บทนำ สถูปเกสริยาเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในปรัชญาแดนพุทธภูมิ
![]() |
ภาพโดยก้าวตามธรรม(follow dhamma) |
บทนำ
การศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับสถูปเกสริยาว่าในฐานะเป็นสถานที่ที่แสดงกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า มันเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจที่สุดและเป็นประเด็นหนึ่งที่เราควรศึกษาเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์ ตามหลักปรัชญานั้น กระบวนการวิเคราะห์ความจริงได้กำหนดไว้ดังนี้ เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ อย่าเพ่งเชื่อทันที่ว่าข้อเท็จจริงในเรื่องดังหล่าวนั้นเป็นความจริง เราต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง ตามหลักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงที่เราได้ยินมาจากคำให้การของพยานที่อ้างว่าได์เห็นการณ์นั้น ขาดความน่าเชื่อถือและตามหลักปรัชญานั้น ไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงได้ว่าเป็นความจริงได้เพราะมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวโดยเนื้อแท้จึงแนวโน้มที่จะมีอคติต่อผู้อื่นที่เกิดจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชัง ความรักเป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์ยังมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต ย้อนไปถึงสมัยพระพุทธเจ้าได้ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไกลออกไป เป็นต้น
สถูปเกสเรียเป็นหนึ่งในสถานที่ทางพุทธศาสนาที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนเส้นทางการแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกระหว่างเขตเวสารีรัฐพิหาร กับ เขตกุสินารา รัฐอุตตรประเทศสาธารณรัฐอินเดีย สถูปเกสเรียแห่งนี้มีนักปรัชญ์ชาวพุทธหลายคนเชื่อว่าเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่อธิบายแนวคิดที่มาของความรู้มนุษย์ที่เรียกว่า"ญาณวิทยา" ในยุคปัจจุบันเรียกว่า"ทฤษฎีความรู้" เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด อย่าเพิ่งเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง แต่เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อความของคำว่า "สถูปเกสเรีย"หรือเกสริยา"ในแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต https://tripitakaonline.blogspot.com/2016/08/tpd32-02.html เพื่อค้นหาข้อความในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯและอรรถกถา แต่กลับไม่พบคำว่า"เกสเรีย"หรือ"เกสริยา" แต่อย่างใด แต่นักปรัชญาหลายท่านได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบว่า"สถูปเกสเรีย"คือสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่แสดงต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ ต่อมานักปรัชญาตะวันตกได้พัฒนาคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เป็น "ทฤษฎีความรู้" เกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ในปรัชญาพุทธภูมิ เป็นต้น ที่สถูปเกสเรียแห่งนี้ ผู้เขียนเดินทางไปกับนักแสวงบุญหลายคณะในการเดินทางไปปฏิบัติบูชา รำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าและเดินตามรอยพระพุทธเจ้าด้วยฝึกสมาธิ และเพิ่มพลังชีวิตให้บริสุทธิปราศจากอคติและไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวในจิตใจ อ่อนโยนและไม่หยาบกระด้าง ตั้งมั่นเป้าหมายของชีวิตให้มั่นคงและไม่ลังเลใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมด้วยสติปัญญาของตนเอง เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนดูรูปทรงของสถูปเกสเรียจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อผู้เขียนพิจารณาความมีอยู่ของสถูปเกสเรีย ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแต่เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถูปแห่งนี้ ปรากฏอยู่ในจิตใจของผู้เขียนยังไม่ชัดเจนเพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอสิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าสถูปเกสรียาเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องกาลามสูตรจริงหรือ? แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากพยานเอกสาร เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ อรรถกถา พยานวัตถุได้แก่สถูปเกสเรีย พยานแผนเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกกูเกิลและแผนที่โบราณ ส่วนพยานบุคคลได้แก่ บันทึกจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลยื่นยันความจริงของตอบผลในเรื่องนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากจากพยานหลักฐานเกี่ยวกับสถูปเกสรียาเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนี้ จะเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินทางญาณวิทยาที่สมเหตุสมผล และไม่สงสัยในความจริงของสถูปเกสริยาอีกต่อไป เนื้อหาของบทความในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรในอินเดียและเนปาล สามารถใช้ในการบรรยายได้ ให้แก่ผู้แสวงบุญไทยพุทธและชาวต่างประเทศให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อใช้ในการตีความพระไตรปิฎก เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมเหตุสมผลและเป็นความจริงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างไม่ต้องสงสัย.
4 ความคิดเห็น:
มหาสถูปเกสเรีย แคว้นวัชชี
มหาสถูปเกสเรียวัดความกว้างได้ 1400 ฟุต ส่วนสูง 123 ฟุต
ขณะที่บุโรบุโดนั้นสูงเพียง 103 ฟุตเท่านั้น
สถานที่แห่งนี้ จะเป็นคนละแห่ง กับหมู่บ้านเกสปุตตนิคม ที่อยู่แคว้นโกศล
ระยะทาง เกสเรียอยู่ห่างจากเมืองไพศาลี 55 กิโลเมตร จากเมืองปัตนะ 120 กิโลเมตร จากมุซาฟาร์ปูร์ 75 กิโลเมตร จากโมติหารี 54 กิโลเมตร ตัวสถูปตั้งอยู่บนทางแยกจากเส้นทางจากไพศาลี-กุสินารา เข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
เกสริยา, เกสเรีย (Kesariya, Kesaria)
เกสริยา มหาสถูปเกสริยา (Kesariya Maha stupa) (Champaran) แคว้นวัชชี ปัจจุบัน คือเมืองเขตจังหวัดจัมบารันรัฐพิหาร
เกสริยา มหาสถูป สร้างขึ้นเป็นฐานกลมครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ -๖ และ มีการปฏิสังขรณ์เติมซุ้มคูหาในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เป็นมหาสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย
เกสริยา เป็นสถูปยุคแรกๆ ของพระพุทธศาสนา
ต้นกำเนิดของเจดีย์มาจากอินเดียเรียกว่า “สถูป” ในภาษาบาลี หรือ “ถูป” ในภาษาสันสกฤต แต่เดิมก่อนมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ฝังอัฐิ ใน ในล้านนาเรียกเจดีย์ว่า กู่ เช่น กู่เต้า กู่กุด ต่างจากในภาคตะวันออกเฉียง เหนือนิยมเรียกเจดีย์ว่า ธาตุ
เกสริยาสถูป
สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี เมื่อครั้งพุทธกาลเกสเรียอยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชีและมัลละต่อกัน รัฐพิหารในปัจจุบัน
มหาสถูปแห่งเกสเรีย หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า เกสริยา, เกสเรีย (อังกฤษ: Kesaria, อักษรเทวนาครี: केसरिया)สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี
ในวรรคที่สองกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว
แสดงความคิดเห็น