
The Evidence proves the Buddhist history of Bhimpisara Jail in Tripitaka
บทนำ ความเป็นมาของคุกของพระเจ้าพิมพิสาร
โดยทั่วไป นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ปรัชญาแบ่งออกเป็นหลายสาขาเช่นอภิปรัชญาเป็นวิชาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์, ญาณวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยที่มาของความรู้หรือบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่านักปรัชญา ต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสแลละสั่งสมอยู่ในจิตใจของนักปรัชญาคนนั้น จึงจะถือเป็นพยานหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้ หากไม่มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแล้วก็ไม่สามารถเป็นพยานหลักฐานยืนความจริงในเรื่องนั้นได้ ดังนั้น ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น เมื่อผู้เขียนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ก็ต้องมีพยานหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น คำตอบที่ได้จึงเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้ ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของคุกของพระเจ้าพิมพิสาร เราสามารถตามหลักอภิปรัชญาได้หรือไม่ เมื่อเราศึกษาหลักอภิปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ เมื่อคุกของพระเจ้าพิมพิสารเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง เราจึงสามารถศึกษาในเชิงปรัชญาได้เพราะเป็นปัญหาของมนุษย์ แต่เมื่อผู้เขียนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใดตามหลักปรัชญาต้องมีพยานหลักฐานมายืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้น ในสมัยพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรมคธเกิดขึ้นในสมัยพระพุทธกาลและผ่านเวลาไปกว่า ๒๖๐๐ ปีแล้ว ยังคงเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ผู้คนได้ยินข้อเท็จจริงจากการเล่าสืบกันต่อมาไม่สิ้นสุด เพราะเรื่องลูกฆ่าพ่อเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของผู้คนและจิตรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้คน ไม่เคยสูญหายไปไหนแม้ดวงวิญญาณของมนุษย์จะผ่านวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดใหม่ในโลกมนุษย์อีกไม่รู้กี่รอบก็ตามแม้ผู้เขียนเกิดมาหลังพุทธกาลแล้วเกือบ ๒๖๐๐ กว่าปี แต่ผู้เขียนยังได้ยินข้อเท็จจริงที่ผู้คนบอกเล่าเรื่องนี้สู่กันฟังว่าพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธและมีโอกาสได้เข้าเฝ้า พระสิทธัตถะโพธิสัตว์เมื่อพระองค์ทรงออกผนวชใหม่ ๆ และได้เดินทางมาศึกษาปรัชญาว่าด้วยความรู้ที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์เนื่องจากมนุษย์เชื่อตามพราหมณ์เจ้าสำนักต่าง ๆ ที่สอนกันว่าพระพรหมสร้างขึ้นมาจากพระกายของพระองค์และนำไปสู่การบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยอ้างประสงค์ของพระพรหมสร้างขึ้นมาให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา

๑.ความสงสัยของผู้เขียน
วันเวลาผ่านไปแล้ว ๑๖ ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๕ หรือค.ศ. ๒๐๐๒ จนถึงปีค.ศ.๒๐๑๗ หรือผ่านยุคพุทธกาลไปเป็นกว่า ๒๕๕๔ ปี ที่ผู้เขียนและนักศึกษามาจากมหาวิทยาลัย ๓ แห่ง ในเมืองพาราณสีได้เดินทางไปแสวงบุญยังเมืองโบราณราชคฤห์ครั้งแรกในเขตตัวพระนครราชคฤห์เก่า มีพุทธสถานหลายแห่งตั้งอยู่ในเมืองนี้ไม่ว่าจะเป็นภูเขาคิชฌกูฏ วัดชีวกอัมพวัน วัดเวฬุวันมหาวิหาร เป็นต้น เมื่อผู้แสวงบุญนั่งรถทัวร์โดยสารวิ่งผ่านกำแพงภูเขาล้อมรอบตัวเมืองทั้งหมดถึง ๕ ลูกด้วยกันและได้เดินมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้ถูกระบุว่า Bimbisar Jail เป็นสถานที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสารในบริเวณที่ตั้งของคุกล้อมรอบด้วยกำแพงที่ก่อสร้างด้วยอิฐิขนาดเล็กและสามารถมองเห็นภูเขาคิชฌกูฏได้อย่างชัดเจน แต่ผู้เขียนก็ยังสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสถานที่คุมขังของพระเจ้าพิมพิสารตามที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก
