The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับภูเขาคิชกูฏอันน่ารื่นรมย์ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Aesthetics problems about the delightful   mountain of Griddhakuta  according to Buddhaphumi's Philosophy

๑.บทนำ 

             ในการศึกษาหาความรู้ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ ในสาขาอภิปรัชญาเป็นการศึกษาปัญหาความจริงภูเขาคิชกูฏเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งที่ตั้งอยู่ในเมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร  สาธารณรัฐอินเดีย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาที่ศากยมุนีพระพุทธเจ้าเสด็จมาจำพรรษาหลายครั้งที่ภูเขาคิชฌกูฏนี้ หลังจากพระองค์ตรัสรู้ (ค้นพบ) กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ที่เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ไม่มีอำนาจของเทพเจ้าอื่นใดมาดลบันดาลให้ชีวิตมนุษย์เป็นไปตามที่ตนพอใจ เป็นความรู้อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ธรรมดาจะรับรู้เองได้  การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณในสังสารวัฏเป็นกฎธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงจากกฎธรรมชาตินี้ได้ไม่ว่าคนนั้นจะเกิดในวรรณะสูงหรือวรรณะต่ำกว่า สถานะทางสังคมเป็นอย่างไร   ก็ถูกกฎธรรมชาตินี้ควบคุม การค้นพบกฎธรรมชาติของศากยมุนีพุทธเจ้าทำให้มนุษย์มีความรู้ว่าพวกเขาสามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตตนให้มั่นคง  ไม่หวั่นไหว ต่อความทุกข์ทรมานของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต  เมื่อชีวิตมีอินทรีย์แก่กล้า    พวกเขาย่อมมีสติ สามารถระลึกถึงความรู้ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมาที่เป็นทั้งความสุขและความทุกข์  มีความคิดเท่าทันเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาของชีวิตตนได้ ก่อนจะตัดสินใจทำอกุศลกรรม อันเป็นละเมิดต่อชีวิตทรัพย์สินผู้อื่น อันผิดต่อกฎหมายอาญา  และผิดศีล ๕  ทำให้จิตวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีวันสิ้นสุด 
     
      ในแต่ละปี จะมีการเดินทางมาแสวงบุญเพื่อปฏิบัติบูชาในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ มีผู้คนพันคนมาแสวงบุญโดยคาดหวังว่า เมื่อได้มาสักการะบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะบรรลุความฝันที่ตนปรารถนาในชีวิต   บางคนไล่ตามความฝันทั้งชีวิตแต่ไม่สามารถบรรลุถึงความฝันได้ ตายไปเสียก่อนก็มี  แต่หลายคนทำความฝันสำเร็จแล้ว แต่ความฝันต่อไปไม่สำเร็จและ สิ้นความหวังต้องตัดสินใจจบชีวิตลงแต่กระนั้นตัวอย่างของชีวิตเขายังมีประโยชน์เป็นอุทาหรณ์ต่อคนที่มีอวิชชามิใช้ชีวิตด้วยความประมาทเช่นคนที่เกิดมาก่อน แต่มนุษย์ทุกคนมีชีวิตต่างกันในทางเศรษฐกิจ ต้นทุนทางสังคม มีหน้าที่การงานไม่เท่ากัน จึงมีความสะดวกสบายและความสุขจากสิ่งรอบตัวต่างกัน เนื่องจากธรรมชาติของจิตใจมนุษย์มีตัณหาต่างกัน บางคนอยากเป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นครูบาอาจารย์ เป็นนักธุรกิจ จึงชอบคิดหาเหตุผลจากสิ่งต่าง ๆ มาผัสสะชีวิตตัวเองได้ต่างกัน  หลายคนเลือกจมปลักอารมณ์ที่ตนชื่นชอบ  แม้ว่าจะเป็นความเหงา ใช้ชีวิตโดดเดียวและเกิดกังวลเพราะไม่รู้จะใช้ชีวิตในวันข้างหน้า และบางครั้งความสมบูรณ์แบบของชีวิตไม่ต้องดิ้นรนนั้น ได้มาโดยเสน่หานั้น ไม่แรงจูงใจให้ตนรับผิดชอบในสิ่งที่ได้มานั้นมีคุณค่าของชีวิต คนประเภทนี้ไปอยู่ไหนไม่ค่อยมีความสุขในการใช้ชีวิตเพราะสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจคือความเหงานั้น ยังติดตามชีวิตตนไปทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาติดตามชีวิตทุกหนทุกแห่ง  

             ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงตัดสินใจศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลเขียนแนวคิดสุนทรียศาสตร์เรื่อง ภูเขาคิชกูฏอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการคิดวิเคราะห์หาคำตอบโดยใช้เหตุผลในคิดหาเหตุผล    จากการรับรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว      คัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา และเอกสารอื่น  ๆ   เป็นต้น 


๒.ที่มาของความรู้บนภูเขาคิชฌกูฏอันน่ารื่นรมย์ 
          ๒.๑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้นิยามคำว่า รื่นรมย์ ที่กล่าวไว้  ได้แปลความหมายว่า สบายใจ บันเทิง ส่วนคำว่า "สบายใจ" แปลความหมายไว้เช่นเดียวกัน คือไม่มีทุกข์มีร้อน  คำว่า บันเทิง หมายถึง เบิกบาน รื่นเริง คำว่า เบิกบาน คือแช่มชื่น สดใส  ส่วนคำว่า รื่นเริง คือ สนุกสนานเบิกบาน เพลิน  

         ๒.๒ สภาพทางภูมิศาสตร์ จากคำนิยามดังกล่าว  เราวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อภูเขาคิชฌกูฏ เป็นภูเขาสูงที่มีความสูงไม่มากนัก บนยอดเขาเป็นพื้นที่ราบสูงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แม้จะมีเนื้อที่ไม่มากนัก   แต่สามารถบรรจุผู้คนที่มาแสวงบุญ ได้เกือบ ๒๐๐ คนในฤดูหนาวจะมีลมเย็น ๆ  พัดสู่ยอดเขาคิชฌกูฏตลอดเวลา     เพราะความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้อากาศร้อนบนยอดเขาคิชฌกูฏลอยตัวสูงขึ้นไปสู่ท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว    อากาศที่เย็นกว่าก็จะพัดเข้ามาแทนที่อากาศร้อนเมื่อเรานั่งปฏิบัติบูชาอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฎ อินทรีย์ ๖ ของร่างกายของเราจะผัสสะกับอากาศเย็นตลอดเวลาในขณะคณะของเราปฏิบัติบูชาด้วยการนั่งสมาธิ หลับตาลง  จิตของเราได้ตัดการรับรู้อารมณ์โลกผ่านอินทรีย์ ๖ของเราได้ง่าย   แม้จะมีอารมณ์โลกจากมนุษย์ได้ผัสสะมากระทบอินทรีย์ ๖ ก็ตาม   เมื่อตัดการรับรู้อารฒณ์โลกได้ ย่อมตัดการที่จิตของคิดปรุงแต่งอารมณ์มาผัสสะให้เป็นไปต่างๆ นานาได้ ที่เป็นความสุขที่พอใจในผัสสะบ้าง  ความทุกข์จากผัสสะอารมณ์โลกที่ตนไม่พอใจบ้าง ทำให้จิตที่เร้าร้อนกระวนกระวายใจนั้น สงบระงับอาการทุกข์เร้าร้อนต่าง ๆ ลงได้อย่างรวดเร็ว      เมื่ออาการภายในจิตสงบเยือกเย็นลงและสภาวะภายนอกร่างกายมนุษย์ ลมบนภูเขาคิชกูฏที่มีอุณหภูมิต่ำลงพัดมาผัสสะร่างกาย จิตของเราขณะปฏิบัติบูชา ชีวิตเราย่อมเกิดมีสภาวะปิติมากขึ้นที่กายของเรา บางคนปิติที่กายมากจนถึงกับร้องไห้ออกมาขณะปฏิบัติบูชาก็มี ความสุขทุกข์เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนจริง ๆ เท่านั้น.   

       
     ๒.๓ พระไตรปิฎก    ภูเขาคิชฌกูฏเป็นภูเขามีบรรยายกาศอันน่ารื่นรมย์    ปรากฎหลักฐานของข้อความที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ฉบับมหาจุฬาฯ ฑีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๑๗๙.ได้กล่าวว่า สมัยหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ณ. ที่นั่นเราเรียกเธอมาว่า ดูกรอานนท์พระนครราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์...อิทธิบาทผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว .... อบรมแล้ว...ผู้นั้นเมือมุงหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัปหรือ เกินกว่า ๑ กัป..... 
      
