The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับสะพานไม้ ๑๐๐ ปี

The problem with the truth about the 100-year-old Khonburi wooden bridge

๑. บทนำ   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะพานไม้๑๐๐ ปี 



 

                   โดยทั่วไป  เมื่อเราได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสะพานไม้ ๑๐๐ปี        ในอำเภอครบุรีจังหวัดนครราชสีมา  จากคนรู้จักที่เคยไปเยี่ยมชมสะพานไม้แห่งนี้    เราก็จะเกิดอยากรู้อยากเห็นความเป็นมาของสะพานไม้แห่งนี้       จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง    และรวบรวมหลักฐานจากเว็บไชต์ต่าง ๆ หรือ ดูแผนที่โลกกูเกิลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้   เราจะพบความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวที่เคยทบทวน  (Review)           หรือ วิพากษ์วิจารณ์ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล   และคาดคะเนความจริงจากประสบการณ์ชีวิต   ผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมอยู่ในจิตใจ      โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องนักปรัชญามาอธิบายความรู้สึกที่เกิดจากการสร้างอารมณ์ในจิตใจ       และถ่าย ทอดออกมาเป็นข้อความในแอพพริเคชั่นต่าง ๆ   นั้น       เมื่อผู้เขียนได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของสะพานไม้ 100 ปีในอำเภอครบุรีและเก็บเรื่องราวเหล่านั้นเป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตน     แต่ผู้เขียนเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีธรรมชาติของจิตใจในการคิด     เมื่อรับรู้สิ่งใดก็จะคิดจากสิ่งนั้น โดยแสดงความคิดเห็นตามปฏิภาณของตน  และคาดคะเนความจริงตามหลักเหคุผล     เมื่อมนุษย์ใช้เหตุผลอธิบายความจริงอาจใช้เหตุผลผิดบ้าง  ถูกบ้าง  เหตุผลเป็นอย่างนั้น   เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง        

        ดังนั้น  เมื่อการใช้เหตุผลที่ใช้อธิบายความจริงนั้น    ไม่แน่นอนชัดเจนว่าความจริงเป็นอย่างไร          คำตอบขึงขาดความน่าเชื่อถือวิญญูชนรู้เหตุผลของคำตอบเป็นเช่นนี้  ย่อมไม่ยอมรับว่าเป็นความรู้แท้จริงในเรื่องนี้   แต่อย่างไรก็ตาม  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ไม่ควรเชื่อทันที     เราควรสงสัยก่อน         จนกว่าเราจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ      เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้      เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงอย่างสมเหตุสมผล  ถ้าไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ พิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ  แล้ว เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงจากพยานคนเดียวที่เล่าต่อ ๆ  กัน  ยอมไม่น่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์คนหนึ่ง มีอคติต่อผู้อื่นอันเกิดจากความไม่รู้     ความกลัว,   ความเกลียดชัง  และความรัก เป็นต้นอีกทั้งอายตนะภายในร่างกายก็มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต 

                 ดังนั้นเมื่อผู้เขียนศึกษาเรื่อง "นักปรัชญา" จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ           ฟังข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า พราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ       หรือนักปรัชญาได้ยินเรื่องต่าง ๆ  เกิดขึ้นในชีวิตของตน  มักจะทัศนะตามปฏิภาณของตนเอง และคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล         แต่นักปรัชญาหรือนักตรรกะใช้เหตุผลบางครั้งก็อาจจะถูกบ้าง   บางครั้งก็อาจผิดบ้าง  บางครั้งก็ใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบางครั้งก็ใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้        เมื่อเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ   ยังไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร ?    ถือว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเป็นเท็จ       

             โดยทั่วไปอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญานักปรัชญาสนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวที่สามารถรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเอง   เช่น มนุษย์   โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น         และความจริงขั้นปรมัตถ์อันเป็นความจริงขั้นสูงสุดของชีวิตมนุษย์ตามกฎธรรมชาติ เช่น    การเห็นวิญญาณออกจากร่างไปเกิดใหม่ในโลกแห่งเทพและมนุษย์หรือ  นรก  เป็นต้น ดังนั้น    เมื่ออภิปรัชญาสนใจศึกษาความจริงเรื่องมนุษย์ โลก  และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  และการพิสูจน์ความจริงเรื่อง เทพเจ้า เป็นต้น  เราจึงแบ่งประเภทความจริงได้ดังนี้ กล่าวคือ  

๒.ประเภทของความจริงในปรัชญาพุทธภูมิ         

        เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์  อภิปรัชญาจึงเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา       อภิปรัชญาจึงเป็นความรู้ของมนุษย์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม     ความรู้ของมนุษย์ครอบคลุมทั้งความรู้ที่มนุษย์รับรู้จากการศึกษา  การวิจัย  และการปฏิบัติ    และสั่งสมไว้ในจิตใจของมนุษย์ และความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไป  แต่เป็นสิ่งที่ได้ยิน  ได้ฟัง  ได้คิด ได้ปฏิบัติ  เป็นต้น   เราสามารถแบ่งความจริงในอภิปรัชญาออกเป็น  ๒ ประเภท คือ 
            ๑. ความจริงในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์    
            ๒.ความจริงที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์     
            ผู้เขียนสามารถอธิบายความจริงทั้ง ๒  ประเภทได้ดังนี้

    ๒.๑.ความจริงที่สมมติขึ้น เป็นความจริงในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์ ที่สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ล้อมรอบตัว อาจจะเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว   ดำรงสภาวะนั้นอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วจางหายไปในอากาศ  อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์  ก่อนที่สภาวะจะจางหายไปจากสายตาของมนุษย์ มนุษย์สามารถรับรู้ได้  แล้วเก็บสิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ   แต่ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อรับรู้สิ่งไหน ก็จะคิดจากสิ่งนั้นโดยการวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้น โดยคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงของสิ่งเหล่านั้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  แต่ผลของการวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์นั้น  ปรากฏข้อเท็จจริงยังไม่ชัดแจ้งว่า สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรเพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องนั้นต่อไป      ตัวอย่างเช่น ชาวพุทธทั่วโลก ได้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเรื่องการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าแล้ว   แต่นักปรัชญารักที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ ก็จะนำหลักฐานมาเป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงอันเป็นที่สุดของคำตอบในเรื่องนั้น ความจริงในระดับนี้ถือว่าในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์  

