Introduction: The reason why Prince Siddhartha was ordained
๑.บทนำ
ผู้เขียนเป็นชาวพุทธโดยกำเนิด เมื่อได้ศึกษาเรื่อง "สุวรรณภูมิ" จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ และได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย พระองค์ทรงได้เรียกดินแดนที่ราชอาณาจักรไทยตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ว่า "รัฐสุวรรณภูมิ" ซึ่งมีชื่อเสียงในหมู่พ่อค้าอินเดียในสมัยพุทธกาลว่า ดินแดนแห่งนี้อุดมไปด้วยโภคทรัพย์คือเครื่องเทศโดยเฉพาะพริกไทยดำ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีราคาแพงเทียบเท่าทองคำ ถือเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรง จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ชาวตะวันตกนิยมบริโภคพริกไทยดำ เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
ในปี พ.ศ.๒๕๑ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกอโศการาม (Buddhist councils) ครั้งที่ ๓ เพื่อรวบรวมหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหมวดหมู่ไว้ในพระไตรปิฎก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเล็งเห็นว่าในอนาคตพระพุทธศาสนา จะไม่มั่นคงในจิตใจของชาวโมริยะอีกต่อไป เพราะจิตใจของมนุษย์เป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสที่เข้ามาในชีวิต และสั่งสมอยู่ในจิตใจทุกวัน พระองค์จึงทรงแต่งตั้งพระโสณะและพระอุตตร ดำรงตำแหน่งพระธรรมทูตต่างประเทศ (foreign Dharma ambassadors ) แห่งอาณาจักรโมริยะพร้อมตั้งปณิธานที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรสุวรรณภูมิ เพื่อพัฒนาศักยภาพชาวสุวรรณภูมิ ให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ มีจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากอคติและความเศร้าโศก มีอุปนิสัยสุภาพอ่อนโยนและอ่อนน้อมถ่อมตน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ มีอุดมคติสูงสุดในชีวิต มีความขยันมั่นเพียรไม่ย่อท้อในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม มีสติและสามารถระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมไว้ในใจก่อนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ชาวสุวรรณภูมิสามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาชีวิตได้ด้วยตนเอง
การเดินทางของพระธรรมทูตแห่งอาณาจักรโมริยะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมินั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมินั้น นำโดยพระโสนะและพระอุตตระ ทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งอาณาจักรโมริยะ ได้เดินทางมายังสุวรรณภูมิโดยเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งนำสินค้าประเภท เครื่องประดับ สร้อยคอ กำไรข้อมือและอัญมณี มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจากชาวสุวรรณภูมินิยมใช้เครื่องประดับเหล่านี้เพื่อแสดงถึงฐานะทางสังคมของตน
คณะพระธรรมทูตสายต่างประเทศจากอาณาจักรโมริยะ เป็นกลุ่มแรกที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่เมืองท่าสะเทิมแห่งอาณาจักรสุธรรมวดี พวกเขาใช้เวลานานหลายปีในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของชาวสุธรรมวดีด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้ชาวสุธรรมาวดีมีชีวิตเข้มแข็ง มีความศรัทธาในตัวเองว่าสามารถบรรลุธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรม สติระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ มีสมาธิแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรม ไม่หวั่นไหวต่อนิวรณ์ที่มารบกวนในการปฏิบัติธรรมของตนเอง และมีปัญญาหยั่งรู้ความจริงที่เกิดในจิตใจ มีความมั่นคงและไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น ด้วยความบริสุทธิ์ และยุติธรรม มีสติสัมปชัญญะ สามารถระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจ สามารถนำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมได้ด้วยตนเอง เป็นต้น
ในราชอาณาจักรไทย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และยึดหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพใชีวิตให้เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากอคติและความเศร้าหมอง มีบุคลิกอ่อนโยน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ มีความมั่นคงในเป้าหมายชีวิต เพื่อปกป้องชาติ พระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย จึงไม่กลัวที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม แก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างมีสติโดยอาศัยการตรึกตรอง ความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมความรู้นั้นไว้ในจิตใจ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในการทำงานและในสังคม จนกลายเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของราชอาณาจักรไทย ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำความดีเพื่อสังคม
