Buddhaphumi's Philosophy: Siddhartha's Happiness

๑. ความสุขในพระไตรปิฎก
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความปรารถนาที่จะมีความสุข เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหจุฬาลงกรณ เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก (ฉบับมหาจุฬา ฯ) อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้า ๑๐๕ ข้อ ๖๒ ได้กล่าวไว้ในอานัณยสูตรว่าด้วยความสุขจากการไม่เป็นหนี้ ครั้งนั้นแลอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า คหบดี สุข ๔ ประการนี้คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ๒ พึงได้รับตามกาลตามสมัย สุข ๔ ประการคือ
๑.๑.อัตถิสุข (สุขเกิดจากการมีทรัพย์)
๑.๒.โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
๑.๓.อาณัยสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
๑.๔.อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ)
๑.๑ อัตถิสุข ความสุขจากการมีทรัพย์สมบัติของเจ้าชายสิทธัตถะ กล่าวคือ มนุษย์มีจิตเป็นตัวตนที่แท้จริง ธรรมชาติของจิตมนุษย์คือ มีตัณหาแฝงอยู่ในจิตของทุกคน เมื่อจิตไปสัมผัสกับสิ่งใด ก็ต้องการสิ่งนั้น มาสนองความต้องการของตน เมื่อเราศึกษาวิถีชีวิตของเจ้าสิทธัตถะก่อนผนวช พบว่าพระองค์ทรงมีทรัพย์สมบัติคือปราสาท ๓ องค์ พระเจ้าสุทโธทนะสร้างสระบัว ๓ สระให้เป็นที่พักผ่อนหย่อน ให้พระองค์ทรงเกษมสำราญในพระทัยของพระองค์ ทรงสวมใส่เสื้อผ้าที่มีราคาแพงหลายสุดที่ตัดเย็บอย่างดีจากแคว้นกาสีเพื่อเป็นฉลองพระองค์ มีหลักฐานในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตันตปิฏกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต ๙.สุขุมาลสูตรว่าด้วยสุขุมาลชาติทรงตรัสไว้ว่า ข้อ ๓๙.ภิกษุทั้งหลายเราเป็นผู้สุขุมาลชาติ ....ได้ทราบว่าพระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว) ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่. ได้ทราบว่าพระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก (บัวขาว) ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา.
เราไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์เมืองกาสี (พาราณสี) เท่านั้น ผ้าโผกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสีผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดทั้งวันและคืน ด้วยความหวัง หนาว ร้อน ธุลี (ดิน) หญ้าหรือน้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน เรานั้นมีปราสาท ๓ หลังคือปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับบำเรอด้วยดนตรี ที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลงตลอด ๔ เดือน ฤดูฝนในปราสาทฤดูฝนไม่ลงข้างล่างปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่นเขาให้ข้าวป่น (ข้าวหัก) มีน้ำผักดองเป็นกับแก่ทาส คนงานและคนรับใช้ฉันใดในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงานและคนรับใช้ และ อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สุขุมาลสูตร

จากข้อความพระพุทธดำรัสในพระไตรปิฎกข้างต้น เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเมื่อพระองค์ยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและเป็นฆราวาสอยู่นั้น พระองค์ทรงมีความสุขในทรัพย์สมบัติของพระองค์ กล่าวคือ
๑. สระบัว ๓ สระ. เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๖-๘ พรรษา. ทรงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เด็กชอบเล่นอะไร อำมาตย์บอกว่าชอบเล่นน้ำ จึงโปรดให้ขุดสระบัวไว้ ๓ สระด้วยกันและสร้างปราสาท ๓ องค์ ถวายเจ้าชายสิทธัตถะ . กล่าวคือ สระที่ ๑ ปลูกดอกบัวอุบล, สระที่ ๒ ปลูกดอกบัวปทุม, สระที่ ๓ ปลูก ดอกบัวปุณฑริก
๒. ปราสาท ๓ หลังคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริว่าจะสร้างปราสาทไม้ให้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์แก่พระโพธิสัตว์กล่าวคือเหมันติกปราสาท เป็นปราสาทฤดูหนาวมี ๙ ชั้น ที่พระโพธิสัตว์ทรงประทับแล้วจิตทรงเกษมสำราญในฤดูหนาว, คิมหันติกปราสาทหมายถึงปราสาทฤดูร้อนมี ๕ ชั้น, วสันติกปราสาทหมายถึงปราสาทฤดูฝนมี ๗ ชั้น
๓. เครื่องทรง เจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์เมืองกาสี (พาราณสี) เท่านั้น. ผ้าโผกของเราก็ทำในแคว้นกาสี. เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี. ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี. ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี เป็นต้น.