    ๒.๒ ความจริงขั้นปรมัตถ์ เป็นความจริงในระดับที่่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ธรรมดาจะรับรู้ได้ หากบุคคลนั้นพัฒนาศักยภาพของชีวิตของตนด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ก็จะบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา ๖ ได้ เช่น พระนิพพาน  เป็นต้น ความรู้ดังกล่าวนี้ เป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น 

          ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสะพานไม้โบราณ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานเกี่ยวกับสะพานไม้โบราณ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี  ด้วยการไปเยี่ยมชมสะพานไม้แห่งนี้ด้วยตนเอง       จึงได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า สะพานไม้แห่งนี้เป็นของที่จับต้องได้สร้างโดยชาวบ้านโคกกระชาย ตั้งอยู่กลางทุ่งนาและได้เสื่อมลงตามกฎแห่งธรรมชาติ ต้องได้รับการดูแลรักษาทุกปี   ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้โดยตรง  การเยี่ยมชมสะพานไม้โบราณ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี   ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกระชาย   ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เหตุผลในการสร้างสะพานไม้โบราณ  ๑๐๐ ปีครบุรี   เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์  ที่ตั้งของสะพานไม้ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี   เดิมเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีน้ำไหลลงมาจากป่าฝนบนภูเขาตลอดทั้งปี  ครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร  ในอดีตชาวบ้านจะออกจากหมู่บ้านโคกกระชาย เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของอำเภอครบุรี และหมู่บ้านอื่น ๆ  โดยทางเรือเพื่อสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียง 

      ต่อมารัฐบาลไทยได้พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร      โดยสร้างเขื่อนลำแชะเพื่อชะลอปริมานน้ำในฤดูฝน และนำมาใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง     นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งน้ำประปาให้ชาวจังหวัดนครราชสีมาอุปโภค และบริโภคตลอดทั้งปี การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำในฤดูฝนทำให้พื้นที่น้ำท่วมขังตื้นเขิน ทำให้สามารถเพาะปลูกได้ในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำไว้ใช้ในการเกษตร   เมื่อน้ำตื้นเขิน  ชาวบ้านไม่สามารถนั่งเรือไปเยี่ยมกันได้อีกต่อไป   สะพานไม้ ๑๐๐ ปีครบุรีเป็นสะพานไม้ที่ชาวบ้านสร้างขึ้น        เพื่อเป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน   เมื่อเวลาผ่านไป  กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านโคกกระชาย สะพานไม้ครบุรีเป็นสะพานที่ทำด้วยแผ่นไม้บาง ๆ จำนวน  ๕ แผ่น ดัดแปลงและวางบนคานไม้ที่ยกสูงจากพื้นประมาน  ๑๒๐  เซ็นติเมตร  ทำให้เป็นสะพานไม้ยาว  ๕๐๐ เมตร เพื่อให้ผู้คนสามารถสัญจรไปมาได้สะดวกแม้ว่าหมู่บ้านโคกกระชายจะได้รับการพัฒนาและสร้างถนน เพื่อให้การเดินทางสะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน   แต่ผู้คนยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพเนื่องจากต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป ทำให้มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ทำให้ทุกคนลำบาก ทุกคนต้องการพักผ่อนและท่องเที่ยวเพื่อคลายเครียด เป็นต้น 

       ในอดีต อำเภอครบุรีเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังมีน้ำไหลมาจากภูเขาสูง   มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำแชะ  ซึ่งผลิตน้ำประปาให้ประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสี อุปโภคบริโภคชาวโคกกระเทียมเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า บริเวณที่สร้างสะพานไม้ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรีนี้ เป็นทางน้ำสาธารณะที่ชาวบ้านโคกกระชายใช้สัญจรไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง  ต่อมาเส้นทางน้ำแห้งเหือด กลายเป็นน้ำตื้น ทำให้เรือไม่สามารถแล่นได้อีกต่อไป จึงได้สร้างสะพานไม้ขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านใช้เดินทาง    นี่คือ ผลงานที่เกิดจากศรัทธาของชาวบ้านที่ร่วมกันสร้างสะพานไม้แห่งนี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะสร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่ร่วมกันทำงาน และเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของชาวบ้านเท่านั้น โดยไม่ผ่านระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้ชาวบ้านจึงร่วมมือกันใช้สมาร์ทโฟนสร้างปรากฏการณ์ทางสังคม ด้วยการถ่ายรูปสะพานไม้แห่งนี้แล้วโพสต์ลงบนเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักสะพานไม้แห่งนี้ซึ่งจะเดินทางมาเยี่ยมชมตลอดทั้งปี คุณค่าของสะพานไม้แห่งนี้ ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่เมื่อผู้คนก้าวเท้าบนสะพานไม้อันเก่าแก่แห่งนี้อย่างช้า ๆ   เพื่อสัมผัสความเย็นสบายของอากาศธรรมชาติ ที่ไหลมาทดแทนอากาศร้อนที่ขยายตัวและลอยสู่ท้องฟ้ากว้างไกลอยู่ตลอดเวลา  เราเดินผ่านคนไม่รู้จักและยิ้มให้กับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก  มันคือมิตรภาพ ที่ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาบอกให้ยิ้ม  แต่มาจากใจของเรา เพราะมันช่วยให้จิตวิญญาณของเราสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตตลอดเวลา เพื่อคลายความเครียด เมื่อรู้จักปล่อยวางความยึดติดในสิ่งที่มี เราก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ของเราได้ตลอดทั้งวัน เราประสบความสำเร็จด้วยการออกจากห้องสี่เหลี่ยมที่เต็มไปด้วยงานเร่งรีบ เพื่อรับมือข้อจำกัดด้านเวลา  แลกกับความเย็นสบายที่สัมผัสได้บนผิวหนัง การไปเยี่ยมชมสะพานไม้ ๑๐๐ ปีครบุรี  จะทำให้เรารู้สึกคุ้มค่าแก่การมาเยี่ยมชม เมื่อจิตใจของเราได้รับการกระตุ้นทางอารมณ์กับบรรยากาศของทุ่งนาอันกว้างใหญ่ และชมอาทิตย์ตกดินต่อหน้าต่อตา  ในตอนเย็น แสงอันงดงามจะสะท้อนลงบนทุ่งนาอันกว้างใหญ่ตามการหมุนของโลก   ก่อนที่ความมืดจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ บดบังความงามของอารมณ์สุนทรียของท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ ตั้งแตแสงแดดที่ส่องสว่างตลอดทั้งวันจนหายไปอีก ๑๒ ชั่วโมงจนรุ่งส่างพื้นที่อำเภอครบุรี เคยเป็นพื้นที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ พื้นดินเป็นโคลนแต่กาลเวลา และความคิดของผู้คน ได้เปลี่ยนแปลงไปในด้านการพัฒนา  มีการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร มีการสร้างสะพานไม้ทดแทนทางน้ำเก่าที่แห้งขอดไป เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อป้แงกันไม่ให้น้ำไหลลงมาจากภูเขา    