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยทรงเป็นพุทธมามกะ ที่ยึดถือหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าในการดำเนินชีวิตของพระองค์เอง เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ราษฎรทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ส่วนคณะสงฆ์ไทยได้อุทิศตนรับใช้ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาศักยภาพของราษฎรในราชอาณาจักรไทย โดยสั่งสอนให้ปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อมีศรัทธาในประเทศของตน เชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า สามารถช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้ มีความขยันมั่นเพียร ในการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีสติตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน ฝึกชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติ ความเคียดแค้น มีบุคลิกภาพอ่อนโยน เหมาะสมกับการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีอุดมการณ์มั่นคงในการปกป้องประเทศ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ และไม่ลังเลที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม เพื่อความสงบสุขในสังคมตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย เมื่อคนไทยยังมีฐานะยากจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ ต้องต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานหนัก และสุขภาพที่ไม่ดีเราเลือกที่จะดับทุกข์ทางใจตามกฎธรรมชาติ ดำเนินชีวิตที่ดี ด้วยการทำสมาธิจนจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากความทุกข์เศร้าหมอง มีบุคลิกอ่อนโยน เหมาะสมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีอุดมการณ์แน่วแน่ในการทำความดี จิตใจไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ แก้ไขปัญหาด้วยปัญญาโดยไม่ยอมให้ผู้อื่นช่วยเหลือตนเองตลอดเวลา
เมื่อราชอาณาจักรไทยประสบกับภัยธรรมชาติ และโรคระบาด คนไทยไม่มีเหตุผลที่จะละทิ้งเพื่อนร่วมชาติ โดยไม่คิดที่จะช่วยเหลือกัน เราต่างแสดงเจตนาที่จะแสดงความเมตตากรุณาต่่อกัน แสดงความสามัคคีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของชาติ เมื่อคนไทยพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต ด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อมีบรรลุสัจธรรมในระดับ "อภิญญา ๖" คนไทยก็รู้ว่าตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ความดีที่ตนทำด้วยบุญกิริยาวัตถุนั้นไปจะไม่สูญหายไปไหน จะเป็นสัญญา (ความทรงจำ)ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจตลอดไป เมื่อมนุษย์มีดวงวิญญาณ ที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปในภพอื่น ความดีที่ทำไว้จะเป็นเหตุปัจจัยไปเกิดในสุคติภูมิ มีโอกาสปฏิบัติธรรมให้เกิดดวงตาเห็นธรรมได้
อย่างไรก็ตาม คนเราในปัจจุบันยังมีความไม่รู้และชีวิตอ่อนแอ เพราะไม่ปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ มีกิเลสสั่งสมอยู่ในจิตใจมากมาย มีอคติต่อผู้อื่น มักมีอารมณ์โกรธอยู่เป็นประจำ และบุุคลิกภาพหยาบคายไม่เหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม พวกเขาขาดอุดมการณ์ในการปกป้องชาติ พระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ และลังเลใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม จึงไม่มีสติที่จะนึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตน อีกทั้งขาดปัญญาพิจารณาการกระทำของตนตามหลักศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมายจึงรับผลของกรรมทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์บางคนก็ยังไม่เคยหยุดพัฒนาศักยภาพของชีวิต จนสามารถสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต มีการพัฒนาแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตให้ เป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้สำหรับการทำงานกันทั่วโลก ความงดงามของอารยธรรมไทย จึงไม่เคยเลือนหายไปจากใจคนไทย แต่กลับถูกเก็บรักษาไว้เป็นรูปภาพและวีดีโอเพื่อแชร์บนอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นหลักฐานของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นและช่วยให้เรารู้คุณค่าของหน้าที่ที่มีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าเราคนไทยจะไม่ละทิ้งเพื่อนร่วมชาติให้ทำงานเพียงลำพัง แต่ทุกคนต่างตั้งใจทำความดี โดยการช่วยเหลือกันตามกำลังความสามารถ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนทั่วโลก และสร้างอารยธรรมให้กับอาณาจักรไทย ให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าเราเป็นใคร ? เป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว ที่เราได้สืบสานประเพณีการทำตักบาตรตอนเช้าและช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเผชิญกับวิบากกรรมแห่งชีวิต