The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

บทนำ ความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ


 Introduction to Siddhartha's  Happiness in Buddhaphumi's Philosophy:


๑. คำสำคัญ  เจ้าชายสิทธัตถะ   ความสุข



จุดประสงค์ 
๑.บทนำ  ความต้องการของมนุษย์ทุกคน
๒. ศึกษาชีวิตเจ้าชายสิทธัตถะ 
๓. ศึกษาความสุขในพระไตรปิฎก 
๓. วิเคราะห์ความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะในพระไตรปิฎก
    
บทนำ  

        โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้ว ก็ต้องการแต่ความสุข ไม่มีใครต้องการความทุกข์ มนุษย์จึงสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อตอบสนองความพึงพอใจในชีวิตของตนเองในแต่ละวัน  เป็นภาวะทางจิตที่เกิดจากการผัสสะกับปัจจัยภายนอก เช่น โทรศัพท์มือถือ บ้านพร้อมที่ดิน หน้าที่การงานที่ดี เล่นเกมส์ออนไลน์ หรืออะไรก็ตามที่ตอบสนองความต้องการของเขา  เป็นการปรากฏของจิตใจที่แสดงออกทางร่างกายของมนุษยทุกคน มีลักษณะเป็นอารมณ์นามธรรมในจิตใจเช่นความพึงพอใจที่เห็นด้วยตา เป็นต้น เมื่อความพอใจเกิดขึ้น จิตใจก็เกิดความอยาก  ถ้ามีเงินก็ซื้อทันที  แต่ถ้าพวกเขาไม่มีเงิน  พวกเขาก็สามารถคิดหาวิธีการต่าง ๆ ในการหาเงินมาแม้จะไม่ชอบด้วยศีลธรรมและกฎหมาย เป็นต้นเพื่อซื้อสิ่งนั้นตอบสนองของจิตวิญญาณของตนเอง เมื่อได้มาแล้ว ก็พอใจในสิ่งที่ได้นั้น   แต่พอใช้ไปสักพัก ก็เริ่มเบื่อ และก็อยากได้สิ่งถูกใจใหม่   มนุษย์จึงมีบ้านหลายหลัง และมีรถหลายคัน เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิต เมื่อมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงของชีวิต   และอาศัยร่างกายในการรับรู้ทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต 

         เมื่อเราสัมผัสได้ถึงบางสิ่งใดแต่ยังไม่ชัดเจน  จิตวิญญาณจะสงสัยและหยิบยกประเด็นขึ้นมา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวมรวมหลักฐานให้เพียงพอ   เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ จึงเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลนั้น    ตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ยินข้อเท็จจริงว่าจัณฑาลเกิดจากความเชื่อในศาสนา และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพราะพวกเขาฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาและกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง จึงถูกคนในสังคมพิพากษาลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ให้ไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต  เมื่อพระองค์ทรงทราบปัญหา และคิดหาทางช่วยเหลือพวกจัณฑาลด้วยพระองค์ทรงมีจิตเมตตากรุณา เพื่อช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ทรงหลุดพ้นจากความทุกข์ พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงได้ว่าพวกพราหมณ์ปุโรหิตจะให้การยืนยันว่าพระพรหมและเป็นผู้สร้างมนุษย์จริง  พราหมณ์ในยุคก่อนก็เคยพบเห็นพระพรหมและพระอิศวรมาก่อน  พวกเขาก็ประกอบพิธีบูชายัญ เพื่อขอพรให้พระพรหมช่วยเหลือผู้บูชายัญเป็นประจำตลอดทั้งปีก็ตาม  แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งคำถามนำว่าพระพรหมและพระอิศวรมีความเป็นอย่างไร ?  ไม่มีใครตอบพระองค์ได้เช่นนี้ เมื่อวิเคราะห์คำให้การแล้ว เจ้าชายสิทธัตุะทรงเห็นว่าการทำพิธีบูชายัญเพื่อติดต่อเทพเจ้าเป็นประจำทุกวัน น่าจะรู้ความเป็นมาของเทพเจ้าบ้าง  แต่เมื่อตอบไม่ได้ คำให้การยืนยันจึงมีข้อพิรุธน่าสงสัยว่าคำให้การนั้นไม่เป็นความจริง  การที่เจ้าชายสิทธัตถะมีความเห็นที่ว่าเทพเจ้าไม่อยู่จริงนั้น จึงเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับความจริงของชีวิต   