               สะพานไม้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านโคกกระชาย  เมื่อโลกก้าวหน้าขึ้น   ผู้คนได้รับความสะดวกสบาย     ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย  อาหาร     เสื้อผ้า  ยารักษาโรค   และความสามารถในการทำงานจากที่บ้าน   แต่ความทุกข์ในใจมนุษย์    ก็ยังคงมีอยู่เสมอ และเป็นเงาที่ตามหลอกหลอนผู้คนไปทุกหนทุกแห่ง           ทั้งคนจนและคนรวยต่างก็ทนทุกข์กับความเครียดจากการหาเลี้ยงชีพ      เพราะชีวิตต้องการพักผ่อนและการหลับนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ    และต้องทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง การดื่มเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งแรกที่จะนำไปสู่การดื่มและกินเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน  เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสะพานไม้แห่งนี้   จึงได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในระหว่างการเดินทางตลอดทั้งปีเช้าและเย็น      เป็นช่วงเวลาที่สวยงามที่สุดของที่นี้   เพราะมีแสงแดดส่องจากระยะไกลลงมาทุ่งนา    ลมร้อนพัดขึ้นสู่ท้องฟ้ากว้างใหญ่และลมเย็นพัดเข้ามาแทนที่  ชีวิตมนุษย์ที่ต้องเผชิญกับอากาศหนาว  ทำให้ความร้อนระอุของชีวิตลดลงอย่างมาก การเดินเล่นบนสะพานไม้ครบุรีที่มีอายุกว่า ๑๐๐  ปี ข้ามทุ่งนาสีเขียว      ทุ่งนากว้างใหญ่เกินกว่าที่สายตาของมนุษย์จะสัมผัสได้อย่างทั่วถึงสะพานแห่งนี้    จึงเหมาะแก่การผ่อนคลายจิตวิญญาณของมนุษย์     ผู้สั่งสมอารมณ์ของความดีร้ายของชีวิตอยู่ตลอดเวลา มาสูดโอโซนของออกซิเย็น   เข้าปอดเพื่อฟื้นตัวจากความทุกข์ยากของชีวิตได้เป็นอย่างดีนับเป็นความรู้ที่แท้จริง

            สะพานไม้ครบุรี  ๑๐๐ ปี   เป็นความจริงที่สมมติขึ้นที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของช่างฝีมือท้องถิ่น  และผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ของหมู่บ้านโคกกระชาย         โดยสะพานไม้แห่งนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโคกกระชาย ประวัติความเป็นมาของสะพานไม้ครบุรีอายุ  ๑๐๐ ปี  เมื่อผู้เขียนก้าวขึ้นไปบนสะพานไม้โบราณและเดินไปไม่ไกลจากถนน เราก็เห็นชาวบ้านหลายคนจ้องมองไปที่เครื่องสูบน้ำที่มีเสียงดัง ทำให้เขาตระหนักว่าพวกเขากำลังสูบน้ำเข้าไปในนาข้าว   เนื่องจากพวกเขาเพ่งปลูกข้าว  เมื่อไม่กี่วันก่อน น้ำในนาจึงเหือดแห้ง      เมื่อไม่มีน้ำมาเลี้ยงต้นข้าว  ต้นข้าวก็จะแห้งตาย  ผู้เขียนได้พูดคุยกับชาวนาเกี่ยวกับประวัติของสะพานแห่งนี้  พวกเขาเล่าว่าในอดีตนาข้าวแห่งนี้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี   ชาวบ้านโคกกระชายเรียกว่า "น้ำแชะ"  ซึ่งแปลว่าเปียกไปด้วยน้ำและดินโคลน       เส้นทางของสะพานไม้ครบุรี  ๑๐๐ ปี   เดิมเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวบ้านมาก่อน  ต่อมาได้มีการสร้างสะพานไม้ข้ามพื้นที่ชุ่มน้ำและโคลน         ชาวบ้านจึงใช้สะพานนี้ เป็นทางลัดเข้าสู่หมู่บ้าน  เพื่อย่นระยะทางไปยังหมู่บ้านโคกกระชายที่ใกล้ที่สุด       

        ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐  สะพานไม้แห่งนี้ได้ถูกเปลี่่ยนจากเสาไม้เป็นเสาคอนกรีต       ชาวบ้านโคกกระชายยังคงใช้เส้นทางนี้เดินทางไปมาระหว่างทุ่งนาเพื่อปลูกข้าวในฤดูแล้ง    เป็นเส้นทางสูบน้ำจากคลองลำแชะเข้ามาในพื้นที่ทุกปี      และเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูร้อน เมื่อชาวบ้านโคกกระชาย อำเภอครบุรี     พัฒนาตนเองด้วยการได้รับความรู้ผ่านเทคโนโลยี่อินเตอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ   ก็ช่วยลดปัญหาชาวบ้านต้องเดินทางไปสถานศึกษา    และศูนย์การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ เพราะสถานเหล่านี้อยู่ไกลบ้าน   การพัฒนาชีวิตชาวบ้านด้วยการถ่ายทอดความรู้สู่จิตใจประชาชนด้วยการแบ่งปันความรู้ ด้วยแนวคิดทันสมัย      ลดการพึ่งพาผู้อื่น และพึ่งพาตนเองได้ผ่านอินเตอร์เน็ต  Fi-Wi   โดยการแชร์ภาพและเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่ความรู้จากการศึกษา ค้นคว้า    และปฏิบัติจนเห็นผลจริง ทุกวัน ผู้คนทั่วโลกแชร์ความรู้เป็นล้าน ๆ รายการ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในการเรียนรู้มากขึ้น          ความรู้ในจิตใจจะถูกนำมาใช้พัฒนาองค์ความรู้      โดยนำสิ่งของในชุมชนมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์       ค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง สร้างโอกาสให้แก่ตนเองและเปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่ห่างไกล     การพัฒนาได้ศึกษาค้นคว้าและคิดอย่างสร้างสรรค์ในสิ่งที่มีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง      เช่น สะพานไม้โบราณอายุกว่า ๑๐๐ ปีในอำเภอครบุรี ที่ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้ได้อย่างมั่นคง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างงานและอาชีพให้กับคนในชุมชน   

.ความสำคัญเมืองครบุรี 

 เมื่อพิจารณาตามเหตุผลเชิงตรรกะ ของสภาพภูมิศาสตร์ในอำเภอครบุรีแล้วคือ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำมูล เนื่องจากตั้งอยู่ในตอนใต้ของอำเภอครบุรี ในอุทยานแห่งชาติทับลานซึ่งได้รับประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เป็นทุ่งนาขนาดใหญ่และล้อมรอบด้วยภูเขา   อำเภอครบุรีตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา  เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำซับตลอดเวลา เป็นพื้นที่ราบลุ่มของอุทยานแห่งชาติทับลาน  ซึ่งเป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ทึบ ทำให้เป็นม่านธรรมชาติที่ดี ที่ป้องกันไม่ให้เมฆฝนกลั่นตัวเป็นน้ำและซึ่มลง ด้านล่าง ดังนั้น อำเภอครบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มจึงมีความชื่นจาก การซึ่มของน้ำจากป่าธรรมชาติ และดินโคลนที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก   อำเภอครบุรีจึงเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเล็ก ๆ   หลายสายทำให้ดินของอำเภอครบุรีมีน้ำขัง หรือชื่นแฉะ ชาวอำเภอครบุรีจึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม และปลูกพืชไร่ ในอดีตชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้ เพราะพื้นดินกว้างและนาข้าวก็ชื่นและมีน้ำมาก ในบริเวณที่สร้างสะพานไม้โบราณนั้น  ชาวบ้านเล่าให้ฉันฟังว่า ในอดีตพื้นที่ที่เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ที่เราเห็นด้วยตาตนเองนั้น มันเคยเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่มีน้ำท่วมตลอดทั้งปี ชาวบ้านไม่สามารถใช้พื้นที่นั้นได้ แม้จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม  เพราะไม่สามารถปลูกข้าวได้ เนื่องจากภูเขาก็เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำไหลลงมาจากภูเขาตลอดทั้งปี เมื่อเป็นที่ราบลุ่ม ก็เกิดน้ำท่วม   เส้นทางของสะพานไม้โบราณที่สร้างยาวไกลนั้นเป็นเส้นทางที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางเดินเรือเมื่อสองร้อยปีก่อน มีการสร้างเขื่อนลำแซะขึ้นมา  ทำให้หนองบึงกลายเป็นน้ำตื้น เพราะมีการกักน้ำบนเขื่อนลำแชะ พื้นที่ราบลุ่มจึงกลายเป็นทุ่งนาสำหรับปลูกข้าวและพืชอื่น ๆได้  เส้นทางเดินเรือ จึงสร้างด้วยสะพานไม้ดังที่เห็นในภาพนี้  ใช้สัญจรไปมาระหว่างทุ่งนาของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง มันครอบคลุมพื้นที่เท่าที่สายตามนุษย์จะมองเห็นได้ 

     ฉันแสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาสุนทรีย์ศาสตร์วิชาหนึ่งที่ว่าด้วยความงามของธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นถ้าฉันเพียงบรรยายวิชานี้ตามตำราอย่างเดียว จิตใจของผู้เรียนวิชานี้ไม่มีอรรถรสของความงามให้มีอยู่ในจิตของตนเมื่อฉันตระหนักรู้ถึงความมีอยู่ของสะพานไม้๑๐๐ ปีครบุรีด้วยประสาทสัมผัสของฉันแล้ว จิตฉันเกิดอาการรู้สึกอย่างไร เป็นคำถามที่ฉันตั้งขึ้นมาเองเป็นเรื่องที่ฉันสนใจไม่น้อยที่ต้องคิดหาเหตุผลจากผัสสะนั้น ก่อนอื่นเราต้องอธิบายคำว่า "ความสวย ความงาม" ให้เข้าใจด้วยเหตุผลเสียก่อนว่าความคืออะไร" ตามพจนานุกรมแปลไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถานให้คำนิยามว่า "งาม"เป็นคำวิเศษหมายถึงลักษณะที่เห็นชวนให้ชื่นชมหรือพึงพอใจเช่น มารยาทงาม รูปงาม ลักษณะ ที่สมบรูณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนีฝนงาม ดี มาก ลักษณะเป็นไปตามต้องการเช่นกำไรงาม เป็นต้น.   เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๓๐ น.    หลังจากผู้เขียนได้บรรยายหลักธรรมเรื่องกายและจิตของพระพุทธเจ้าแล้ว    ในงานปฏิบัติธรรมประจำปีของวัดป่าหิมพานต์หมู่ ๑ ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี และผู้เขียนมีศรัทธา ได้ร่วมทำบุญโดยบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธาของตนมีแก่วัดป่าหิมพานต์ก่อนจะกลับไปที่วัด ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมาผู้เขียนเห็นว่าในวันนี้ที่ตำบลโคกกระชายนั้น อากาศเย็นสบายดีท้องฟ้าเมฆมากเห็นฝนตกโปรยปรายเป็นละอองเล็ก ๆ ลอยลงมาผัสสะร่างกายของผู้เขียน อารมณ์ของวิญญาณของผู้เขียนอยากท่องเที่ยวต่อไปอีก ยังไม่อยากจะกลับมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด เพื่อละลายความทุกข์ที่อยู่ในใจของผู้เขียนให้หมดสิ้นไป ท้องฟ้าบริเวณตำบลโคกกระชายนี้แม้จะไม่สดใสด้วยดวงอาทิตย์ ที่จะส่องแสงมาลงบนพื้นโลกมนุษย์ที่ผู้เขียนนับเวลาไม่ได้ว่าเป็นเวลากี่อสงไขยก็ตาม  แต่วันนี้สภาพของดินฟ้าอากาศเปลื่ยนแปลงไปไม่สดใสเช่นทุกวันเพราะแสงแดดที่เคยส่องมาพื้นโลกด้วยความร้อนแรงของแสงดวงอาทิตย์กลับส่องแสงลงมาบนพื้นดินอย่างเบาบาง ไม่ครอบคลุมซีกทิศตะวันออกของอำเภอครบุรีอย่างใด  

๔.ที่มาของความรู้สะพานไม้โบราณ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี การที่คนเราจะมีความรู้ดีหรือความรู้เลวนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน มนุษย์จะมีความรู้ที่ดี และความรู้ที่เลวนั้น ขึ้นอยู่กับจิตที่มีสติสัมปชัญญะและสำนึกว่า "สิ่งที่เกิดชีวิตในชีวิตตอนนั้นเป็นผิดพลาดในชีวิตหรือประสบการณ์อื่นใดก็พิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นความรู้ดีหรือความรู้ชั่ว เป็นบาปหรือความดี ถ้าเป็นสิ่งที่ยึดถือ เป็นความชั่ว ก็ตัดความยึดติดในสิ่งนั้นออกไปจากชีวิต     ถ้าคิดว่าสิ่งที่เกิดในชีวิตปรากฎให้เห็นในตอนนั้น   เป็นสิ่งที่ดีก็ใช้สิ่งนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตในภายภาคหน้า   เป็นต้น  ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรู้มนุษย์นั้นมีหลายทฤษฎี    แต่ในการเขียนบทความรู้นี้  ผู้เขียนใช้ทฤษฎีประจักษ์นิยม ในการวิเคราะห์ ต้นกำเนิดของความรู้      ชีวิตของผู้เขียนมีอายตนะภายใน เป็นสะพานเชื่อมจิตของผู้เขียนกับสะพานไม้ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี เนื่องจาก ผู้เขียนได้ฟังเรื่องราวจากที่ผู้เคยไปเยือนสะพานไม้แห่งนี้ จึงได้ตระหนักในความงดงามที่ตนรู้ด้วยตนเองว่า เป็นสะพานไม้โบราณ มีผู้ถ่ายรูปไว้ได้สวยงามมาก ผู้เขียนนั่งคิดหลังจากลงจากธรรมาสน์  ตราบใดที่ชีวิตของผู้เขียนยังมีลมหายใจ และโอกาส   ผู้เขียนก็จะแสวงหาความรู้ที่เป็นประโยชน์จากสะพานไม้แห่งนี้    เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ดังนั้น ผู้เขียนจึงตัดสินใจไปแสวงหาความรู้ที่สะพานไม้โบราณ  ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี  เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการสอนวิชาสุนทรียศาสตร์ได้ เพราะในการสอนวิชาใด ๆ ก็ตาม เราสามารถให้ตัวอย่างในการสอนได้ 

