The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บทนำ: การตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

 Introduction to The Enlightened in Natural Law according to Buddhaphumi's Philosophy
คำสำคัญ อวิชชา ตรัสรู้ กฎธรรมชาติ 
๑.บทนำ    
๒.ที่มาของความรู้ของการตรัสรู้ 
๓.การตรัสรู้ในกฎธรรมชาติ
๔.วิธีปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้แจ้งกฎธรรมชาติ

๑.บทนำ 


   โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราศึกษาเหตุการณ์ทางสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองและศาสนาพราหมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏของพระพุทธศาสนาในอนุทวีปอินเดียนั้น ช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจในชีวิตคน ในยุคนั้นและมีความมืดมนของชีวิตนั้นเป็นอย่างไร? หากเราไม่ศึกษาปัญหาสังคมของแคว้นสักกะในช่วงเวลานั้น เราก็จะไม่สามารถเข้าใจความเชื่อในสังคมสักกะได้ พวกเขาก็จะไม่สามารถมองเห็นคุณค่าของการศึกษาพระพุทธศาสนาและประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้ เพราะทุกสังคมเต็มไปด้วยคนที่มีอคติต่อกันซึ่งเกิดมาพร้อมความไม่รู้ ความเกลียดชัง ความกลัวและความรักและความเสน่หาส่วนตัวจึงชอบแสวงผลประโยชน์โดยเจตนาทุจริตจากคนในสังคม การศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่จะศึกษาและวิจัยเรื่องนี้   ทำให้เรามองเห็นความรู้ในศาสนาพราหมณ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยหลายประการโดยเฉพาะการทำพิธีบูชายัญ เพื่อบรรลุความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์  แม้ว่าพราหมณ์หลายนิกายจะมีเหตุผลเป็นเครื่องมือในการอธิบายความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้า หรือพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้าก็ตาม 

        เมื่อศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ  แล้ว เราได้ยินข้อเท็จจริงมาว่าในยุคมืดของมนุษย์ แต่เป็นยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ชาวโกลิยะและชาวสักกะเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า พระพรหมและพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่ช่วยให้พวกเขาบรรลุความฝันในชีวิตโดยพิธีถวายเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าผ่านการทำพิธีบูชาของพราหมณ์อารยัน ส่วนพวกมิลักขะนั้นมีความเชื่อในคำสอนของพราหมณ์มิลักขะว่าเหล่าเทวดายังช่วยให้พวกเขาบรรลุความฝันในชีวิตได้เช่นกัน เมื่อผู้คนสามารถบูชาเทพเจ้าและเทวดาได้ตลอดทั้งปี พวกพราหมณ์จากนิกายต่าง ๆ ก็มีรายได้จากการบูชาเทพเจ้าเป็นจำนวนมหาศาล  จึงมีฐานะร่ำรวยและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม แต่พวกพราหมณ์อารยันมีความละโมบ และต้องการผูกขาดการบูชาเทพเจ้า พวกเขาจึงพยายามรักษาศรัทธาและรายได้จากการบูชาเทพเจ้า พวกเขาจึงใช้เหตุผลในการยกย่องพระพรหมเหนือเทพเจ้าของพราหมณ์นิกายอื่น  ๆโดยอ้างว่าพระพรหมเป็นเทพสูงสุดที่มนุษย์ควรบูชา เพราะพระพรหมทรงสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เอง ในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นมหาราชาผู้ปกครองอาณาจักรโกลิยะ พระองค์ทรงศรัทธาในคำสอนของพราหมณ์อารยัน และทรงแต่งตั้งพราหมณ์อารยันให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิต (priesthood) เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พวกเขาจึงสามารถกำหนดนโยบายทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการปกครองของอาณาจักรโกลิยะได้ เมื่อพวกพราหมณ์อารยันได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้วเห็นว่า หากพวกพราหมณ์มิลักขะได้รับอนุญาตให้ประกอบพิธีบูชายัญต่อไป ก็จะเป็นที่ยอมรับของประชาชนในแคว้นโกลิยะ ในอนาคต พระเจ้าโอกกากราชจะทรงแต่งตั้งพราหมณ์มิลักขะให้เป็นปุโรหิต คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับชาวอารยันที่จะมีอิทธิพลทางการเมือง เพื่อปกครองอาณาจักรโกลิยะให้เจริญรุ่งเรืองโดยชาวอารยันเพียงผู้เดียว 

