Introduction to propitious life

ชีวิตของชาวพุทธตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสนใจปัญหาความจริงของคน การทำงานเป็นการกำหนดชีวิตอย่างมีเป้าหมาย อย่างถูกวิธี เป็นสัมมาอาชีพ ดำเนินไปตามแผนด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความเพียรทำไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ละทิ้งงานกลางคัน เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิไว้ให้ผู้คนได้อ่าน คำว่า "งาน" ตามคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า"สิ่งหรือกิจกรรมที่ทำ" ผู้เขียนแยกประเด็นวิเคราะห์ดังนี้ กล่าวคือ
(๑) ผู้ทำงาน มนุษย์ทุกคนเกิดมาและต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพตัวเอง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูเรา ท่านทำหน้าที่ของท่านเพียงช่วงระยะหนึ่งตอนเรายังเป็นเด็กเท่านั้น เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่ก็เริ่มแก่ตัวลงไม่มีแรงที่จะดำเนินชีวิตต่อไป มันคือหน้าที่ของเราจะต้องดูแลตอบแทนพระคุณของท่านต่อไป
(๒) กิจกรรมที่ทำ ชีวิตมนุษย์ทุกคนต้องทำงานตามหน้าที่ของตนตอบแทนให้ผู้อื่นหรือองค์กรอื่น เพื่อบรรลุประสงค์ที่องค์หรือผู้อื่นต้องการนั้น รับค่าจ้างเป็นสิ่งตอบแทน
ดังนั้นจึงได้ว่าทุกคนมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตตามที่ตนต้องการ เมื่อผู้เขียนตัดสินเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว นอกจากมีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเองแล้ว ยังมีหน้าที่ในการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเผยแผ่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ได้นำพุทธบริษัทพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความรู้ และความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามหลักธรรมชาติของชีวิตทุกคนควรจะทำ ในช่วงที่บวชใหม่ ผู้เขียนรู้จัวิธีการเผยแผ่นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น แสดงธรรมเทศนาบนธรรมาสน์ให้ญาติโยมฟังในวันพระ ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นต้น เมื่อมีโอกาสมาใช้ชีวิตในประเทศอินเดีย ได้บรรยายเรื่องสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ในแดนพุทธภูมิให้แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยฟัง เป็นการกิจกรรมที่ทำอย่างหนึ่งของชีวิต เป็นการช่วยชี้ทางออกของชีวิตให้แก่ผู้อื่น ให้พวกเขาข้ามพ้นกับดักของชีวิต ด้วยการสอนให้เขารู้จักวิธีการคิดวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบ จนเกิดเป็นความรู้และคิดว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ตัดสินใจนำสู่การลงมือทำให้หลุดพ้นจากปัญหาของชีวิต
การชี้ทางให้ผู้อื่นเข้าใจชีวิตนั้น เป็นการกระทำที่เรียกว่ากุศลกรรมอย่างหนึ่งของชีวิต ให้สั่งสมอยู่ในจิตของเราเอง ติดตามจิตของเราไปทุกหนทุกแห่ง และแม้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ตามจิตไปจุจิตในภพภูมิอื่นได้เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งควรจะทำให้ผู้อื่นมองเห็นทางออกของชีวิต เมื่อทำไปแล้วจิตของผู้นั้นยอมเกิดความสุขในสิ่งที่ตนทำ การบรรยายเป็นการทำงานอย่างหนึ่งของชีวิต การทำงานแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิต ตลอดเวลายิ่งใช้มากเท่าไหร่ยิ่งเห็นข้อจำกัดของความรู้ที่เคยมีว่านั้นยังไม่เพียงพอกับความสงสัยของผู้ฟัง เราจึงเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้กันอีกต่อไป การเรียนหนังสือเก่งเพราะได้คะแนนระดับดี