The epistemological problem of Lumbini, the birthplace of Siddhartha in the Tripitaka.
ปัญหาญาณวิทยาของลุมพินีสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ

บทนำ
โดยทั่วไป เราได้ยินความเห็นเกี่ยวกับสวนลุมพินีว่า เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาคือพระองค์ทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อตรัสรู้ความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ พระองค์ถูกขนานพระนามว่า "พระพุทธเจ้า" ทรงเป็นศาสดาในพระพุทธศาสนา จากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ทั้งนิกายเถรวาท และมหายาน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในราชอาณาจักรไทย มานานกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว และชาวพุทธทั่วโลกยอมรับโดยปริยายว่าความเห็นในเรื่องนี้เป็นความจริง โดยไม่ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผล แม้เราจะยอมว่าเป็นความจริงโดยปริยายก็จริงก็ตาม แต่ในสมัยพุทธกาล พราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะและนักปรัชญา มักจะแสดงทัศนะของตนเองในเรื่องชีวิตมนุษย์ที่เรียกว่า"อัตตา" ตามปฏิภาณของตนเองและคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล แต่การใช้เหตุผลในการอธิบายความจริง บางครั้งก็ใช้เหตุผลถูกบ้าง บางครั้งก็ใช้เหตุผลผิดบ้าง บางก็ให้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง ตามตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงว่าลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า หรือเรื่องอื่นใด อย่าเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตรวจข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าอย่างเพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ หรือ พิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะชีวิตมนุษย์มีร่างกายและจิตใจเป็นปัจจัยในการรับรู้ มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นห่างไกลจากจุดที่ตนอยู่ในปัจจุบัน หรือเหตุปัจจัยอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น อาจให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ อาจเกิดความสงสัยได้เนื่องจากไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในใจของตนเอง เป็นต้น ที่ทำให้จิตของมนุษย์น้อมรับอารมณ์เหล่านั้น มาสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เพื่อเป็นหลักฐานทางอารมณ์เหล่านั้น จึงเกิดปัญหาขึ้นในใจของผู้ที่ศึกษาจากตำราทางพระพุทธศาสนาว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าจริง ? จึงเป็นหน้าที่ของญาณวิทยาที่จะต้องให้คำตอบในเรื่องนี้
ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา เป็นวิชาที่สนใจศึกษาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างความรู้ของมนุษย์หรือองค์ความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของมนุษย์ เป็นกระบวนการพิจารณาความจริงของญาณวิทยา และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ มีความสอดคล้องต้องกัน หรือสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ได้จริงหรือไม่ ตามแนวคิดทางญาณวิทยาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์นั้น ต้องผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่า เป็นความรู้ที่เป็นความจริงโดยเฉพาะทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นความรู้และความจริง ตัวอย่างเช่น สวนลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งจะเป็นความรู้ที่แท้จริงเป็นไปได้ มนุษย์ต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้และเป็นจริงในเรื่องนั้น จึงมีปัญหาที่ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
๑.เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติที่สวนป่าลุมพินีในแคว้นสักกะดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกดิจิทัลพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๗ ข้อ. ๖๘๙ "พระโพธิสัตว์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐไม่มีผู้ใดเปรียบบังเกิดขึ้นแล้วในมนุษย์โลกที่ป่าลุมพินีในคามของเจ้าศากยะทั้งหลาย..."
