โดยทั่วไป มนุษย์มองเห็นมนุษย์ด้วยกันผ่านอวัยวะ "อินทรีย์ ๖ อย่าง" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของพวกเขาเอง เมื่อผู้เขียนค้นคว้าเกี่ยวกับมนุษย์ โดยอาศัยหลักฐานของประสบการณ์ของชีวิต ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง จากพยานหลักฐานเป็นมนุษย์ด้วยกันแล้ว ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อตาย ไม่มีใครหนีความตายพ้น แต่มนุษย์กลัวความตายจึงขอให้พราหมณ์ดูดวงและทำพิธีต่ออายุดวง เพื่อให้ชีวิตยืนยาวขึ้นหรือให้หายโรค แต่เมื่อทำพิธีกรรมเสร็จแล้ว ก็เพียงทำให้พวกเขามีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อจะได้มีแรงต่อสู้กับโรคภัยเพียงชั่วยระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น สุดท้ายไม่มีใครสามารถยืดอายุร่างกายของตัวเองได้อีกต่อไป ในที่สุดก็ต้องตายเป็นกฎธรรมชาติแห่งชีวิตที่ไม่เที่ยง ธรรมชาติของจิตมีอารมณ์ตัณหา (passion) แฝงอยู่ในจิตใจที่จะเป็นเศรษฐี มั่งคั่ง เพื่อความสะดวกในการใช้จ่ายตามต้องการ พวกเขาไม่จำเป็นต้องออมเงินสำหรับวัยชราหรือค่าใช้จ่ายในชีวิต ชีวิตเปลี่ยนจากความั่งคั่งไปสู่ความยากจนหรือล้มเหลวในชีวิตไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในยามชีวิตมั่งมี เขาหลงระเริงในราคะอันน่ารื่นรมย์ เป็นต้น
เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงว่า เมื่อมนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตาย ผู้เขียนสงสัยว่ามนุษย์มีชีวิตอยู่หลังความตายหรือไม่? มีหลักฐานยืนยันมากแค่ไหน? หลายคนบอกว่าชีวิตตายแล้วไม่สูญเปล่า แต่ไม่มีใครมีหลักฐานยืนยันความจริงของเรื่องนี้ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีหลักฐานข้อความบันทึกไว้ในเอกสาร โดยผู้บรรยายเคยมีประสบการณ์เจอผีและผู้เขียนเรื่องผีบันทึกประสบการณ์นั้น และแต่งหนังสือให้คนซื้ออ่าน และปรากฎการณ์ที่คนเข้าแถวซื้อที่สำนักพิมพ์หรือทำภาพยนต์ออกฉายหรือละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมของผู้คน แต่ก็ยากที่จะรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบได้ เพราะผู้คนยืนยันว่าเคยเห็นผี แต่ก็ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าตนเห็นผีได้อย่างไร เป็นเปรตก็มีวิธีการตรวจสอบว่ามีเปรตอยู่จริงเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงเปรตมี หรือไม่มีเหตุผลเพียงใดเป็นคำถามไม่มีใครรู้คำตอบได้เพราะโดยทั่วไป มนุษย์เกือบทั้งหมดไม่เคยวิญญาณของผู้ตายออกจากร่างเพื่อไปจุติจิตในภพภูมิอื่นนอกจากนี้มนุษย์ยังถกเถียงเรื่อง "กรรม" เรียกว่าการกระทำตลอดเวลาเพราะยังมีการถกเถียงในเหตุผลของข้อเท็จจริงเกิดขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ไม่มีใครยอมรับในเหตุผลของใครแต่อย่างใดมีหลายคนจึงเชื่อว่าชีวิตตายแล้วสูญกรรมที่ตนทำไว้กับใครสิ้นสุดลงตั้งแต่วันตายแล้ว มีหลายคนเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นเพราะ"ยังมองไม่เห็นสัจธรรม" เนื่องจากยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเองแต่อย่างใด ยิ่งคนไม่มีศาสนายิ่งไม่มีความเชื่อว่าชีวิตหลังความตายมีอยู่จริงเพราะเขามีเหตุผลของเขาเองไม่เห็นใครตายกลับฟื้นชีพกลับมาเป็นมนุษย์อีก หรือมาเข้าฝันบุคคลในครอบครัวตัวเองแต่อย่างใด ปัญหาเป็นคำถามเกิดขึ้นใจของผู้เขียนว่ามนุษย์เป็นใคร แล้วเราจะวิเคราะห์เหตุผลในที่มาของความรู้ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ผู้เขียนจำเป็นต้องหาพยานหลักฐานมาวิเคราะห์หาคำตอบเพื่อสนองความอยากรู้ของผู้เขียนได้ดังนี้กล่าวคือ
