The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : บทวิเคราะห์การตรัสรู้ในกฎธรรมชาติ

Buddhaphumi's philosophy:  The Enlightened in Natural Law 


 การตรัสรู้ในกฎธรรมชาติ

         เมื่อพระสิทธัตถะโพธิสัตว์พัฒนาศักยภาพของชีวิตแล้วพระองค์ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนที่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยทำให้ชีวิตมนุษย์เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จนสิ้น แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกหรือไม่ก็ตาม แต่กฎธรรมชาติของชีวิตนี้คงดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด  ความรู้เกี่ยวกับกฎธรรมชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อภิญญา๖"  เมื่อพระองค์ตรัสรู้ ทรงทดสอบผลของการปฏิบัติตามวิธีการมรรคมีองค์๘ อย่างเดียวกันเป็นเวลา ๔๙ วัน ก้ได้ผลอย่างเดียวกันคือ"อภิญญา ๖"  ก่อนที่พระองค์จะนำกฎธรรมชาติมาอธิบายแก่ผู้ฟังธรรมโดยการเทศนา บัญญัติหลักธรรม และจำแนกเป็นประเด็นเพื่ออธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายเป็นต้น ดังปรากฎหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๘  สังยุตตนิกาย นิทานวรรคปัจจยสูตรว่าด้วยปัจจัยข้อ๒๐. ว่าพระผู้มีพระภาคประทับ...ณ เขตกรุงสาวัตถี...ภิกษุทั้งหลายปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร คือเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้นคือความตั้งอยู่ธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้บรรลุแล้วจึงบอก แสดงบัญญัติ กำหนดเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายและกล่าวเธอทั้งหลายจึงดูเถิด....... 

            เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าข้อความในพระไตรปิฎกที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนตีความได้ว่ากฎปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎธรรมชาติที่แสดงออกถึงกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของมวลมนุษย์ โดยการเริ่มต้นของวิญญาณที่ถือกำเนิดในครรภ์มารดา ในขณะที่พ่อแม่มีเพศสัมพันธ์กันและแม่เกิดการตั้งครรภ์ เมื่อทารกเติบโตเต็มที่และคลอดออกมา
รอดอยู่ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย   ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมวลมนุษย์มีร่างกายและจิตใจ เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดชีวิตมนุษย์คนใหม่ขึ้นมานี้  ชีวิตตั้งอยู่ชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น    ชีวิตมีการเคลื่อนไหวตัวตนไปมาแสดงตัวตนออกมาในรูปของอารมณ์ตัณหาในอาการของความอยากมี อยากเป็น อยากได้ในสิ่งต่าง ๆ  ชีวิตสิ้นสุดลงด้วยความตาย เหตุปัจจัยของชีวิตคือร่างกายจะเสื่อมสลายไปแต่เรื่องจิตวิญญาณ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุนั้น มิได้เสื่อมสลายไปตามกายแต่อย่างใด เป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันคือ "จิต" นั้นเอง ครั้นรู้แล้ว  จึงบอกถึงกฎธรรมชาตินั้นแสดงบัญญัติเป็นหลักธรรมวิชชา ๓  กำหนดเปิดเผยหลักอริยสัจ ๔  จำแนกกรรมให้เข้าใจง่าย  การตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์มีความรู้ว่าจิตเป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ที่ได้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนานไม่รู้กี่อสงไขย  เนื่องจากมนุษย์ไม่รู้จักพัฒนาศักยภาพของชีวิตจึงไม่มีความรู้แจ้งแทงตลอดถึงความเป็นไปของชีวิตตน  ชีวิตจึงติดกับดักของความโง่เขลาจึงมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมย์อันรื่นรมย์อยู่อย่างนั้น 

การตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าแยกวิเคราะห์เป็นประเด็นได้ดังนี้คือ        
 
