
Introduction: Pilgrimage to Burma in Buddhaphumi's Philosophy
๑.บทนำ
ครั้งหนึ่งในชีวิตของผู้เขียน อาศัยอยู่ที่เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนทุกคนเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์และการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเข้าถึงความจริงของชีวิตมนุษย์ เรื่องนี้ ทำให้เกิดเรื่องราวขึ้นในใจของผู้คนทั่วโลกที่เรียกว่า "ยุคศิวิไลย์" ชีวิตของมนุษย์สงบสุข โดยยึดหลักศีลธรรมและกฎหมาย เป็นข้อเท็จจริงที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับและยืนยันความจริงของเรื่องนี้ว่าเมืองประวัติศาสตร์สารนารถเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าศากยมุนีทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ซึ่งนำไปสู่การเกิดพระรัตนตรัยครบ ๓ ประการ ตั้งอยู่ในอำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ ผู้เขียนมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดู สาธารณรัฐอินเดียและในปีพ.ศ.๒๕๕๔ ผู้เขียนสำเร็จปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นผู้เขียนอาศัยอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหลายปี ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองทุกปี เพื่อพัฒนาศักยภาพในชีวิตตัวเองให้มีสมาธิ บริสุทธิ์ปราศจากอคติ ความขุ่นมัวอ่อนโยนมีความมั่นคงและไม่หวั่นไหวต่อปัญหาหนักของชีวิตด้วยวิธีปฏิบัติบูชาเพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไป ในชีวิตของผู้เขียนมีความฝันอีกครั้งหนึ่งที่จะเดินทางไปสวดมนต์ไหว้พระที่เมืองร่างกุ้ง สหภาพพม่าโดยเฉพาะบริเวณลานรอบพระมหาเจดีย์ชเวดากองและตั้งอยู่ใกล้กับประเทศไทยของเรามากที่สุด ผู้เขียนได้อ่านเนื้อหาแบ่งปันบนอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์หลายแห่งว่าเจดีย์ชเวดากองเป็นพระมหาเจดีย์สีทองที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุสิ่งของที่ควรสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา เป็นเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้าที่ทรงมอบให้พ่อค้า ๒ คนชื่อว่าตปุลสะและภัลลิกะซึ่งเป็นสองพ่อค้าชาวมอญแต่ไม่เคยมีโอกาสักครั้งในชีวิตจนกระทั่งเรียนจบปริญญาเอกและกลับมาทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา สอนในระดับปริญญาตรี โทและเอก เป็นต้น
เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญา ในโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมในอาเซียนที่สหภาพพม่าโดยกำหนดการเดินทางวันที่ ๓ - ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ในวันแรกของการเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ฯ วิทยาเขตนครราชสีมาไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ พฤศจิกายน เวลา ๐๐.๓๐ น. ไปถึงสนามบินดอนเมือง เวลา ๐.๘๐ น.ที่อาคารผู้โดยสารขาออกชั้น ๓ ประตูที่ ๑ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องสัมภาระและเอกสารการเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงเมืองร่างกุ้งของสหภาพพม่า ที่สนามบิน มิงกลาดง ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากร และไปเที่ยวชมสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาหลายแห่งด้วยกันเช่น เมืองสิเหลียม เพื่อชมความสวยงามของพระเจดีย์เยเลพญา พระมหาเจดีย์ชเวดากอง และพระธาตุอินทร์แขวน เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาประวัติของเจดีย์ชเวดากองกล่าวว่าพระมหาเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้าที่ตปุสสะและภัลลิกะรับโดยตรงจากพระหัตถ์พระพุทธเจ้า เมื่อได้ยินข้อมูลในเรื่องนี้ผู้เขียนสงสัยว่าประวัติที่แท้จริงของพระมหาเจดีย์ชเวดากองสอดคล้องกับข้อความในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯที่กล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ทรงได้พบกับตปุสสะและภัทลิกะ ทำให้ผู้เขียนสนใจและอยากเห็นพระมหาเจดีย์ชเวดากองสักครั้งในชีวิต
