The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การรับใช้พระพุทธเจ้าในแดนพุทธภูมิ : โอกาสครั้งหนึ่งในชีวิต

 Serving of the Buddha in the land of Buddhahood: A Once in a Lifetime    opportunity 


บทนำ 

     โอกาสที่ได้เป็นพระนักบรรยายประวัติศาสตร์และปฏิบัติบูชาให้กับผู้แสวบุญ      เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระพุทธเจ้าในแดนพุทธภูมินั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยาก    และเกิดขึ้นเป็นช่วงหนึ่งในชีวิต  แม้เราจะมีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีและสวดมนต์เป็นเลิศก็ตาม        แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าและล้ำค่าเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ใช่เพียงการทำงานธรรมดา    แต่เป็นการเดินทางของจิตวิญญาณที่เต็มไปด้วยศรัทธที่เชื่อว่า         การปฏิบัติบูชาในแดนพุทธภูมิว่า    เป็นการทำความดีของตนเองเมื่อตายไป จิตวิญญาณก็จะสู่โลกสวรรค์    ในเส้นทางแสวงบุญที่ยาวนาน เราต้องหมั่นแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง           เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นฟัง       เราต้องแลกกับสุขภาพของเราที่เสื่อมถอยจากการเดินทางไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง   ๔     ระยะทางไม่น้อยกว่า   ๑,๒๐๐  กิโลเมตร  ติดต่อกันไม่น้อยกว่า   ๘  วัน     ผู้เขียนนึกถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิที่เคยไปมาแล้วหลายครั้ง     โดยที่ไม่ต้องเปิดแผนที่โลกของกูเกิลอีกต่อไป  บทสวดมนต์อันศักดิ์สิทธิที่เคยสวดมาหลายครั้ง     ก็ไม่เคยเหนื่อยหรือท้อแท้ที่จะสวดต่อไป      ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่ผู้เขียนเคยเล่าไปหลายครั้งแล้ว      ก็ไม่เคยจำและจำไม่ได้ว่าเล่าเรื่องอะไรไปให้ผู้แสวงบุญฟัง             เพื่อให้คนศรัทธาในคำสอนของพุทธศาสนาอยู่แล้วเกิดศรัทธายิ่ง ๆ   ขึ้นไป  ส่วนผู้ไม่เคยศรัทธาก็จะเกิดศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า        

              มนุษย์เกิดมาด้วยความไม่รู้  และต้องอยู่ร่วมกับครอบครัว  สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่มีพ่อแม่เป็นครูคนแรก     ที่สั่งสอนลูกหลานช่วยเหลือตนเอง และส่งเสริมให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม      ในอดีตก่อนพุทธกาล  มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยความกลัว    อำนาจที่มองไม่เห็นและควบคุมไม่ได้  มนุษย์ต้องหาที่พึ่งให้ตนเอง     เมื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวต้องพึ่งพ่อแม่เป็นที่ปรึกษา           และเป็นผู้ชี้ทางให้ตนต่อสู้เพื่อบรรลุความฝัน   เมื่อพ่อแม่ตายไปก็ไม่มีที่พึ่งให้ตนเองอีกต่อไป ต้องหาที่พึ่งใหม่ต่อไป เพื่อปรึกษาปัญหาหารือ               เพื่อดำเนินชีวิตในสมัยก่อนพวกเขานับถือพราหมณ์        ซึ่งถือเป็นครูบาอาจารย์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือในยามชีวิตอยู่ในความมืดมนไม่สามารถคิดหาเหตุผล        เพื่ออธิบายความจริงในการหาทางออกของชีวิต     มีชีวิตบนพื้นฐานของความเชื่อใขาดโอกาสในชีวิตเพราะในยุคนั้น  มนุษย์ยังไม่รู้ว่าจะพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนอย่างไร ?         ให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า  ความรู้ของมนุษย์ที่มีอยู่จากประสบการณ์ชีวิตนั้น        

