The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

Metaphysical Problems Concerning the Buddha's Enlightenment 

บทนำ 

          โดยทั่วไปมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายซึ่งมีข้อจำกัดในการในรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง และมีอคติต่อมนุษย์คนอื่น ดังนั้น ชีวิตมนุษย์จึงมืดมนไปตลอดชีวิต จึงไม่มีสติสัมปชัญญะในการนึกถึงความรู้  จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมความรู้ในจิตใจ ให้เกิดปัญญานำความรู้นั้นมาใช้เป็นหลักในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อมนุษย์ขาดปัญญาในการคิดหาเหตุผล  เพื่ออธิบายความจริงในเรื่องต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดซึ่งทำลายชีวิตและทรัพย์สิน มนุษย์จำเป็นต้องศึกษาแนวคิดของอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญามีความสนใจที่จะศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเทพเจ้า ฯลฯ  ปัญหาความจริงของสิ่งเหล่านี้ สามารถแบ่งได้เป็นความจริง ๒ ประเภท คือความจริงที่สมมติขึ้น ๒.ความจริงขั้นปรมัติ เป็นต้น

          ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น คือ ความจริงที่มนุษย์รับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายและหายไปสายตาของมนุษย์  ดังนั้น มนุษย์จึงยอมรับความจริงโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติที่แท้จริงของความจริงนั้น เช่น ชีวิตของมนุษย์มีลักษณะเกิดขึ้นในครรภ์มารดา คลอดออกมาเป็นมนุษย์  ดำรงอายุขัยอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และสลายไปตามกฏธรรมชาติ เราสมมติชื่อและนามสกุลของบุคคลนั้นขึ้นมา เพื่อให้จดจำตัวตนของผู้ตายได้ง่ายขึ้น  เป็นต้น เมื่อชีวิตมนุษย์ทุกชีวิตมีลักษณะเกิดขึ้น   ชีวิตจึงดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง   และเสื่อมสลายไป  ชีวิตมนุษย์จึงไม่เที่ยงแท้  อย่างไรก็ตาม เราสามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของมนุษย์ด้วยผ่านประสาทสัมผัส และเก็บเรื่องราวของบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจ มนุษย์จึงเป็นเพียงความจริงที่สมมติขึ้น หรือ ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์   ดวงวิญญาณของเจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมายาเทวี พระองค์ทรงเติบโตในพระครรภ์ของพระมารดาเป็นเวลา ๙ เดือน พระองค์ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางมายาเทวี  พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่เป็นเวลา ๘๐  ปี แล้วพระองค์ก็ปรินิพพาน  พระวิญญาณของพระองค์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายและเกิดอีกต่อไป  เมื่อชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะประสูติขึ้นมา  พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่เป็นเวลาระยะเวลาหนึ่ง และชีวิตพระองค์ปรินิพพาน ชีวิตของพระองค์เป็นสิ่งสมมติขึ้น เป็นต้น เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตสัตว์น้อยใหญ่แล้ว พระองค์ดำริจะไม่แสดงธรรมะเกี่ยวกับความจริงของชีวิต เพราะพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าเมื่อชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้า หากพระองค์ทรงแสดงธรรมแล้วจะไม่มีใครฟัง  หรือความรู้จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า      เป็นอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์คือพระอานนท์และพระอรหันต์อีก ๕๐๐ รูปนั้น    ความรู้นั้นมักจะสูญหายไปพร้อมกับการนิพพานของพระอานนท์และพระอรหันต์รูปอื่น ๆ   เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้พระธรรมวินัย ซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้าสูญหายไปจากโลก พระอานนท์จึงได้ถ่ายทอดดังกล่าวโดยวิธีมุขปาฐะแก่พระอรหันต์ ๕๐๐ รูปในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่๑   แต่เมื่อความทรงจำของพระภิกษุในสมัยหลังไม่เที่ยงไม่ยอมศึกษาพระไตรปิฎกด้วยวิธีมุขปาฐะอีกต่อไป  จึงมีการจารึกไว้ในใบลาน เพื่อรักษาพระธรรมวินัยให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้  เป็นต้น  