        ที่แสดงให้เห็นว่าผู้สอนมีประสบการณ์จากชีวิตจริงไม่ใช่การตีความ และท่องจำจากตัวละครที่อ่านแล้วสอน  จิตผู้เขียนหวนนึกถึงความงามของสะพานไม้เก่าแก่อายุ ๑๐๐ ปีของเมืองครบุรี  ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกระชาย ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา.  ผู้เขียนจึงตัดสินใจไปยังตำบลโคกกระชาย  เมื่อผู้เขียนมาถึงที่ตั้งของสะพานไม้โบราณครบุรี ผู้เขียนมองเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวไม่มากนักและคิดหาเหตุผลจากประสาทสัมผัสของตนเองและระลึกได้ว่าวันนี้เป็นวันจันทร์หน่วยงานราชการและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เปิดทำงานกันทั่วประเทศ    เมื่อมันไม่ใช่วันหยุดราชการแต่อย่างใดจึงไม่มีนักท่องเที่ยวหรือว่ามีนักท่องเที่ยวผู้เข้าชมสะพานไม้โบราณตั้งแต่เช้าตรูแล้วและได้เดินทางกลับไป เราไม่เห็นนักท่องเที่ยวไม่ใช่ว่าไม่มี นักท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมาแล้วและกลับไปแต่มันเป็นโอกาสของผู้เขียนที่เดินไปผัสสะอารมณ์ของธรรมชาติก้าวย่างบนสะพานไม้โบราณนั้นโดยไม่ต้องหลบหลีกใครบนสะพานเพื่อพิจารณาอารมณ์สุนทรียภาพอย่างมีสติ  จิตของผู้เขียนรู้สึกโล่งใจเพราะหายจากความเครียดเนื่องจากทำงานหนักมาตลอดทั้งปี ผู้เขียนตัดสินใจที่จะก้าวเท้าเดินลงจากถนน  ที่ตั้งอยู่สูงกว่าท้องทุ่งนาของชาวบ้านโคกกระชายที่กว้างไกลสุดสายตาผู้เขียนเดินไปตามสะพานไม้โบราณที่ชาวบ้านในหมู่โคกกระชายได้ร่วมกัน  สร้างขึ้นไว้เพื่อใช้เป็นที่สัญจรไปมาหาสู่กันพื้นผิวของสะพานโบราณชาวบ้านสร้างจากแผ่นไม้จริงจำนวน ๕ แผ่น โดยวางแผ่นไม้พาดเรียงไปตามคานไม้คานไม้ตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร  ไม้พื้นผิวของโบราณมีลักษณะค่อนข้างเก่าและบางแผ่นตัดเป็นไม้แผ่นลักษณะค่อนข้างบางมากแบกรับน้ำหนักของร่างกายผู้เขียนประมาณ ๘๕ กิโลกรัม  เมื่อผู้เขียนวางเท้าเหยียบลงบนแผ่นไม้ ทำให้ไม้อ่อนยวบลงไปเล็กน้อยเวลาเดินบนสะพานไม้โบราณ ผู้เขียนจึงต้องเดินอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก     ผู้เขียนเห็นเกษตรกร ๓-๔ คน พวกเขากำลังนั่งบนสะพานโบราณเฝ้าดูปั๊ปทำงานเพื่อสูบน้ำเข้าทุ่งนา เพราะนี่เป็นฤดูแล้งน้ำบนทุ่งนาเริ่มแห้งแล้ว ฉันได้เห็นต้นข้าวหลายแปลงที่เกษตรกรพึ่งปลูกเสร็จใหม่ ๆเมื่อฉันสนใจอยากไปท่องเที่ยวชมสะพานแห่งนี้ในแง่มุมวิชาการเมื่อฉันไปผัสสะสถานที่แห่งนี้จะงดงามดั่งคำเล่าลือของผู้คนที่ได้ไปเที่ยวชมไปมา   ฉันค้นหาที่กูเกิลฉันพบคำว่าสะพานไม้ ๑๐๐ ปีครบุรีมีผู้คนเข้าไปค้นหาคำนี้เกือบสองแสนครั้งแล้ว และเขียนข้อความจากเป็นประสบการณ์ที่พวกเขาได้ไปชมสะพานไม้เป็นข้อความสั้น ๆ   มากมายทำให้สะพานไม้นี้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และคำบอกเล่าได้ยินและเห็นภาพสวยงามที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์มากมายและกระตุ้นความปรารถนาที่จะมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้สักครั้งหนึ่งของชีวิต ฉันรับรู้ความมีอยู่ของสะพานไม้ ๑๐๐ ปีครบุรีด้วยการอ่านศึกษาจากโลกออนไลน์และฉันเดินทางมาด้วยตัวของฉันเอง เห็นผ่านสายตาของฉันเองครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ แล้ว  ฉันมองด้วยสายตาของฉันเองตัวสะพานหน้าจะมีความกว้างสัก ๑ เมตร  ความยาวจากการคาดเดาของฉันประมาณสัก ๑ กิโลเมตร ตัวเสาของสะพานเป็นเสาซิเมนต์เพราะสามารถทนฝนได้ดีกว่าเสาไม้  สะพานมีอายุมากว่า ๑๐๐ ปีตั้งอยู่กลางทุ่งนาอันไกลสุดสายตาจะมองเห็นได้ว่าสิ้นสุดลงที่ใด เมื่อสะพานอยู่กลางแจ้งย่อมผ่านร้อนที่ผ่านแสงแดดจ้าแผดเผาผ่านลมพายุหลายหลากถาโถมเข้ามาระลอกในฤดูฝนและมีเมฆหมอกปกคลุมมากในฤดูหนาว แต่ความเป็นสะพานไม้ร้อยปีครบุรีแห่งนี้ก็ทนทานต่อความร้อนหนาวพายุฝนและแสงแดดร้อยกว่าปีแล้วเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้   สะพานไม้โบราณอายุ ๑๐๐ ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าหลงไหลอีกแห่งหนึ่งมีเสน่ห์ที่จับต้องเข้าถึงได้  เป็นเรื่องราวผ่านประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหา เพราะกาลเวลาไม่เคยทำให้คุณค่าของความงามที่เป็นนามธรรมในจิตมนุษย์ของลดลงไปยังห่อหุ้มจิตไว้เป็นมนต์ขลังที่ไม่มีวันเสื่อมคลายในโลกออนไลน์