๑. กฎธรรมชาติ : การเวียนว่ายตายเกิด   การเจริญอาณาปานสติของพระพุทธเจ้าค้นพบกฎการเวียนว่ายตายเกิดเป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามหลักฐานที่ปรากฎไว้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่๑ พระวินัยปิฏกเล่มที่ ๑ มหาวิภัคค์ภาค๑ วิชชา๓ ได้กล่าวว่า "เมื่อจิตของพระพุทธองค์เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะควรแก่การใช้งาน ตั้งมั่นมิหวั่นไหวอย่างนี้ พระพุทธองค์ได้น้อมจิตไปบุพเพนิวาสนุสสติญาณระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ๑ชาติบ้าง....จนถึง ๑๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดวัฏฏะสังสารในภพโน้นพระองค์มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล  มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้พระองค์ระลึกชาติก่อนได้หลายหลายชาติ...

         จากข้อความที่ปรากฏเป็นหลักฐานจากที่มาของความรู้ ในพระไตรปิฎกวิเคราะห์ได้ว่า  เมื่อพระพุทธเจ้าได้พัฒนาศักยภาพทางจิตด้วยการปฏิบัติตามหลักอาณาปานสติแล้วทรงค้นพบว่า เมื่อจิตของพระองค์เป็นสมาธิ มีความบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว จิตของพระองค์น้อมไปบรรลุถึงความรู้ที่เรียกว่า "บุพเพนิวาสนุสสติญาณ" คือจิตบรรลุไปถึงความรู้ที่ผุดขึ้นในจิตของพระองค์ เป็นมโนภาพของความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปในการเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติต่าง ๆ ของมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า ความแท้จริงของวิถีชีวิตมนุษย์นั้น ทำให้เราเรียนรู้ต่อไปอีกว่า เราเกิดมาอาศัยบนโลใบนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นและก็จากไปด้วยความตายของชีวิต การตายมิได้มีหมายความว่ามนุษย์ตายแล้วสูญสิ้นไปไม่เหลืออะไรอีกแต่ชีวิตของมนุษย์ยังมีจิตเป็นปัจจัยให้เกิดชีวิตใหม่ขึ้นมาแต่เมื่อจิตออกจากร่างกายชีวิตมนุษย์ก็เหมือนท่อนที่ตายแล้ว เมื่อชีวิตของมนุษย์มีจิตเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏในภพภูมิต่างๆ ทำให้มนุษย์ต้องมีสติตื่นระลึกรู้อยู่เสมอว่ากรรมทุจริตที่ตนทำไว้ทางกายกรรมก็ดี ทางวจีกรรมก็ดีและมโนกรรมก็ดี กรรมเหล่านั้นจะถูกเก็บสั่งสมไว้ในจิตโดยอัตโนมัติ และติดตามจิตไปทุกหนทุกแห่งไม่ว่าโลกนี้หรือโลกหน้าก็ตาม เมื่อออกจากร่างกายที่สิ้นชีวิตแล้วไปจุติจิตในทุคติภูมิในขณะเดียวกันกรรมสุจริตที่ตนทำไว้ทางกายกรรมก็ดี ทางวจีกรรมก็ดีและมโนกรรมก็ดี กรรมจะถูกเก็บสั่งสมไว้ในจิตติดตามจิตทุกหนทุกแห่ง เมื่อออกจากร่างกายที่สิ้นชีวิตแล้วไปจุติจิตในสุคติภูมิต่อไปเช่นเดียวกัน 

๒. กฎธรรมชาติ :กฎแห่งกรรม   

            เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานจากข้อความที่จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฏกเล่มที่๑ มหาวิภัคค์ภาค๑ วิชชา๓ ได้กล่าวถึงในยามที่ ๒ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "เมื่อจิตของพระพุทธองค์เป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสปราศความเศร้าหมอง  อ่อนเหมาควรแก่การใช้งาน  ตั้งมั่นมิหวั่นไหว   พระองค์ได้น้อมจิตไปจุตูปปาตญาณ  เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิดชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งามเกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต  กล่าวร้ายพระอริยเจ้า  มีความเห็นผิด ชักชวนให้ผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายไปแล้ว  จะไปบังเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยเจ้า  มีความเห็นชอบชักชวนให้ผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นชอบ  พวกเขาหลังจากตายไปแล้วจะไปบังเกิดสุคติโลกสวรรค์"
     
