the worship practice in Enlightenment Place at Bodhgaya
คำสำคัญ การปฏิบัติบูชา สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา
๑.บทนำ:ทำไมต้องปฏิบัติบูชา
โดยทั่วไป ชีวิตมนุษย์เกิดมาพร้อมอวิชชา ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ อวิชชามีความหมายว่าความไม่รู้แจ้งในอริยสัจธรรม หากแปลโดยพยัญชนะหมายถึงทุกข์ มีลักษณะที่ทนอยู่ได้ยาก ตัวอย่างเช่น ชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ เกิดจากการปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา เติบโตเป็นทารกโดยอาศัยเลือดของมารดาหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตอยู่ตลอดเวลา เมื่อครรภ์มารดาถูกกระทบจนทารกไม่สามารถอาศัยครรภ์มารดาได้อีกต่อไป ก็แท้งลูก วิญญาณก็จะออกจากร่างกายไปเกิดในภพอื่นต่อไป ทุกข์สมุทัยก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เมื่อมนุษย์ผัสสะวัตถุแห่งกิเลสตลอดเวลา ซึ่งมีองค์ประกอบของความรู้ เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว พบว่าแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ก็คือวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกายชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อตายลงไปจิตวิญญาณจะต้องออกร่างกายไปเกิดในภพอื่น เพราะร่างกายไม่มีประโยชน์ในการรับรู้อารมณ์ของกิเลส เพื่อสร้างตัณหาอีกต่อไป หรืออารมณ์โลกที่จิตใจของมนุษย์ต้องการมัวเมาอยู่ในที่อโคจรที่ตนชอบอยู่อย่างนั้นทุกวัน หรือใช้ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตในการเล่นเกมส์ส่งข้อความหรือภาพลามกบนอินเตอร์เน็ต หรือสิ่งสถิตอยู่ในสถานที่อโคจรที่ตนเองชื่นชอบ มีความสุขในเสียงดนตรีดื่มแอลกอฮอล์เพื่อปรุงแต่งอาณมณ์ให้ตนรู้สึกผ่อนคลายจากภาระหน้าที่การงานอันหนักของตนเองแม้จะเป็นความสุขที่แลกกับสุขภาพจากการพักผ่อนไม่เพียง เป็นต้น
ชีวิตมนุษย์จึงต้องอดทนกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากตัณหาของตนเองเพราะร่างกายทำงานหนักเกินไปโดยไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ จึงเกิดปัญหาสุขภาพตามมา ส่วนจิตใจของมนุษย์เมื่อทำงานหนักเกินไปโดยไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ จะเกิดความเครียด ทำให้เกิดความยึดติดในสิ่งที่เป็นตนเอง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงานตามประเพณีการทำบุญในศาสนาฮินดู ญาติพี่น้องของผู้ตายจะนำร่างไปฌาปนกิจที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาภายใน ๒๔ ชั่วโมง ส่วนชาวพุทธในยุคปัจจุบันจะเก็บร่างไว้บำเพ็ญกุศล ๓ วัน ห้าวันและ ๗ วัน ขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมว่ารวยจนหรือฐานะปานกลาง เพื่อระลึกคุณถึงคุณงามความดีที่เคยช่วยเหลือกัน และเป็นบทเรียนสอนใจว่า สิ่งที่เขาแสวงหาเป็นเพียงอารมณ์ตัณหาที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจที่จะติดตามไปภพชาติต่อไป