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกออนไลน์นั้น รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่ป่าลุมพินีในหมู่บ้านของเจ้าศากยะ เมื่อไม่มีหลักฐานอื่นใดยกข้อความหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกให้สงสัยอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่า แม้ความรู้ในพระไตรปิฎกยืนยันว่าเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนป่าลุมพินีจริง และรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนจริง ๆ แต่ก็เป็นรับรู้จากพยานเอกสารในพระไตรปิฎก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปี แต่ยังมีข้อสงสัยว่าสวนป่าลุมพินีซึ่งเป็นที่พักผ่อน (Rest area) ของผู้คนที่สัญจรไปมาระหว่าง ๒ พระนครคือพระนครกบิลพัสดุ์ กับพระนครเทวทหะตั้งอยู่ที่ไหน ที่จะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสผู้เขียนได้ เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากหลักฐานที่ปรากฏจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑.มหาปทานสูตร] กฏธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ ข้อ. [๓๐.] ๑๔.มีกฏธรรมดาดังนี้เวลาพระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดามีธารน้ำปรากฏในอากาศร้อน ๒ สายคือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำอุ่น เพื่อชำระล้างพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้เป็นกฏธรรมดาในเรื่องนี้

เมื่อศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกข้างต้นรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า สวนป่าลุมพินีเป็นที่พักผ่อนได้ เนื่องจากเป็นป่าสาละให้ร่มเงาตลอดทั้งปี มีน้ำพุใต้ดินสองแห่ง ทั้งธารน้ำร้อนและธารน้ำเย็นพุ่งขึ้นจากใต้ดินขึ้นสู่ท้องฟ้าและตกลงไปยังสระโบกขรณีตลอดเวลา เพื่อให้นักเดินทางไกลได้หยุดพักผ่อนให้ร่างกายหายจากเหนื่อยล้า หลังจากเดินทางมาไม่น้อยกว่า ๓๐ กิโลเมตร ให้พวกเขาได้อาศัยธารน้ำเย็นจากใต้ดินใช้ดื่มแก้กระหายน้ำเพราะร่างกายขาดน้ำและเสียเหงื่อมากจากการเดินทางเป็นต้น ส่วนธารน้ำร้อนสามารถใช้อาบน้ำและชำระล้างกายที่เกิดจากการหมักหมมของสิ่งสกปรกในระหว่างเดินทาง เพื่อให้ร่างกายสะอาดได้ ป่าสาละลุมพินีจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การพักผ่อนระหว่างการเดินทางไกล ของนักแสวงโชค พ่อค้าวานิช นักบวช ผู้แสวงบุญ และการเสด็จกลับพระนครเทวทหะที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระนางมายาเทวี พระมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นต้น แม้ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์หลายฉบับรับฟังเป็นข้อยุติว่าสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ในแคว้นสักกะชนบทแล้ว
ปัญหาต้องค้นคว้าหาข้อมูลต่อไปอีก เมื่อกาลเวลาผ่านสมัยหลังพุทธกาลไปแล้ว ๒,๖๐๐ กว่าปี สภาพทางภูมิศาสตร์ของชมพูทวีปได้เปลี่ยนแปลงตามกฎธรรมชาติ แคว้นสักกะได้สูญเสียอำนาจอธิปไตยไปแล้วเพราะตัณหาของมนุษย์ จึงเกิดสงครามแก่งแย่งดินแดนกัน ทำให้เกิดการโยกย้ายประชากรไปจากแคว้นสักกะไปสู่ดินแดนอื่น ๆ ทำให้พระนครกบิลพัสดุ์กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว ดินแดนของแคว้นมหาอำนาจ ๑๖ แคว้นก็ล่มสลายไปแล้ว ส่วนปัจจันตชนบท ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลแล้วเมือระลึกถึงปัญหาได้เช่นนี้ ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่าสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ตั้งอยู่ที่ไหน มีพยานวัตถุ มีซากปรักหักพังของโบราณสถานของสถานที่สูติหรือไม่พียงใด เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ผู้เขียนค้นพบว่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกหลายครั้งในชมพูทวีป โดยเฉพาะครั้งที่ ๓ ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีการส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการสร้างศาสนวัตถุไม่น้อยกว่า ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีป เมื่อระลึกถึงข้อเท็จจริงที่ได้รับฟังเป็นข้อยุติเช่นนี้ ผู้เขียนจำเป็นต้องหาพยานวัตถุได้แก่โบราณสถาน สถูปและเสาหินอโศกที่สร้างขึ้นมาเป็นอนุสรณ์ในยุคสมัย พระเจ้าอโศกมาวิเคราะห์หาเหตุผลมาสนับสนุนเหตุผลของคำตอบของผู้เขียนต่อไปได้ดังต่อไปนี้