๔. บริวารสมบัติ. เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีข้าราชบริพารดูแลพระองค์ตลอดทั้งวันและคืนไม่มีใครหรือสิ่งใดแม้กระทั้งความหนาว ความร้อนหรือแม้กระทั้งน้ำค้างบนยอดหญ้า มารบกวนพระราชหทัยของเจ้าชายสิทธัตถะมิให้ทรงไม่พอพระทัยได้เจ้าชายสิทธัตถะนั้นถูกบำเรอด้วยเสียงดนตรีขับกล่อม นักดนตรีผู้บันเลงเพลง ผู้ขับร้องเพลง นางผู้ร่ายรำ ไม่มีบุรุษปนตลอดเวลา ๔ เดือนในฤดูฝน. ทรงประทับบนปราสาทในฤดูฝนมิได้เสด็จลงมาข้างล่างของปราสาทฤดูฝนเลย พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาของพระองค์ทรงเลี้ยงข้าทาสราชบริพาร กรรมกรชายด้วยด้วยข้าวสาลีและเนื้อสัตว์อย่างดีเป็นต้น จากข้อความพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก ข้างต้นได้เราวิเคราะห์ว่า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเป็นฆราวาสวิสัยอยู่นั้น พระองค์ทรงมีความสุขจาการมีทรัพย์ กล่าวคือ

๑). สระบัว ๓ สระ. เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๖-๘ พรรษา ทรงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เด็กชอบเล่นอะไร อำมาตย์บอกว่าชอบเล่นน้ำ จึงโปรดให้ขุดสระบัวไว้ ๓ สระด้วยกันและสร้างปราสาท ๓ องค์ ถวายเจ้าชายสิทธัตถะ กล่าวคือ สระที่ ๑ ปลูกดอกบัวอุบล สระที่ ๒ ปลูกดอกบัวปทุม สระที่ ๓ ปลูก ดอกบัวปุณฑริก
๒). ปราสาท ๓ หลังคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริว่าจะสร้างปราสาท ไม้ให้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์กล่าวคือ เหมันติกปราสาท เป็นปราสาทฤดูหนาวมี ๙ ชั้น ที่พระโพธิสัตว์ทรงประทับแล้ว จิตทรงเกษมสำราญในฤดูหนาวคิมหันติกปราสาทหมายถึงปราสาทฤดูร้อนมี ๕ ชั้น, วสันติกปราสาทหมายถึงปราสาทฤดูฝนมี ๗ ชั้น
๓). เครื่องทรงพระวรกาย เจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์เมืองกาสี (พาราณสี) เท่านั้น ผ้าโผกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี เป็นต้น.
๔). บริวารสมบัติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีข้าราชบริพารดูแลพระองค์ตลอดทั้งวันและคืน ไม่มีใครหรือสิ่งใดแม้กระทั้งความหนาว ความร้อนหรือแม้กระทั้งน้ำค้างบนยอดหญ้า มารบกวนพระราชหทัยของเจ้าชายสิทธัตถะมิให้ทรงไม่พอพระทัยได้ เจ้าชายสิทธัตถะนั้นถูกบำเรอด้วยเสียงดนตรีขับกล่อม นักดนตรีผู้บันเลงเพลง ผู้ขับร้องเพลง นางผู้ร่ายรำ ไม่มีบุรุษปนตลอดเวลา ๔ เดือนในฤดูฝน ทรงประทับบนปราสาทในฤดูฝนมิได้เสด็จลงมาข้างล่างของปราสาทฤดูฝนเลย พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาของพระองค์ทรงเลี้ยงข้าทาสราชบริพาร กรรมกรชายด้วยด้วยข้าวสาลีและเนื้อสัตว์อย่างดีเป็นต้น.
