหวี่ยงของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อโลกนั้นเป็นสาเหตุให้โลกหมุนรอบตัวเอง แต่โลกเป็นทรงกลมทำให้โลกได้รับแสงอาทิตย์เพียงด้านเดียว เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาจึงทำให้มีกลางวันและกลางคืนเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมงทุกวัน 

          สาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเหตุการณ์เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อน    โดยทั่วไปทุกคนมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเนื่องจากความไม่รู้  ความเกลียดชัง   ความกลัว และความรัก  เป็นต้น  ทำให้ชีวิตพวกเขามืดมน  จึงขาดปัญญาหยั่งรู้สิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้   จึงไม่สามารถคิดในการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักตรรกะและนักปรัชญาในการอธิบายความจริงได้อย่างสมเหตุสมผลได้

            ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้พบเห็นจัณฑาลต้องใช้ชีวิตในวัยชรา เจ็บป่วยและนอนตายอยู่ข้างถนนเพราะถูกพระพรหมลงโทษ แต่พระองค์ทรงไม่เชื่อทันที   แต่พระองค์ทรงสงสัยไว้ก่อน จนกว่าพระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ   สาเหตุมาจากเรื่อง "จัณฑาล" ถูกสังคมลงโทษด้วยการถูกตัดขาดจากสังคมเดิมตลอดชีวิต ต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะและไม่สามารถกลับคืนสู่วรรณะเดิมได้ พวกเขาใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ต้องแก่ เจ็บ และตายอยู่บนท้องถนน เมื่อพระองค์ทรงเห็นปัญหาของจัณฑาลก็เกิดจากปัจจัยในความเชื่อว่า มีเทพเจ้าอยู่  เชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะขึ้นมา  เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา 

            การแบ่งชนชั้นวรรณะกลายเป็นปัญหาสังคม  เมื่อคำสอนของพราหมณ์นั้น ได้ถูกบัญญัติเป็นกฎหมายวรรณะ เมื่อประกาศบังตับใช้แล้ว ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง เมื่อมนุษย์ไม่สามารถมีความรักได้ตามที่ตนพอใจ และไม่มีสิทธิที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามความฝันของตนเอง หากใครมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลวรรณะอื่นหรือปฏิบัติหน้าที่ของคนวรรณะอื่น สังคมจะลงโทษเขาด้วยการลงพรหมทัณฑ์ แต่ความรู้ในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้านั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เคยได้รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส และสั่งสมไว้ในพระทัยของพระองค์    การมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ พราหมณ์อารยันสามารถรับรู้ได้จากพิธีบูชาอันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แม้ว่าการบูชาเทพเจ้า  จะเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะยอมรับและศรัทธาในเทพเจ้าหลายองค์ที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใด และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย 

          ในสมัยอินเดียโบราณ รัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ได้บัญญัติหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาประจำชาติ และได้บัญญัติกฎหมายวรรณะประกาศบังคับให้ชาวสักกะต้องปฏิบัติตาม การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้ชีวิตของชาวอนุทวีปอินเดีย หลุดพ้นจากความมืดมนในชีวิตของพวกเขา  หลังจากที่ชีวิตของพวกเขาถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่ว่า พระพรหมและพระอิศวรทรงสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์ และวรรณะซึ่งผู้คนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เมื่อกฎหมายวรรณะ ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย  เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ จำกัดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการดำเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติ เพราะห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น   เป็นต้น 
          