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงระลึกถึงอกุศลกรรมจากการทำสงคราม ทรงดำริหาวิธีการแก้ไขความทุกข์ในพระทัย จากสมณะในทางศาสนาที่พระองค์ทรงศรัทธาเคารพนับถือ แต่เมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นศาสนาบุคคลในลัทธิความเชื่อของศาสนานั้น ขาดจริยวัตรอันงดงาม เพราะขาดการประพฤติวัตรปฏิบัติตน ไม่มีอาการสำรวมระวังอินทรีย์ของตน เพราะไม่มั่นคง ยังหวั่นไหวต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตตนไม่เป็นสรณะอันจะเป็นที่พึ่งที่ประเสริฐให้แก่พระองค์ในยามเกิดทุกข์อย่างยิ่งในพระทัยของพระองค์ได้ ทรงเสื่อมพระราชศรัทธาในศาสนบุคคลนั้น แต่ชีวิตพระองค์ทรงดำรงอยู่ในความมืดมิดไม่นานนัก ทรงมีโอกาสได้สนทนาหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในเรื่องความไม่ประมาทในชีวิตจากสามเณรนิโครธแล้ว และทรงเกิดพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงดำรงพระองค์อยู่ในเบญจศีลและเบญจธรรมในทุก ๆ วันแล้ว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและถวายทานพระภิกษุสงฆ์วันละ ๖๐๐,๐๐๐ รูปเป็นมูลเหตุให้ศาสนบุคคลในศาสนาอื่นมาปลอมปนบวชเป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงตัดสินพระทัยทรงทำการสังคายนาครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๓๕ เพื่อธรรมวินัยบริสุทธิ์ ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เมืองปัฏตาลีบุตร เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ในแดนพุทธภูมิและพระองค์ทรงสดับรับฟังพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าด้วยสติพิจารณาไปด้วย ทรงเห็นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้เดินทางไปสู่สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ที่ปฐมเทศนา และปรินิพพานแล้ว เมื่อถึงกาละย่อมได้ไปจุติจิตบนโลกสวรรค์ ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เช่นนั้นพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาพร้อมจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เพื่อความไม่ประมาทในการใช้ชีวิตพระองค์ควรเสด็จไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อปฏิบัติบูชา เมื่อพระองค์ทรงศึกษาหาความรู้จากพระไตรปิฎกแล้วว่าสวนลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแล้ว แต่พระองค์ทรงสงสัยว่า สวนลุมพินีนี้ตั้งอยู่บริเวณไหนในชมพูทวีปเป็นเรื่องที่พระองค์ควรเดินทางไปสำรวจวิเคราะห์หาความรู้ด้วยพระองค์เอง เมื่อพบแล้วจะได้สร้างอนุสรณ์สถานที่ประสูติของศากยมุนีพระพุทธเจ้าไว้ในพระพุทธศาสนาและปฏิบัติบูชา ณ. สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าต่อไป
๓. เสาหินอโศก หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชหลังจากพระองค์ทรงสังคายนาครั้งที่ ๓ ปีพ.ศ. ๒๓๕ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การสังคายนาครั้งนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎกว่า หากพระองค์ทรงแสวงบุญในสังเวชนียสถานั้ง ๔ เมื่อสวรรคตพระองค์จะได้เสด็จไปสู่สวรรค์ อีก ๓ ปีต่อมา พ.