๒.๑ เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ได้นิยามความหมายของคำว่า"มนุษย์" คือสัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง จากคำนิยามดังกล่าว ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า
๑) มนุษย์เป็นสัตว์รู้จักใช้เหตุผล ผู้เขียนวิเคราะห์คำนิยาม "รู้จักใช้เหตุผล" และตีความได้ว่า เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงอยู่ในร่างกายของตนเอง และอาศัยร่างกายรับเรื่องต่าง ๆ เช่นความรัก ความเกลียดชัง หากถูกหักหลังทางธุรกิจ เกิดความพยาบาทหาทางล้างแค้น และความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ความล้มเหลวในธุรกิจเป็นเพราะเทพองค์นั้นองค์นี้ลงโทษ หรือเป็นเพราะเรายังไม่ได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจ เป็นต้น ธรรมชาติของจิตมนุษย์เป็นผู้ชอบคิดหาเหตุผล (สังขารขันธ์) ของคำตอบในเรื่องที่ตนสงสัย ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิเพื่อหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสงสัย ใช้ความรู้ในการอธิบายความจริงที่มาผัสสะชีวิตของตัวเองตลอดเวลากล่าวคือเมื่อชีวิตของมนุษย์ผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมคิดหาเหตุผลจนเกิดความรู้และความจริงจากสิ่งที่มาผัสสะนั้น ตัวอย่าง เช่น เมื่อจิตวิญญาณมนุษย์ผัสสะมพายุพัดพาบ้านเรือนให้พังทลายลงไป จิตวิญญาณก็คิดหาสาเหตุของการเกิดลมพายุนั้น จนกระทั่งหาเหตุผลของความรู้ของคำตอบจากสิ่งผัสสะได้แล้ว ก็นำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ เช่น นักวิทยาศาสตร์นำความรู้ไปสร้างเครื่องมือตรวจสอบสภาพดินฟ้าอากาศนั้น เพื่อแจ้งการตรวจภัยจากสภาพอากาศที่แปรปรวน นำแนวคิดไปสร้างกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขายเชิงธุรกิจได้ ในพระพุทธศาสนา เจ้าชายสิทธัตถะเกิดความสงสัยว่าเมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ทำไมไม่สร้างชีวิตมนุษย์ทุกคนเป็นอมตะ ไม่ต้องแก่ ต้องเจ็บและต้องตาย ทำให้พระองค์เกิดความสงสัยว่าพระหมสร้างมนุษย์จริงหรือไม่ เพียง ทำให้พระองค์เกิดความสงสัยคิดหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น
๒) มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีจิตใจสูงกล่าวคือ สัตว์โลกทั่วไปยกเว้นมนุษย์นั้นที่อุบัติในโลกนี้ปรับตัวเองใช้ชีวิตบนโลกนี้ยากเพราะสัตว์เหล่านั้น มีสมาธิสั้น ตกใจกลัวง่ายมีความพยาบาท ต่างจากมนุษย์นั้น แม้มนุษย์จะมีจิตอ่อนแอแต่ก็มีความเข้มแข็งกว่าสัตว์ทั่วไปแต่เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็คิดจากสิ่งนั้น ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ทรงตรัสรู้ว่าชีวิตมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง มีธรรมชาติเป็นผู้รู้ในสิ่งที่มาผัสสะและนำสิ่งที่รู้มานึกคิดหา เหตุผลจนเกิดคำตอบของความรู้และความจริงที่สามารถนำไปนึกคิดสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาและอาหารได้ทำให้มีเวลาว่าง เพื่อการพักผ่อนเพียงพอและนำความรู้ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมามีอยู่ในจิตไปสร้างทฤษฎีความรู้ใหม่ ๆขึ้นมาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสนองตัณหาของตนได้ตลอดเวลา แต่กระนั้นมนุษย์ยังมีความทุกข์อยู่ในใจของตนเสมอเพราะความไม่พอใจในผัสสะบางเรื่องราวที่มากระทบกระทั่งชีวิตตนตลอดเวลาทั้งนี้เนื่อง จากมนุษย์ มีระดับความเข้มแข็งของจิตแตกต่างกันออกไปมีระดับของตัณหาหรือความทะเยอทะยานแตกต่างกันออกไป (มีกิเลส มากน้อยไม่เท่ากัน) มีอาการทางจิตที่เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่มั่นคงและหวั่นไหวในโลกธรรม ๘ ที่มากระทบจิตของตัวเองอยู่อย่างนั้นไม่เท่ากันชีวิตจึงมีความสุข และความทุกข์แตกต่างกันออกไป เป็นต้น การกระทำทุกอย่างเกิดจากจิตเป็นผู้คิดหาเหตุผลแล้ว แสดงเจตนาของตนออกไปในบุคลิกของความเป็นมนุษย์นั้น บางคนมีสมาธิสั้น บางคนมีสมาธิดีมีความดื่มด่ำในการบำเพ็ญทางจิตของตัวเองย่อมมีความกล้าหาญในการตัดสินใจดำเนินชีวิตไปทางไหน มีสติรู้จักการพิจารณาวางแผนในการ กระทำในการใช้ชีวิต และการทำงานแตกต่างออกไปที่เรียกว่ามีปัญญามากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป เป็นต้น

ความมีสมาธิของจิตมนุษย์แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนมีสมาธิดี จิตก็จะมีความเข้มแข็ง อดทนมากกว่าคนมีสมาธิสั้นในจดจ่อทำธุรกิจการงานได้นานกว่าคนสมาธิสั้น เมื่อจิตจดจ่อในกิจกรรมที่ทำแล้วย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำ เช่น คนจดจ่อกับการศึกษาย่อมสำเร็จ ตามตามหลักสูตรได้เร็วกว่าคนมีสมาธิสั้น เมื่อสำเร็จในการศึกษาด้วยจิตสั่งสมความรู้บรรลุถึงระดับความรู้ที่กำหนดไว้ในเนื้อหาของหลักสูตรแล้ว เมื่อถึงเวลาต้องนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในการทำงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ย่อมกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ ผลิตสินค้าขึ้นมาใหม่หรือใช้นวัตกรรมใหม่ได้ เช่น รู้จักการใช้เทคโนโลยี่เป็นสื่อกลางของการทำงานเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และมีวิธีการตรวจสอบการทำงานว่าผลของการทำงานนั้น มีความบริสุทธิ์ เที่ยงตรง แม่นยำ ปราศจากความสงสัยในพฤติกรรมของการทำงานเที่ยงตรงสุจริตหรือไม่ เพียงใดในยุคสมัยเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดนิพพิทาเบื่อหน่ายของการใช้ชีวิตด้วยความผัสสะรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมย์ในพระราชวังกบิลพัสดุ์ ในปราสาท ๓ ฤดูนั้นทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินไปสู่พระอุทยานกบิลพัสดุ์ ระหว่างเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้นทรงค้นพบความทุกข์ยากของประชาชนเพราะระบบวรรณะนั้น ทำให้ประชาชน มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกันโดยเฉพาะวิถีชีวิตของพวกจัณฑาลเป็นประชาชนไร้วรรณะในสังคม จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในประกอบอาชีพเช่นเดียวกับคนในวรรณะอื่นตามกฎหมาย เมื่อไม่มีงานทำจึงไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพพวกเขาต้องดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามข้างถนนเสด็จพระราชดำเนิน ตั้งแต่เกิดจนกระทั้งพวกเขาตาย เจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ทรง การเห็นความแก่ เจ็บป่วย ตายอย่างน่าอนาถของประชาชนบนสองข้างถนน ทำให้พระองค์เกิดความสลดหดหู่ในพระราชหฤทัยของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถช่วยให้ประชาชนของพระองค์พ้นจากสภาพความทุกข์จากความยากจนได้ แม้พระองค์จะเสนอเรื่องราวเหล่านั้นผ่านรัฐสภาก็ตาม แต่ไม่อาจยกเลิกวรรณะในสังคมชมพูทวีปได้