แค่โจทย์จากตำราของหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง แต่ยังโจทย์ของชีวิตนั้นสาหัสยิ่งกว่าโจทย์ไหน ๆ อีก คนเรียนหนังสือเก่งแต่มิใช่คนเก่งตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานราชการ องค์กร ต่าง ๆ ที่ต้องการเพราะมีความรู้แค่ในตำราที่เคยศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มิใช่ความรู้เกิดจากการทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น มีทักษะของการใช้ความรู้แก้ปัญหาให้อื่นเป็นไปโดยสงบเรียบร้อยถูกต้องด้วยศีลธรรมดีของประชาชน เป็นวิธีการใช้ความรู้เพื่อการทำงานให้บรรลุถึงจุดประสงค์ขององค์กร ไม่มีตำราเล่มใดสอนในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด จำเป็นต้องมีฝึกฝนการทำงาน ก่อนบรรจุเข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัย เป็นต้นการสอนผู้อื่นจากความที่สั่งสมอยู่ในจิตของตน เป็นทักษะของความชำนาญจากการทำงานตน ยิ่งสอนให้ผู้อื่นมีความรู้และความใจชีวิตตนเองแล้ว ยิ่งเป็นบุญกุศลในจิตของตนเองการบรรยายของผู้เขียนนั้นเห็นว่า ยังไม่มีตำราเล่มไหนอธิบายเรื่องความเป็นไปของชีวิตได้ดี เท่ากับความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงาน ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ของพระพุทธเจ้าให้แก่ผู้แสวงบุญฟัง เพราะเป็นความรู้มีเหตุผลของคำตอบจากสิ่งสงสัยนั้น แตกต่างกันออกจากตำราที่เคยใช้ศึกษามาก่อน จึงเป็นงานที่ท้าทายศักยภาพของผู้เขียนและทักษะการใช้ความรู้ ให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้แสวงบุญที่มีศรัทธาอยู่แล้วให้เกิดศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นไป และในขณะเดียวกันการบรรยายช่วยให้ผู้ไม่มีศรัทธาเกิดศรัทธาต่อไป
นอกจากนี้เมื่อผู้เขียนได้ทำงานพระธรรมวิทยากรนั้น สามารถประเมินทักษะของการทำงาน ในการถ่ายทอดความรู้ทางพระพุทธศาสนาแก่ผู้แสวงบุญได้ ผู้แสวงบุญก็ช่วยให้คำแนะนำแก่เราได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นเรื่องเราต้องนำพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป ยิ่งในยุคปัจจุบันมีการแชร์ประสบการณ์ชีวิตไว้ ในโลกออนไลน์หลายล้านไฟล์ต่อวัน ทำให้เกิดกระแสเลียนแบบแนวคิดนำไปใช้โดยไม่คิดวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบว่าถูกต้อง มีเหตุผล เหมาะสมกับศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น ๆ โดยไม่สนใจเงื่อนไขทางสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคม ที่แชร์ความเห็นของเขาได้ตลอดเวลาและคำพูดเหล่านั้น เมื่ออ่านแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอาการของจิต รู้สึกว่าโดนกับชีวิตตนเอง ทำให้เกิดกดดันบีบบังคับเข้าสู่ชีวิตโดยไม่รู้ตัว โลกออนไลน์จึงเป็นเวทีประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้คนวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกเรื่อง ทำให้เกิดปัญหาทางโลกธรรมเกิดขึ้นเพราะการยึดติดถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น ยิ่งผู้มีจิตวิญาณไม่มีสมาธิ มีความอ่อนไหว ไม่มั่นคง และหวั่นไหวต่อโลกธรรมที่จรเข้ามาย่อมให้เกิดความกลัวและเป็นความทุกข์ฟุ้งซ่านเกิดขึ้นจิตวิญญาณได้ ดังนั้นงานพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือพวกเขามีความรู้ความเข้าใจในชีวิตตนเอง ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนายังเป็นสิ่งจำเป็นและงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่ต้องกล้าใช้ความรู้ความเข้าใจของตนเองให้เกิดทักษะการวิเคราะห์จิตวิญญาณของช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ได้เป็นลำดับไป.