                  แม้จะมีปัจจัยจากการได้รับรู้จากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิด    จิตใจของมนุษย์ก็เก็บอารมณ์เหล่านั้น สั่งสมอยู่ในจิตใจของตน    และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆ         แต่หลักฐานทางอารมณ์ที่ได้รับมานั้นยังไม่เพียงพอ           เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเองขึ้นไป   และมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นเกิดความคิดที่โง่เขลา         ความเกลียดชังที่คนอื่นเจริญรุ่งเรืองในอาชีพ  หน้าที่การงานจึงมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตจึงมีจำกัดเพราะมนุษย์มีความรู้เพียงระดับประสาทสัมผัสเท่านั้น       

               ส่วนความรู้อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของประสาทสัมผัสของมนุษย์  เช่น        พราหมณ์อารยันยังไม่รู้จักการปฏิบัติธรรม      เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตให้บรรลุถึงความรู้ถึงระดับการมีญาณทิพย์เหนือมนุษย์  เห็นการมีอยู่ของเทพองค์นั้น   แม้พราหมณ์อารยัน      และพราหมณ์ดราวิเดียนจะอธิบายด้วยเหตุผลว่าการบูชายัญเทพเจ้าด้วยของมีค่านั้น    พระองค์จะช่วยให้มนุษย์บรรลุถึงความสำเร็จในชีวิตได้          ก็ตามเนื่องด้วยผลประโยชน์ของการบูชายัญเทพเจ้าที่สร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์ในหลายนิกาย    และพราหมณ์ถูกยกฐานะในสังคมการเมือง         เมื่อมหาราชาแต่งตั้งพราหมณ์เป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาของมหาราชาในด้านนิติศาสตร์ขนบธรรมเนียม  และจารีตประเพณี พราหมณ์อารยัน  ต้องการผูกขาดการทำพิธีบูชาเทพเจ้าเพียงฝ่ายเดียว  จึงเสนอตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ  เพื่อจำกัดสิทธิหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน    มิให้ทำพิธีบูชายัญโดยอ้างความเชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์       และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนเอง              ทำให้ชีวิตมนุษย์อยู่ในความมืดมน มองไม่โอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของชีวิต           เพราะถูกจำกัดสิทธิในการศึกษาและใช้ทักษะความสามารถของตนได้เนื่องจากถูกจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ 

        ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายว่า  "โอกาส" นั้น ว่า ช่อง ทาง  เวลาที่เหมาะ  จังหวะ       เป็นต้น  ชีวิตมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีตัณหาเป็นเครื่องนำทาง      การให้ผู้อื่นให้โอกาสตนได้ทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว หรือสร้างโอกาสให้กับตนเองนั้นเป็นปัญหาที่น่าคิด    คำว่า "โอกาส"   ตามความหมายนี้คือช่องทาง เวลาที่เหมาะ          และจังหวะในการทำงานรับใช้สังคมหรือสร้างโอกาสให้กับคนในสังคม         อย่างไรก็ตามช่องทางในชีวิต  เป็นสิ่งที่หาได้ยากในชีวิตโดยเฉพาะโอกาสในการทำงาน ความรู้ที่เราศึกษาในสถาบันต่าง ๆ นั้น มีไว้เพื่อการเรียนรู้เท่านั้น   ไม่ใช่เป็นสถานที่นำความรู้ไปในการทำงานเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้กับชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่า คือ ความมั่งคั่ง  เงิน ทอง แลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อตอบสนองความปรารถนาในชีวิตที่มีความั่งคั่ง    อยากเป็นบุคคลสำคัญในหน้าที่การงานและอยากได้อย่างเพียงพอ  ก็จะมีความสุขได้ในระดับหนึ่งของชีวิต เป็นต้น 


         โอกาสที่จะได้เป็นพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองเป็นสิ่งที่หาได้ยาก เพราะเป็นหนทางสร้างปัญญาและคุณธรรมให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ได้ หากไปแสวงบุญที่ดินแดนพุทธภูมินั้น หากไม่มีพระธรรมทูตเป็นผู้ชี้ทางก็หลงทาง  เพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จำเป็นต้องมีพระธรรมทูตบรรยายธรรมเพื่อปลุกพลังและพัฒนาศักยภาพชีวิตให้มีความรู้ และความสามารถในการบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนา ให้มีความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้    โอกาสในการบรรยายนั้น จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูบาอาจารย์หรือเจ้าอาวาส หรือหัวหน้าคณะพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะเมื่อท่านเหล่านั้นได้ระลึกถึงงานที่เราเคยทำ ก็จะพิจารณาว่าเรามีความรู้และความสามารถในการบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีแล้ว ท่านก็จะมอบงานให้เราทำด้วตนเอง   