      เพราะเป็นวิถีความจริงและความงามของสรรพสิ่งที่เสมอภาคกัน ในความไม่เที่ยงแท้ที่เกิดการเสื่อมสลาย  ทำให้พลัดพรากจากสิ่งที่รักรู้สึกจิตมีอาการอาลัยด้วยเสน่หาการหมุนเวียนของจุติจิตและปฏิสนธิวิญญาณทุกช่วงเวลาที่มนุษย์ควรค้นหาในจิตของตนเสมอ แม้มนุษย์ให้เหตุผลด้วยความหลงยกตัวเองขึ้นมาว่าดีกว่าใครในแหล่งหล้า หาใครเปรียบเทียบอย่างเสมอเหมือนได้ไม่ สุดท้ายก็ไม่เที่ยงอยู่ดีเพราะพระพุทธศาสนาสอน  เรื่องเหตุปัจจัยของสรรพสิ่งรวมทั้งวิถีชีวิตของมนุษย์ ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยกายและรวมให้เกิดเป็นชีวิตมนุษย์ก็ต้องเกิดเป็นธรรมดา      ส่วนเหตุปัจจัยให้ดับคือเสียชีวิตก็กายต้องดับจิตย่อมไปจุติจิตเช่นเดียวกันไม่ใครจะหยุดเหตุปัจจัยเหล่านี้ได้ ลมหนาวจากท้องทุ่งนาอันกว้างใหญ่ไกลสุดสายตา และพัดเข้ามาแทนที่อากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าสีครามลมหนาวพัดผ่านประสาทสัมผัสของร่างกายของฉัน จนฉันรู้สึกผ่อนคลายทั้งกายและจิตฉันสูดดมก๊าซออกซิเยนเข้าสู่ปอดทั้งสองข้างของฉันร่างกายของฉันเคยเครียดเนื่องจากการทำงานพบปัญหาซ้ำซากปัญหาที่เป็นทุกข์ตลอด ทำให้ฉันต้องคิดตัดสินใจเริ่มผ่อนคลายลงมาก จิตใจของฉันสดชื่นมากจิตใจของฉันได้ปลดปล่อยตัวฉันเองจากภาระเมื่อยล้าเพราะประสาทสัมผัสของร่างกาย ฉันได้ผัสสะอากาศที่เย็นสบายวันนี้ไม่มีแสงของดวงอาทิตย์ ฝนตกลงจากท้องฟ้าบางเบาและพัดออกไป ไม่มีเรื่องราวใดที่แบ่งปันผ่านโลกออนไลน์ผ่านอากาศเข้าสู่ชีวิตของฉันเพื่อให้จิตของฉันได้รับรู้ทำให้ฉันไม่รู้สึกทุกข์ ไม่ต้องตัดสินใจอย่างรีบเร่งเรื่องอะไรอีกต่อไปเพราะแบดเตอรี่โทรศัพท์ใช้ไปจนหมดแล้ว จึงไม่มีสิ่งใดส่งผ่านเข้ามาที่โทรศัพท์มาให้ฉันต้องรับรู้อีกต้องคิดตัดสินใจอีก  จิตจึงหมดความกังวลไปชั่วขณะหนึ่งกล้องถ่ายรูปยังมีแบดเตอรี่อยู่ยังถ่ายรูปได้อีกเป็น ๑๐๐ รูป โลกมีบ่วงผูกพันจิตของเราทำให้เราเกิดความทุกข์เพราะการรับรู้ความเปลื่ยนแปลงของชีวิต  ผู้เข้าใจความเปลื่ยนแปลงเท่านั้นจะเกิดความสุขและสงบได้ในชีวิต.  

๕.ความงามสะพานไม้ ๑๐๐ ปีแห่งครบุรี       
         
       ความรู้สึกสวยงามเป็นอาการหนึ่งของจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อจิตรับรู้วัตถุหนึ่งสิ่งใด ก็จะคิดหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของสิ่งนั้น และทำให้เกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้น เมื่อมาถึงตำบลโคกกระชาย จิตของผู้เขียนก็ได้สัมผัสสะพานไม้ที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง และเหมือนได้รู้สัมผัสสะพานนั้นอย่างใกล้ชิด เกิดอารมณ์สุนทรียะในจิตของผู้เขียนเอง ช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากความกดดันในจิตใจ ทำให้จิตใจของมนุษย์สนใจและพอใจกับสิ่งนั้น เมื่อจิตสนใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะหันเหออกจากความทุกข์ที่เกิดขึ้น ทำให้จิตหายมืดมนเราก็จะรู้สึกโล่งใจจากทุกข์ที่สะสมอยู่ในจิตใจ แม้ว่าอารมณ์นั้นจะผ่านประสาทสัมผัสในชีวิตตนเพียงชั่วขณะก็ตาม   เมื่อเราสนใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะรู้สึกยินดีในอารมณ์นั้น  แม้จะเป็นเพียงความสุขชั่วคราวก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้ชีวิตเรามีความสุขขึ้น เราก็จะมีสติระลึกถึงความสุขหรือความทุกข์ในอดีตชาติได้   เราก็จะใช้ปัญญา พิจารณา การกระทำทางกาย วาจา และใจ  ให้เกิดความบริสุทธิ์ขึ้นได้  ดังนั้นความงามจึงเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งในชีวิตมนุษย์เพราะความงามช่วยขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีอารมณ์สุนทรีย์ ช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากการสัมผัสกับราคะกามตัณหา  ซึ่งอาจทำให้จิตไม่สงบนิ่งและวิตกกังวล แม้ความงามที่ถูกสัมผัสจะทำให้จิตใจมีความสุขทางสุนทรียะชั่วขณะ แต่ก็เป็นความรู้ที่เป็นความจริงอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้จิตใจมนุษย์สงบ เบิกบาน มีความสุขและเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ดังนั้นความงามจึงเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในจิตของมนุษย์ ผู้เขียนได้เดินบนสะพานไม้โบราณ วันนี้ผู้เขียนไม่พบเห็นนักท่องเที่ยวจากจังหวัดนครราชสีมาหรือที่ใด   เดินทางมายังสะพานโบราณแห่งนี้เลย ผู้เขียนจึงใช้ชีวิตอย่างสุขสบายบนสะพานไม้ เพราะไม่คอยหลบเลี่ยงญาติพี่น้อง และไม่อยากให้ญาติพี่น้องต้องมาวุ่นวาย  ผู้เขียนจึงปล่อยความเครียดจากการทำงานที่โต๊ะหลายชั่วโมง ความซ้ำซากจำเจของสิ่งที่ทำอยู่ ผู้เขียนละสายตาจากสิ่งที่ทำนั้น เดินไปเรื่อย ๆ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ  และคลายความเหงาเศร้าเหมือนคนแบกโลกด้วยจิตที่หนักอึ้ง ลมที่พัดเข้ามาในชีวิต สัมผัสภายนอกและซึ่มซาบเข้าสู่จิตใจของตัวเอง ยังมีผู้คนอีกมากที่มีทรัพย์สมบัติน้อยกว่าคนอื่น แต่กลับมีความสุขมากกว่าคนอื่น เพราะคนอื่นให้ความสำคัญกับความปรารถนาที่อยู่ห่างไกลจากตนมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งมีค่าที่อยู่ใกล้ตัว และสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ และไม่ต้องเสียเงินมากมาย เพื่อแสวงหาสิ่งเหล่านี้ เมื่อจิตใจสงบ ก็จะช่วยให้ศักยภาพทางจิตเข้มแข็งและอดทนต่อความทุกข์ได้ 