เมื่อจิตใจของมนุษย์อาศํยร่างกายเป็นสะพานในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ของโลกคิดวิเคราะห์ข้อมูลของสิ่งที่รู้ เพื่อหาเหตุผลของคำตอบในประเด็นที่สงสัย เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้คำตอบแล้วและมีความมั่นใจในเหตุผลของคำตอบแล้ว ก็กลายเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงในเรื่องนั้นอีกต่อไป ความรู้ได้นั้นธรรมชาติของจิตก็สั่งสมเป็นความรู้เป็นต้นทุนของชีวิตของผู้นั้นต่อไป ความรู้ที่เป็นต้นทุนชีวิตจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของความรู้หรือไม่ อยู่กับนำไปนึกคิดหรือจินตนาการสร้างสิ่งใหม่ ๆ นำไปใช้ในเชิงธุรกิจต่อไปในความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้น สิ่งที่ผ่านมานั้นล้วนแต่กระตุ้นจิตของมนุษย์ให้เกิดตัณหาในความอยากได้เช่นรถยนต์ รถเก๋ง บ้านพร้อมที่ดินในความอยากเป็นเช่น ดาราภาพยนต์ ละครที่วี เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ผู้พิพากษา อัยการ เศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นต้น อยากมีได้แก่มีคู่ครองที่ดี มีกัลยาณมิตรที่ดี พ่อแม่ที่ดี ครูบาอาจารย์ที่ดี เป็นต้น แม้มนุษย์จะมีต้นทุนของชีวิตดี แต่ถ้าไม่รู้จักใช้สิ่งที่มีนั้นแสวงหาทรัพย์เพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า ย่อมขาดโอกาสที่จะได้ ที่จะมีเป็นต้น

โดยทั่วไปความอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดจากตัณหาของตนนั้นตามนั้น เป็นที่ได้มาโดยยาก ต้องอาศัยเวลาในการเก็บเงินจากการทำงานเป็นเวลาหลายปี เพื่อหารายได้หรือเก็บเงินกว่าจะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ผู้ใดมีตัณหามากเกิดความอยากได้มากอย่างรุนแรงจนเกิดความ เครียดเพราะทำงานหาเงินมากยิ่งขึ้นเท่าใด ขาดการพักผ่อนมาก สภาพของร่างกายย่อมสึก หรอเป็นธรรมดา หรือทำธุรกิจขาดทุนมาก จนหมดปัญญาใช้หนี้ จนกินอาหารไม่ได้ นอนไม่ค่อยหลับขาดการพักผ่อนโรคภัยต่าง ๆ ย่อมมาเบียดเบียนเป็นธรรมดาเป็นต้นสิ่งเหล่านี้เรียกว่าความทุกข์ของมนุษย์ เป็นต้น เมื่อมนุษย์มีความทุกข์จนเกิดความเครียดบางคนหันเหดื่มกิน สุรายาเมาคิดว่าเป็นสิ่งที่เดียวทำให้ตนลืมความทุกข์ในชีวิตได้ แม้จะเป็นชั่วขณะหนึ่งก็ตาม แต่ความจริงสิ่งเหล่านี้เพิ่มโรคภัยไข้เจ็บ เป็นโรคความดัน โรคกะเพาะและโรคเบาหวานได้ เมื่อร่างกายตนอ่อนแอยอมขาดประสิทธิภาพในการทำงานขณะเดียวกันเกิดจริตวิตกเพราะเกิดความกังวลถึงรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในครอบครัว ภาระหนี้สินยังใช้ไม่หมด เกิดความกังวลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายเรื่อง จนเกิดความกลัวขึ้นในใจตนเองบางคนเลือกที่จะตายเพื่อตัดปัญหาช่องน้อยแต่พอตัว แล้วทิ้งภาระจากปัญหาไว้แก่ชีวิตคนข้างหลังไว้คอยแก้ปัญหานั้น
ชีวิตของผู้เขียนสนใจศึกษาหาความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย และมีความฝันอยากจะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศตั้งแต่เด็ก เมื่อมีโอกาสสละชีวิตทางโลกออกบวชในพระพุทธศาสนา ความฝันอยากจะไปเรียนรู้โลกให้กว้างไกล กลับมาสู่จิตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๒ จึงตัดสินเดินทางมาสู่ประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เมื่อมาถึงประเทศอินเดียทำให้ผู้เขียนรู้จักการไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ครั้งแรก ผู้เขียนเดินทางมาสู่วัดมหาโพธิในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Mahabodhi temple" วัดแห่งนี้มีพระมหาเจดีย์พุทธคยาขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นมาเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่ของศากยมุนีพุทธเจ้าหรือเขียนให้เข้าใจง่ายว่า การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติคือการค้นพบธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ มนุษย์มีจิตวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกายของตนเองเมื่อสิ้นชีวิตลงไป จิตวิญญาณจะออกจากร่างกายที่หมดสภาพการใช้งานไปจุติจิตในภพภูมิอื่น ๆ ต่อไป
สมัยปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเจดีย์พุทธคยาเป็นเจดีย์มีลักษณะทรงรูปสี่เหลี่ยมสูงเสียดฟ้าประมาณ๕๑ กว่าเมตรนั้น เดิมนั้นบริเวณเจดีย์พุทธคยาเป็นด้านหน้าของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตรงบริเวณตรงสถานที่ประดิษฐานของพระพุทธเมตตานั้น เป็นสถานที่นั่งสมาธิภาวนาของศากยมุนีพระพุทธเจ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการเจริญอาณาปานสติ ที่พระองค์ทรงค้นพบวิธีการปฏิบัตินั้น ตั้งแต่พระองค์ทรงเยาว์วัยทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยทักษะของภาวนาแบบนั้น จนจิตวิญญาณของพระองค์ทรงบรรลุถึงความรู้และความจริงของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ สถานที่แห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ศากยมุนีพระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่ามีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงและมิได้เสื่อมสลายไปตามร่างกายเมื่อสิ้นชีวิตลงไปจิตวิญญาณออกจากร่างกายนั้นไปสู่ภพภูมิอื่นต่อไปส่วนจะเป็นภพไหนขึ้นกับการ กระทำของเองในภพชาติปัจจุบัน อารมณ์ของการกระทำนั้นสั่งสมเป็นสัญญาอยู่ในจิตของตนนั้น เมื่อตรัสรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์แล้ว แต่ชาวพุทธทั่วโลกนิยมเรียกชื่อว่า "พระพุทธเจ้า" แต่นักโบราณคดีหลายท่านนิยมเรียกว่าสั้น ๆ ว่า พระพุทธเจ้า แต่ในพระไตรปิฎกนั้นพระพุทธเจ้าทรงเรียกชื่อพระองค์เองว่า "ตถาคต" เป็น ต้น
การเห็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าครั้งแรกในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ นั้น ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้มาเห็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพราะผู้เขียนรู้จักแต่จากตำราได้ข้ามพ้นจากการจินตนาการจากตำราเสียที ผู้เขียนมองเห็นพระมหาเจดีย์พุทธคยาอันใหญ่มโหฬารสูงตระหง่านเสียดฟ้า อยู่ท่ามกลางเทวสถานของศาสนาฮินดูมากมายหลายแห่งที่ตั้งขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับพระเจดีย์มหาโพธิแห่งนี้ในแต่ละวันผู้เขียนเห็นชาวพุทธจำนวนหลายพันคนเดินทางเข้าไปปฏิบัติบูชาในบริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นประจำ และออกจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาตลอดทั้งวัน หลายคนนั่งปฏิบัติบูชาในลานเจดีย์จนกว่าวัดมหาโพธินั้นจะเปิดทำการตั้งแต่ ๐.๕.๐๐ น. ของและปิดทำการในเวลา ๒๑.๐๐ น. ของทุก ๆ วัน
วิธีการปฏิบัติบูชาในบริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น มีหลายรูปแบบด้วยกัน ตามวิธีการต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ศึกษาในสถาบันพระพุทธศาสนาในประเทศของพวกเอง ตามวิธีการของตนได้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครู (GuRu) ของตนมีการนับประคำ ก็มีอัษฏางโยคะก็มี สวดมนต์ตลอดเวลาก็มี หลายคนปฏิบัติในประเทศมาก่อน รู้เบื่อหน่ายในการปฏิบัติ เพราะนึกคิดว่าวิถีปัญญาของตนในวิธีการปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเคยคิดจะทิ้งก็มีส่วนใหญ่จะนั่งสมาธิอย่างเงียบ ๆ จิตมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติบูชาสถานที่แห่งนี้ จึงเป็นศูนย์รวมของความหลากหลายของแนวคิดในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ในยุคต่อมาครูอาจารย์ชาวพุทธ ได้รู้จักการพัฒนาความรู้มากยิ่งขึ้นวิธีการปฏิบัติถึงกฎธรรมชาติของชีวิตมี ๔๐ วิธีด้วยกัน ผู้คนหลายคนมิใช่ชาวพุทธโดยกำเนิดเกิดความสงสัยว่า ผู้คนต่างชาติหลายพันคนเดินทางเข้ามาสู่วัดมหาโพธิตลอดทั้งวัน เข้ามาในบริเวณลานเจดีย์พุทธคยา เพื่อปฏิบัติบูชาตามวิธีการของตนเองสวดมนต์ด้วยภาษาของตนเอง โดยต่างคนต่างทำโดยไม่ถือว่า เป็นการรบกวนผู้ในการปฏิบัติบูชาแต่อย่างใด ด้วยความสนใจและตื่นเต้นที่เห็นผู้คนจำนวนหลายร้อยเดินตามถนนรอบพระมหาเจดีย์พุทธคยาตลอดทั้งวัน ในช่วงฤดูหนาวกันหลายคนพวกว่าพวกเขากำลังกายกันในยามเช้า ผู้คนอีกหลายคนบอกว่า เขากำลังสติในการตื่นรู้ทุกก้าวย่างของการเคลื่อน ไหว ขณะเดินรอบพระมหาธาตุเจดีย์คนหลายคนบอกว่า พวกเขากำลังฝึกเดินเพื่อความอดทนต่อกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาเป็นมโนภาพอยู่ในจิตของพวกเขา หรือ อารมย์ของวัตถุแห่งกิเลสกำลังวิ่งจรเข้ามาหาสู่ชีวิตของพวกเขา พวกเขาจะตั้งสติให้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างไร เป็นต้น เพราะพวกเขาไม่มีความรู้ ย่อมไม่เข้าใจสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นแม้ว่านั้นสิ่งนั้นจะจรเข้าสู่ชีวิตตนเองไม่รู้กี่ครั้งก็ตาม เพราะเขามัวเมาแต่สิ่งที่ตนอยากได้เท่านั้นเองคือวิธีการชำระล้างกิเลสที่เป็นความทุกข์มีอยู่ในทุกคนกิเลสเหล่านั้น แฝงตัวเข้ามาสู่ชีวิตให้หายสิ้นไปในยุคสมัยปี ค.ศ.๒๐๐๒ นั้น เมื่อประมาณ ๑๗ กว่าปีที่ผ่านมานั้น ยังมีผู้แสวงบุญเดินทางมาน้อยเพราะยังไม่มีการแชร์ในโลกออนไลน์เช่นทุกวันนี้ ผู้คนเดินทางเข้ามาสวดมนต์ไหว้พระในเจดีย์พุทธคยายังน้อยอยู่มาก เพราะยังเป็นช่วงฤดูกาลของฤดูฝนอยู่ การเดินทางมาถึงสถานที่ตรัสรู้ของศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจะสิ้นความหมายทันที่หากเราไม่รู้จักวิธีการปฏิบัติบูชาเพื่อชำระล้างกิเลสที่เคยสั่งสมมายาวนานนั้นลดถอยลงไป เมื่อเราผัสสะต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว เราไม่คิดหาเหตุผลว่า ทำไมจึงนั่งอยู่ในของผู้คนทั่วโลกอยากมาปฏิบัติบูชาอย่างใกล้ชิดและนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้เขียนอยากรู้เหตุผลว่าในแต่ละวัน ทำไมผู้คนอยากเลือกที่นั่งสมาธิที่ดีที่สุดใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ์มากที่สุดแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม
เพราะคิดว่าได้บุญกุศลมากที่สุด หากพวกเราคิดเพียงแต่ว่า มาดูต้นพระศรีมหาโพธิ์เพียงอย่างเดียว และดูโบราณสถานพระมหาเจดีย์พุทธคยาเพียงเดียว โดยไม่ปฏิบัติบูชาเพื่อชำระล้างความทุกข์ที่มีอยู่ในใจของตนแล้ว เดินทางกลับไปสู่ที่พักจากนั้นก็เดินทางไปซื้อของเท่านั้น และเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนเราก็เป็น การลงทุนที่สูญเปล่าตั้งแต่การเดินทางมาสู่สถานที่ตรัสรู้ การปฏิบัติบูชาในสถานที่ตรัสรู้ตอนปฏิบัติใหม่ ๆนั้น จิตค่อนข้างฟุ้งซ่านมาก วิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้ เพื่อระงับความฟุ้งซ่านคือการเดินจงกรมรอบพระมหาเจดีย์พุทธคยาก่อน เมื่อจิตสงบลง ผู้เขียนก็กลับมานั่งสมาธิและนึกถึงเรื่องคุณของพระพุทธเจ้า ดีกว่าปล่อยให้จิตนึกคิดฟุ้งซ่านเรื่องอื่นๆ เรื่องคุณของพระพุทธเจ้า
มีหลักฐานปรากฎในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ ข้อ [๔๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตนั้น รู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวาโลก มารโลก พรหมโลกและสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ผู้เขียนหาที่นั่งเหมาะสมกับตัวเองแล้ว ประนมมือขึ้นสวดมนต์เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วยความสงบแม้จะมีผู้คนมากมายกำลังเดินไปมาเพื่อมุมสงบชำระล้างกิเลสที่ตนยึดติดจนขาดความสุขในการใช้ชีวิต ผู้เขียนเพ่งสายตาไปสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่แห่งศากยมุนีพุทธเจ้า ตัดสินพระทัยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน หากพระองค์ไม่บรรลุธรรม ในค่ำคืนวันเพ็ญขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระองค์จะไม่ลุกขึ้นจากรัตนบัลลังก์แม้มโนภาพของกิเลสมารทั้งหลายจะถาโถมเข้าสู่ชีวิตพระองค์ระลอกแล้วระลอกเล่า เพื่อให้จิตของพระองคืหยุดชำระล้างกิเลสมารที่ถาโถมเข้ามาสู่ชีวิต แต่จิตอันทรงพลังสมาธิ อันมั่นคงหนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อกิเลสมารที่ถาโถมเข้าสู่ชีวิตเหล่านั้น แต่อย่างใด จนกระทั่งพระทัยของพระองค์บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเศร้าหมอง ถ้าพระองค์ไม่ตัดสินพระทัยเสียสละวรรณะกษัตริย์ปกครองอาณาประชาราษฎ์ พระองค์ก็คงไม่ได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เพื่อช่วยให้ผู้คนทั่งโลกหายจากความมืดมิดของชีวิตอีกต่อไป การออกผนวชเป็นเผู้เสียสละครั้งยิ่งใหญ่ และแสวงหาความรู้ที่ยังไม่มีใครสอนในโลกมนุษย์ พระองค์ต้องศึกษาค้นคว้าหาวิธีการด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ชีวิตผู้เขียนและผู้คนทั่วโลกคงมีชีวิตกับมืดบอด ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร้อนาคต เพราะขาดสติความรู้ตัวว่าความแท้จริงของชีวิตมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนนั้น ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย ก็คงจุติจิตต่อไปไม่มีสิ้นสุดหากใช้ชีวิตมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์ เป็นประจำอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสอนของศากยมุนีพุทธเจ้า ด้วยวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ กว่าพระองค์จะตรัสรู้นั้นจิตวิญญาณของพระองค์ก็เวียนว่ายตายเกิด ไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขยเช่นเดียวกัน ผู้เขียนก็อยากเห็นสัญญาเก่าที่มีอยู่ในจิตวิญญาณ ที่เดินทางไปสู่ภพภูมิต่าง ๆ ที่เราเคยไปท่องเที่ยวในสังสารวัฏ อาจจะเป็นภพภูมิที่เป็น ทุคติ อบาย นรก สวรรค์
แล้วแต่กรรมหรือการกระทำของเรา ที่ได้เคยกระทำมาแล้วในอดีตชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเบียดเบียบผู้อื่นด้วยการทำร้ายร่างกาย การทะเลาะวิวาทเพราะอคติ การเยาะเย้ยถางถางเสียดสี ในปมเด่นปมด้อยของผู้อื่น เป็นต้น การเป็นคนโกหกหลอกลวงผู้อื่นด้วยการกระทำที่มิชอบ เป็นต้นรู้จักประกอบพิธีการปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนต์และปฏิบัติบูชาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นต้นที่ ๔ ปลูกโดยเซอร์คันนิงแฮม เมื่อ ๑๓๐ กว่าปีที่แล้ว แต่การปฏิบัติบูชาของผู้เขียนด้วยการเปล่งเสียงในใจของตนเอง เพราะบริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น เต็มไปด้วยผู้แสวงบุญเกือบทั่วโลกนั้น ต่างคนต่างนั่งสมาธิ ไม่สนใจกันเป็นบททดสอบความหวั่นไหวของจิตตนเองได้เป็นอย่างดีเริ่มตั้งแต่สวดมนต์ไหว้พระ ในบทสวดนั้นกล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้ ทำให้ผู้เขียนมีรู้สึกมีความสุขที่ไม่ต้องการอามิสใด ๆ ที่มาปรุงแต่งให้ผู้เขียนมีความสุข ผู้เขียนนั่งสมาธิโดยไม่สนใจใครที่เดินรอบเจดีย์พุทธคยาและผ่านมาดูผู้คนจำนวนมากมายหลายประเทศมาปฏิบัติบูชาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมื่อถึงจุดหนึ่งเร้าร้อนและความทะยานอยากด้วยความปรารถนาต่าง ๆ นาน ๆได้หายหมดสิ้นแล้ว แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตามแต่ก็ดีกว่าผู้เขียนไม่ต่อสู้กับกิเลสภายใจิตของผู้เขียนเอง จิตผู้เขียนเริ่มไม่เคลื่อนไหว ผู้เขียนไม่ยอมจำนนกับความกิเลส ผู้เขียนก็ลุกจากอาสนะที่นั่งสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เดินรอบเจดีย์ ดูเหล่าลามะมากมายหลายรูป พากันเดินภาวนาอย่างเข้มแข็งหลายรูปจิตอยู่กับบทสวดมนต์ การนับประคำของพวกเขา ทำให้ผู้เขียนรู้ว่ายังอยู่กับโลกที่เต็มไปด้วยผู้คนอีกมากมายที่พวกเขาหาวิธีการอยู่อย่างไรให้ตัวเองมีความสุข จิตไม่หวั่นไหวต่างหากที่ทำให้เราต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ ในชีวิตผู้เขียนเคยมีความทุกข์ที่อยู่ในจิตวิญญาณไม่แตกต่างจากมนุษย์คนอื่นแต่อย่างใด ผู้เขียนเคยมาอธิษฐานบารมีโดยเอาบุญกุศลที่ผู้เขียนเคยช่วยเหลือผู้อื่นไว้เป็นที่ตั้ง ผู้เขียนเอาบุญนี้ตั้งจิตปรารถนาต่อหน้าหลวงพ่อพุทธเมตตาหลายครั้ง หลังจากนั้นอนิสงค์ในสิ่งนั้น ส่งผลทำให้ผู้เขียนก็ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ผู้เขียนตั้งความปรารถนาที่อธิษฐานไว้เช่นกัน
ยิ่งทำให้ตัวผู้เขียนศรัทธาอย่างมั่นคง มิเคยหวั่นไหว ว่าบุญกุศลนั้นเป็นสิ่งมีอยู่จริงหรือสูญเปล่า แม้บางครั้งอาจให้ผลสำเร็จช้าก็ตาม ขอแต่เพียงให้เชื่อมั่นในการทำความดีที่ผู้เขียนแสดงออกทางกาย ทางวาจา และทางมโนกรรม เมื่อผู้เขียนทำแล้วย่อมได้รับผลดีตอบแทนเสมอ ดังตัวอย่างที่กล่าวในพระไตรปิฎกที่สุเมธดาบสได้ถวายร่างกายของตนนอนราบกับโคลนตมเป็นสะพานบุญ ให้ทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นและพระอรหันต์ ๔๐๐,๐๐๐ รูป เหยียบเท้าบนร่างกายของตนมิให้แปดเปื้อนโคลนตม เพื่อเข้าไปปฏิบัติศาสนกิจในตัวเมืองปัจตันจชนบท สุเมธดาบสเอาบุญกุศลที่ได้ทำนี้เป็นที่ตั้งความปรารถนาด้วยการอธิษฐานบารมีเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์หน้า คำอธิษฐานของสุเมธดาบสกว่าจะประสบความสำเร็จต้องเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏฏ์สร้างบารมี ๑๐ ทัศ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขยและ ๑ แสนกัปป์จนมาเกิดเป็นโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติปัจจุบันนี้ ผู้เขียนโชคดีที่ตัดสินใจมาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในประเทศอินเดีย
แม้จะเป็นประเทศที่มีประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างยากจนเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเป็นพระธรรมวิทยากร ให้แก่ญาติโยมผู้แสวงบุญชาวไทย ผู้เดินทางมาไหว้สวดมนต์ไหว้ในประเทศอินเดียช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคมของทุก ๆ ปี ผู้เขียนทำงานเดือนละ ๑-๒ ครั้งการทำงานให้ ผู้เขียนมีความสุขในชีวิตเพราะทำให้ผู้เขียนรู้จักค่าของตนเอง ผู้เขียนจึงทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยการทำงานต้องจำวัดดึกตื่นแต่เช้า เพราะถนนในประเทศเมื่อ ๑๕ ปีที่ผ่านมานั้นยังคับแคบ มีการพัฒนาน้อยทำให้การจราจรคับคั่งไปด้วยรถบรรทุกสิบล้อวิ่งระหว่างเมือง ทำให้การเดินทางของเราถึงจุดหมายอันเป็นที่พักช้ามากอาจ ๒-๓ ทุ่มในบางวัน ช่วงนั้นรัฐบาลของเขายังเห็นคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปวัฒนธรรมน้อยมาก จึงไม่มีนโยบายพัฒนาเป็นถนนลาดยางไว้รอการท่องเที่ยวไปในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ผู้แสวงบุญต้องเสียเวลากับการเดินทาง เพราะรถติดเป็นเวลาหลายชั่วโมงในบางครั้งอินเดียคับแคบต้องแลกกับสุขภาพร่างกายสบักสะบอม
เพราะการเดินทางอันทรหดของเส้นทางที่ใช้ในการเดินทาง แต่วิถีการทำงาน ยิ่งทำงานยิ่งทำให้ผู้เขียนมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่แตกฉานและเข้าใจชีวิตของคนอื่นได้มากขึ้นเพราะการทำงานต้องสติระลึกถึงประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาคิดใคร่ครวญวิเคราะห์แล้วข้อมูลของสถานที่ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนต้องเดินทางไปบรรยายทำให้ผู้เขียนพัฒนาความรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ผู้เขียนไม่เคยปฏิเสธการทำงาน เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยเฉพาะ การบรรยายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในหลายครั้ง ที่เขียนล้มป่วยลง ๒-๓ วันระหว่างการเดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง๔ แต่ผู้เขียนไม่อยากล้มเลิกการทำงาน ผู้เขียนก็อาศัยอธิษฐานบารต่อหลวงพ่อพุทธเมตตา ช่วยเกิดความมหัศจรรย์แก่ชีวิตของผู้เขียนที่อาการล้มป่วยของหายไป ในวันรุ่งขึ้นสามารถเดินทางต่อไปได้จนกระทั้งครบสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมื่อผู้เขียนอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีโอกาสของชีวิตที่เข้ามาบวชเรียนในพระพุทธศาสนา
เมื่อศึกษานักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ผู้เขียนรู้จักแต่คำว่า "พระพุทธองค์ ตรัสรู้ที่ใต้พระศรีมหาโพธิ์"แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นสถานที่จริงจนกระทั่งปี ๒๕๔๕ ผู้เขียนตัดสินใจมาเรียนต่างประเทศ ตามความฝันของตนต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมถึง ๙ ปีกว่าความฝันจะเป็นจริงหลังจากหาข้อมูลแล้วตัดสินใจเลือก Banaras Hindu university เมืองพาราณสี ประเทศอินเดียห่างจากเมืองพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดียออกไปถึงที่ ๒๕๔.