            อย่างไรก็ตาม เราควรจะเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับประวัติพุทธเจ้า บทสวดมนต์ การปฏิบัติบูชา ต้องมีสุขภาพแข็งแรงและเสียงที่ใช้บรรยายต้องนุ่มนวลและเหมาะสม  สิ่งสำคัญที่สุด  คือ เราต้องรักในการเทศน์ธรรมะ ซึ่งจะช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีความสุข หากเรามีภาระหน้าที่อื่น เราก็ต้องรู้จักแบ่งเวลาทำทั้งสองอย่างไปพร้อม  ๆ  กัน แม้จะเป็นสิ่งที่หาได้ยากที่จะประสบความสำเร็จไปพร้อมกัน      เว้นแต่ผู้สั่งสมความหลงใหลในการบรรยายธรรมในอดีตชาติมาก่อนเท่านั้น   ถึงจะมีความรักในการบรรยายธรรมในสังเวชนียสถานทั้ง ๔เมืองในยุคปัจจุบัน นอกจากจะเป็นผู้สั่งสมความรู้ทางพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว  ยังต้องมีความเมตตากรุณาที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และมีความอดทนสูงในการเดินทางไกล ที่สำคัญ ต้องได้รับนิมนต์ให้เทศนาเรื่องประวัติพระพุทธเจ้า หากเราไม่รู้จักรับใช้ครูบาอาจารย์ เราก็จะไม่มีโอกาสได้แสดงทักษะการพูดหรือบรรยายธรรมให้ผู้อื่นฟัง   ต้องให้ครูบาอาจารย์ทราบถึงทักษะการทำงานของเราแล้ว จึงจะไว้วางใจให้เราทำหน้าที่แทน เมื่อครูบาอาจารย์มอบหมายงานให้เรา  เราก็ต้องทำงานให้ดีที่สุด แม้ว่าชีวิตเราจะมีข้อจำกัดมากมาย เป็นต้น

             มีคำกล่าวที่น่าสนใจว่า"ใครก็ตามที่มองเห็นโอกาส ย่อมเห็นเส้นทางของชีวิต" การเดินทางศึกษาเล่าเรียนที่สาธารณรัฐอินเดียนั้น ทำให้ผู้เขียนได้ศึกษาเล่าเรียนในระดับปริญญาโทถึงปริญญาเอก และได้พบเห็นโอกาสที่หาได้ยาก คือเป็นผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง     ที่ไปฟังคำบรรยายที่โบราณสถานในพระพุทธศาสนาจากพระธรรมทูตต่างประเทศ      เมื่อผู้เขียนไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานหลายครั้ง จิตใจของผู้เขียนก็ได้สั่งสมความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองในการปฏิบัติบูชาในพุทธสถานต่าง ๆ  ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสตระหนักในคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพุทธสถาน ที่พระพุทธเจ้าทรงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาและมีเหตุการณ์ต่าง  ๆ ที่เกี่ยวข้องพระพุทธเจ้าตามหลักฐานในพระสูตรต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายเล่มโดยข้อมูลดังกล่าวมามาจากพระไตรปิฎกทั้งฉบับนิกายเถรวาท และมหายาน           ข้อมูลเกี่ยวกับพุทธสถานเหล่านี้ ผ่านการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผล โดยนักโบราณคดีชาวอินเดีย เนปาล และนักโบราณคดีชาวอังกฤษในสมัยอังกฤษปกครองอินเดีย