๓.มนุษย์บางคนเป็นคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา

        ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า   ชีวิตมนุษย์แบ่งได้เป็น   ๕  ส่วน ตามคำสอนเรื่อง "ขันธ์๕"  ได้แก่  
           ๑."รูป"   หมายความว่า ร่างกายเป็นที่อยู่ของจิตใจ   เมื่อชีวิตตายไป     จิตใจจะปล่อยกายกลับสู่ธรรมชาติ ส่วนดวงวิญญาณจะไปเกิดในภพอื่น   
            ๒.เวทนา (feeling) หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง        ถ้าสัมผัสแล้วเกิดความพอใจความสุขก็จะเกิดขึ้น ถ้าสัมผัสแล้วเกิดความไม่พอใจ ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น   เป็นอาการของจิตใจมนุษย์ที่สื่อความปรารถนาให้ผู้อื่นรับรู้  แสดงสิทธิและหน้าที่ต่อกัน เป็นต้น 
            ๓.สัญญา (perception) คือ  ภาวะของจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง     สามารถจดจำข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต       และรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย   เก็บอารมณ์แห่งการกระทำไว้  มนุษย์สามารถเรียกข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มาใช้แก้ไขปัญหาของตนได้  เป็นต้น              
             ๔.สังขาร  คือ การกระทำของจิตใจ (ปรุงแต่ง) ที่เกิดขึ้นเมื่อมีหลักฐานทางอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ     แล้วจิตก็จะวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์นั้นโดยอนุมานความรู้  หรือคาดคะเนความจริง  เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น   โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   ๆ 
             ๕.วิญญาณคือการรับรู้ของจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อตา จมูก ลิ้น หู กายและใจสัมผัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือรับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ   แล้วเก็บหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ    และความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณที่ออกจากร่างที่ตายแล้ว วิญญาณจะไปเกิดในภพชาติอื่น   เป็นต้น  
             
          ตามคำสอนเรื่อง "ขันธ์ห้า" ของพระพุทธเจ้าดังกล่าวข้างต้น เราคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผลได้ว่าชีวิตมนุษย์แล้ว เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ  โดยวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดาแล้ว เจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์มารดา แล้วคลอดออกมาเป็นทารก  ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งตายไป  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการรับรู้ (ผัสสะ) ข้อความและเรื่องราวต่าง ๆ แล้วเก็บหลักฐานทางอารมณ์เหล่านี้ไว้ในจิตใจ  แล้วจิตใจของวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์โดยอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น เช่นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามปุโรหิตที่ปรึกษาของวรรณะกษัตริย์    ในเรื่องกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดสามารถตอบคำถามของเจ้าชายสิทธัตถะได้    

          เมื่อพระพุทธศาสนาปฏิเสขการมีอยู่ของเทพเจ้า เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะตรัสรู้ถึงกฏธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ที่เรียกว่า "กฎแห่งกรรม" เป็นกฎแห่งการกระทำโดยเจตนาของมนุษย์    เมื่อเราทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นจะเป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แม้ว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความสามารถคิดในการใช้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  ๆ     แต่ความคิดของแต่ละคนก็มีเหตุผลที่แตกต่างกัน บางคนคิดมากจนตัดสินใจไม่ได้ว่าอะไรจริงหรือเท็จ เพราะทุกอย่างล้วนมีเหตุผล แต่บางคนยอมรับโดยไม่มีเหตุผล เพราะเชื่อว่าเป็นความจริงโดยไม่สงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเก็บหลักฐานเป็นข้อมูล มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เมื่อเราตัดสินใจยอมรับข้อเท็จจริงของการกระทำนั้น ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องสงสัยอีกต่อไป  

               เมื่อมนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ในหลายสาขาวิชา เช่น    พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของความรู้วิชาพุทธศาสนาโดยสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ทรงได้ให้เหตุผลเพื่ออธิบายกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่าวัฏจักรชีวิตก็อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเช่นกัน    เมื่อพระพุทธองค์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิต จนถึงจุดที่ ทรงมีญาณที่หยั่งรู้ที่เหนือมนุษย์  พระองค์ก็ทรงเห็นวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างไปพร้อมกับ อารมณ์แห่งกรรมที่ติดตามพระองค์ไปถึงสวรรค์หรือขุมนรก เป็นต้น นักปรัชญาเป็นเจ้าของความรู้ในปรัชญา  พวกเขาสนใจศึกษาปัญหาของความจริงของมนุษย์ โลก จักรวาลและเทพเจ้า เช่น เพลโต้ อริสโตเติล  เป็นต้น 

           แหล่งที่มาของความรู้ของมนุษย์ จากประสบการณ์ของชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์" กล่าวอีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์มักเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต    เมื่อนักปรัชญารับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว มักจะรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจของตนเอง เมื่อพวกเขาวิเคราะห์ข้อมูล เรื่องราวของความเป็นมาจะปรากฏขึ้นในจิตใจ ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะหลักฐานไม่เพียง  ย่อมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาความจริงของมนุษย์  โลก จักรวาล และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น หากมีข้อสงสัย พวกเขาก็จะค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล  มาอธิบายความจริงของคำตอบอย่างสมเหตุสมผล 

                  ตามหลักปรัชญาและพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า     เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากใครคนหนึ่งเราไม่ควรเชื่อทันทีว่าคำกล่าวนั้นเป็นความจริง    เราควรตรวจสอบข้อเท็จจริง  และรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในจิตใจของเรา  เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว จิตจะวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล      มาอธิบายความจริงของคำตอบว่าเป็นความจริง   หรือเท็จหากพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ยังไม่เพียงพอ  เนื่องจากองค์ประกอบของความจริงไม่ชัดเจนเพียงพอ  ข้อความเห็นที่เราได้ยินก็ยังคงน่าสงสัย     แต่นักปรัชญาชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้  จำเป็นต้องสืบสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความจริงต่อไป

               ตัวอย่างเช่น    มือปืนยิงผู้โดยสารเสียชีวิต ๕ รายที่สนามบินนานาชาติ  ผู้ก่อเหตุไม่ได้พูดอะไรเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น  เมื่อผู้คนเห็นมือปืนยิงผู้โดยสาร  และเรื่องราวเกิดขึ้นในจิตใจของผู้เห็นเหตุการณ์ ก็ไม่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น      ผู้คนต่างสงสัยว่าแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุคืออะไรที่ยิงผู้โดยสารในครั้งนี้           ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้รวบรวมหลักฐาน ณ  ที่เกิดเหตุและผู้เห็นเหตุการณ์โดยรอบมาวิเคราะห์    เพื่อ อธิบายความจริงว่า    เหตุจูงใจของมือปืนถึงยิงผู้โดยสารที่สนามบินในครั้งนี้  

                ในการเขียนบทความเรื่อง "ปรัชญาแดนพุทธภูมิ" นั้น  เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว       ก็ยังไม่เชื่อว่าเป็นความจริงทันที  ผู้เขียนจะสงสัยเสียก่อนจนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง     และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ     เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว  ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้   จากหลักฐานเอกสาร  พยานบุคคลและพยานวัตถุ    เพื่อหาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริง  หรืออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น อย่างสมเหตุสมผล  เป็นต้น

         ปัญหาว่า "เหตุผลคืออะไร? "ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔     "เหตุผล"      มีความหมายว่า เหตุ, เหตุปัจจัย และ ผล เป็นต้น เมื่อศึกษาคำหมายเพิ่มเติม จะพบคำว่า  เหตุ  คือสิ่งหรือเรื่องที่ก่อให้เกิดผล,   เค้ามูล,  เรื่อง   เป็นต้น ส่วนคำว่า "ผล"ตามพจนานุกรมของอ.เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายว่า "สิ่งที่เกิดจากเหตุ"  เป็นต้นจากคำจำกัดความข้างต้นนั้น    ผู้เขียนตีความหมายได้ว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์      เมื่อมนุษย์ได้รับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วและเก็บหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจแล้ว     พวกเขาก็จะใช้หลักฐานนั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้      หรือการคาดคะเนความจริงจากอารมณ์เหล่านั้นเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น        โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นอย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต           จึงการเกิดการรับรู้ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่เมื่อมีหลักฐานไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล           ย่อมมีความสงสัยในสิ่งนั้นอย่างไรก็ตาม มนุษย์มีความเพียรในการแสวงหาความรู้          ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์อีกต่อไป           เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้ต่อไปอย่างสมเหตุสมผล
  
                  แต่ธรรมชาติของทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิตมนุษย์ มักจะเป็นมายาคติ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น    คงอยู่ชั่วเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ  แล้วค่อย ๆ หายไปจากขอบเขตการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์  ดังนั้นเมื่อมายาคติหายไปเพราะมันอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์    ตัวอย่างเช่น  คำดูหมิ่นผู้อื่น       เมื่อคนนั้นส่งเสียงออกมา และหายไปในอากาศและอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์     เราจะบอกคนอื่นได้อย่างไรว่าผู้พูดมีอยู่จริง    แต่มนุษย์รู้ได้ด้วยการผัสสะของจิตมนุษย์ ผ่านทางหู ตา จมูก และลิ้นของมนุษย์ โดยธรรมชาติของจิตมนุษย์ชอบเก็บอารมณ์ทั้งหมดไว้กับตัวเองการยืนยันการมีอยู่ของการเหยียดหยามผู้อื่น     จำเป็นต้องพิสูจน์ความมีอยู่จริงตามข้อมูลของพยานเอกสาร    และพยานแวดล้อมมาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลของคำตอบ      

               ปัญหากับความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์  เดิมที่ลัทธิพราหมณ์สอนให้ผู้คนเชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะ เพื่อให้ผู้คนทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด     นอกจากนี้ปุโรหิตให้เหตุผลว่าปุโรหิตในรุ่นก่อน ๆ ก็เคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน     แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยว่าหากพระพรหมสร้างมนุษย์จริง      ทำไมไม่สร้างมนุษย์ทุกคนมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ต้องแก่ชรา เจ็บป่วย และต้องตาย เช่นกัน      ทุกคน  ทำให้พระองค์ทรงสงสัยในความมีอยู่จริงของพระพรหม    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในรัฐสักกะ แต่รัฐสภาศากยวงศ์ไม่เห็นชอบด้วย เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดใช้ในการบริหารปกครองประเทศ เมื่อพระองค์ทรงสงสัยในเหตุผลของคำตอบออกบวช          เพื่อแสวงหาความรู้เพื่อสูจน์ความมีอยู่จริงของพระพรหมและพระอิศวร  

  การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าศากยมุนี ทรงค้นพบกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่า นอกจากร่างกายแล้ว    ชีวิตมนุษย์ยังมีวิญญาณเป็นส่วนประกอบของชีวิตด้วยธรรมชาติจิตอยู่ในร่างกายและใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้เรื่องราวของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์เมื่อชีวิตรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็จะเก็บหลักฐานเป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจ จากนั้น วิญญาณก็จะสงสัยว่าสิ่งที่ผ่านเข้ามาคืออะไร ?  มีลักษณะเป็นอย่างไร ?     แล้วจิตจะใช้หลักฐานทางอารมณ์เหล่านั้น เป็นข้อมูลในวิเคราะห์ในการอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล  แล้วคำตอบนั้น ก็กลายเป็นความรู้ที่เป็นความจริงสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณผู้นั้น กลายเป็นสัญญาของผู้นั้นระลึกถึงความรู้นั้นได้ตลอดเวลา     และสามารถนำความรู้ไปนึกคิดใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ เพื่อสร้างงานเป็นสินค้าของบริการได้    

            โดยธรรมชาติของมนุษย์ชอบมีอคติ จึงคาดคะเนความคิดของผู้นั้นไม่ได้  เพราะจิตใจไม่มั่นคง  และหวั่นไหวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ทั้งนี้เพราะจิตใจของพวกเขามักมีความกลัว  ความรัก  ความโกรธ  และความเกลียดชัง ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ เมื่อเกิดความคิดลำเอียงเกิดขึ้นมักจะทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ เป็นความรู้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสมเหตุสมผลยังมีเหตุผลของคำตอบมีข้อพิรุธน่าสงสัยรับฟังได้น้อย ตัวอย่างเช่น  ก่อนพุทธกาลนั้น มนุษย์ยังไม่ก้าวหน้าในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จึงไม่รู้จักวิธีสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้มนุษย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานวัตถุ (physical evidence)พยานเอกสาร  พยานบุคคล  และพยานเพิ่มเติมเรียกว่า "นิติวิทยาศาสตร์" (forensic science) ที่ใช้ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น   

      ส่วนในพระพุทธศาสนาก็มีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าขึ้นมา เมื่อมีการนำความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ไปบัญญัติกฎหมายวรรณะ ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เพราะไม่ว่าวิชาการพระพุทธศาสนา หรือวิทยาศาสตร์ต่างก็มีที่มาของความรู้จากมนุษย์ทั้งสิ้น ตามกฎธรรมชาติของมนุษย์นอกจากมีร่างกายแล้ว ยังมีจิตเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดชีวิตมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ถูกมนุษย์ด้วยกันสมมติชื่อนั่นนามสกุลนั้น เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ตามกฎธรรมชาติจิตวิญญาณของมนุษย์ เป็นผู้ใช้ร่างกายตนเองน้อมรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่จรเข้ามาสู่ชีวิตตนผ่านส่วนประกอบร่างกายเรียกว่า "อินทรีย์ ๖"  แล้ว เมื่อรับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วจิตมนุษย์ชอบปรุงแต่ง คิดสงสัยในสิ่งนั้น   ก็วิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบจากสิ่งที่รับรู้นั้น เมื่อวิเคราะห์หาข้อมูลหลายครั้งจนเกิดความมั่นใจเพราะวิเคราะห์ข้อมูลติดต่อกันหลายครั้งแล้ว     ได้เหตุผลของคำตอบอย่างเดียวกัน ก็กลายเป็นความรู้ที่เป็นความจริงปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป 
 