ไม่มีใครบังคับเราได้เพราะความดีที่เรากระทำนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยตัวเราเอง แม้ว่าราชอาณาจักรไทยจะไม่ใช่สถานที่ที่เกิดของพระพุทธศาสนา แต่ราชอาณาจักรไทยเป็นดินแดน ที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุดโดยใช้ปัญญาของพระพุทธเจ้า สร้างศาสนสถานนับหมื่นแห่งทั่วราชอาณาจักรไทย เพื่อส่งเสริมให้คนทั่วโลกเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีแหล่งความรู้จากความคิดของบรรพบุรุษของเรา ที่สร้างศาสนสถานอันสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ออกกฎหมายใด ๆ ที่จะบังคับให้ผู้คนมีความศรัทธาและปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ในปัจจุบัน แม้ว่าชาวอินเดียจะไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้บัญญัติคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อสร้างสังคมสันติสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฏหมาย ถือเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เพื่อป้องกันการละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น แสดงให้เห็นว่าคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ในช่วง ๕ พรรษาแรก พระภิกษุรูปใหม่ ที่จำพรรษาอยู่ตามวัดทั่วราชอาณาจักรไทยมีหน้าที่ศึกษาพระพุทธศาสนา ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากประวัติพระพุทธเจ้าว่า เหตุผลที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชก็เพราะทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และภิกษุทั้งหลาย พระองค์จึงทรงเกิดความสงสัยในความจริงของชีวิตว่าทำไมมนุษย์เราถึงต้องแก่ เจ็บป่วย และตาย เป็นต้น และทรงตัดสินใจออกผนวชโดยพระองค์จะทรงสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูล มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
เมื่อผู้เขียนมีโอกาสศึกษาที่มหาวิทยาลัยบานาราฮินดู สาธารณรัฐ อินเดียจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านปรัชญา ผู้เขียนจึงได้สืบเสาะข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับความจริงของเหตุผล ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินใจผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ฟังข้อเท็จริงเบื้องต้นแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีความศรัทธาอย่างลึกซึ้งในศาสนาพราหมณ์และสำเร็จการศึกษาในด้านศิลปศาสตร์ใน ๑๘ สาขาวิชา พระองค์ทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองแคว้นสักกะ ตามกฎหมายวรรณะที่พระองค์ประสูติมา พระองค์จะทรงปกครองอาณาจักรสักกะ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบอันกว้างใหญ่ติดเทือกเขาหิมาลัยอันอุดมสมบรูณ์ นับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เพราะผลิตข้าวได้เพียงพอให้ประชาชนบริโภคภายในประเทศ และสามารถส่งออกข้าวไปยังแคว้นต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย พระองค์ทรงประทับอยู่ในปราสาท ๓ แห่ง ในเขตพระราชวังกบิลพัสด์ุ ณ พระนครกบิลพัสดุ์ ฉลองพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะตัดเย็บจากผ้าไหมกาสีอันเลืองชื่อ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ผลิตโดยตรงจากพระนครพาราณสีในแคว้นกาสี และมีข้าราชบริพาร ๔๐,๐๐๐ คน ประจำการในปราสาท ๓ แห่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคนั้น
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกมาแล้วกว่า ๒,๕๐๐ ปี ได้ยินความจริงจากคำสอนของพระภิกษุทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ที่แสดงพระธรรมเทศนาในวันวิสาขาบูชาทุกปี ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของคนแก่ คนป่วย คนตาย และภิกษุ เป็นต้น พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยผนวชเพื่อศึกษาความจริงแห่งชีวิต เป็นข้อเท็จจริงที่ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินมานานและยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนี้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีความเห็นขัดแย้งในข้อเท็จจริงว่า ความแก่ชรา ความเจ็บไข้ และความตายของมนุษย์ ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมไว้ในจิตใจของมนุษย์มาช้านาน จนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นความจริงเชิงประจักษ์ที่สามารถมองเห็นความจริงได้ง่ายในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทฤษฎีธรรมชาติเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ ที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ง่ายว่า "ทุกคนเกิดมาต้องตาย" ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงดำริในเรื่องนี้