๑.๒.โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์) ความสุขของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ การมีเงินหรือเบี้ย เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนวัตถุเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อใช้จ่ายทรัพย์ซื้อสิ่งของต่าง ๆ และบริการที่ตนพึงพอใจและปรารถนาสิ่งของต่าง ๆ อยากมีไว้ในความครอบครองของตัวเองเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้สินค้าต่างประเทศจากแคว้นกาสีดังปรากฎหลักฐานข้อความในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตันตปิฏกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต ๙.สุขุมาลสูตรว่าด้วยสุขุมาลชาติทรงตรัสไว้ว่า......เราไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์ เมืองกาสี (พาราณสี) เท่านั้น ผ้าโผกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสีผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดทั้งวันและคืน ด้วยความหวัง หนาว ร้อน ธุลี (ดิน) หญ้าหรือน้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน
จากข้อความในพระไตรปิฎกเราวิเคราะห์ได้ความว่า ในทรงพระเยาว์และดำรงฆราวาสวิสัยนั้น วิถีชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความสุขจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อซื้อสินค้าเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ นำเข้ามาจากต่างประเทศ ในที่นี้หมายแคว้นกาสี เช่น พระองค์ทรงไม่ได้ใช้เพียงไม้จันทร์นำเข้าจากเมืองกาสีเท่านั้น(เมืองกาสีหมายถึง แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อเมืองพาราณสี ในคำอธิบายนี้ขอใช้คำว่า เมืองพาราณสีเท่านั้น ) ทรงสั่งผ้าโพกศีรษะ เสื้อผ้า นุ่งห่มชั้นเลิศ มาใช้เป็นเครื่องห่มให้พระวรกายสวยงาม ล้วนแต่มีแหล่งผลิตในเมืองพาราณสี เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นกาสีทั้งสิ้น จากพระสูตรในพระไตรปิฎกดังกล่าวว่า

แสดงให้เราเห็นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความสุขในซื้อไม้จันทร์และเครื่องนุ่งห่มของพระองค์ ก็ทรงสั่งซื้อมาจากเมืองพาราณสี แห่งแคว้นกาสี แม่เครื่องนุ่งห่มเหล่านั้นจะมีราคาแพงที่สุดในยุคนั้นก็ตามก็ทรงนำใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของพระองค์เพราะการสวมเสื้อผ้าราคาแพงเหล่านั้นเป็นความสุขที่พระองค์พอใจในการใช้จ่ายทรัพย์ ในสมัยก่อนพุทธกาลเมืองพาราณสีมีชื่อเสียงในด้านการผลิตผ้าไหมกาสีส่งออกไปขายยังแคว้นต่าง ๆ โดยส่งผ่านแคว้นมัลละของพวกมัลละกษัตริย์มีเมืองหลวงชื่อกุสินารา เมืองพาราณสีมีระยะทางห่างจากรุง กบิลพัสด์ุประมาณ ๓๒๗ กิโลเมตร พระเจ้าสุทโธทนะทรงโปรดนำเข้าเครื่องนุ่งห่มอันวิจิตรภูษาพัสตราภรณ์ชั้นเลิศแห่งยุคจาก พาราณสีเมืองหลวง แห่งแคว้นกาสี เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ในวิถีชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงใช้เพียงไม้จันทร์แห่งเมืองกาสีเท่านั้น (คำว่า" เมืองกาสี") ในพระไตรปิฎก หมายถึง แคว้นกาสี มีเมืองพาราณสี เป็นเมืองหลวง ผ้าโพกศีรษะ เสื้อผ้านุ่งห่มชั้นเลิศของพระองค์ ล้วนแต่มีแหล่งผลิตในเมืองพาราณสีทั้งสิ้นและเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องว่า มีชื่อเสียงในด้านการผลิตผ้าไหมกาสีตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีการผลิตให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันเมืองพาราณีมีระยะทางห่างจากรุงกบิลพัศด์ุประมาณ ๓๒๗ กิโลเมตร พระเจ้าสุทโธทนะทรงปรารถนาให้พระราชโอรสดำรงตนอยู่ในฆราวาสวิสัยดังนั้นโปรดนำเข้าเครื่องนุ่งห่มอันวิจิตรภูษาพัสตราภรณ์ชั้นเลิศแห่งยุคจากพาราณสีเมืองหลวง แห่งแคว้นกาสีเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะให้ทรงใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ทรงโปรดมีข้าราชบริพารดูแลพระองค์ตลอดทั้งวันและคืน ไม่มีใครหรือสิ่งใด แม้กระทั้งความหนาว ความร้อนหรือแม้กระทั้งน้ำค้างบนยอดหญ้า มากระทบรบกวนพระราชหทัยเจ้าชายสิทธัตถะทรงมิพอพระทัยได้ปราสาทของเจ้าชายสิทธัตถะ อยู่ทั้งหมด ๓ องค์ องค์ที่ ๑ เป็นที่ประทับในฤดูหนาว องค์ที่ ๒ เป็นที่ประทับในฤดูฝน องค์ที่ ๓ เป็นที่ประทับในฤดูร้อน ทรงโปรดให้เจ้าชายสิทธัตถะนั้นถูกบำเรอด้วยเสียงดนตรีขับกล่อมจากสตรีผู้เป็นนักดนตรี ผู้บันเลงเพลง ผู้ขับร้องเพลง นางผู้ร่ายรำ ไม่มีบุรุษปนตลอดเวลา ๔ เดือนในฤดูฝน ทรงประทับอยู่บนปราสาทในฤดูฝนมิได้เสด็จลงมาข้างล่างของปราสาทฤดูฝนเลยพระราชบิดาพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงเลี้ยงข้าทาสราชบริพาร กรรมกรชายด้วยด้วยข้าวสาลีและเนื้อสัตว์อย่างดีเป็นต้นข้อความในพระไตรปิฎกได้บรรยายภาพไว้ในพระไตรปิฎกนี้ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของพระองค์ที่สมบูรณ์พูนสุข เต็มไปด้วยความสุขสำราญ, เบิกบานพระหฤทัย, มีการปรุงแต่งชีวิตเต็มไปด้วยด้วยอามิสสุขตลอดเวลายากที่ผู้ใด จะทรงเสมอเหมือนเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงปรารถนาสิ่งใดก็ทรงได้ดั่งมโนรส ที่พระองค์ทรงปรารถนาทุกประการด้วยพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาทรงมีความปรารถนาให้พระราชโอรสติดอามิสุขในโลกเพื่อจะได้ทรงทำหน้าที่ เป็นกษัตริย์ผู้ปกครองราชย์สมบัติของแคว้นสักชนบท ดูแลความทุกข์ยากของประชาชนต่อจากพระองค์

๑.๓. อาณัยสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) จากการศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎก ผู้เขียนพบว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาถึง ๑๘ สาขาวิชา ในวัยพระชนม์มายุเพียง ๑๖ พรรษาและพระองค์ทรงประทับในพระราชวังกบิลพัสดุ์ปราสาท ๓ ฤดูเพียงเพื่อแสวงหาความสุขของชีวิตเท่านั้น ไม่มีหลักฐานว่าพระองค์ทรงชีวิตใช้เป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด การใช้ชีวิตของพระองค์เป็นชีวิตมีความสุขไม่เป็นหนี้แต่อย่างใด ในยุคต่อมาได้ปรากฎเป็นหลักฐานที่กรมโบราณคดีของประเทศเนปาล ได้รักษาไว้จากร่องอารยธรรมโบราณเป็นกำแพงพระราชวังกบิลพัสดุ์ ขนาด ๑ เมตรกว่าประตูทางเข้าและออกจากพระราชวังกบิลพัสดุ์ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เมื่อจิตของฉันได้ผัสสะด้วยอินทรีย์ ๖ ของฉันที่กำแพงพระราชวังโบราณประตูในพระราชฐานชั้นของพระราชวังกบิลพัสดุ์ ทำให้จิตของฉันได้จินตนาการเป็นมโนภาพของภาพย้อนเหตุการณ์กลับไปสู่สมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะ ใช้ชีวิตประทับอยู่กับพระราชวงศ์ศากายะมีปราสาท ๓ หลัง ตั้งภายในกำแพงโบราณซึ่งเป็นสถานที่ประทับของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกผนวช เจ้าชายสิทธัตถะ (เรา) ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์เมืองกาสี (พาราณสี) เท่านั้น ผ้าโผกของเราก็ทำในแคว้นกาสี เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสีทั้งคนรับใช้คอยกั้นเศวตฉัตร ให้เราตลอดทั้งวันและคืนด้วยความหวัง หนาว ร้อน ธุลี (ดิน)หญ้าหรือน้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่านเรานั้น มีปราสาท ๓ หลังคือปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวปราสาทหลังหนึ่ง เป็นที่อยู่ในฤดูร้อนปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนเรานั้นได้รับบำเรอด้วยดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลงตลอด ๔ เดือนฤดูฝนในปราสาทฤดูฝนไม่ลงข้างล่างปราสาทเลยก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่นเขาให้ข้าวป่น (ข้าวหัก) มีน้ำผักดองเป็นกับแก่ทาส คนงานและคนรับใช้ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงานและคนรับใช้ อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สุขุมาลสูตร จากข้อความพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกเราวิเคราะห์ได้ว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังดำรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะอยู่นั้น และอาศัยอยู่ในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์นั้นพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้ทรงโปรดให้ขุดสระบัวไว้ ๓ สระด้วยกัน ในพระราชวังกบิลพัสดุ์โดยสระที่ ๑ ปลูกดอกบัวอุบล สระที่ ๒ ปลูกดอกบัวปทุม สระที่ ๓ ปลูก ดอกบัวปุณฑริก เพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงพระเกษมสำราญ มีความสุขในพระหฤทัยในปราสาทที่ประทับส่วนพระองค์.

๑.๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ) ในข้อความปรากฎในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตันตปิฏกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต ๕.หัตถกะกุมารสูตรว่าด้วยหัตถกกุมารทูลถามถึงความสุขทรงตรัสไว้ว่าสมัยหนึ่ง.... หัตถกกุมารกรุงอาฬวี.......ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า..... พระองค์ทรงอยู่สุขสบายดีหรือ ..ทรงตรัสตอบว่า..เราเป็นสุขดีและ เราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่เป็นอยู่เป็นสุขในโลก.....หัตถกกุมารกราบ ทูลว่า..... ราตรีในฤดูหนาว ตั้งอยู่ในระหว่าง...เป็นสมัยที่หิมะตกพื้นดินแข็ง แตกระแหงที่ลาดใบไม้บาง ใบไม้ทั้งหลายอยู่ห่างกัน ผ้ากาสายะ(ผ้าย้อมน้ำฝาด) เย็นและลมเวรัมภะ ที่เหยือกเย็นกำลังพัด พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า เราเป็นสุขดี และเราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่เป็นอยู่เป็นสุขในโลก และพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า....ย้อนถาม...เรือนยอดของคหบดี ... ที่เขาโบก ภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้มีบานประตูมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท .... ประชาบดี ๔ นางบำรุงด้วยวิธีที่น่าชอบใจพอใจ...พึงมีสุขหรือไม่....เขาตอบว่ามี...ความเร่าร้อนทางกายหรือใจเกิดขึ้นเพราะราคะ..พึงเกิดแก่บุตรคหบดี ..บ้างไหม หัตถกราชกุมารตอบว่า อย่างนั้น....พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า..ความเร่าร้อนเพราะราคะ.. ตถาคตได้ตัดเด็ดขาดแล้ว.....เราจึงอยู่เป็นสุข ...ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิดขึ้นเพราะโทสะ... โมหะ... เป็นเหตุให้ผู้ถูกแผดเผา อยู่เป็นทุกข์พึงเกิดแก่คหบดี...บ้างไหม...อย่างนั้นพระพุทธเจ้า ข้า ฯ.