การชี้ทางให้ผู้อื่นเข้าใจชีวิตนั้น เป็นการกระทำที่เรียกว่ากุศลกรรมอย่างหนึ่งของชีวิต ให้สั่งสมอยู่ในจิตของเราเอง ติดตามจิตของเราไปทุกหนทุกแห่ง และแม้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ตามจิตไปจุจิตในภพภูมิอื่นได้เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งควรจะทำให้ผู้อื่นมองเห็นทางออกของชีวิต เมื่อทำไปแล้วจิตของผู้นั้นยอมเกิดความสุขในสิ่งที่ตนทำ การบรรยายเป็นการทำงานอย่างหนึ่งของชีวิต การทำงานแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิต ตลอดเวลายิ่งใช้มากเท่าไหร่ยิ่งเห็นข้อจำกัดของความรู้ที่เคยมีว่านั้นยังไม่เพียงพอกับความสงสัยของผู้ฟัง เราจึงเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้กันอีกต่อไป การเรียนหนังสือเก่งเพราะได้คะแนนระดับดี แค่โจทย์จากตำราของหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง แต่ยังโจทย์ของชีวิตนั้นสาหัสยิ่งกว่าโจทย์ไหน ๆ อีก คนเรียนหนังสือเก่งแต่มิใช่คนเก่งตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานราชการ องค์กร ต่าง ๆ ที่ต้องการเพราะมีความรู้แค่ในตำราที่เคยศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มิใช่ความรู้เกิดจากการทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น มีทักษะของการใช้ความรู้แก้ปัญหาให้อื่นเป็นไปโดยสงบเรียบร้อยถูกต้องด้วยศีลธรรมดีของประชาชน เป็นวิธีการใช้ความรู้เพื่อการทำงานให้บรรลุถึงจุดประสงค์ขององค์กร ไม่มีตำราเล่มใดสอนในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด จำเป็นต้องมีฝึกฝนการทำงาน ก่อนบรรจุเข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัย เป็นต้นการสอนผู้อื่นจากความที่สั่งสมอยู่ในจิตของตน เป็นทักษะของความชำนาญจากการทำงานตน ยิ่งสอนให้ผู้อื่นมีความรู้และความใจชีวิตตนเองแล้ว ยิ่งเป็นบุญกุศลในจิตของตนเองการบรรยายของผู้เขียนนั้นเห็นว่า ยังไม่มีตำราเล่มไหนอธิบายเรื่องความเป็นไปของชีวิตได้ดี เท่ากับความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงาน ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ของพระพุทธเจ้าให้แก่ผู้แสวงบุญฟัง เพราะเป็นความรู้มีเหตุผลของคำตอบจากสิ่งสงสัยนั้น แตกต่างกันออกจากตำราที่เคยใช้ศึกษามาก่อน จึงเป็นงานที่ท้าทายศักยภาพของผู้เขียนและทักษะการใช้ความรู้ ให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้แสวงบุญที่มีศรัทธาอยู่แล้วให้เกิดศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นไป และในขณะเดียวกันการบรรยายช่วยให้ผู้ไม่มีศรัทธาเกิดศรัทธาต่อไป
นอกจากนี้เมื่อผู้เขียนได้ทำงานพระธรรมวิทยากรนั้น สามารถประเมินทักษะของการทำงาน ในการถ่ายทอดความรู้ทางพระพุทธศาสนาแก่ผู้แสวงบุญได้ ผู้แสวงบุญก็ช่วยให้คำแนะนำแก่เราได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นเรื่องเราต้องนำพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป ยิ่งในยุคปัจจุบันมีการแชร์ประสบการณ์ชีวิตไว้ ในโลกออนไลน์หลายล้านไฟล์ต่อวัน ทำให้เกิดกระแสเลียนแบบแนวคิดนำไปใช้โดยไม่คิดวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบว่าถูกต้อง มีเหตุผล เหมาะสมกับศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น ๆ โดยไม่สนใจเงื่อนไขทางสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคม ที่แชร์ความเห็นของเขาได้ตลอดเวลาและคำพูดเหล่านั้น เมื่ออ่านแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอาการของจิต รู้สึกว่าโดนกับชีวิตตนเอง ทำให้เกิดกดดันบีบบังคับเข้าสู่ชีวิตโดยไม่รู้ตัว โลกออนไลน์จึงเป็นเวทีประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้คนวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกเรื่อง ทำให้เกิดปัญหาทางโลกธรรมเกิดขึ้นเพราะการยึดติดถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น ยิ่งผู้มีจิตวิญาณไม่มีสมาธิ มีความอ่อนไหว ไม่มั่นคง และหวั่นไหวต่อโลกธรรมที่จรเข้ามาย่อมให้เกิดความกลัวและเป็นความทุกข์ฟุ้งซ่านเกิดขึ้นจิตวิญญาณได้ ดังนั้นงานพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือพวกเขามีความรู้ความเข้าใจในชีวิตตนเอง ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนายังเป็นสิ่งจำเป็นและงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่ต้องกล้าใช้ความรู้ความเข้าใจของตนเองให้เกิดทักษะการวิเคราะห์จิตวิญญาณของช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ได้เป็นลำดับไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น