     นับเป็นข้อจำกัดของมนุษย์ในการคิด จินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ทำให้มนุษย์มองเห็นโอกาสในการต่อสู้ เพื่อชีวิตอีกครั้ง ปัญหาว่าความงามก่อให้เกิดความหลงใหล หรือไม่  มีเหตุผลอธิบายความจริงเรื่องนี้เพียงใด เมื่อพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับกรรมของมนุษย์หากเราพิจารณากรรมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา และใจ การกระทำนั้นจะบริสุทธิ์  เสมือนว่าความงามเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในจิต จะทำให้มนุษย์หลงใหลในความงามนั้นหรือไม่ หากพิจารณาด้วยเหตุผลและจิตมีสติ จิตใจของมนุษย์จะหลงใหลได้ยาก เพราะอารมณ์ต่าง ๆ จะถูกพิจารณาอยู่ตลอดเวลา เมื่อจิตใจของมนุษย์อย่างข้าพเจ้าได้เห็นความงดงามของสะพานไม้โบราณ เป็นสะพานที่มีอายุกว่า ๑๐๐ กว่าปี ในอำเภอครบุรี   ทำให้จิตใจของข้าพเจ้าได้เห็นถึงธรรมชาติแท้จริงของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในโลก ในช่วงเวลา ที่ทำให้จิตของมนุษย์  มีสุนทรียภาพ  มีความพอใจ  คลายความเครียดในชีวิต  เมื่อเราเห็นสิ่งที่อยู่ในทุ่งนา ป่าเขา ภูเขาสูงและสายแม่น้ำแชะ ที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้มีอายุยืนยาวชั่วขณะ  แล้วก็เสื่อมสลาย ทุกสิ่งที่มนุษยรู้ด้วยประสาทสัมผัส นั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยทำให้มี มีเหตุปัจจัยทำให้ดับ สิ่งที่ผ่านประสาทสัมผัสเข้าสู่จิต เมื่อจิตใจไม่พอใจก็เกิดความทุกข์ การฝึกฝนจิตให้อดทนต่อความทุกข์นั้น เป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตมนุษย์นั้น เราจะต้องรู้จักร้อนหรือหนาวจากเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย  เพราะเมื่อมนุษย์รู้แล้วก็จะคิดและสร้างอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆของตนให้แตกต่างกันออกไป เป็นทั้งความทุกข์และความพอใจสลับกันไป การดำเนินชีวิตที่เงียบสงบและเรียบง่าย เราก็สามารถสัมผัส และเข้าถึงตัวตนที่อยู่ในจิตใจได้ ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความทุกข์ของชีวิตได้  เพราะบางครั้ง จิตใจเรามัวแต่เขียนหนังสือหรืออ่านหนังสือจนเกินไป ก็ทำให้เกิดความเครียดได้  การใช้ชีวิตอยู่กับความบันเทิงมากเกินไป อาจทำให้เครียดได้เช่นกัน  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่  ๆ ตามหลักปรัชญา บางครั้งจิตใจ เราไม่สามารถวิเคราะห์งานได้อีกต่อไป  ทำให้เกิดความทุกข์ได้เช่นกันการปล่อยใจให้ว่างเปล่าจากความเครียดของชีวิต น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต บางครั้งเราต้องรู้จักพิจารณาธาตุต่างๆ ของโลก  เบื้องหน้าเราว่าอาจเต็มไปด้วยกระดูกเล็ก ๆ  อิฐเล็ก ๆ  และเถ้าถ่านเล็ก ๆ  เท่าฝุ่นผง มีกองอยู่เต็มไปหมด ช่วยลดความทะเยอทะยานและความปรารถนาในชีวิตของเราลงได้ ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการพัฒนาสติสัมปชัญญะต่อความตาย    เพราะวันนี้คือวันแห่งความสุขของเขา พรุ่งนี้ก็ต้องเป็นวันแห่งความทุกข์ของเราเราอาจต้องเจอมันในวัฏจักรแบบนี้ เมื่อมีเวลาว่างก็แสวงหาความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖  โดยตรง ความรู้ผ่านอักษรก็ไม่ใช่ความรู้ผ่านประสบการณ์ ต้องอาศัยการคิดและจินตนาการว่าได้ไปชมสะพานไม้ครบุรี ๑๐๐ ปี  บ้านโคกกระชาย เมืองครบุรี  แล้วเห็นว่ามันสวยงามแค่ไหน  น่าจะเป็นการยกตัวอย่างความสวยงามที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง เพราะแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เป็นที่ชื่นชมของช่างภาพและแชร์กันในโลกออนไลน์ ในฐานะครูสอนสุนทรียศาสตร์เชิงวิเคราะห์ เราก็อยากรู้สะพานแห่งนี้สวยงามเพียงใดทั้งที่เคยไปมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง แต่พอไปถึง ก็มีคนเดินเข้ามาชมความสวยงามของสะพานไม้ครบุรี ๑๐๐ ปีเต็มไปหมด สมณะย่อมไม่สะดวกที่จะเดินทางไปศึกษาท่ามกลางผู้คนจำนวนมากขนาดนั้น เราจึงเดินทางกลับไป

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