             ๒. ความจริงขั้นปรมัตถ์ คือ ความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น การมีอยู่ของเทพเจ้า  เทวดา  สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เป็นต้น  แม้ว่าพราหมณ์อารยันจะสอนว่า พวกเขาสามารถเข้าถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าเช่นพระพรหม และพระอิศวร ได้โดยการบูชายัญ  เพื่อขอพรเทพเจ้าช่วยให้มนุษย์สมปรารถนาในชีวิตได้หรือพวกพราหมณ์มิลักขะสอนว่า การมีอยู่ของเทวดาสามารถเข้าถึงได้โดยบูชายัญเท่านั้น  ทั่วไปแล้ว ความจริงขั้นปรมัตถ์ คือความจริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นได้ แม้มนุษย์จะมีความสามารถคิดเพื่อหาเหตุผล  มาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล  แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถบรรลุความจริงขั้นปรมัติได้ เว้นแต่มนุษย์จะปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘  ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความจริงขั้นปรมัตถ์เรียกว่า "อภิญญา ๖"  หรือ "กฎแห่งกรรมของมนุษย์"  ในความจริงขั้นปริมัติถ์ตามคำสอนของนักปรัชญาพราหมณ์พวกเขาสนใจศึกษาปัญหาของความจริงของมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เดิมที่นักปรัชญาพราหมณ์เชื่อว่าเทพเจ้ามีอยู่จริง และเชื่อต่อไปว่า พระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระกายของพระองค์เอง  พระพรหมจึงบิดาของมนุษย์ทุกคน ที่เกิดมาแล้ว และกำลังจะเกิดมา พราหมณ์เหล่านี้สามารถเข้าถึงความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้า ได้โดยการทำการบูชายัญเพื่อสื่อสาร และขอพรจากพระพรหม เพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุความปรารถนาของตน เนื่องจากมนุษย์มีความกลัวแอบแฝงเกี่ยวกับอันตรายจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์    เป็นต้น 

          ดังนั้น  มนุษย์จึงมารวมตัวกันเป็นชุมชนทางสังคมและการเมืองที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและเสื้อผ้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต   เมื่อมนุษย์มีชีวิตเพียงพอแล้ว พวกเขาก็ใช้ชีวิตโดยประมาท เพราะมนุษย์มักเห็นแก่ตัวและมักมีอคติต่อกัน จึงมักสมคบคิดหลอกลวงผู้อื่น  โดยอาศัยความไว้วางใจที่มนุษย์มีต่อกัน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย เป็นต้น    ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ชีวิตผู้คนในอนุทวีปอินเดียเต็มไปด้วยความหวาดกลัว   เนื่องจากความคิดของพวกเขาขึ้นอยู่กับความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้า ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะที่ยึดถือกันมายาวนาน พวกเขาจึงไม่สามารถคิดหาเหตุผลใด ๆที่จะอธิบายทางออกของชีวิตที่มืดมนได้ เมื่อคนในยุคนั้นสนใจศึกษาความจริงของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนพราหมณ์อารยันที่ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ที่ตนเกิดมา เมื่อมนุษย์ตายไป ชีวิตสูญเปล่าเพราะไม่มีชีวิตหลังความตาย  อย่างไรก็ตาม  การบูชาได้สร้างความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์ที่ทำพิธีกรรม การแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ของการบูชากลายเป็นปัญหาทางเมือง  เมื่อวรรณะกษัตริย์ยอมรับคำสอนของศาสนาพราหมณ์และบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน โดยห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะ หากใครฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จะถูกลงโทษจากคนในสังคมนั้น ด้วยการถูกขับออกจากสังคมตลอดชีวิต พวกเขาจะสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา จะต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนน แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในวัยชรา  ต้องเจ็บป่วย และก็นอนตายอยู่ข้างถนน เป็นต้น คำถามเกี่ยวกับความจริงเหล่านี้ในสมัยโบราณพราหมณ์ซึ่งเป็นปุโรหิตให้ความเห็นว่า สาเหตุเป็นเพราะเทพเจ้าลงโทษมนุษย์ที่ไม่เชื่อในความจริงเหล่านี้ เมื่อข้อเท็จจริงเหล่านี้ยังไม่ได้รับการยืนยันและหลักฐานไม่ได้ถูกรวบรวม เพื่อพิสูจน์ความจริงคำตอบในเรื่องนี้ ผู้คนก็จะสงสัยในความจริงของสิ่งเหล่านี้ เมื่อปุโรหิตไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ นักปรัชญาจึงเกิดมาเพื่อตอบคำถามจากสิ่งเหล่านี้    การแก้ปัญหาทางปรัชญาคือการตรวจสอบข้อเท็จจริง    และรวบรวมหลักฐาน เพื่อพิสูจ์ความจริงของคำตอบ ดังนั้น  ปัญหาเกี่ยวกับความจริงทางปรัชญาก็คือ  เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง กระบวนการพิจารณาความจริงจากหลักฐาน ทำให้ความรู้ทางปรัชญาแตกต่างจากความเชื่อของศาสนาทั่วไป เพราะเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องการพิสูจน์ความจริง  เป็นต้น        

      เกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหม เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาตสูตร] ว่าด้วยทิฏฐิ๖๒ ข้อ ๔๒ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด  เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ขึ้นมา เพราะเหตุไรเพราะว่าเรามีความคิดมาก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นพึ่งมาเป็นอย่างนี้บ้าง  เรามีความตั้งใจอย่างนี้ และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว  แม้พวกสัตว์ที่เกิดมาภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้ ท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหม  เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว และกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมาเพราะเหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็นพระพรหมองค์นี้เกิดขึ้นในที่นี้มาก่อนส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง" 

       ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ     ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ว่า ในยุครุ่งเรืองศาสนาของพราหมณ์ ชาวแคว้นสักกะและชาวแคว้นโกลิยะเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ ดั้งนั้น พระองค์จึงเป็นบิดาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเกิดเป็นมนุษย์ ความรู้เรื่องพระพรหม คือความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของพราหมณ์อารยัน  เพราะพราหมณ์อารยันในฐานะปุโรหิต (priesthood) ตได้ยืนยันกับเจ้าชายสิทธัตถะว่า พรหมสร้างมนุษย์ขึ้น และได้เห็นพระพรหมปรากฏในแคว้นสักกะและแคว้นโลกยะมาก่อน มนุษย์จะเกิดในภายหลัง เมื่อไม่มีหลักฐานในพระคัมภีร์อื่นที่จะยกข้อเท็จจริงขึ้นมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎก ที่จะทำให้เกิดความสงสัยต่อสภาพสังคมในชมพูทวีปต่อไป ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าชาวสักกะและชาวโกฬิยะเชื่อการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรจริง ตามหลักฐานที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  เป็นต้น (ต่อ)  
      
      การทำพิธีบูชายัญให้พระพรหม เมื่อผู้คนเชื่อว่าอย่างมั่นว่า พระพรหมลงโทษพวกเขาและทำให้พวกเขาต้องพบกับชะตากรรม พวกเขาจึงขอให้พราหมณ์ทำพิธีบูชายัญเพื่อสวดภาวนา ให้เทพเจ้าช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จ ดังปรากฏหลักฐานการฆ่าบูชายัญของพวกพราหมณ์ จากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่๒๕ พระสุตตันตปิฎก ๑๗   ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒.จูฬวรรค ] พรหมณธัมมิกสูตร 
     ข้อ.๓๑๐  กราบทูลว่าโคทั้งหลายเกิดขึ้นให้ใช้ทำประโยชน์ ในกิจการต่าง ๆ ของมนุษย์เหมือนแม่น้ำ แผ่นดิน เงินทองทรัพย์สินและพืชพันธุ์ธัญญาหารเกิดขึ้น เพื่อมนุษย์ให้ได้ใช้ประโยชน์ขอพระองค์ทรงทำพิธีบูชายัญเถิด พระองค์จะทรงมีแก้วแหวนเงินทองพืช พันธุ์ธัญญาหารเพิ่มมากขึ้น                     
      ข้อ.๓๑๑ และเมื่อพระเจ้าแผ่นดิน ผู้องอาจยิ่งใหญ่ทรงยินยอมตามคำของพวกพราหมณ์เหล่านั้นแล้วจึงทรงทำพิธีบูชายัญในพิธีบูชายัญนั้นรับสั่งให้ฆ่าแม่โคหลายแสนตัว  
     ข้อ.๓๑๖ดังกล่าวมานี้การฆ่าสัตว์บูชายัญนี้เป็นธรรมเนียมที่ต่ำทรามมีมาแต่โบราณวิญญูชนจะติเตียนคือวิญญูชนจะติเตียนคนที่ทำพิธีบูชายัญโดยวิธีนี้ในที่ทุกแห่งที่ตนเห็น  