          เมื่อศึกษาค้นคว้าเหตุผลของความรู้ที่เป็นข้อความกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกแล้ว ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องภูเขาคิชฌกูฏเป็นสถานที่รื่นรมย์  คือ    เมื่อพำนักอาศัยแล้วรู้สึกสบายใจ   ในสมัยพุทธกาล ภูเขาคิชฌกูฏมีความอุดมสมบรูณ์ไปด้วยป่าไม้หลายหลากพันธ์ชนิดเต็มไปหมด  มีสัตว์ป่านา ๆ ชนิดได้พักอาศัยอยู่ในป่าอุดมสมบรูณ์แห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นภูเขาไม่สูงมากนัก  ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์มากนัก พระพุทธองค์ และ พุทธสาวกไม่ว่าจะเป็นพระโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตร นั้นสามารถเข้าบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ได้     เมื่อเราวิเคราะห์ถ้อยคำที่กล่าวในพระไตรปิฎกนั้น      ทำให้ได้เห็นภาพของบุพกิจของพระพุทธองค์  พระอริยสาวกพระโมคคัลลานะออกบิณฑบาตรในเมืองราชคฤห์ในยามเช้า 

           ภูเขาคิชฌกูฎในสมัยพุทธกาลอุดมสมบรูณ์ด้วยป่าไม้และมีสัตว์ป่าจำนวนมากมายอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้กระทั่งถูกล่ามาเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ป่าด้วยกันเอง     เพราะเนื้อหาในพระไตรปิฎกได้กล่าวพระภิกษุลงจากเขาคิชฌกูฏมีการพบเดนเนื้อสิงห์โต เสื้อโคร่ง เสือดาว เสือเหลือง และเนื้อสุนัขป่า ข้อความเหล่านี้เราจินตนาการย้อนไปสู่สมัยพุทธกาลว่าแสดงให้เห็นว่า  การล่าสัตว์เป็นสิ่งที่หาง่ายถึงกับมีการทิ้งซากสัตว์เหลือไว้เป็นเดนจำนวนมาก พระภิกษุที่จำพรรษาในบริเวณยอดคิชฌกูฏลงไปบิณฑบาตรพบเข้าจึงให้อนุปสัมบันหมายถึงสามเณรและคฤหัสถ์นำเศษเนื้อที่เขาชำแหละแล้วทิ้งขว้างเอาเศษเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาประกอบอาหารทำต้มแกงให้พระภิกษุฉัน.

           สถานที่แห่งนี้จึงมีความเงียบสงบสงัด    ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลาในยามค่ำคืน  แม้ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยมากก็ตาม แต่ก็ไม่มีผู้ใดจะเข้ามาที่ภูเขาคิชฌกูฏ  ส่งเสียงดังรบกวน อาจเพราะส่วนหนึ่งบริเวณนี้อาจเป็นป่าช้าเหวทิ้งซากโจรที่ถูกประหารชีวิตแล้วทิ้งลงซอกเขา อาจเป็นอาหารของอีแร้งมาคอยกินซากศพโจรก็เป็นได้ การทำสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ในบริเวณยอดเขาคิชฌกูฏเพื่อพัฒนาศักยภาพของกายและจิตของตนเองตามมรรคมีองค์๘เพื่อให้ได้ความรู้ที่เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ" มองเห็นองค์ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตผ่านอายตนะภายในของร่างกายตนเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของตนเองขณะไปจุติจิตในภพภูมิต่าง ๆ เมื่อเห็นภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซากด้วยการเกิดแก่เจ็บตายและการพลัดพรากจากสิ่งที่รักทำให้เกิดทุกข์ ทำให้จิตความเบื่อหน่ายในการเกิดของตนและหลุดพ้นจากความทุกข์ได้โดยไม่ต้องอาลัยอาวรณ์ในอดีดที่ผ่านมาได้ ภูเขาคิชฌกูฏจึงเป็นรมณียสถานอันน่ารื่นรมย์ให้เกิดความพอใจในการเข้าใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม พระพุทธองค์จึงยกย่องสถานที่แห่งนี้น่ารื่นรมย์.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