เนื่องจากผู้เขียนได้นำประวัติของตปุสสะและภัลลิกะ ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวมอญไปบรรยายให้กับผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธ ที่สัตตมหาสถานในบริเวณรอบพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมื่อครั้งที่ผู้เขียนยังเป็นพระธรรมวิทยากรที่อินเดียและเนปาล แต่ไม่เคยศึกษารายละเอียดของเนื้อหาในเรื่องนี้แต่อย่างใด ในยุคพุทธกาลนั้นดินแดนของสหภาพพม่าอยู่ในความปกครองของกษัตริย์มอญเป็นผู้ปกครองประเทศ เมื่อผู้เขียนมีโอกาสเดินทางมาแสวงบุญในพม่า จึงตัดสินใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพระมหาเจดีย์ชเวดากองนี้ โดยอาศัยทฤษฎีความรู้ประจักษ์เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องนี้ การเขียนบทความวิเคราะห์เชิงปรัชญาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบนั้น ผู้เขียนมักจะจดจำอยู่เสมอว่าเหตุผลในคำตอบของใครก็ถูกต้องสำหรับคนนั้น หากไม่มีข้อมูลใหม่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะหักล้างได้แต่ก็ข้อมูลเก่าก็ยังมีประโยชน์ เนื่องจากเป็นหลักฐานในการค้นคว้าและตรวจสอบข้อมูลกันต่อไปและจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา การใช้เหตุผลทางปรัชญาไปอธิบายหลักธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจดีกว่าการศึกษาแบบท่องจำ เพราะการศึกษาที่มีเหตุผลเกิดขึ้นและสัญญาของความรู้มีอยู่แล้วในจิตวิญญาณ ผู้นั้นสามารถนำความรู้ที่อยู่จิตมาสู่ความคิดจินตนาการได้อย่างไร้ขีดจำกัด ส่วนความรู้เกิดจากการท่องจำมีขอบเขตของการจินตนามจำกัด เมื่อคำถามถูกถามและมีคำตอบให้ผู้ศึกษาไม่สามารถนึกคิดจินตนาการไกลกว่าประสาทสัมผัสตนแต่อย่างใด เป็นเรื่องการศึกษาแบบท่องจดหรือแบบสัญญา เมื่อเรียนจบไปแล้วไปประยุกต์กับวิชาอื่นยาก หลายคนบอกว่าการศึกษาพุทธศาสนาจึงเป็นวิชาที่ไม่น่าสนใจที่อยากศึกษา เรียนจบไปแล้วแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรอีก
พระมหาเจดีย์ชเวดากองเป็นพระมหาเจดีย์ทองคำตั้งอยู่บนแผ่นประเทศพม่ามาไม่น้อยกว่า ๒๕๐๐ ปีแล้ว สร้างขึ้นโดยพระเจ้าโกะลาปะเป็นพระเจดีย์ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้บรรจุสิ่งที่ควรเคารพบูชาสูงสุด คือพระเกศาของพระพุทธเจ้าจำนวน ๘ เส้นที่พ่อค้าพานิชชาวมอญ ๒ ท่านคือตะปุสสะและภัลลิกะได้รับประทานจากพระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๗ ที่ใต้ต้นราชายตนะ ดังปรากฎพยานหลักฐาน
(๑) ในพระไตรปิฎกเล่มที่๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ]มหาวรรค ภาค๑ มหาขันธกะ ๕.ราชายตนคาถา [๖] .....ครั้งนั้นพ่อค้า ๒ คนชื่อตปุสสะและภัลลิกะ เดินทางไกลอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ขณะนั้นเทวดาผู้เป็นญาติร่วมสายโลหิตของตปุสสะและภัลลิกะพ่อค้าทั้งสองได้กล่าวว่า "ท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ เมื่อแรกตรัสรู้ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสอง จงไปต้อนรับพระองค์ด้วยข้าวตูผงและข้าวตูก้อน...ปรุงด้วยน้ำผี้งเถิด การบูชาของท่านทั้งสอง.....จักเป็นประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน
(๒) ในอรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ราชายตนคาถามีเนื้อความว่าอีกอย่างหนึ่งความว่า สองพานิชนั้นถึงความเป็นอุบาสถ ด้วยวาจา สองพานิชนั้นประกาศความเป็นอุบาสถอย่างนั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ที่นี้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าพึงอภิวาทและยืนรับใครเล่าพระเจ้าข้าฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลูบพระเศียรพระเกศาติดพระหัตถ์ ได้ประทานพระเกศาเหล่านั้นแก่เขาทั้งสองด้วยตรัสว่าท่านจงรักษาผมเหล่านี้ไว้ สองพานิชนั้นได้พระเกศาธาตุราวกะได้อภิเษกด้วยอมตธรรม รื่นเริงยินดีถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป...