จากข้อความจากพุทธพจน์ ในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นเราวิเคราะห์ได้ว่า แม้ว่าพระพุทธองค์จะทรงผัสสะกับอากาศหนาวในฤดูหนาว ผ้ากาสายะที่เป็นจีวรห่มคลุมพระวรกายของพระองค์จะเย็นไป ด้วยก็ตามแต่พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่อยู่เป็นสุขและเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่เป็นสุขที่สุดในโลก เพราะพระองค์ตัดราคะที่แผดเผาไปจนหมดสิ้นได้เด็ดขาดแล้ว ส่วนเศรษฐีผู้พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมากมาย แม้ปราสาทเรือนยอดที่เขาโบกปูนไว้ภายในและภายนอกในฤดูหนาวลมพัดเข้าไม่ได้มีบานประตูมิดชิดหน้าต่างปิดสนิทก็ตาม....ภายในปราสาทของคหบดีมีนางประชาบดี ๔ คนคอยรับใช้บำรุง ด้วยวิธีการที่น่าชื่นชอบใจให้ตนพอใจในสิ่งกระทำก็ ตาม...พึงมีสุขก็ตามแต่เมื่อจิตของคหบดี ยังไม่สามารถตัดราคะจิตให้หายขาดได้ ผู้นั้นยังมีความทุกข์อยู่เช่นเดิม.
๔. ที่สุดของความสุขของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เสพสุขในความมัวเมา ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์อันรื่นรมย์แล้ว เป็นประจำทุกค่ำคืน มิเคยขาด จิตวิญญาณผู้เสพสุขในสิ่งเดิม ๆ ในที่สุดย่อมเกิดนิพพิทา เป็นอาการของจิต เกิดความเบื่อหน่ายในความมัวเมาของรูป รส กลิ่น เสียง โผฐฐัพพะ และธัมมารมย์นั้น ความสุขจึงเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตเรียกว่า เจตสิก และ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับจิต กล่าวคือเมื่อจิตมนุษย์กระทบกับวัตถุแห่งกิเลสต่าง ๆ ผ่านอินทรีย์ ๖ เมื่อจิตกระทบแล้ว เกิดความคิดด้วยเหตุผลเป็นองค์ความเกี่ยวรู้กับกิเลสวัตถุนั้น เมื่อพิจารณาแล้วเกิดรู้สึกซึ่งเป็นอาการจิตที่ตัวเองพอใจในที่รู้นั้น จิตตัวเองย่อมเกิดความสุขจากการผัสสะสิ่งนั้นแต่ในความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์นั้น วัตถุแห่งกิเลสที่มากระทบจิตทุกวินาทีมีหลายอย่างหรือหลายเรื่องราวด้วยกัน มิใช่แต่เรื่องราวของความสุขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องราวที่ทำให้เกิดความทุกข์เพราะไม่พอใจมาสอดแทรกให้ เราหันเหความสนใจจากความสุขที่ตนมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราหันเหความสนใจไปสู่วัตถุกิเลสตัวใหม่ ละทิ้งวัตถุกิเลสเดิม (ถ้าเป็นมนุษย์) ทำให้จิตพวกเขาเกิดความทุกข์เพราะไม่มีวัตถุกิเลสนั้น มาสนองอารมณ์ (ตัณหา) ในความอยากของตัวเองอีกต่อไปหรือคิดว่าถูกลดความสำคัญลงไปกลายเป็นอัตตาสำคัญผิดคิดว่าตัวเองด้อยค่ากลายเป็นความทุกข์ก็มี หรือหันเหใจวัตถุแห่งกิเลสใหม่ คิดว่าวัตถุแห่งความสุข แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นความทุกข์ก็

ดังนั้น เมื่อจิตมนุษย์เกิดความอยากมีเกิดขึ้น เมื่อได้ดั่งจิตของตนอยากแล้ว ตั้งอยู่ด้วยความสนใจชั่วขณะหนึ่ง และสิ้นสุดลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบใหม่ ความสนใจแสวงหาวัตถุแห่งกิเลสมาสนองความอยากของตนหรือมีไว้ลักษณะชมเชยเป็นเจ้าของผู้ครองทุกเช้าค่ำ หรือมีไว้อวดคนอื่นเพื่อให้รับการยกย่องว่าเป็นคนเก่งมากบารมี เป็นความสุขอย่างหนึ่งของผู้ติดในโลกธรรมแปด เป็นต้นเมื่อจิตไม่มีรูปร่าง