              จากพุทธพจน์ในพระไตรปิฎดังกล่าวนั้น  พระพุทธเจ้าค้นพบกฎแห่งกรรมของมนุษย์ได้ กระทำไปแล้วในขณะดำรงชีวิตในภพชาติปัจจุบันของตน กรรมที่ตนเองทำไว้ เมื่อจิตของตนเป็นผู้รับรู้และน้อมเรื่องราวเกี่ยวกับกรรมของตัวเองมาสั่งสมไว้ในจิตจนกลายเป็นสัญญา ในเบื้องต้นทำให้จิตของตัวเองนึกเห็นภาพเหล่านั้นตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการของจิต คิดให้เป็นไปต่าง ๆ นา ๆ เป็นต้นว่า จิตเกิดความกลัว ความโกรธ เกิดความท้อชีวิต เบื่อหน่ายซึ่มเศร้า เป็นต้น ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากผลของกรรมที่ตนได้กระทำไว้   เราคิดวิเคราะห์ได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แจ้งในกฎธรรมชาติของวิถีชีวิตมนุษย์ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เราไม่อาจหลบเลี่ยงกรรมเหล่านี้ได้มิให้เกิดกับวิถีชีวิตของเราได้ ทำให้เรารู้สาเหตุว่าที่มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพราะความประพฤติชั่วทางกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริตที่ทำไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง นอกจากนี้จิตมนุษย์ยังหลงตัวเองว่า เมื่อไม่มีใครรู้เห็นอารมณ์เหตุเรื่องราวของกรรมทุจริตเหล่านี้ย่อมคิดว่า     กรรมเหล่านั้นไม่เกิดผลเป็นคุณหรือโทษแก่ตน  การกระทำ ดังกล่าวนั้นเกิดจากความคิดที่จิตเป็นมิจฉาทิฐเพราะ อวิชชาในความไม่รู้ความจริงว่าชีวิตของมนุษย์นั้นยังมีจิตของตนน้อมออกไปรับความรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ตลอดเวลา จิตเก็บอารมณ์กรรมเหล่านี้สั่งสมอยู่ภายในจิตของมนุษย์ กลายเป็นกรรมซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงพ้นจากเหตุการกระทำของตนได้ ดังนั้นเมื่อจิตน้อมออกไปรับภาพของปรากฎการณ์ของการกระทำกรรมที่ตนแสดงออกไปทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมแล้วผ่านอินทรีย์ ๖  ย่อมเก็บสั่งสมภาพของปรากฎการณ์ของกรรมไว้ในจิตของตนเมื่อตนสิ้นชีวิตลงไปหากกรรมที่ตนทำเป็นทุจริตย่อมไปจุติจิตในทุคติวินิบาต นรก ถ้าเป็นกรรมสุจริต จิตที่ไปจุติจิตก็พาจิตตนไปสุคติภูมิ.  

๓. ทำไมมนุษย์มองไม่เห็นวิญญาณ         
               
          
         มีประเด็นที่เราวิเคราะห์อีกต่อไปว่า เพราะเหตุใดมนุษย์ทั่วไปจึงมองไม่เห็นว่าจิตที่เรียกว่า "วิญญาณ" ของตัวเองเคลื่อนไหวออกจากร่างกายจากตนที่สิ้นชีวิตลงไปจุติจิตในภพชาติใหม่เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า    สาวก  เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และภิกษุณีอีกหลายรูป เป็นต้น ในเรื่องนี้ เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า 