              ดังนั้นเหตุผลของการวิเคราะห์ของมนุษย์ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางปรัชญา  ทำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงของชีวิต ที่มนุษย์สงสัยได้การคิดหาเหตุผลของคำตอบนั้น จิตจะวิเคราะห์ข้อมูลต่าง  ๆ หาเหตุผลของคำตอบจากพยานบุคคล  พยานเอกสาร พยานวัตถุ สิ่งที่ตนรับรู้ในระดับปฐมภูมิแล้ว    แต่ยังมีเหตุผลน่าสงสัยอยู่และหาเหตุผลของคำตอบยังมิได้ และจากนั้นก็พิจารณาแล้วก็คิดหาเหตุผลจากสิ่งแวดล้อมเรียกว่า "พยานทุติยภูมิ" เพื่อได้ความรู้และความจริงของคำตอบปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของสิ่งนั้นอีกต่อไป 

            แม้จิตมนุษย์นอกจากรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ แล้ว ชอบคิดหาเหตุผลของคำตอบจนมั่นใจในเหตุผลของคำตอบนั้นว่า เป็นความรู้และความจริงที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินสมเหตุสมผลแล้วปราศจากข้อสงสัยแล้วถือว่าเป็นความรู้ในเรื่องนั้น   นอกจากนี้ธรรมชาติของจิตของมนุษย์นอกจากคิดหาเหตุผลของคำตอบในสิ่งที่มาผัสสะว่าคืออะไร ? และมีลักษณะอย่างไรแล้ว  จิตมนุษย์ยังมีลักษณะตามธรรมชาติ กล่าวคือชอบน้อมรับทุกสิ่งทุกอย่างมาเก็บ (จดจำ) ไว้ในจิตวิญญาณของตนเอง  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ตนรับรู้ เป็นสิ่งที่ตนสงสัยก็ดี   ทุกสิ่งที่ตนคิดและสิ่งที่ตนแสดงเจตนาทำลงไปก็ดี  จดจำทุกสิ่งที่ผัสสะเข้ามาไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นกรรมดีก็ดี สิ่งนั้นเป็นกรรมชั่วก็ดี เก็บไว้ให้ตนมีชีวิตที่สุขและที่ทุกข์ก็ตาม  แต่สิ่งที่ตนคิดจากสิ่งที่ผัสสะอาจคิดผิดและคิดถูกก็ได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ ไม่ว่ามนุษย์จะคิดหาเหตุผลของคำตอบเป็นอย่างไรก็ตาม มนุษย์ทุกคนต้องการความจริงของคำตอบเท่านั้น แม้จะมิใช่คำตอบที่ตนต้องการ ก็ตามคงรู้สึกเบื่อหน่ายจะยื้อสิ่งต่างไว้เพราะมองไม่เป็นประโยชน์ที่จะได้จากสิ่งนั้น 

         คำว่า "ปรัชญา" ตามนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิชาที่เกี่ยวกับหลักของความรู้และความจริง คำว่า "วิชา"  แปลว่า ความรู้ คือ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝน เป็นต้น  ส่วนคำว่า "หลัก" ได้นิยามว่า "สาระสำคัญที่มั่นคง"  คำว่า "ความรู้ " นิยามว่า สิ่งที่ได้จากการสั่งสมจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า และประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะเช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ , สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติเป็นต้น ส่วนคำว่า "ความจริง" นั้นคือ "เรื่องจริง 

             จากคำจำกัดความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น      เราตีความหมายของปรัชญาว่าคือความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ       ที่มนุษย์สั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง จากการศึกษา  ค้นคว้า  และประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถทางปฏิบัติและทักษะทางปฏิบัติ กิจกรรมต่าง   ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และเป็นความจริงซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งอื่นได้

           อย่างไรก็ตาม ความรู้ของปรัชญานั้น เกิดขึ้นเมื่อนักปรัชญารับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิตของเขาจะสงสัย (คิด) เกี่ยวกับสิ่งนั้น  คำว่า "สงสัย" ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ นั้น  ให้คำจำกัดความว่า คือไม่แน่ในข้อเท็จจริง ทราบไม่ได้แน่ชัดและเอาแน่ไม่ได้ เป็นต้น  กล่าวคือ เมื่อจิตมนุษย์รับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในจิตใจของตน ก็จะคิดโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริง ของสิ่งนั้น แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนเพราะไม่แน่ใจในข้อเท็จจริงนั้น โดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีแก่นสารอะไร นักปรัชญาก็รักจะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นก็จศึกษาค้นคว้ากันต่อไป ตัวอย่างเช่น  เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงนึกถึงความตายของมนุษย์ พระองค์ทรงสงสัยว่ามนุษย์ได้ตายแล้วสูญไปหรือมนุษย์ตายแล้วไม่สูญไป ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์  

             ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์  ความรู้จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น        เมื่อจิตของมนุษย์รับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะเก็บอารมณ์จากเรื่องราวต่าง ๆ  ไว้ในจิตใจเท่านั้น       แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้น ไม่เพียงแต่รับรู้และเก็บหลักฐานทางอารมณ์เท่านั้น     จิตใจของมนุษย์ยังต้องวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์โดยการอนุมานความรู้  หาเหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  ๆ อย่างไรก็ตาม ความจริงของคำตอบนั้นยังไม่ชัดเจนเพียงพอ       เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ เพราะมนุษย์มีการรับรู้ที่จำกัดและมีอคติต่อผู้อื่น     ไม่สามารถรับฟังได้อย่างมั่นใจ และยังสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป  

             ส่วนสาขาอื่น ๆ  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   นักวิชาการในสาขานั้นไม่ควรเชื่อทันที่และควรสงสัยไว้ก่อน   จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ    และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้    เพื่อหาเหตุผลในการพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  แต่แนวคิดทางปรัชญาไม่ใช่การคิดตามอารมณ์โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่ออยากรู้เท่านั้น      นักปรัชญายังต้องการความรู้ที่ได้จากการคิดอย่างมีเหตุผลโดยไม่สงสัยความจริงนั้น     การกำหนดจุดยืนทางปรัชญาเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่สุดในการแสวงหาความจริงทางปรัชญา  

            กล่าวคือเมื่อมนุษย์รับรู้เรื่องใดเรื่่องหนึ่งแล้ว อย่าเพิ่งเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง     ควรสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเสียก่่อน  จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน    เมื่อหลักฐานเพียงพอแล้วก็จะทำการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน       เพื่อหาเหตุผลอธิบายและพิสูจน์ความจริงของคำตอบเรื่องนั้น   และคำตอบนั้นจะต้องมีความสมเหตุสมผล     แม้จะมีเหตุผลอื่น  ๆ     ที่สามารถยกมาโต้แย้งกับหลักฐานความจริงของชีวิตได้ แต่ไม่มีน้ำหนักของเหตุผลเพียงพอที่จะหักล้างคำตอบที่มีอยู่ 

              ตัวอย่างเช่น       แนวคิดเกี่ยวกับความจริงของชีวิตว่าชีวิตสิ้นสุดลงเมื่อตายไปหรือไม่  นักปรัชญาแต่ละคนก็ให้เหตุผลที่แตกต่างกันไปสำหรับคำตอบตามภูมิปัญญาของแต่ละคน เช่น  สำนักปูรณะกัสสปะที่ให้เหตุผลในการตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ว่า          ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ       ธรรมชาติของวิญญาณมนุษย์นิ่งและไม่ทำอะไรเลย       ในขณะร่างกายมนุษย์ทำงานเพราะฉะนั้นจิตจึงไม่รับผิดชอบต่อความดีความชั่วที่ร่างกายทำไว้ จึงว่าไม่มีบุญไม่มีบาป  ทำดีจะไม่เกิดผลดี   การทำชั่วจะไม่เกิดผลชั่วการทำด้วยตนเองก็ หรือให้ผู้อื่นทำจะไม่เกิดผลใด  ๆ  การกระทำใด ๆ ที่ทำดีหรือไม่ดีก็เท่ากับไม่ทำ บุญหรือบาปจะไม่เกิดขึ้นตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  

              ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า กระบวนการพิจารณาความจริงเพื่อหาเหตุผล   มาอธิบายความจริงแห่งคำตอบเรื่องชีวิตของนิกายนี้   เป็นความรู้ปราศจากตรรกะ  ยังคงสงสัยความจริงของกรรมที่ได้ทำไว้ เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสเท่านั้น  และใช้คิดหาเหตุผลว่ากรรมที่ได้ทำไปแล้ว    ไม่มีผลของการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาป  ทำดีอย่างไรก็ไม่ดี    ทำชั่วก็ไม่ชั่ว  กรรมที่ทำไว้เองหรือให้ผู้อื่นทำก็ไม่เกิดผลของกรรมใด  ๆ เลย     จึงมิใช่ความรู้ที่ได้มาจากผลของการพัฒนาศักยภาพของชีวิตหรือนำมาปฏิบัติใช้      

