Problems with the origin of Prince Siddhartha's happiness in the Tripitaka according to Buddhaphumi's philosophy
ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ
พระโพธิสัตว์ทรง เสวยสุขกับโลก
ลืมทุกข์โศกมัวเมา กลิ่นแสงเสียงสี
ในที่สุดเบื่อหน่าย เร่งรีบสร้างบารมี
ทรงสั่งสมดีให้ มีไว้ในใจพระองค์
บทนำ
โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะบนปราสาท ๓ แห่งพร้อมข้าราชบริพาร ๔๐,๐๐๐ คน จากตำราพระพุทธศาสนาหรือการแสดงพระธรรมเทศนาของพระภิกษุในพระศาสนาได้สืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว เมื่อชาวพุทธส่วนใหญ่่ได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้วก็ยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง โดยปราศจากข้อสงสัยในข้อเท็จจริงของเรื่องนี้แต่อย่างใด เมื่อสภาวะความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นความรู้เกิดจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์และสั่งสมอยู่ในพระทัยของพระองค์ และได้รับการถ่ายทอดลงเป็นหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกเป็นเวลา ๒๕๖๗ ปีแล้ว หลักฐานต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เป็นต้น
ในการศึกษาปรัชญาแดนพุทธภูมิแบ่งออกเป็นหลายสาขาเช่น อภิปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น, แม้เราจะได้ยินความคิดเห็นเรื่องความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของตน แต่โดยธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ฺพร้อมกับความไม่รู้ของตนเอง นอกจากนี้มนุษย์มีอวัยะอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นด้วย หากไม่มีพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น การได้ยินข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานเพียงปากเดียวไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริงได้ เพราะมนุษยมีข้อจำกัดในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไป และมนุษย์มักมีอคติต่อกันอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เป็นต้น ญาณวิทยาว่าด้วยที่มาของความรู้ของมนุษย์, จริยศาสตร์ว่าด้วยค่าของการกระทำของมนุษย์ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดปรัชญาแก้ปัญหาการหลอกลวงจากความเชื่อปราศจากหลักฐาน น้ำหนักของเหตุผลที่ใช้อธิบายความจริงมีน้อย ไม่เป็นยอมรับในแวดวงวิชาการสมัยใหม่ แม้ความเชื่อ เมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนป่าลุมพินีแห่งแคว้นสักกะ ทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมายาเทวี ดังปรากฏหลักฐานในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ขุททกนิกาย อปทานภาค ๒ พุทธองศ์ ๒๕. โคตมวงศ์ ข้อ.๑๓ กรุงเราชื่อ กบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาของเรา พระมารดาบังเกิดเกล้าของเราชาวโลกเรียกพระนามว่ามายาเทวี เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติที่ป่าสวนลุมพินีในหมู่บ้านชนบทของเจ้าศากยะทั้งหลาย ดังปรากฏหลักฐานในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ๓.มหาวรรค ๑๑.นาลกสูตรข้อ.๖๘๙ กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นรัตนอันประเสริฐ ไม่มีผู้เปรียบเทียบบังเกิดขึ้นแล้วในโลกมนุษย์ที่ป่าลุมพินีในคามชนบทของเจ้าศากยะท้งหลาย
แคว้นสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ (Brahmin religious state) มีระบบการปกครองตามกฎหมายจารีตประเพณีและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์อย่างเคร่งครัด โดยแบ่งประชาชนตามกฎหมายจารีตประเพณีในศาสนาพราหมณ์เป็น ๔ วรรณะ ได้แก่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะประสูติในวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ทรงมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีในการปกครองประเทศ ตามวรรณะกษัตริย์ที่ประสูติมาื มีหลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมกษัตริย์สูงสุดในการปกครองประเทศมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญในสมัยปัจจุบัน มีรัฐสภาศากยวงศ์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารประเทศ และอำนาจตุลาการ เมื่อธรรมของ กษัตริย์เป็นหลักนิติศาสตร์ในการบริหารประเทศ ชนวรรณะผู้หนึ่งผู้ใดจะเสนอกฎหมายใดออกมาโต้แย้งคัดค้าน ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วมิได้ แคว้นสักกะเป็นแคว้นเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนดินแดนที่ราบลุ่มติด กับเชิงเทือกเขาหิมาลัยอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำซับขนาดใหญ่ มีตลอดทั้งปี เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมปลูกข้าว และสัตว์ป่านานาชนิด ข้าวจึงพืชเศรษฐกิจที่ผลิตได้มากและส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้ และนำเข้าผ้าไหมกาสีมาใช้เฉพาะชนชั้นสูงวรรณะกษัตริย์ โดยเฉพาะเจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้ผ้าแพรภัณฑ์จากต่างประเทศในชีวิตประจำวัน มีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรม ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ สมาชิกรัฐสภามาจากชนวรรณะกษัตริย์ทั้งหมด แบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ พวกศากยวงศ์เป็นสมาชิกรัฐสภาโดยตำแหน่งตามสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ มีชนวรรณะกษัตริย์ได้หมุนเวียนเปลี่ยนกันเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง สมาชิกรัฐสภามาจากชนวรรณะกษัตริย์ทั้งหมด ทำหน้าที่ในรัฐสภาบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารปกครองประเทศ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตุลาการ เป็นต้น พระองค์ทรงมีชีวิตที่พอเพียงในที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทรงดำรงชีพอย่างมีความสุข ที่พอเพียงและพอใจในการใช้ชีวิตจากปัจจัย ๔ เหล่านี้เป็นต้น วิถีชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์นั้น ทรงดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามแบบของฆราวาสวิสัยในด้านที่อยู่อาศัยนั้น ทรงมีสถานที่ประทับส่วนพระองค์ในปราสาท ๓ ฤดูในฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝนเครื่องนุ่งห่มทรงสวมใส่เครื่องนุ่งห่มเป็นสินค้าสั่งโดยตรงมาจากต่างประเทศ จากพระนครพาราณสี เมืองหลวงของแคว้นกาสี ส่วนพระกะยาหารทรงเสวยกระยาหารที่ดีที่สุดแห่งยุคนั้น และในยามทรงประชวร ทรงเสวย พระโอสถรักษาโรคภัยด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติแห่งภูเขาหิมาลัยเพราะพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ปกครองแคว้นสักกะเป็นพระราชอาณาจักรเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในบริเวณดินแดนที่ราบลุ่มใกล้ชิดกับเชิงเขาของเทือกเขาหิมาลัย เขตพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่ของพระองค์นั้น ตั้งอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์เมืองหลวงของแคว้นสักกะ

แคว้นสักกะปกครองประเทศด้วยระบอบสามัคคีธรรม มีธรรมของกษัติย์เป็นหลักในการบริหารประเทศ เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ มีศักดิ์เทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่อารยะประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่นิยมนำใช้เป็นหลักปฏิบัติสากล ในการปกครองประเทศและนำมาเป็นหลักสากลในยุคสมัยปัจจุบัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงตามความประสงค์ของชนวรรณะสูงฝ่ายเดียว ประชาชนใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีข้าวอุดมสมบูรณ์เพราะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในน้ำมีปลาให้จับเป็นอาหาร และสัตว์ป่าจำนวนมากมายหลายชนิดให้มนุษย์ไล่ล่ามาเป็นอาหาร และฆ่าสัตว์ป่าหลายชนิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมหายัญแด่พระอิศวร เทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรมเป็นประจำทุกปี นอกจากแคว้นสักกะมีความสงบร่มเย็นในจิตใจของพวกเขาเพราะความเชื่อว่า พระพรหมผู้สร้างพวกเขาให้กำเนิดจากพระวรกายของพระองค์นั้นดูแลคุ้มชีวิตให้ปลอดภัยตลอดชีวิตและมีความปลอดภัยจากศัตรูมารุกราน ชนวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองประเทศเชื่อว่า พระพรหมทรงสร้างพวกเขากำเนิดมาจากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายของพรหม พระพรหมย่อมกำหนดโชคชะตาของพวกเขาให้เป็นไปสิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะของตนไว้ให้แล้วตามกฎหมายจารีตประเพณีของชนวรรระกษัตริย์นั้น
ดังนั้น เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงเชื่อว่าพระองค์นั้น ถูกสร้างขึ้นมาจากพระวรกายของพระพรหม ถูกกำหนดให้อยู่ในวรรณะกษัตริย์มีสิทธิหน้าที่ปกครองประชาชนชาวสักกะชนบทดังนั้นพระองค์เป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์โดยตำแหน่ง ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ในการบัญญัติกฎหมายระบบวรรณะ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในบริหารปกครองประชาชนโดยผ่านรัฐสภาในการแก้ปัญหาของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการตัดสินอรรถคดีผ่านรัฐสภาเป็นต้น เพื่อความเจริญรุ่งเรืองรัฐเพียงฝ่ายเดียวของแคว้นสักกะเป็นต้นพระเจ้าสุทโธทนะทรงปรารถนาให้เจ้าชายสิทธัตถะ พระราชโอรสเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์ต่อจากพระองค์ แต่คำทำนายของพวกพราหมณ์เกี่ยวกับพระราชโอรส ทำให้พระทัยของพระองค์ทรงหวั่นไหวด้วยทรงเกรงว่าวันหนึ่งวันใดพระราชโอรสจะทรงออกผนวชเป็นปริพาชก ทรงให้การศึกษาแก่พระราชโอรสเป็นอย่างดีจนสำเร็จการศึกษาถึง ๑๘ สาขาวิชา และทรงจัดการให้การอภิเษกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระราชบิดาทรงสร้างปราสาท ๓ ฤดูในพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อให้พระราชโอรสทรงดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีจิตเบิกบาน สำราญในพระราชหฤทัย ขณะพักผ่อนพระอิริยาบทในแต่ละวันทรงใช้ชีวิตอยู่ในปราสาทเป็นเวลา ๑๓ ปี และมิเคยเสด็จลงจากปราสาทในฤดูฝนเลย ในช่วงฤดูฝนทรงใช้ชีวิตอยู่กับข้าราชบริพารล้วนแต่เป็นสตรีในการร้องรำ ทำเพลง ดื่มกิน ทุกทิวาราตรี เป็นต้น จนกระทั้งผ่านไปจนพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงเริ่มเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตในปราสาท ๓ ฤดู ทรงตัดสินพระทัยที่จะเสด็จไปเยี่ยมพระนครกบิลพัสดุ์และเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน จุดเปลี่ยนในวิถีชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะเกิดขึ้น เมื่อทรงทำกิจกรรมอย่างที่เคยทำซ้ำซากเป็นประจำทุกวันในความมัวเมาของชีวิต ทำให้จิตของพระองค์ทรงเกิดอาการที่เรียกว่า "นิพพิทา" แปลว่า ความเบื่อหน่ายในกิจกรรมที่ทำอย่างซ้ำซากนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ทรงค้นพบปัญหาของความทุกข์ยากของประชาชนส่วนหนึ่งที่เรียกว่า พวกจัณฑาล เกิดมาไร้วรรณะและทำให้ไม่มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมาย เพราะอาชีพทั้งหมดนั้น สงวนสิทธิหน้าที่ไว้แก่คนวรรณะสูงไปจนหมดแล้ว ตามกฎหมาย เพราะพวกเขาเกิดมาจากการแต่งงานข้ามของพ่อแม่ พ่อแม่จึงลงพรหมทัณฑ์จากสังคมและเป็นที่รังเกียจของคนในสังคมวรรณะสูง ถูกเลือกปฏิบัติในใช้สาธารณะสมบัติร่วมกับผู้อื่นในสังคม ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน ต้องดำรงชีวิตในสองข้างถนนในกรุงกบิลพัสดุ์ ถูกห้ามใช้สิ่งของสาธารณะร่วมกับชนวรรระสูงไม่มีสิทธิเข้าไปสู่เทวสถานของพวกพราหมณ์และใช้บ่อน้ำสาธารณะร่วมกับคนในวรรณะสูง ดังนั้นเมื่อชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะเกิดมาแล้วที่พรั่งพร้อมด้วยความสุขในสิ่งปรารถนาและอำนวยความสะดวกสบายทุกประการ แต่ทำไมพระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตเป็นประเด็นที่น่าสงสัยในเกิดขึ้นจิตของผู้เขียนว่า พระองค์ทรงมีความสุขอย่างไร จึงเป็นเหตุให้ชีวิตของพระองค์ทรงเกิดนิพพิทาในความสุขเหล่านั้น และทรงตัดสินพระทัยออกผนวช