ความสุขจึงเป็นอาการของจิตย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างไปด้วยเช่นเดียวกันแสดงอาการออกมาผ่านร่างกายของตัวเอง ถ้าผู้นั้นแสดงอาการของจิตในใบหน้าลักษณะดำคล่ำเครียดจนหน้าส่งเสียงดังเหมือนสัตว์เดรัจฉาน แสดงอาการโทสะจริตเยี่ยงสัตว์เพราะสัตว์ส่วนใหญ่ไม่มีสติสัมปชัญญะ จิตความสุขของมนุษย์ต้องอิงอาศัยวัตถุที่เรียกว่าวัตถุแห่งกิเลส หรือ เสียง กลิ่น การสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เมื่อจิตสัมผัสเกิดสิ่งใดเกิดความทะยานอยากเป็นเจ้าของ เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการมนุษย์ย่อมจมปลักกับอารมณ์อยากอย่างนั้นเรียกว่าอารมณ์นี้ว่าความทุกข์เพราะไม่ได้วัตถุแห่งกิเลสมาสนองความอยากของตนเอง แต่ในบางครั้งมนุษย์ได้วัตถุแห่งกิเลสมาสนองความอยากของตัวเองและสนุกเพลิดเพลินในสิ่งนั้นชัวขณะหนึ่ง แต่เมื่อมนุษย์เจอวัตถุแห่งกิเลสใหม่ที่มนุษย์คิดว่าดีกว่าเดิม สนองตัณหาหรือความอยากดีกว่าเดิมจิตมนุษย์ย่อมไม่สนใจใยดีสิ่งที่มีอยู่แล้ว ความสุขที่เคยยึดติดเริ่มเป็นอนิจจังคือความสุข ยินดี พอใจในสิ่งที่มีอยู่เดิมกับวัตถุแห่งกิเลสเดิมเริ่มดับลงไป จิตมนุษย์มีความสุขอยู่กับสิ่งใหม่ที่ตนเองให้ความสนใจมนุษย์ จึงตั้งใจจะแสวงหาสิ่งใหม่มาสนองความอยากแก่ตนเอง เมื่อไม่ได้ย่อมเกิดความทุกข์ หรือ เมื่อได้ครอบครองเป็นที่พอใจ ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายและหาสิ่งใหม่นั้น มาครอบครองตามต้องการของตนเองเรื่อยไปไม่มีวันสิ้น สถาวะของความรักพอใจในสิ่งต่าง ๆ ย่อมตกในอำนาจของกฎไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะทรงมัวเมาในชีวิต ทรงอยู่กับเครื่องดีด สี ตีเป่า และเหล่าสตรี เป็นเวลาหลายปี ในปราสาท ๓ ฤดูความสุขที่เกิดจากอารมณ์ภายนอกมากระทบผ่านอายตนะภายใน กับรูปของเหล่าสตรีสาวสวยที่มาร่ายรำลีลาต่าง ๆ แสดงเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า ให้เกิดความสุขทางหู ทุกค่ำคืนและมีสุรา น้ำเมา อาหารอันเลิศรส มาปรุงแต่งจิตให้มีความสุขยาวนานนั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่อยู่ในอำนาจของกฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเกิดขึ้นด้วยความพอใจตั้งอยู่เพียงชั่วขณะหนึ่งและนำมาซึ่งเบื่อหน่าย เมื่อได้ยิน ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้รสชาติทางลิ้น ได้เสียดสีกายอย่างจำเจซ้ำซาก ย่อมนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตจาการเห็น การได้ยิน ได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้อีกผ่านอินทรีย์ทั้งหก อาการของจิตที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแบบนี้เรียกว่า กฎไตรลักษณ์ คืออาการของจิตที่เกิด เพราะพอใจในสิ่งใด ย่อมเสพสิ่งนั้นเป็นประจำกลายเป็นความจำเจซ้ำซาก ย่อมจิตเบื่อหน่ายไม่อยากเสพอีกซึ่งเป็นธรรมดาของจิตของมนุษย์ทุกคน จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกสู่อุทยานกบิลพัสดุ์ทำให้พระองค์ได้เห็นสัจธรรม
บรรณานุกรม
๑.http://www.84000.org/tripitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=5205
๒.http://www.84000.org/tripitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=5498
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น