             ๑) เป็นเพราะมนุษย์ธรรมดาทั่วไปจิตไม่มีสมาธิเพราะขาดความเพียรฝึกฝนตนเอง  จิตจึงไม่บริสุทธิ์เพราะมีกิเลสตัณหานั้นห่อหุมจิตไว้อยู่อย่างนั้น   จิตวิญญาณหยาบกระด้างไม่มั่นคง ยังหวั่นไหวในผัสสะที่เป็นเรื่องราวต่าง ๆ       เข้ามาสู่ชีวิตของตนเองตลอดเวลา จึงไม่สามารถพัฒนาศักยภาพจิตของตัวเองให้บรรลุถึงความรู้ระดับเดียวกับพระพุทธเจ้า   อริยสาวก กล่าว คือเมื่อมนุษย์ยังมิได้พัฒนาศักยภาพจึงไม่มีความรู้ระดับอภิญญา ๖ เท่ากับพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลาย     เพราะความรู้ในระดับนี้มี ๖ ระดับด้วยกันที่เรียกว่าจูตูปาตญาณ ทำให้ตนสามารถมองเห็นดวงจิตวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไปจุติจิต  แต่เมื่อมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีพัฒนาศักยภาพตนเองให้มีความรู้ระดับนั้นได้    จึงมองไม่เห็น จิตวิญญาณตนเองหรือคนอื่น ออกจากร่างกายของตนเองไปสู่ภพภูมิอื่น   ดังนั้นมนุษย์จึงใช้ชีวิตอยู่กับความไม่รู้ (อวิชชา) ของตนเองต่อไป.  

             ๒) เมื่อจิตมนุษย์ยังไม่พัฒนาศักยภาพให้ตนเอง  มนุษย์จึงมองไม่เห็นจิตตัวเองที่กลายเป็นวิญญาณ   ที่จำเป็นต้องออกจากร่างกายของตนไป เพราะร่างกายหมดสภาพกันใช้งาน เขาย่อมเกิดความคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิ   จึงไม่เชื่อว่าชีวิตของเขามีจิตวิญญาณมีอยู่จริงดังนั้น การไปจุติจิตในภพภูมิต่าง ๆ เป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง เป็นต้น 

             ๓) เมื่อเหตุที่มนุษย์มองไม่เห็นวิญญาณเพราะไม่เคยตามปฏิบัติธรรมตามมรรค
มีองค์ ๘ แล้วย่อมปล่อยชีวิตไปตามตัณหาของตนในความอยากมี อยากเป็น และอยากได้ เมื่อไม่มีความรู้จากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง จึงไม่เคยบรรลุถึงความรู้ที่ผุดขึ้นในขณะที่จิตของตัวเองอยู่ในสภาวะของความเงียบสงบและแสดงออกทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมไปตามเจตนาของความทะยานอยากของตนเองไม่มีความรู้ และเข้าใจจะสั่งสมพฤติกรรมเหล่านี้ นอนเนื่องอยู่ในจิตตัวเองพวกเขาจึงไม่เคยสนใจเรื่องของกรรมจะให้ผล จิตจึงกระทำไปโดยปราศจากการพิจารณาว่าการกระทำของตนที่แสดงออกไปนั้น จะมีคุณค่าของมาตรฐานของความประพฤติเป็นความดีหรือความชั่ว  เป็นบาปหรือบุญ เป็นความถูกหรือผิดตามกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งการกระทำที่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นกรรมเหล่านี้ จึงสั่งสมภาพพฤติกรรมอยู่ในจิตของตนโดยความไม่รู้ตัวยิ่งกระทำไปแล้ว ยังไม่เกิดผลของการกระทำ ย่อมเกิดสภาวะของความหลงตนเองเกิดความคิดว่าสิ่งตนกระทำไปแล้ว ทำอะไรตนไม่ได้สภาวะความนึกคิดทางจิตยิ่งหลงตัวเอง ลงมือกระทำความผิดซ้ำซากอยู่อย่างนั้นท้ายที่สุดแล้วกรรมย่อมให้ผลแก่ตนเอง สุดท้ายกาลเวลาไม่ช้าหรือเร็วการกระทำย่อมให้ผลในช่วงสุดท้ายชีวิต.    