       พวกมิลักขะถือน้ำเป็นเทวดา ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๒๐  [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ขุทททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ [๒.มหานิบาต] ๖. ภูริทัตตชาดก ข้อ.๙๒๘ กล่าวว่า "ความจริงคนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา  ส่วนพวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดาคนทั้งหมดนี้กล่าวเท็จไฟและน้ำมิใช่เทพตนใดตนหนึ่ง "  
       ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนฟังข้อเท็จจริงมาว่าในยุคนั้น การทำพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้ามิได้ทำกัน เฉพาะพราหมณ์ชาวอารยันเท่านั้น   ยังมีพราหมณ์มิลักขะทำพิธีบูชายัญเทวดาด้วยเพราะชาวมิลักขะเชื่อว่าน้ำเป็นเทวดา การฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ  ผู้คนนำเครื่องบูชาอันมีค่ามาบูชาเทพเจ้า    ทำให้เกิดความมั่งคั่งแก่พราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะซึ่งเป็นผู้ทำพิธีบูชายัญ เมื่อปรากฎการณ์ทางสังคมเชื่อกันว่ามีเทพเจ้าหลายองค์ที่สามารถให้คุณ และลงโทษมนุษย์ได้พราหมณ์ทั้งสองเชื้อชาติต่างแย่งชิงผลประโยชน์จากเครื่องบูชา และพยายามสร้างศรัทธาว่าเทพเจ้า     หรือเทวดาในสำนักตนให้ศักดิ์สิทธิ์กว่าเทพเจ้าของสำนักอื่นๆ โดยการใช้เหตุผลยืนยันความศักดิ์สิทธิ์จริงกว่าเทพเจ้าของสำนักอื่น  ๆ ในยามพราหหมณ์มิลักขะสำนักใดทำพิธีบูชายัญเทวดาให้กับมหาราชาเมืองใดแล้ว ประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศยิ่ง เพื่อเพิ่มศรัทธาต่อพราหมณ์มิลักขะเจ้าสำนักและแต่งตั้งเป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาวางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ให้กับมหาราชเมือง เพื่อการทำสงครามขยายดินแดนของรัฐนั้นยิ่งก่อภัยให้กับมหาราชเมืองอื่น ๆ  เมื่อพวกพราหมณ์ชาวอารยันตั้งสติระลึกถึงปัญหาที่จะเกิดในอนาคต เป็นเรื่องยาก  ที่จะรักษาผลประโยชน์ของพวกตนไว้ให้เกิดความรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียวได้ จึงหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ชาวดราวิเดียนในการทำพิธีกรรมบูชายัญต่อเทวดาไว้ โดยถวายคำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภาของมหาราชาแคว้นบัญญัติ กฎหมายแบ่งวรรณะให้สิทธิและหน้าที่กับคนที่พระพรหมสร้างขึ้นมาในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา และบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุด กำหนดวิธีบริหารปกครองประเทศ ให้กับวรรณะกษัตริย์ต้องปฏิบัติตาม คือห้ามยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว เช่น กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีและเชื่อฟังที่การประชุมรัฐสภาที่ได้ถวายคำแนะนำไว้ดีแล้ว เป็นต้น การบัญญัติกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีโดยอ้างความเชื่อว่า เป็นพระประสงค์แห่งพระพรหมสร้างวรรณะทั้ง ๔ พวกไว้ให้   บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเป็นเหตุทำให้เกิดรัฐสักกะเป็นศาสนา การแบ่งวรรณะมิได้เป็นเหตุให้มนุษย์ยับยั้งตัณหาราคะของตนเองได้เกิดการสมัครรักใคร่ของคนต่างวรรณะ ทำให้ลูกที่เกิดมาไม่รู้จะจัดให้อยู่ในวรรณะใด เกิดการดูหมิ่นเกลียดชังกันในสังคม เมื่อสภาพบังคับตามกฎหมายให้ขับไล่ออกจากสังคมที่ตนอยู่อาศัยได้ เมื่อพ่อแม่ยินยอมให้ทั้งสองคนสมัครรักใคร่ซึ่งกันและกัน หรือในการณีพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวไม่เห็นด้วย แต่ไม่เชื่อฟังเพื่อป้องกันการถูกขับไล่ออกจากสังคมพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวเลือกที่จะฆ่าลูกสาวตัวเองเพื่อเกียรติยศเป็นต้น (ยังมีต่อ)  

 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