ศ. ๒๓๘ เป็นปีที่ ๒๐ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จไปค้นหาสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เมื่อค้นพบแล้ว ทรงสร้างเสาหินอโศกและจารึกเป็นอักษรพราหมีไว้ เป็นอนุสรณ์สถานที่ประสูติของศากยมุนีพุทธเจ้า และเป็นพยานวัตถุให้ศาสนบุคคลรุ่นหลังได้เดินทางมาปฏิบัติบูชาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า การเสด็จพระดำเนินของพระเจ้าอโศกมหาราชและผู้แสวงบุญชาวเมืองปัฏตาลีบุตรในยุคนั้น จึงถือว่าเป็นผู้แสวงบุญคณะแรกได้เดินทางไปจากเมืองปัฏตาลีบุตร ไปที่สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า การเดินทางไปครั้งนั้น นอกจากเสด็จไปแสวงบุญแล้ว ทรงมีพระประสงค์ เพื่อค้นหาสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นสาละ สระโบกขรณี ซึ่งเป็นสถานที่มีกระแสน้ำพุร้อนและกระแสน้ำพุเย็นพุ่งออกมาจากใต้ดินตกลงสู่สระโบกขรนี เป็นสระน้ำที่ผู้เดินทางไกลบนเส้นทางเมืองกบิลพัสดุ์ไปสู่เมืองเทวทหะ ใช้เป็นหยุดพักผ่อนระหว่างการเดินทาง และเป็นสถานข้าราชบริพารใช้สรงสนานพระวรกายของพระนางมายาเทวี และพระทารกโคตมโพธิสัตว์เพิ่งคลอดจากครรภ์มารดาใหม่ ๆดังปรากฎพยานวัตถุในจารึกเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชที่สวนลุมพินีที่แปลโดย พระราชธรรมมุนี (เกียรติสุกิตติ) และพระสุธีวรญาณเขียนไว้หนังสือบันทึกธรรม ๘๐ ปี พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาว่า "พระเจ้าเทวนัมปิยะทัสสี เมื่อทางได้รับอภิเษกแล้ว ๒๐ ปีได้เสด็จมานมัสการ ณ ที่นี้ด้วยพระองค์เองด้วยว่าพระพุทธศากยมุนีได้ประสูติณที่นี้ทรงให้สร้างรูปเสาหิน(บางม่านแปลว่ารั้วหิน) และประดิษฐ์ศิลาไว้เป็นที่หมายโดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประสูติ ณ สถานที่แห่งนี้ จึงทรงโปรดให้หมู่บ้านลุมพินีไม่ต้องเสียภาษีทั่วไปและทรงให้เสียเพียงหนึ่งในแปดส่วนของผลผลิตเป็นค่าภาษีที่ดิน (บางท่านแปลว่าแม้ส่วนดังกล่าวให้ทรงงดด้วย ในปี ๑๓๑๒ กษัตริย์ข่าส์ไปเยี่ยมชมสวนลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าและมีการจารึกเสาหินพระเจ้าอโศกด้วย ในเวลาต่อมาเมื่อพระองค์ทรงค้นพบสถานที่ประสูติแล้วโดยคำยืนยันของพระอุปครุฑหรือพระโมคคัลบุตรติสสะเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ชี้จุดที่พระนางสิริมหามายาประสูติกาลพระราชโอรส จากหลังนั้นพระเจ้าอโศกทรงโปรดให้สร้างพระอารามทั่วชมพูทวีป ๘๔,๐๐๐ แห่งรวมทั้งสวนลุมพินีแห่งนี้ แม้หลักฐานไม่ปรากฎว่า มีก่อสร้างวัดไว้ในลักษณะแบบใดก็ตาม
วัดมายาเทวีมีความเจริญรุ่งเรืองจนถึงราวปี ค.ศ. ๑๑๐๐ ก่อนที่จะถูกทำลายโดยกองทัพของพระเจ้าศสางกาและคณะสงฆ์โดยเฉพาะพระภิกษุที่รักษาธรรมและวินัย ก่อนที่จะถูกทำลายไปจากอนุทวีปอินเดีย วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากที่พระองค์ทรงค้นพบสถานประสูติของพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดมายาเทวีเพื่อรักษาสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และบูชาคุณธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อให้อนุชนในรุ่นต่อไปได้ศึกษาพระไตรปิฎก พวกเขามีความปรารถนาในชีวิตว่าพวกเขาจะแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เพื่อมาปฏิบัติบูชาคุณธรรมของพระพุทธเจ้าในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ประเทศเนปาลได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางโลกทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก ทำให้เกิดการบูรณะใหม่ มีการขุดค้นแหล่งโบราณคดี และวัดฮินดูที่สร้างทับที่ประสูติของพระพุทธเจาก็ถูกรื้อถอน พบว่าใต้ฐานของวัดฮินดูที่สร้างขึ้นด้านบน มีห้องปฏิบัติสำหรับพระภิกษุจำนวน ๑๔ ห้องในวัดพุทธด้วย มีหลักฐานการสร้างสถูปเล็ก ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์ว่า เป็นสถานที่ที่เทวดารับพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะจากครรภ์พระมารดา มีหลักฐานแสดงสถูปเทวดา ๔ องค์ รวมทั้งรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าด้วย สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

