Introduction to Sankissa, A fascinating city in Buddhaphumi's philosophy

๑.บทนำ
เมืองสังกัสสะเป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่เมืองหนึ่งในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่บนเส้นทางธุดงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหาข้อความเป็นหลักฐานของคำว่า "สังกัสสะ" จากแหล่งของความรู้ในเอกสารพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ เวรัญชกัณฑ์ ข้อ [๒๓].........
.......พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา ตามพระอัธยาศัยแล้ว ได้เสด็จพระดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยะ เมืองสังกัสสะ......
ผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ยุติว่าพระพุทธเจ้าทรงธุดงค์ไปสู่เมืองต่าง ๆ แต่ไม่ธุดงค์เข้าตัวเมืองสังกัสสะแต่อย่างใดเมื่อตรวจสอบอรรถกถาแล้วไม่ปรากฏเรื่องราวของเมืองสังกัสสะแต่อย่างใด และเมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเสด็จมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด แต่กล่าวถึงเนื้อความที่จับใจความได้ว่าพระเรวตกำลังธุดงค์ไปสู่เมืองต่าง ๆ ในชื่อเมืองเหล่านั้นมีชื่อเมืองสังกัสสะ อยู่ด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติเช่นนี้ ผู้เขียนตัดสินใจค้นคว้าพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ โดยกรอกคำว่า "ยมกปาฏิหารย์"พบเนื้อหาในพระไตร ปิฎกฉบับที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ สุตตนิบาต เรื่อง ยมกปาฏิหารย์ กล่าวไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้แก่เทวดาและมนุษย์ที่ประตูสังกัสสนครดังนี้ ในข้อ [๑๘๑] "ท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่าใดใฝ่ใจในฌาน ยินดีในเนกขัมมะ แม้ทวยเทพก็ชื่นชมท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่านั้น ผู้มีสติ ตรัสรู้เองโดยชอบ" ข้าพเจ้าเคยมาสู่เมืองนี้ครั้งหนึ่ง ในสมัยยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่เมืองพาราณสีและไม่ได้กลับมาอีกเลย แต่ผู้เขียนก็ยังสงสัยว่าเมืองแห่งนี้ข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร เมื่อศึกษาเนื้อหาวิชาการในพระไตรปิฎกแล้ว ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่าเมืองสังกัสสนครนั้นเกียวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงโปรด ฯ ให้สร้างเสาหินอโศกมีรูปสิงโต ตั้งอยู่บนยอดเขาไว้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งเพื่อระลึกการพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนตัดสินใจศึกษาที่มาของความรู้และความจริงในเรื่องสังกัสสะ เมืองอันน่าค้นหาในพระไตรปิฎก โดยอาศัยบ่อเกิดความรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวจากพระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกของสมณะจีนที่เดินทางมาสืบหาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการคัดลอกพระไตรปิฎกเอกสารสำคัญต่อการอนุมานความรู้ด้วยเหตุผล เพื่อให้ความจริงปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป
๒. ที่มาของความรู้บ่อเกิดเกี่ยวกับเมืองสังกัสสนคร

๒.๑ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาพระไตรปิฎกมหาจุฬาเล่มที่ ๒๕พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ สุตตนิบาต เรื่อง ยมกปาฏิหารย์ กล่าวไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้แก่เทวดาและมนุษย์ที่ประตูสังกัสสนครดังนี้ ในข้อ [๑๘๑] "ท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่าใดใฝ่ใจในฌาน ยินดีในเนกขัมมะ แม้ทวยเทพก็ชื่นชมท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่านั้นผู้มีสติ ตรัสรู้เองโดยชอบ"
เมื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้เขียนได้เห็นร่องรอยของการเสด็จไปเยือนสังกัสสนครของโคตมพระพุทธเจ้าแล้ว จากพยานหลักฐานที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ที่กล่าวยืนชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยในความจริงของการเสด็จมาเมืองนี้ของพระพุทธเจ้า อีกต่อไปจากข้อความที่ว่าพระองค์ได้ตรัสคาถาแก่เทวดาและมนุษย์ที่ประตูสังกัสสะนคร
๒.๒ ในอรรถกถาใช้อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อ [๒๔] ในคาถาธรรมบทพุทธวรรคเนื้อความในอรรถกถา ข้อ ๒.เรื่อง ยมกปาฏิหารย์ ในความสำคัญว่าพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ) ที่เมืองสาวัตถี ในอรรถกถาได้กล่าวเป็นใจความต่อไปอีก ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ให้แก่ชาวเมืองสาวัตถีดูนั้นทรงนึกคิดขึ้นมาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตนั้น ทำปาฏิหาริย์แล้วไปจำพรรษที่ไหนทรงเห็นว่าไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วพระองค์จะได้โปรดพุทธมารดา.....

๒.๓ จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ในช่วงปี พ.ศ.๙๔๒ ถึง ๙๕๗ นั้น พระภิกษุฟาเหียน ได้เดินทางมาที่ชมพูทวีป เพื่อค้นหาคัมภีร์พระไตรปิฎกได้เดินทางมาที่เมืองสังกัสสนครแห่งนี้เขาได้ค้นพบว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงสร้างวิหารครอบลงเบื้องบันได้นั้นหนึ่งหลัง ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาองค์สูง ๑๖ ศอก เบื้องหลังของวิหารได้ทรงตั้งเสาศิลาขึ้นเสาหนึ่งสูงประมาณ ๕๐ ศอก และมีสิงโตตัวหนึ่งอยู่บนยอดเสานั้น [1]
จากพยานหลักฐานที่กล่าวมาแล้วข้าง ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า เมืองสังกัสสนคร เป็นเมืองหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเบื้องต้นนั้น เป็นพยานหลักฐานในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ และพระไตรปิฎกอื่นอีกหลายฉบับ ได้ยืนยันว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาสู่เมืองสังกัสสนครจริง
บรรณานุกรม
[1] พระยาสุรินทรฤาชัย(จันทร์ ตุงคสวัสดิ์) แปลและเรียบเรียง จากต้นฉบับของศาสตราจารย์เจมส์ เล็กจ์ เจ. แอลแอล.ดี.ผู้เชียวชราญด้านภาษาและอักษรศาสตร์ของจีน. จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ครั้งที่ ๓ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พระนคร พ.ศ. ๒๕๒๒ : หน้า๘๗-๘๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น