จากข้อความในพระไตรปิฎก เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ (ทรงค้นพบ) วัฏจักรของชีวิตในการเวียนว่ายตายแล้วเกิดของจิตวิญญาณในสังสารวัฏทรงสติระลึกถึงกระบวนการตรัสรู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์และทรงพิจารณาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๗ ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ พ่อค้าสองคนที่เดินทางจากดินแดนที่เรียกว่า"อุกกลชนบท" (ดินแดนในประเทศพม่าในปัจจุบัน)เพื่อค้าขายที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอผ่านไปทางนั้นก็มีโอกาสถวายข้าวปั้นและข้าวตูผงแด่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้เป็นเวลา ๔๙ วัน พระพุทธเจ้าทรงประทานเส้นพระเกศาแก่พ่อค้าทั้ง ๒ คนไป
ปัญหาเรื่องที่ตั้งของเขตอุกกลชนบทยังไม่มีการวิจัยเป็นดินแดนในอนุทวีปหรือสุวรรณภูมิ ถ้าเราแปลความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ นิยามคำว่า"ปรัชญาเป็นแนวคิดหลักความรู้และความจริง" ส่วนภาษาคือถ้อยคำที่ใช้เขียนเพื่อสื่อความของกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดออกมาเป็นตัวอักษร เป็นต้น คำว่า "อุก" แปลว่า หักหาญโดยพละการ กลชนบทแปลว่า การล่วงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เป็นต้น กล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายเขตอุกกลชนบทคือ ดินแดนชนบทห่างไกลความเจริญ เต็มไปด้วยคนป่าเถื่อน มีเหล่ห์เหลี่ยมและหักหาญเพื่อแย่งชิงทรัพย์กันปัญหาต้องวิเคราะห์ว่า ดินแดนคนป่าเถื่อนที่กล่าวถึงนั้นตั้งอยู่ในประเทศพม่าหรือไม่ คงมิใช่แต่ประการใด เพราะ เมื่อเงื่อนเวลาของการตั้งประเทศพม่าเป็นแผ่นดินนั้น ประมาณปี พ.ศ. ๑๕๐๐ หลังจากสมัยพุทธกาลหรือหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ ๑,๖๐๐ ปีแล้ว
๒.การปฏิบัติบูชาที่เจดีย์ชเวดากอง
ปัญหาคำว่า"ปฏิบัติบูชา"มีความหมายว่าอย่างไร เมื่อศึกษาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ฉบับออนไลน์ให้คำนิยามว่าการบูชาด้วยการปฏิบัติคำสั่งสอนคู่กับอามิสบูชาด้วยสิ่งของ กล่าวคือเมื่อผู้เขียนเดินทางมาถึงพระเจดีย์ชเวดากอง ผู้เขียนซื้อดอกไม้เป็นเครื่องอามิชบูชาต่อพระเกศาของพระพุทธเจ้า ผู้เขียนยกดอกไม้ประนมมือสวดมนต์ไหว้อย่างเงียบๆ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ ทรงสละวรรณะกษัตริย์ศากยวงศ์มีหน้าที่ปกครองรัฐสักกะทรงออกผนวชเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ เพื่อนำพาดวงจิตวิญญาณของมนุษยชาติข้ามพ้นโชคชะตา อันมืดบอดเพราะความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมายาวนานว่า ชีวิตมนุษย์ถูกพระพรหมสร้างขึ้นมาและลิขิตโชคชะตาไว้แล้ว ด้วยระบบวรรณะให้มนุษย์มีสิทธิหน้าที่ของความเป็นมนุษย์นั้น พระพรหมได้สร้างไว้ให้แล้ว...เป็นต้นจนกลายเป็นความทุกข์ เพราะ มนุษย์มีจริตของความชอบไม่เหมือนกัน..พระมหาเจดีย์ชเวดากอง
*ฉันมาไหว้พระที่ เจดีย์ชเวดากอง
ร่วมเพื่อนผองหาย หมองด้วยบูชา
สงบตนเย็นจิต สถิตย์ใจด้วยปัญญา
แก้ปัญหาด้วยฤทธิ์ ธรรมนำพ้นเอย. (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น