๒. บ่อเกิดของความรู้เรื่องคุกของพระเจ้าพิมพิสาร
พยานหลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องที่น่าสงสัยได้ แต่มนุษย์ใช่ทุกคนจะให้การเป็นพยานหลักฐานได้ เพราะมนุษย์มีทั้งความรู้และไม่มีความรู้ใช้ชีวิตปนเปกันออยู่ในสังคมนั้น ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมซึ่งเป็นหนึ่งในหลายทฤษฎีของญาณวิทยาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์นั้น ได้นิยามว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์คนใดคนหนึ่งต้องรับรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น" จึงจะถือว่าเป็นความที่แท้จริงของผู้นั้น" จากแนวคิดตามทฤษฎีบ่อเกิดความรู้ข้าต้นนั้นผู้เขียนตีความได้มนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆจากประสาทสัมผัสได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและจิตเท่านั้นถึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ ข้อเท็จจริงมีว่าผู้เขียนรับรู้ความมีอยู่ของสถานที่ตั้งของคุกคุมขังและสวรรคตของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อผู้เขียนและคณะได้เดินทางมาแสวงบุญที่เมืองราชคฤห์เก่า รัฐพิหาร อินเดียโดยรถบัสเหมาจ่ายหลังจากเดินทางไปสักการะมูลคันธกุฏีของพระพุทธเจ้าบนยอดเขาคิชฌกูฏเสร็จแล้ว ก็ได้เดินทางมายังที่คุกคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร มีป้ายแสดงไว้อย่างชัดเจน Bimbisar Jail ผู้เขียนเดินตามถนนขนาดเล็กเข้าไปอีก ๓๐ กว่าเมตร ก็ถึงที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร มีลักษณะพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสล้อมรอบด้วยกำแพงอิฐฉาบปูนขนาดสูง ๑ เมตร แสดงอาณาเขตไว้อย่างเด่นชัด จากจุดของสถานที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร สามารถมองเห็นภูเขาหลายลูกตั้งสูงตระหง่านขึ้นสู่บนท้อง จากจุดร่องรอยของสถานที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เขียนมองเห็นมูลคันธกุฏีของพระพุทธเจ้าตั้งตระหง่านบนยอดเขาคิชฌกูฏอย่างเด่นชัด ทำให้ผู้เขียนเชื่อไม่มีข้อสงสัยถึงความมีอยู่ในเรือนอบควันไฟนักโทษเพื่อทรมานให้รับสารภาพ เพื่อยินยอมรับวิบากกรรมของชีวิต พระเจ้าพิมพิสารเช่นเดียวกันเคยครอบครองพระราชอาณาจักรมคธอันยิ่งใหญ่มีประชาชนก้มกราบหลายหมื่นแสนคน ต้องมาอยู่ห้องคับแคบเพียงลำพังพระองค์เดียว และชีวิตมีลมหายใจเป็นที่พึ่งอันสุดท้ายแล้ว ยังมีสรณะอันเป็นที่พึ่งอันประเสริฐอย่างเดียวคือการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อที่จะทำให้ชีวิตพระองค์หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานจากการถูกขังได้นอกจาก เรือนอบควันไฟลนนักโทษประหารผู้ต้องสงสัยในการฆาตกรรม สร้างขึ้นมาเป็นคุกไม้ ใช้เป็นที่ขังนักโทษ มีลักษณะเป็นเรือนไม้ ปูพื้นด้วยไม้แปรรูป วางแผ่นไม้เป็นช่อง ใช้ชานอ้อยตากแห้งซุมไฟให้เกิดควันไฟลอยตัวลอดขึ้นไปตามช่องไม้ที่ตีพื้นไว้อย่างห่างๆ เพื่ออบควันไฟใส่นักโทษที่ต้องขังในห้องที่ไม่สามารถหลีกหนีไปไหนได้เมื่อไม่สามารถอดทนต่อการสำลักควันไฟ และบีบบังคับให้รับสารภาพข้อหาการกระทำความผิดจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจในพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นสถานที่ได้ถูกกล่าวถึงและเป็นพยานหลักฐานเป็นข้อความมีในพระไตรปิฎก แสดงถึงความรักของพระเจ้าพิมพิสารมีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชโอรส ถึงยอมเป็นนักโทษในเรือนอบควันไฟนักโทษ เมื่อกองโบราณคดีรัฐพิหาร ได้วิเคราะห์จากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎก และเก็บรักษาร่องรอยประวัติศาสตร์ไว้ ด้วยวิธีการอนุมานความรู้ของสภาพภูมิศาสตร์ และความเป็นจริง ของเรือนอบควันไฟใส่นักโทษนั้น ตั้งอยู่ในตัวเมืองราชคฤห์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถูกจำกัดบริเวณให้อยู่ในเรือนอบควันนักโทษทรงเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ทรงมองออกนอกหน้าต่างจากเรือนอบควันที่มองไปที่ยอดเขาคิชฌกูฏอันเป็นสถานที่ตั้งของมูลคันธกุฏิของพระพุทธเจ้า เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ปกครองรัฐมคธเป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่รัฐหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อถูกคุมขังในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้เอาวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ให้จิตวิญญาณของพระองค์หลุดพ้นความทุกข์ด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเพียงอย่างเดียวของพระองค์ เอาการปฏิบัติธรรมเป็นที่พึ่งของพระองค์ในช่วงสุดท้ายของชีวิตจนกระทั่งพระองค์สิ้นลมหายใจ
๓. ในประเด็นพระเจ้าอชาตศัตรูปิตุฆาตพระราชบิดา
เราค้นพบพยานหลักฐานชิ้นสำคัญและน่าเชื่อถือเป็นข้อความบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑ (ฉบับมหาจุฬา ฯ ) ขุททกนิกาย สีลขันธวรรค ๒. สามัญญผลสูตรว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูและราชอำมาตย์ [๒๕๓] ครั้นเมื่อท้าวเธอเสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระราชาองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว ถูกทำลายเสียแล้ว หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนม์พระราชบิดาผู้ทรงธรรม ธรรมจักษุ อันไร้ธุลีคือกิเลสปราศจากมลทิน จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้จบลง ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีพุทธภาษิตนั้นแล พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ขุททกนิกาย ชาดกภาคที่ ๒พระศาสดาทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาต จึงตรัสสังกิจจชาดก"
จากพยานหลักฐานของที่มาของความรู้ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนั้น เราวิเคราะห์ข้อมูลจากศึกษาพระไตรปิฎกนั้นด้วยเหตุผลว่าข้อความของพระไตรปิฎกในชาดกภาคที่ ๒ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระเจ้าอชาตศัตรูปิตุฆาตจริงและเป็นความจริงปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลในความรู้และความจริงอีกต่อไป และข้อความอรรถกถา ก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่า พระเจ้าอชาตศัตรูว่าทรงรับสั่งประหารชีวิตพระราชบิดาพระเจ้าพิมพิสารจนพระองค์เสด็จสวรรคต และไม่มีข้อมูลจากแหล่งอื่นใดจะนำมายกขึ้นหักล้างข้อความในพระไตรปิฎกได้อีกดังนั้น เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งให้ประหารชีวิตพระเจ้าพิมพิสารเสียแล้ว แม้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องสามัญผลสูตร จากพระพุทธองค์จนพระองค์เกิดความรู้เข้าใจในหลักธรรมก็ไม่อาจเกิดดวงตาเห็นธรรมได้เช่นเดียวอริยสาวกอื่น ๆ ได้
บรรณานุกรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น