๓.ความหมายของคำว่า "ความสุข" คืออะไร
ปัญหาว่า ความสุขคืออะไร แต่นักปรัชญาส่วนใหญ่มองว่า ความสุขก็คือความจริงอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจิตหรือเรียกว่า เป็นอาการของจิตก็ได้ กล่าวคือ เกิดขึ้นเมื่อจิตของตัวเองได้ผัสสะกับรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ แล้ว หลังจากจิตผัสสะแล้ว เกิดอาการของจิตที่พอใจเรียกว่า ความสุข อาการของจิตไม่พอใจเรียกว่าความทุกข์และเกิดอาการเฉย ๆ เรียกว่าอุเบกขา เพราะมองเห็นว่าเป็นเรื่องไม่น่าสนใจแต่อย่างใดอารมณ์เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีสิ่งมากระทบจิตดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเพียงชั่วคราวหรือชัวขณะหนึ่งเท่านั้น อาการของจิตพอใจในสิ่งมากระทบดังกล่าว ถูกสมมติชื่อขึ้นมาว่า ความสุข แม้ความสุขจะเป็นสภาวะธรรมชาติเกิดขึ้นมีอยู่เพียงชั่วคราวในจิตของมนุษย์ก็ตาม แต่มนุษย์ทุกคนก็ยังต้องการความสุขไม่มีวันสิ้นสุด. โดยเฉพาะสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดี ดังนั้นวิธีการเข้าสู่ความมีอยู่ของความสุขในจิตของมนุษย์แต่ละบุคคลนั้นจึงไม่เหมือนกัน เพราะมนุษย์ทุกคนมีจริตที่มีแนวโน้มของจิตความชื่นชอบสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน มนุษย์ทุกคนจึงมีจุดของความพอใจแต่ละคนที่เหมือนกันย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เวลาเราจะมองใครชอบใคร ไม่ชอบใคร ต้องขึ้นอยู่กับแนวโน้มของจริตเขาเป็นคนอย่างไร มากกว่าเราจะฝืนใจใครให้ชอบเหมือนเราเป็นไปไม่ได้เลย.
-ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำว่า "สุข" ให้คำนิยามว่า เป็นความคำนาม ความสบายกาย ความสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เป็นต้น และพจนานุกรมแปลไทย - ไทย จากคำนิยามของ อ. เปลื้อง ณ นคร ให้หมายว่า "ความสุข คือความสะดวก ความสบายและความสำราญ ความพอใจ เป็นต้น.

ดังนั้น ความสุขก็ คือ ความสะดวกสบาย ความสำราญเบิกบานพอใจของจิตมนุษย์ในการผัสสะสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในและภายนอกของชีวิต เป็นอาการเกิดขึ้นกับจิตของมนุษย์ทุกคนเป็นสุขเวทนาอย่างหนึ่งของชีวิตที่ตรงข้ามกับทุกขเวทนาของชีวิต ดังนั้นเมื่อจิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง ความสุขสำราญ เบิกบานใจ จึงเป็นอาการของจิต เป็นสิ่งไม่มีรูปร่างไปด้วย ลักษณะของความสุข ความสุขเป็นความจริงอย่างหนึ่งมีอยู่ในชีวิตมนุษย์ความสุขเป็นอาการของจิตเมื่อจิตมนุษย์เป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง ดังนั้นเมื่อความสุขเป็นอาการของจิต ความสุขเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างไปด้วยหรือเรียกว่า "นามธรรม" ความสุขแม้จะเป็นความจริงหนึ่งที่เรียกว่าเจตสิกตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่ความสุขมีอยู่ในจิตเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวขณะหนึ่งเท่านั้นแต่มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสุขให้มีในชีวิตของตน เมื่อความสุขเกิดขึ้นในจิตของมนุษย์ แต่เกิดขึ้นเมื่อจิตมนุษย์ผัสสะวัตถุใดวัตถุหนึ่งย่อมเกิดความรู้สึกต่อสิ่งนั้นอาจจะเป็นความคิดชอบสิ่งนั้น อารมณ์ก็ฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในจิตตนด้วยความปรารถนาไว้ครอบครองเป็นเจ้าของและปรุงแต่งจิตของตนไปต่าง ๆ นา ๆ เกิดความคิดหาวิธีการต่างๆที่จะได้สิ่งนั้นมาเป็นเจ้าของครอบครองจิตเกิดอาการยึดมั่นสิ่งของนั้นว่า เป็นของตนเมื่อยังไม่ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน มนุษย์จะรู้สึกทุกข์ เพราะกลัวคนอื่นจะเข้ามาแย่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองดังนั้นความสุขจึงเป็นสิ่งทุกคนต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น