๒.๒ในพระไตรปิฎก แม้ว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกจะไม่ได้นิยามคำว่า มนุษย์ไว้โดยตรงอย่างชัดแจ้งว่าคือใครก็ตามแต่ก็เป็นความรู้ที่มีเกณฑ์ตัดสินที่มีความสมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในความจริงได้ เมื่อเราศึกษาเนื้อหาในพระไตรปิฎกแล้ว เราพออนุมานความรู้จากพระไตรปิฎกได้ว่า ความหมายของมนุษย์ในทัศนะของปรัชญาศาสนาพราหมณ์ที่กล่าวในพระไตรปิฎกนั้น "มนุษย์คือบุคคลที่พระพรหมสร้างขึ้นมาจากส่วนต่าง ๆ ของพระพรหม เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วพระพรหมทรงกำหนดสิทธิหน้าที่ตามไว้ตามวรรณะของตัวเอง" ดังปรากฎพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาตสูตร ข้อ ๔๒ กล่าวว่าภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหมเป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใคข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างผู้บันดาล ผู้ประเสริฐผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ขึ้นมาเพราะเหตุไรเพราะว่าเรามีความคิดมาก่อนว่า โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง เรามีความตั้งใจอย่างนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว

แม้พวกสัตว์ที่เกิดมาภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใคข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา เพราะเหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็น พระพรหมองค์นี้ เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง เป็นต้น เราวิเคราะห์ตามความเชื่อในสมัยก่อนพุทธกาลนั้นมนุษย์มีความเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา
เมื่อชนวรรณะกษัตริย์ที่เชื่อว่าพระพรหมได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาและกำหนดอำนาจหน้าที่ปกครองประชาชนนั้น ได้ออกกฏหมายรองรับความเชื่อว่าพรหมลิขิตโชคชะตามนุษย์ไว้ ให้มีสภาพบังคับแก่ประชาชนเหล่านั้น ต้องปฏิบัติตามไม่อาจปฏิเสขได้และเมื่อออกกฏหมายมารับรองแล้ว เมื่อออกกฏหมายมาแล้วจะยกเลิกมิได้เพราะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมซึ่งเป็นหลักการปกครองประเทศในยุคนั้น ในแนวคิดทางอภิปรัชญาว่าด้วยความจริงของเรื่องชีวิตในพุทธปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ได้ทรงค้นพบกฎธรรม ชาติเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ทรงได้นำความรู้ที่ทรงค้นพบนำมาอธิบาย แจกแจงในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น ทรงนำเรื่องชีวิตของมนุษย์ มาแสดงธรรมเทศนาในรูปแบบคำสอนของเรื่อง ขันธ์ ๕ ประกอบด้วยรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ เป็นต้น การวิเคราะห์เรื่องมนุษย์ตามองค์ประกอบเรื่องขันธ์ห้าไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจพุทธปรัชญาเถรวาทเท่านั้น เรายังจะได้มองเห็นคุณค่าของชีวิตเราเองและของคนอื่น ที่ีมีโอกาสของชีวิตอย่างเท่าเทียมกันในการบรรลุถึงอุดมคติของชีวิต ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป.