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานเพิ่มเติมในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ และได้ฟังข้อเท็จจริงว่า อาณาจักรสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ มี "หลักราชอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีใช้ในการปกครองอาณาจักรสักกะ คำสอนของพราหมณ์ได้ถูกบัญญัติขึ้นเป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยอ้างว่า เมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาแล้วพระองค์ทางสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นนั้น ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เมื่อตรากฎหมายวรรณะแล้ว ก็ย่อมมีสภาพบังคับตามกฎหมายให้ประชาชนในแคว้นสักกะ ต้องปฏิบัติต้องตามหน้าที่ของวรรณะที่ตนเกิดมา กล่าวคือ ห้ามประชาชนสมสู่กับคนต่างวรรณะ และห้ามมิให้ประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายจะถูกสังคมลงโทษ โดยอ้างว่าเป็นการลงโทษของพระพรหม โดยขับไล่บุคคลนั้นออกจากชุมชน เป็นต้น
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมราษฏร พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ แต่พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณไม่ระบุชัดเจนว่า คนชรา คนป่วย คนตาย และนักบวชนั้นอยู่ในวรรณะใด ? ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังคงเป็นที่สงสัยว่า "นิมิต ๔" นี้เกิดขึ้นอย่างไร ? เจ้าชายสิทธัตถะประสูติในวรรณะกษัตริย์ พระองค์ทรงมีสิทธิ และหน้าที่ปกครองประเทศตามวรรณะที่พระองค์ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงสามารถช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ได้ด้วยหลักแห่งความเมตตา พระองค์จึงทรงไม่จำเป็นต้องผนวชเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อจะพบสัจธรรมของชีวิต แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ทรงแสดงเจตนาที่จะละทิ้งวรรณะกษัตริย์ในราชวงศ์ศากยะ พระองค์ก็ทรงสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะ และไม่สามารถกลับคืนสู่สถานเดิมในสังคมได้
เมื่อ ผู้เขียนได้ข้อเท็จจริงนี้ ก็สงสัยว่า "สัจธรรมของชีวิต"นั้นคืออะไร ? ในเวลานั้น ผู้คนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อในสัจธรรมของชีวิตตามคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมและพระอิศวร และยังสร้างวรรณะให้ผู้คนปฏิบัติตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาและมีสถาบันการศึกษาวิศวามิตรและสถาบันอื่น ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตร์ที่สอนความจริงข้อนี้และสอนการทำพิธีบูชายัญเพื่อสื่อสารกับเทพเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่จริงของเทพเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อพราหมณ์บางคนในโลกเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มักแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง แต่นักตรรกะ นักปรัชญาเหล่านั้น มักใช้เหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้น บางครั้งก็ใช้เหตุผลถูกบ้าง ใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อความจริงของคำตอบไม่ชัดเจนแน่นอนจะเป็นอย่างไร วิญญูชน (The wise man)ผู้รู้ผิดรู้ถูกตามปกติ ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของคำตอบนั้นว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น เป็นต้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกเล่าต่อ ๆ กันมา เราไม่ควรเชื่อในทันที่ว่าเป็นความจริง เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราจะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงของสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช (The cause of Prince Siddhartha's ordination) โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
ดังนั้น เมื่อผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป โดยจะสืบค้นข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และเอกสารโบราณที่พระภิกษุชาวจีนสองรูปบันทึกไว้ สถานที่ประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แผนที่โลกของกูเกิล และเอกสารอื่น ๆ เป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนจะนำหลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้ และการคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องนี้ โดยจะเขียนคำตอบในรูปแบบของบทความวิชาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ไปปฏิบัติศาสนกิจในอินเดียเนปาล และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆของพระพุทธศาสนา ให้ผู้แสวงบุญได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าได้อย่างชัดแจ้ง ไร้ความสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป ส่วนกระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกทางพระพุทธศาสนาและปรัชญานำไปใช้เป็นแนวทางวิเคราะห์ข้อเท็จจริงโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ให้สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างสมเหตุสมผลและไม่ข้อสงสัยใด ๆ ต่องานวิจัย อีกต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น