๕. รอยพระพุทธบาท (Mark Stone) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ยูเนสโกได้กำหนดให้สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม กรมโบราณคดีแห่งสหพันธรัฐประชาธิปไตยเนปาลได้ขุดค้นโบราณสถาน และรื้อวัดฮินดูที่สร้างทับวัดพุทธศาสนาบนเนินดินนั้น ซึ่งเป็นศิลปะฮินดูไม่เกี่ยวข้องกับพุทธศิลป์ออกไป และปรับปรุงสระโบกขรณีให้สวยงาม เมื่อวัดฮินดูถูกรื้อออกไป พบห้องปฏิบัติธรรมทั้งหมด ๑๔ ห้องใต้วัดฮินดู นักโบราณคดีค้นพบรอยพระพุทธบาทของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่แกะสลักจากหินทรายที่เรียกว่า Mark Stone ของพระโพธิสัตว์ มีขนาดเท่ากับเท้าเด็กทารกที่อยู่ตรงกลางเจดีย์ที่สร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้านั้นไว้ จากหลักฐานที่ถูกค้นพบนี้ ทำให้เรายืนยันว่าจุดบริเวณ นี้คือสถานที่ประสูติจริงของพระพุทธเจ้า (The exactly Birth of Buddha) เมื่อสถานที่แห่งนี้ กลายเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในปี ๒๕๔๐ กองโบราณคดีของเนปาลได้ตัดสินใจรื้อเทวสถานในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่บนเนินดินที่ติดกับเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ดังกล่าวออกไปจากสถานที่ประสูติของพระโพธิสัตว์ และสร้างมายาเทวีวิหารครอบรักษามรดกโลกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานคือเสาหินแกะสลักอักษรพราหมีเกี่ยวกับ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จไปแสวงบุญที่สวนลุมพินีสถานที่ประสูติ ซึ่งเป็นยืนยันถึงการมีอยู่ของสวนลุมพินีอันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ดังหลักฐานปรากฎอยู่ในจารึกเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ณ สวนลุมพินีที่แปลโดยพระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตติ) และพระสุธีวรญาณเขียนไว้หนังสือบันทึกธรรม ๘๐ ปี พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาว่า "พระเจ้าเทวนัมปิยะทัสสี เมื่อทางได้รับอภิเษกแล้ว ๒๐ ปีได้เสด็จมานมัสการ ณ ที่นี้ด้วยพระองค์เองด้วยว่าพระพุทธศากยมุนีได้ประสูติณที่นี้ทรงให้สร้างรูปเสาหิน (บางม่านแปลว่ารั้วหิน) และประดิษฐ์ศิลาไว้เป็นที่หมายโดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประสูติณสถานที่แห่งนี้ จึงทรงโปรดให้หมู่บ้านลุมพินีไม่ต้องเสียภาษีทั่วไป และทรงให้เสียเพียงหนึ่งในแปดส่วนของผลผลิตเป็นค่าภาษีที่ดิน (บางท่านแปลว่าแม้ส่วนดังกล่าวให้ทรงงดด้วย)"

๖. สระโบกขรณี เมื่อผู้เขียนเดินทางไปแสวงบุญที่สวนลุมพินีซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมายาเทวี (Maya Devi temple) ผู้เขียนพบสระโบกขรณี เป็นสระน้ำที่เคยมีบ่อน้ำพุร้อน และบ่อน้ำพุเย็นที่พวยพุ่งออกจากใต้ดินขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้ว ตกลงมาสระสรงสนานพระโพธิสัตว์สิทธัตถะกับพระนางมายาเทวี พระมารดาดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ (ฉบับมหาจุฬาฯ) มัชฌิมนิกาย อุปริปัณนาสก์ อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ข้อ (๒๐๖) .๑๗ กล่าวว่า "ข้าพระองค์ได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่าอานนท์เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา มีธารน้ำปรากฎในอากาศ ๒ สายคือธารน้ำอุ่นธารน้ำเย็น เพื่อสระสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา
จากข้อมูลปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ดังกล่าวข้างต้น รับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่า สระโบกขรณีเป็นสระน้ำที่มีอยู่จริงตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล ฐานดินชั้นล่างสุดใต้สระโบกขรณีนั้น ผู้เขียนเคยพบพยานเอกสารภาพถ่ายขณะขุดค้นสระโบกขรณีในหนังสือหลายฉบับนั้น มีลักษณะของปล่องของกระแสน้ำร้อนและกระแสน้ำเย็น จำนวน ๒ ปล่องด้วยกัน ที่กระแสน้ำพุทั้งสองสายพุ่งสนานพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโพธิสัตว์โคตมะ) หลังจากประสูติกาลแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้จากพยานเอกสารพระไตรปิฎก ภาพถ่ายการขุดค้นสระน้ำในบริเวณวัดมายาเทวี และพยานวัตถุ สระโบกขรณีที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของผู้เขียนเองเมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลจากพยานหลักฐานแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า พยานหลักฐานที่นำมาวิเคราะห์นั้นได้เหตุผลของคำตอบสอดคล้องต้องกัน อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีข้อพิรุธแตอย่างใด และไม่มีคัมภีร์อื่นใดจะยกขึ้นมาหักล้างโต้แย้ง ข้อเท็จจริงความจริงในพยานเอกสารพระไตรปิฎกและสถานที่ตั้งของสวนลุมพินีซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมายาเทวี อีกต่อไป เชื่อว่าสระโบกขรณีแห่งนี้ เป็นสถานที่สระสนานพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะและพระนางมายาเทวีจริง
๗. Google Map เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแผนที่โลก ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของวัดมายาเทวี เสาหินอโศก และสระโบกขรณีนั้น ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเทือกเขาหิมาลัยมากนักโดยแผนที่โลกกูเกิลระบุไว้ชัดเจนว่า maya Devi templeตั้งอยู่ไม่ไกลจากอำเภอกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ และตั้งอยู่ไม่ไกลจากเทศบาลตำบลเทวทหะซึ่งเป็นที่ประสูติของพระนางมายาเทวีในฤดูแล้ง เราจะมองเห็นหน้าผาเทือกเขาหิมาลัยจากพื้นดินได้ชัดเจนเหมือนม่านรอเมฆมากระทบหน้าผา แล้วกลั่นตัวเป็นฝนจำนวนมหาศาลที่ตกลงบนที่ราบเชิงเขาหิมาลัย ทำให้ดินบริเวณนี้อุดมไปด้วยน้ำเหมาะแก่การเกษตรกรรมและปลูกข้าวใช้เลี้ยงคนมาทุกยุคทุกสมัย
หลายพันปีผ่านไป กระแสน้ำพุร้อนและกระแสน้ำพุเย็นอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ เนื่องจากปริมาณน้ำเคยมีมหาศาลลดลงอย่างมาก จึงไม่ได้ไหลพุ่งขึ้นมาเหมือนเมื่อก่อน เพราะปริมานน้ำฝนในเทือกเขาหิมาลัยลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมนุษย์ได้บุกรุกและยึดครองดินแดนเทือกภูหิมาลัย เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม เพาะปลูกข้าวและพืชไร่บนที่ราบเชิงหิมาลัย (Himalaya Mountain) ที่เรียกว่า เนินเขา Sivalik Range และเนินเขา Mahabharat Range เมื่อจำนวนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยธรรมชาติแล้ว ป่าไม้จะถูกนำไปใช้ในการเพาะปลูก และตัดต้นไม้เป็นฟืนปริมานมากขึ้นในการปรุงอาหารสำหรับมนุษย์เพื่อการยังชีพ ทำให้ปริมานต้นไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝนตกน้อยลงเพราะบนภูเขาไม่มีป่าไม้มาบังเมฆ และหมอกลอยเข้ามาควบแน่นเป็นหยาดฝนที่ตกลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย เมื่อน้ำฝนตกมาก ก็ไม่มีป่าไม้มาปิดกั้นการไหลของน้ำให้ช้าลงและดูดซับน้ำให้ซึ่มลงใต้ดิน จึงมีน้ำใต้ดินปริมานน้อยเท่านั้น กระแสน้ำพุร้อนและกระแสน้ำพุเย็น ครั้งหนึ่งที่เคยลอยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าก็จะลดลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สระโบกขรนีมีน้ำอยู่ตลอดทั้งปีและไม่เคยแห้ง แต่ในยุคนี้ ผู้คนแทบไม่ใครรู้ว่าใต้สระน้ำโบกขรณีมีธารน้ำร้อนและน้ำเย็นปรากฎเช่นในสมัยโบราณ
๘. บ่อเกิดความรู้ของผู้เขียน ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่า "มนุษย์คนใดคนหนึ่งรับรู้จากประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในใจเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงของผู้คนนั้น ตามทฤษฎีความรู้นี้ เราสามารถตีความได้ว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์คนหนึ่งคนใดย่อมรับรู้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นความรู้และความจริง กล่าวคือบ่อเกิดความรู้ของผู้เขียนเกี่ยวกับสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียน เมื่อผู้เขียนเดินทางมาแสวงบุญ เพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าในช่วงฤดูหนาวของเดือนธันวาคมของทุก ปี