        เมื่อเราศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องความสุขของมนุษย์ทั่วโลกตามหลักฐานต่าง ๆ   ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก มีสถานบันเทิงมากมายเปิดบริการเพื่อตอบสนองจริตของคนที่มีความเครียดในชีวิต เพราะมีปัญหาจากคนในครอบครัวและสังคม การไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน ขาดการศึกษาเรียนรู้จึงไม่มีการกำหนดเป้าหมายหรือวางแผนการใช้ชีวิตจะดำเนินต่อไปตั้งแต่เงินทุนการศึกษา การเดินทางไปสู่เป้าหมายของชีวิต หรือมีเป้าหมายของชีวิตที่ชัดเจน แต่วิธีปฏิบัติให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้นยังไม่ชัดเจน ไม่ชอบด้วยหลักศีลธรรมอันดีงามของประชาชนและกฎหมายของประเทศก็ยากจะบรรลุเป้าหมายของชีวิต ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในสังคม การดูหมิ่นจากสถานที่ทำงาน ความไม่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจการงานของตนเอง   เป็นปัญหาหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลไปมาหลายครั้งจนแน่ใจว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงแล้ว ข้อเท็จจริงนั้นจะเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลและไม่สงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป สิ่งที่มาผัสสะนั้นย่อมเป็นความรู้และความจริงของบุคคลนั้น เมื่อมนุษย์คิดหาเหตุผลของคำตอบได้แล้วก็เกิดการสั่งสมความรู้และความจริงนั้นจนกลายเป็นสัญญาอยู่ในกระแสจิตต่อไป เมื่อมนุษย์มีความรู้และความจริงของสิ่งใดแล้วตนชื่นชอบ จิตของมนุษย์ผู้นั้นย่อมเกิดตัณหาในความอยากได้ เช่นรถยนต์ บ้านพร้อมที่ดิน ตำแหน่งหน้าที่งานและฐานะทางสังคม สิ่งนั้นมาเป็นเจ้าของเพื่อตอบสนองอารมณ์อยากของจิตตัวเอง เมื่อได้ครอบครองสิ่งใดจิตย่อมเกิดความสุขที่ได้ครอบครองสิ่งนั้นแต่ถ้าจิตปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นย่อมเกิดความทุกข์ หรือมนุษย์มีตัณหาต้องการตัวตนในตำแหน่งทางสังคมที่สมมติขึ้นมาและยอมรับนั้น หากได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นย่อมเกิดความสุขเกิดความพอใจในการใช้ชีวิตตามจริตของตนแต่ความสุขเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตวิญญาณ เมื่อเสพติดสุขมากๆในรูปแบบเดิมๆกับสิ่งเดิมๆย่อมเกิดความหน่ายที่เรียกว่า "นิพพิทา" ในสิ่งนั้นและแสวงหาสิ่งๆใหม่ ๆ มาสนองความต้องการของตนต่อไป 

          เมื่อผู้เขียนนึกถึงสภาพปัญหาในชีวิตนี้สิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไรจึงละทิ้งความสุขนั้น ออกผนวชเป็นนักพรต (Ascetic) ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนสนใจศึกษาเกี่ยวกับความจริงของความสุขของเจ้าชายสิทธัตะ(Siddhartha 's  Happiness) โดยวิเคราะห์ที่มาของความรู้จากพระไตรปิฎก อรรถกถาและเอกสารต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนาเป็นต้น เนื้อหาของคำตอบที่ได้วิเคราะห์ขึ้นมานี้จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมวิทยากร ใช้บรรยายให้แก่ผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สาระสำคัญของกระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้และความเป็นจริงนั้นสามารถนำแนวคิดทางปรัชญาไปใช้วิจัยในการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาได้ เพราะสามารถนำไปบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้นไปอีกด้วย. 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