  เมื่อพราหมณ์อารยันทำนายอนาคตทางการเมืองในแคว้นโกลิยะ(koliya country)ก็เป็นเช่นนี้ ชาวอารยันจึงพยายามหาวิธีจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะโดยปุโรหิต(priesthood)ที่ปรึกษากษัตริย์ จึงมีข้อเสนอแนะแก่สมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรโกลิยะว่าคำสอนของพราหมณ์อารยันควรถือเป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และตราเป็นกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของชาวโกลิยะทุกคนในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนทางศาสนาและกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี กฎหมายจะให้อำนาจคนในสังคมในการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยไล่พวกเขาออกจากที่อยู่อาศัยและเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต  มหาราชาในรัชกาลต่อมา  พระองค์ทรงมีเมตตากรุณาต่อราษฎรและทรงมีพระราชดำริปฏิรูปประเทศเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันทั้งในการทำงาน การศึกษา การบูชาตามความเชื่อทางศาสนา และมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่มหาราชาทรงไม่สามารถกระทำตามความปรารถนาของพระองค์ได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ กำหนดบทบัญญัติในการปกครองประเทศ   ห้ามมิให้ยกเลิกกฏหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของ"หลักราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญตามจารีตประเพณีสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศในยุคอินเดียโบราณ ดังนั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่า"คนจัณฑาล" เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ เนื่องจากกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีลงโทษข้อกล่าวหาที่กระทำความผิดอย่างร้ายแรง โดยการแต่งงานข้ามวรรณะโดยให้คนในสังคมมีอำนาจลงโทษพวกเขาได้ โดยพวกเขาถูกไล่ออกจากบ้านไปตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับคืนสู่สถานะทางสังคมเพื่อมีสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมได้ เมื่อพระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากคำให้การของพราหมณ์อารยัน ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งปุโรหิต (priesthood)  พวกเขายืนยันว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิด พวกเขาได้เห็นพระพรหมและพระอิศวรในรัฐสักกะและรัฐโลิยะมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบได้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในความมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เมื่อพระองค์ทรงไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสเกี่ยวกับความจริงของพระพรหมและอิศวร แต่หลักฐานที่มีอยู่คือฐานะปุโรหิต(priesthood) ก็ไม่สามารถพิสูจน์ความมีอยู่ของพระพรหมและอิศวรได้     
      
    ด้วยเหตุนี้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงตัดสินพระทัยเสนอกฎหมายยกเลิกวรรณะต่อรัฐสภาราชศากยะ เพื่อปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะได้ประชุมกัน พิจารณาลงมติว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายยกเลิกวรรณะ ตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอไว้ เนื่องจากเป็นสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งหลักราชอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดแห่งราชอาณาจักรสักกะในมาตรา.๓ ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้แล้ว   เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะได้ตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราทำให้มนุษย์มีความรู้ว่าประชาชนจึงได้รู้ว่าชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางกายและจิตใจ เมื่อมนุษย์ตาย จิตวิญญาณก็เกิดในครรภ์มารดา และดำเนินชีวิตตามเจตนารมย์ของตน ชีวิตมนุษย์จึงไม่ถูกสร้างขึ้นจากพระกายของพระพรหม ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันแต่อย่างใด เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทดสอบความรู้ในอภิญญา ๖ หลายครั้ง  เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันคือความรู้ในระดับอภิญญา ๖ แม้ว่าผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ หรือในตำราทางพระพุทธศาสนาแล้วเราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและวิญญาณ และดวงวิญญาณเกิดในครรภ์มารดาและคลอดออกมาเป็นมนุษย์ โดยพระพรหมมิได้สร้างไว้ แต่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใดที่เล่าสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น จากคัมภีร์ในศาสนาหรือตำราเรียน เป็นต้น  เราไม่ควรตัดสินใจเชื่อข้อเท็จจริงทันที ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าเราจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงหรือมาอธิบายความจริงของคำตอบของเรื่องนั้น  ๆ   

     ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนสงสัยว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร? เมื่อพระองค์ทรงนำความรู้ในเรื่องนั้น มาเผยแผ่เป็นพระพุทธศาสนาจนเกิดการปฏิรูปสังคมในสังคมชมพูทวีปด้านการเมือง การเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโลก สามารถช่วยให้ผู้คนจากความมืดมิดแห่งชีวิตได้ อย่างไรก็ตามผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ต่อไป โดยสืบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากแห่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ อรรถกถา  ฎีกา ความคิดเห็นของนักวิชาการ และกรณีศึกษาบนเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คำตอบอยู่ในรูปบทความนี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับพระวิทยากรที่จะบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง เพื่อให้เนื้อหาของพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนานั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างองค์ความรู้ในหัวข้อการวิจัย ที่เริ่มต้นด้วยหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสงสัย จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ ที่เป็นความรู้อันสมเหตุสมผลของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  เป็นต้น

บรรณานุกรม
๑.พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม ปกสีฟ้าเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ภาค๑ เวรัญชกัณฑ์ วิชชา ๓. 
๒.พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก (มหานิบาต) ๖. ภูทัตตชาดก. ข้อ ๙๐๖.

5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

วันนี้มาอ่านได้ครึ่งนึงแล้ว... พรุ่งนี้จะมาอ่านต่อนะครับ... #ทบทวนความรู้วิชาประวัติพุทธศานา

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

สาธุ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุค่ะ..

Unknown กล่าวว่า...

เขียนใด้ดีครับ สาธุ

Unknown กล่าวว่า...

จิตนี้เองเป็นผู้สั่ง เป็นผู้บงการ เช่นโดยเจตนาคือความจงใจให้ทำนั่นให้ทำนี่ต่างๆ จิตจึงเป็นส่วนสำคัญมากที่ทุกๆ คนมีอยู่
สาธุครับ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