               ดังนั้นคำตอบของความจริงเรื่อง "ชีวิต" ของสำนักนี้ก็คือ  เชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วย่อมดับไป  เพราะกรรมไม่มีผลนั้น      เนื่องจากศาสดาของสำนักนี้ยังไม่รู้จักวิธีพัฒนาศักยภาพของชีวิต       ด้วยหลักปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘      จึงไม่มีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั้งปวง  จะมองเห็นด้วยตาทิพย์ว่า     เมื่อมนุษย์ทุกคนตายต้องรับผลของกรรมของตนเองในภพอื่นเมื่อใครกระทำกรรมที่เป็นกายทุจริต   วจีทุจริตและมโนทุจริตแล้ว     ก็ต้องไปชดใช้กรรมในทุคติภูมิ  ส่วนใครกระทำกรรมที่เป็นกายสุจริต  วจีสุจริต และมโนสุจริตแล้ว        ก็ต้องไปเสวยสุขในสุคติภูมิ เป็นต้น 

                 ส่วนพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติโดยใช้ความรู้  ตามแนวทางอริยมรรคมีองค์ ๘   มาพัฒนาศักยภาพชีวิตให้บรรลุถึงระดับความรู้คือ อภิญญา ๖       มีตาทิพย์มองเห็นวิญญาณของสัตว์น้อยใหญ่ออกจากร่างไปเเกิดในภพภูมิอื่น       ตามการกระทำของตนเอง    ใครทำกรรมชั่วเป็นอารมณ์ไว้ในจิตของตน ย่อมไปเกิดในนรก เป็นต้น   ผู้ใดทำกรรมดีเป็นอารมณ์ไว้ในจิตย่อมไปเกิดที่ดี   เป็นต้น 

               ด้วยเหตุผลนี้ ปัญหาความจริงของเหตุผลจึงเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา        เพราะนักปรัชญาใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์  เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ   ก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้    เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    เป็นต้น     ส่วนความรู้อีกประเภทหนึ่งคือความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์  แม้ว่ามนุษย์จะไม่สามารถรับรู้โดยตรงผ่านประสาทสัมผัสได้       ยกเว้นมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าถึงความจริงในเรื่องนี้ได้และสามารถใช้เหตุผลอธิบาย   ถึงความมีอยู่ของความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้     

              อย่างไรก็ตาม มนุษย์สามารถตัดสินว่าความรู้นั้นจริงหรือเท็จ  ได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานในพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคลได้      หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  ๆ       โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการยืนยันความจริงของคำตอบและไม่มีข้อสงสัยในเหตุผลของคำตอบอีกต่อไป       ถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้       ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ด้วยการนำข้อมูลจากพยานหลักฐานหลายชิ้นมา เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานเพื่อหาเหตุผลของคำตอบโดยนักคิดนักวิจัย นักทดลองหลายคน    จนเกิดความรู้และความจริงของคำตอบในสิ่งที่ตนสงสัยนั้นได้การคิดวิเคราะห์ต้องมีกระบวนการ     และผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล   แต่เมื่อใดก็ตามมนุษย์สร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลนั้น  เพื่อหาเหตุผลของคำตอบนั้นวิชาการในเรื่องนั้น จำเป็นต้องแยกตัวออกไปสร้างสาขาวิชาสมัยใหม่ขึ้น     ทำให้โลกเกิดวิทยาการต่างๆ มากมายหลายวิชาด้วยกัน แม้จะแยกตัวออกไปอย่างไรก็ตามวิชาการสมัยใหม่เหล่านั้น  การคิดหาเหตุผลของคำตอบนั้นยังคงใช้มนุษย์คงใช้จิตตนเป็นผู้อ่านข้อมูลเสมอ           แม้จะเป็นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ก็ตาม       เพราะผลของการวิเคราะห์ได้ค่าที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง เป็นเรื่องของมนุษย์จะนำผลการวิเคราะห์นั้น ไปนึกคิดไปใช้ประโยชน์ในทางใดต่อไป สุดแล้วกำลังสติปัญญาของมนุษย์แต่ละคน    

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