๑) รูป ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของรูปคืออะไรในพระพุทธศาสนาใช้คำว่า รูป เป็นศัพท์ที่สมมติขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำว่า "ร่างกายของมนุษย์" รูปเป็นขันธ์ ๑ในขันธ์ ๕ ของชีวิตมนุษย์นอกจากคำว่า "รูป" ที่ใช้แทนตัวร่างกายของมนุษย์แล้ว ยังมีคำว่า ตัวตน คน เป็นต้น มนุษย์เป็นสสารที่สัมผัสได้รูปร่างของชีวิตมนุษย์กินเนื้อที่ขึ้นไปในอากาศ จิตวิญญาณมาอุบัติในร่างกายของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่จิตอุบัติในครรภ์มารดาเกิดรอดมาเป็นทารก จิตวิญญาณอาศัยร่างกายรับรู้กิเลสภายนอกชีวิตมนุษย์ กิเลสเหล่านี้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในความสุขและความทุกข์ตลอดเวลาที่ชีวิตยังดำรงอยู่ในโลกใบนี้ กิเลสในวัตถุทำให้มนุษย์แย่งชิงกันเกิดการทำร้ายซึ่งกัน และกันวัตถุแห่งกิเลสทำให้เกิดการลักทรัพย์ ฉ้อโกงในวัตถุแห่งกิเลสนั้น วัตถุแห่งกิเลส ทำให้เกิดการประพฤติผิดศีลธรรมเข้าไปพัวพันในวัตถุแห่งกิเลสของผู้อื่น วัตถุแห่งกิเลสทำให้วาจาหว่านล้อมหันเหความสนใจ ด้วยให้ความหวังสุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่ตนคิดทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิตได้. ๒) เวทนา มีปัญหาเกี่ยวกับความจริงของเวทนาคืออะไร เมื่อผู้เขียนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่าเป็นคำนามแปลว่า ความรู้สึก ความรู้สึกสุขทุกข์เป็นขันธ์ ๑ ใน ๕ ขันธ์ ในความหมายที่ ๑ แปลว่าความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ส่วนอีกความหมายหนึ่งแปลว่า ความสลดสังเวช เป็นต้น ในความหมายของคำจำกัดความดังผู้เขียนตีความได้ว่า เวทนาเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตที่แสดงความรู้สึกออกมาทางกายให้ผู้อื่นรับรู้ได้ว่า ตนนั้นเมื่อผัสสะกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จิตตนรู้สึกพอใจ ย่อมแสดงอาการของจิตตนว่า เกิดสุขเวทนา แต่เมื่อจิตของมนุษย์รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งใดแล้วเกิดความไม่พอใจจิตวิญญาณ ย่อมเกิดความทุกข์เศร้าหมอง ตัวอย่างเช่น จิตวิญญาณรู้สึกผิดหวังในความรักมากระทบจิตตัวเองเพราะเลิกลาจากคนรักจิตมีความรู้สึกแสดงอาการของจิตผิดหวังอย่างรุ่นแรงออกมาทางร่างกายเรียกว่าพฤติกรรม จิตย่อมมีอาการฟุ้งซ่านถึงเรื่องราวความสุขที่พอใจและผ่านไปแล้ว ร้องไห้ จิตมีสภาวะย้ำคิดย้ำทำแต่เรื่องเดิม ๆ ซึ่มเศร้าหงอยเหงาจิตมีความรู้สึกไม่หิว เบื่อสิ่งรอบข้างไปหมด จิตคิดอะไรไม่ออกไม่อยากทำงาน รับฟังคนอื่นสนทนาแบบไม่รู้เรื่อง หมดอาลัยตายอยากในชีวิตเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมายาวนาน เป็นอาการของจิตที่มีความทุกข์ทรมาน จิตมีความรู้สึกทุกข์ เป็นต้นเรียกว่า ทุกข์เวทนา

๔ สังขาร ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของ"สังขาร" คืออะไร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า เป็นคำนาม แปลว่า ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ กล่าวคือ เมื่อจิตมนุษย์รับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ โดยกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดใด ย่อมคิดหาเหตุผลจากสิ่งนั้นจนเกิดความรู้ที่สมเหตุสมผล สามารถอธิบายที่มาของความรู้และวิธีปฏิบัติให้ความรู้จากสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไปเป็นธรรมชาติของจิตมนุษย์ทุกคน เป็นต้น. ๕) วิญญาณปัญหาเกี่ยวกับความจริงของ"วิญญาณ"คืออะไรตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า เป็นคำนาม แปลว่าสิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่อีกความหมายหนึ่งหมายถึงการรับรู้ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕
กล่าวโดยสรุปเราวิเคราะห์ได้ว่าคำสอนเรื่องชีวิตมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายในหลักธรรมเรื่องขันธ์ ๕ เมื่อนำมาแจกแจงอธิบายพัฒนาคำสอนเรื่องขันธ์ห้าให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อย่อองค์ประกอบของขันธ์ ๕ เหลือเพียงกายและจิต นั่นเอง
กล่าวโดยสรุปเราวิเคราะห์ได้ว่าคำสอนเรื่องชีวิตมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายในหลักธรรมเรื่องขันธ์ ๕ เมื่อนำมาแจกแจงอธิบายพัฒนาคำสอนเรื่องขันธ์ห้าให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อย่อองค์ประกอบของขันธ์ ๕ เหลือเพียงกายและจิต นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น