           การได้มีโอกาสเป็นพระวิทยากรในดินแดนพุทธภูมินั้น มิใช่แค่การถ่ายทอดความรู้ โดยการเล่าเรื่องจากคัมภีร์ทางพุทธศาสนาให้ผู้แสวงบุญฟังเท่านั้น เราต้องนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับวิถีของชาวอินเดีย ที่เราเคยสัมผัสวิถีชีวิตของพวกเขา และถ่ายทอดวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้แสวงบุญฟังจนหมดข้อสงสัย  ในยุคสมัยก่อนนั้น มีตำราประวัติพุทธศาสนา  มีผู้แต่งไว้เพียงไม่กี่เล่มเท่านั้นไว้ให้เราศึกษาค้นคว้าและข้อมูลหายากมาก  การบรรยายเนื้อหาของพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ต้องสอดคล้องกับพุทธสถานที่เราได้เดินทางไปถึงนั้น ด้วยความรู้ความเข้าใจของเรา ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะยากที่จะเข้าใจแต่เราต้องบรรยายด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ผู้แสวงบุญจะเข้าใจได้ และด้วยน้ำเสียงที่ทรงพลัง  ซึ่งสามารถบรรยายได้อย่างน้อยวันละ ๘-๑๐ ชั่วโมง  เมื่อเราไปถึงสถานที่เหล่านั้นแล้ว มีเพียงวัด  ภูเขา และถ้ำธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะพบได้ทุกที่ในสาธารณรัฐอินเดีย หรือประเทศไทย เมื่อไปถึง ผู้แสวงบุญจะไม่รู้สึกถึงคุณค่า หรือความหมายใด ๆ หรือ รู้สึกว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าโดยไม่ได้ผลลัพท์หรือมรรคผลใด  ๆ    หากเราเพิ่มการปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนต์บูชาองค์พระพุทธเจ้า และเจิญสมาธิภาวนา พร้อมฟังเรื่องเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธสถาน ให้ผู้จาริกแสวงบุญได้ฟังจนเกิดความรู้ความเข้าใจในชีวิตของตนเองแล้ว  ผู้จาริกแสวงบุญรู้สึกคุ้มค่าที่ได้มาตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 

        การปฏิบัติบูชาจะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่พระธรรมทูตควรใส่ใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ เพราะพระพุทธเจ้าทรงมอบหมายงานพัฒนาศักยภาพคนทั่วโลกตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘            เป็นภาระหน้าที่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา        ที่ต้องรักษาศรัทธาของมนุษย์ทั่วโลก    โดยชี้ทางดับทุกข์จากความเครียดที่เกิดจากปัญหาชีวิตและความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักที่แลกมาด้วยปัญหาสุขภาพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว       เมื่อผู้แสวงบุญมาด้วยความศรัทธา จิตวิญญาณของพวกเขาต้องการความรู้  และความสุขเกิดขึ้นในจิตใจผ่านการปฏิบัติบูชาของตนเองตลอดเส้นทางถึงสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง จึงเป็นหน้าที่ของพระธรรมทูต       จะต้องตระหนักในหน้าที่ของตนเองตลอดการทำงานการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นเวลา ๘ วันของการจาริกแสวงบุญครั้งนั้น     ทุกชีวิตล้วนมีความฝัน ความหวัง และโอกาสในชีวิตที่จะบรรลุความสำเร็จที่ปรารถนา หากมีความรู้แต่ไม่กล้าเผชิญความยากลำบาก   ชีวิตที่รอคอยโชคชะตาเป็นชีวิตไร้เกียรติศักดิ์ศรี การแสวงหาโชคลาภและอนาคต ย่อมดีกว่าปล่อยโชคชะตากำหนดชีวิต การศึกษาเล่าเรียนที่สาธารณรัฐอินเดีย        แม้จะมีชีวิตไม่สะดวกสบายเหมือนการบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการบิณฑบาต   แต่การอาศัยอยู่ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง ชาวอินเดียก็สอนให้ผู้เขียนเรียนรู้อะไรหลายอย่างเกี่ยวกับชีวิต       การได้เห็นความหวัง ความฝัน และที่สำคัญที่สำคัญที่สุดคือการได้มีโอกาสทำงานเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า เพราะช่วยให้ผู้เขียนได้พัฒนาศักยภาพและความรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลา       การได้เห็นข้อบกพร่องของตนเอง       ในการต้องเตรียมตัวรับมือกับงานหนักที่เข้ามาตลอดเวลา แม้จะมีความรู้ดีและทักษะที่ดีในการสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อให้ได้รับความรู้           และความเข้าใจที่ดีในพระพุทธศาสนาที่ชัดเจน แต่ครูบาอาจารย์ก็ยังสอนว่าหากเราสอนคนอื่นให้มีความรู้และความเข้าใจที่ชัดเจนอย่างไร ตัวเราก็ต้องกระทำเช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าชีวิตของเราอยู่ในความประมาทเช่นกัน.  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