๕ กม โอกาสของชีวิตขณะที่ผู้เขียนกำลังเรียนในระดับปริญญาโทผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปในโครงการปฏิบัติธรรมในสังเวชนียสถาน และงานต้อนรับน้องใหม่๒๐๐๒ ของสมาคมนักศึกษาไทยที่มาศึกษาในมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ทำให้ผู้เขียนรู้จักสถานที่ตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก และมีโอกาสติดตามพระมหาเถระที่เคารพนับถือกันไปฟังเขาบรรยายสถานที่เกี่ยวข้องกับ การทำงานเผยแผ่ของพระพุทธเจ้าและได้เป็นพระวิทยากรให้ญาติโยมฟังหลายคณะตลอดหลายปีที่อยู่ในอินเดียการเตรียมศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้า
ทำให้จิตวิญญาณของผู้เขียน เข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้นกว่าเดิมมากมาย หากผู้เขียนไม่ตัดสินใจมาเรียนหนังสือที่ประเทศอินเดีย ผู้เขียนคงไม่รู้จักต้นพระศรีมหาโพธิ์อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของการเป็นพระพุทธเจ้าวิถีชีวิตการบวชของผู้เขียนคงเป็นการใช้ชีวิตที่สูญเปล่าไม่รู้จักการค้นคว้าเรื่องราวของชีวิตจริง ๆ ที่ผู้เขียนควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงความเป็นไปของชีวิต ๆ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผู้เขียนพำนักอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย ช่วงเวลานั้นมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสวรรค์ของการศึกษาในต่างประเทศ เพราะการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกค่าเล่าเรียนไม่แพงมากนัก เป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนกำลังเรียนปริญญาเอกสาขาปรัชญาและศาสนา มีโอกาสท่องเที่ยวไปในแดนพุทธภูมิ ในช่วงฤดูหนาวหลังจากส่งรายงานการทำโครงการศึกษาให้ภาควิชาทุก ๆ ๖ เดือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนชอบเดินทางมาสู่พุทธคยา และพำนักอยู่ในวัดไทยพุทธคยาช่วงเวลาเช้าและตอนเย็นผู้เขียนชอบเดินทางมา ปฏิบัติบูชาที่วัดมหาโพธิ์อันสถานที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ในช่วงเวลาแดดร่มลมตก ผู้เขียนและพระไทยจะมาสวดมนต์เป็นประจำบริเวณเจดีย์พุทธยา แม้จะเต็มไปด้วยผู้คนพลุกพล่านเต็มเป็นผู้คนต่างชาติต่างภาษา แต่ไม่ต่างศาสนามารวมกันที่นี้เป็นจำนวนหมื่นคนในแต่ละวัน ผู้เขียนไม่เคยมีความคิดเบื่อหน่ายเลยปลีกวิเวกไม่พบปะผู้คน ผู้เขียนมาได้ทุก ๆ วัน ทั้งที่เดินมาเองก็มีหรือมาบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ให้กับผู้แสวงบุญก็มี ชีวิตของผู้เขียนรู้สึกอิ่มบุญในจิตเสมอ ที่ได้สัมผัสกับมหาศรัทธาของผู้คนทั่วโลกที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้หูผู้เขียนได้ยินเสียงสวดมนต์ทำนองเสียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป ตามเชื่อชาติและถิ่นฐานที่เกิดก็ตาม แต่ความหมายของบทสวดมนต์เหล่านั้นล้วนแต่สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ผู้เขียนเคยมาสู่สถานที่แห่งนี้ตลอดทั้งปีใน ๓ ฤดู จึงได้สัมผัสบรรยายกาศของสถานที่แห่งนี้ทั้งในฤดูฝน, ฤดูหนาว และฤดูร้อน ผู้เขียนได้ผัสสะที่มีอารมณ์เรื่องราวที่หลากหลายสุดท้าย ก็อยู่ที่สติของเราที่จะยึดมั่นหรือปล่อยวางอารมณ์เพื่อสงบสุขในการใช้ชีวิตของเรา ผู้เขียนเดินทางมาสถานตรัสรู้ครั้งสุดท้าย เมื่อปีประมาณเดือนธันวาคม ๒๕๕๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น