เนื่องจากเส้นทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะเป็นเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ไกลที่สุด ความร้อนน้อยที่สุดจากแสงแดดจะแผ่ลงมายังโลก ความเย็นจากเทือกหิมาลัยพัดลงมาปกคลุมสู่ที่ราบ Trerai อันเป็นสถานที่ตั้งของเมืองสิทธัตถะนครทั้งเมือง ผู้เขียนนั่งรถโดยสารของผู้แสวงบุญชาวไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองสิทธัตถะนคร ประเทศเนปาล ผ่านหมอกควันและถนนแคบ ๆ สู่เมืองลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เสียงของพระวิทยากรได้เริ่มบรรยายตั้งแต่เช้าตรูของทุกวัน ตลอดทั้งวันไปถึงค่ำโดยไม่เหนื่อยหน่ายกับชีวิต ค่อย ๆ ขับกล่อมผู้แสวงบุญ เราก็ค่อย ๆ ใช้จิตพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นเรื่องราวแห่งธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ มีปัจจัยทางกายและจิตใจมารวมกันทำให้เกิดชีวิตมนุษย์ใหม่เกิดขึ้นในโลกนี้ จิตใจของมนุษย์ทุกคนต้องอาศัยร่างกายของตนเองรับรู้ข้อมูลในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของพวกเขา เมื่อจิตมนุษย์รับรู้ข้อมูลของเรื่องราวต่าง ๆ จากการศึกษา วิจัยและการปฏิบัติ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น คำตอบที่ได้ย่อมเป็นความรู้และความจริงขึ้นมา
ดังนั้นเมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เกี่ยวกับสวนลุมพินี ประเทศเนปาลจากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าสถานแห่งนี้เป็นสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลอย่างแน่นอน เพราะหลักฐานที่สำคัญคือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่แกะสลักเป็นอักษาพราหมียืนยันว่า พระเจ้าอโศกได้เคยมาที่สถานแห่งนี้ ตั้งอยู่ในแควักกะชนบท เพราะห่างจากแม่น้ำโรหินีซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นโกลิยวงศ์ ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน รวมทั้งสระโบกขรณีซึ่งเป็นสถานที่สระสนานพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะและพระวรกายของพระนางมายาเทวี เป็นต้น.
วิธีปฏิบัติบูชาที่สวนลุมพินี เมืองสิทธัตถะนคร เนปาล

ในการเดินทางมาสู่มายาเทวีวิหาร ทุกครั้งที่ฉันมาที่สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ บ่อยครั้งที่ผู้เขียนสวดมนต์ในมายาเทวีวิหาร เพื่อสำรวมกายวาจาเป็นการปฏิบัติบูชาตามหลักศีล นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นปฏิบัติบูชาตามหลักการทำสมาธิ และบรรยายธรรมให้โยมฟังขณะทำสมาธิได้ด้วย เพื่อให้ญาติโยมเกิดปัญญาใช้จิตคิดใคร่ครวญหลักธรรมที่ญาติโยมได้ฟังจากการบรรยายของฉันในมายาเทวีวิหาร ฉันทำได้เฉพาะช่วงที่มีคณะผู้แสวงบุญน้อยเท่านั้น หากมีคนเยอะมากขนาดเข้าแถวกันมาชมรอยเท้าพระพุทธเจ้า ผู้เขียนและคณะก็สวดมนต์กันข้างนอกมายาเทวีวิหาร หลายครั้งที่ฉันเห็นนิสิตชาวเนปาลที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเข้ามาสวดมนต์และนั่งสมาธิกันที่บริเวณเสาหินพระเจ้าอโศก การปฏิบัติตามพีธีกรรมของพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความเรียบง่ายมีความเป็นสากลมากเหมาะแก่ยุคสมัย เพราะความคิดของคนได้เปลื่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และมนุษย์มีกิจกรรมสนองความอยากมากมายสถานที่ประสูติจึงเป็นสังเวชนียสถานอันทรงคุณค่าของชีวิตที่มนุษย์ควรมาปฏิบัติบูชา.
บรรณนุกรมภาพ
-ภาพนี้ถ่ายสวนลุมพินีเมื่อปี ๒๐๐๙ ฉันมาทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาได้บรรยายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและนำพาปฏิบัติบูชาให้กับคณะเจ้าหน้าที่บริษัทซีพีอินเดียจำกัดนำโดยดร.แสวงกลิ่นหอมและคณะเจ้าหน้าที่บริษัทซีพีอินเดียจำกัดขอบคุณมตินิติพลผู้ร่วมคณะแสวงบุญเจ้าของภาพที่ส่งมาให้จึงขออนุญาตนำเผยแผ่ใน Blogger นี้
-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๗ ข้อ. ๖๘๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น