           ๔) เมื่อมนุษย์ตายไป    จิตวิญญาณจะออกจากร่างกายที่ตายแล้วไปจุติในโลกอื่นต่อไปต้องเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบโดยความไม่รู้ตัวและไม่อาจหลีกเลี่ยงให้หลุดพ้นจากวงจรความทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ได้ การที่มนุษย์จะมองเห็นการเวียนตายเกิดของตนเองได้นั้น  มนุษย์ต้องรู้จักพัฒนาศักยภาพจิตของตนด้วยเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้บรรลุธรรมเกิดความรู้ที่เรียกว่า"บุพเพนิวาสานุสสติญาณ" ในจิตของตนได้ จิตต้องมีสมาธิ (ให้ต้นเข็มแข็ง) บริสุทธิ์ (ปราศจากอคติ) ปราศจากกิเลสความเศร้าหมองมีจิตอ่อนเหมาะแก่การใช้งาน จิตต้องมั่นคงมิหวั่นไหวถึงจะระลึกชาติของตนได้ ทำให้เรามองเห็นวิถีชีวิตทุกภพชาติเต็มไปด้วยความทุกข์เพราะการพลัดพรากตายจากกัน เมื่อมีชีวิตของมนุษย์มีความปรารถนาครอบครองสิ่งใด  จิตของตัวเองไม่สมปรารถนาในสิ่งนั้น  ย่อมเกิดความทุกข์หรือ ครอบครองสิ่งไม่ปรารถนาย่อมเกิดความไม่พอใจก็เกิดความทุกข์เช่นเดียวกัน สภาวะของความทุกข์เหล่านี้เป็นสัญญาสั่งสมเป็นอนุสัยนอนเนื่องในจิตของตนแม้ตนจะสิ้นชีวิตไป


            การค้นพบสัจธรรม พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจธรรมเกี่ยวกับกฎธรรมชาตินี้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้าสถานที่ตรัสรู้นี้ ตั้งอยู่ในวัดมหาโพธิ์ติดกับเจดีย์ของพุทธคยาด้านทิศตะวันตก กฎธรรมชาตินี้แสดงสัจธรรมเสมอกันในชีวิตมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใด ฐานะทางสังคมในความยากจน ร่ำรวยเป็นต้นกฎธรรมชาตินี้ทนทานต่อการพิสูจน์ของนักปรัชญา  นักวิทยาศาสตร์และนักการศาสนาทุกคน ที่ทดสอบตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ ไม่มีเหตุผลใดของคำตอบจากการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ข้อใดที่จะมาอธิบาย ถึงเหตุปัจจัยของสัจธรรมนี้ให้เกิดความสงสัยในการตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า หรือให้ผลของคำตอบที่มีความหมายเป็นไปอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าได้เมื่อพระพุทธเจ้าทรงค้นพบกฎธรรมชาติของความเป็นไปของวิบากกรรมมนุษย์แล้ว และทรงนำมาแสดงพระธรรมเทศนาด้วยการแจกแจงคำสอนในรูปแบบต่างๆ ให้เข้าใจเช่น ทรงอธิบายกฎธรรมชาติในรูปหลักคำสอนเรื่อง อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปปบาท และกฎแห่งกรรม เป็นต้น 
กาลเวลาผ่านมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขยที่จิตของมนุษย์ได้เวียนว่ายตายเกิดท่องเที่ยวในสังสารวัฏอย่างไร้จุดหมายเพราะมนุษย์ไม่เคยมีความรู้ว่าชีวิตของตน นอกจากมีกายแล้วยังมีจิตเป็นปัจจัยที่สำคัญของชีวิตอีกด้วยเมื่อชีวิตมนุษย์มีกายและจิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มนุษย์จะขาดกายหรือจิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เพราะว่าหากขาดกายหรือจิตเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันไปแล้ว ชีวิตไม่อาจดำรงตนให้มีอายุยืนยาวอีกต่อไปได้ถึง ๑๒๐ ปีและเคลื่อนไหวไปมาได้ เมื่อกายและจิตต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อมนุษย์เสียชีวิตลงจิตไม่ได้เสื่อมสลายคืนไปสู่ธรรมชาติเช่นเดียวกับกาย แต่จิตออกจากร่างกายของมนุษย์ไปจุติจิตในภพภูมิต่างๆตามกรรมของตนต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