The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในปราสาทบายน


The Problems of Epistemology about   Bodhisattva  in Bayon Castle according to  Buddha Bhumi's philosophy

บทนำ พระโพธิสัตว์      


               เมื่อเราศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในปราสาทบายน  โดยสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ ในปราสาทบายน  เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานที่มีอยู่ในปราสาทแห่งนี้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์ เป็นความรู้ที่นักทองเที่ยวหรือผู้คนทั่วโลกเชื่อโดยปริยายว่ามันมีอยู่จริง แต่ความคิดเห็นที่เราได้ยินจากไกด์และพยานหลักฐานตัวปราสาทนั้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้เราทราบว่าพระโพธิสัตว์ในปราสาทบายนนั้น  ประวัติความเป็นมาคืออะไร ?  ทำให้ผู้เขียนสงสัยในความมีอยู่ของพระโพธิสัตว์และผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อีกต่อไป เพราะตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เล่าสืบทอดกันมา   หรือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี  จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา  เราไม่ควรเชื่อทันทีเราควรสงสัยไว้ก่อน  จนกว่าจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวบพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้  นอกจากนี้โดยธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้   มีอินทรีย์ ๖ มีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้าในชีวิตที่เกิดขึ้นแล้ว  และชอบมีอคติเพราะความไม่รู้ ความเกลียดชัง  ความกลัว และความรักใคร่ชอบพอเป็นการส่วนตัว   เป็นต้น  ทำให้ความคิดเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งขาดความน่าเชื่อไม่อาจยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องได้    

        ดังนั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในปราสาทบายน  พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า อย่าเชื่อความคิดเห็นเรื่องนั้น เราควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้   เนื่องจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ของปรัชญาส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ต้องให้การยืนยันความจริง เพื่อแก้ความไม่น่าเชื่อถือของพยานหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล นักปรัชญาจึงสร้างองค์ความรู้ในเรื่องพยานบุคคล ต้องมีหลักฐานซึ่งเป็นประจักษ์พยาน (eyewitness) มาให้การยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ   


        พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมโบราณ  พระองค์ทรงเชื่อในการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ทรงมีพระเมตตากรุณาและส่งเสริมพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ทำให้แนวความคิดของศาสนาพุทธนิกายมหายานได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ  เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง  และสามารถประยุกต์ใช้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้พึ่งตนเองในการดับทุกข์ในชีวิตได้จึงเป็นที่ศรัทธาของชาวขอมโบราณ ทำให้ความเชื่อในวิถีชีวิตแบบชาวฮินดูเสื่อมลง  เนื่องจากการพึ่งพาเทพเจ้าโดยพิธีกรรมบูชายัญ และใช้เครื่องสังเวยได้แก่วัวควาย  แพะ และแกะหลายร้อยตัว รวมทั้งทรัพย์สิน แก้ว แหวน เงินทอง อื่น ๆ อีกมากมาย และธัญพืชต่าง ๆ และเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เข้าถึงวิธีปฏิบัติได้ยากจำเพาะคนวรรณะสูงเท่านั้น   ทรงสร้างพระนครธมเป็นราชธานีแห่งใหม่ย้ายออกมาจากนครวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางเมืองพระนครในอดีต    ทรงสร้างปราสาทบายนหรือพุทธวิหารบายน ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ตั้งอยู่ในปราสาทประทานเปรียบเหมือนแดนพุทธภูมิ เพื่อใช้ทำสมาธิเป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ไปสู่โมกษะ ทรงสร้างเขตพระราชฐานมีกำแพงล้อมรอบพื้นที่ปราสาทบายน  มีคลองน้ำรอบล้อมเขตพระราชฐานปราสาทบายนเปรียบเสมือนทะเลล้อมรอบแดนพุทธภูมิ เพื่อใช้เป็นสถานที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการหลุดพ้นจากภัยของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ปราสาทบายน (Bayon Temple) เป็นพุทธสถานในพุทธปรัชญามหายานจัดเป็นสถานบำเพ็ญเพียรพระโพธิสัตว์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗.  
          
       คำว่า "พระโพธิสัตว์"  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า "พระโพธิสัตว์" หมายถึงบุคคลผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า      ส่วนคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีดังนี้ 
 
            ๑.มหาปัญญา
            ๒.มหากรุณา  
            ๓.มหาอุบาย [๔]  

           จากหลักธรรมเรื่องคุณค่าของพระโพธิสัตว์เราวิเคราะห์วิถีปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ดังนี้ 

           ๑. มหาปัญญา  หมายความว่า     การปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิเพื่อให้จิตพิจารณาอารมณ์เรื่องราวต่าง ๆ     ที่ได้สั่งสมในจิตมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขยกี่แสนกัปป์  ได้ฟุ้งขึ้นมาในจิตอยู่ในอารมณ์ของการทำสมาธิ  ต้องสติสัมปชัญญะใช้จิตพิจารณาอารมณ์เรื่องราวต่างๆ ที่มีอยู่ในจิตตนให้รู้แจ้งว่า  ชีวิตนั้นมีการเวียนว่ายตายในสังสารวัฏจิตของตนไปปฏิสนธิวิญญาณแล้วไม่รู้กี่ภพภูมิในปราสาทบายนเป็นพุทธสถานสำหรับปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียร เป็นพระโพธิสัตว์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗.  วิธีปฏิบัติของพระองค์ คือการสวดมนต์และนั่งสมาธิภาวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน    เพื่อให้จิตมีอารมณ์เดียวได้บรรลุถึงสัจธรรมของวิถีชีวิตของมนุษย์ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏมาเป็นเวลายาวนานแล้ว   ทำให้เข้าใจถึงชีวิตของตัวมนุษย์ว่าแท้จริงของชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ซ้ำซาก เพราะสาเหตุของกิเลสที่สั่งสมโดยไม่รู้ว่าขาดสิตสัมปชัญญะ 


           ๒.มหากรุณา มีหมายความว่า พระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้แจ้งถึงเป็นพุทธะ   ของความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว   มีจิตเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีขอบเขตจำกัด  พร้อมที่จะเสียสละตนเอง   เพื่อช่วยเหลือสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์   พระโพธิสัตว์ได้รู้แจ้งในสัจธรรมแล้ว  จิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสแล้วก็คิดนำความรู้นี้ไปช่วยเหลือให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย    เพื่อช่วยเหลือให้คนอื่นบรรลุธรรมไปพร้อมกัน  พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สร้างปราสาทบายนเป็นที่ปฏิบัติและฟังธรรมให้แก่พระองค์และประชาชน นอกจากนี้ได้สร้างเศียรพระโพธิสัตว์ชัยวรมันไว้บนปราสาทบายน แสดงรอยยิ้มไว้ด้วยความเมตตากรุณาต่อประชาชนพระพักตร์เหล่านั้นหันไปยังทิศทั้ง ๔  แสดงความกรุณาต่อพสกนิกรของพระองค์ด้วย    

           ๓.มหาอุบาย หมายความว่า พระโพธิสัตว์ต้องมีวิธีการอันชาญฉลาดแนะนำอบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรมได้  พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  ทรงมีวิธีการอบรมสั่งสอนประชาชนของพระองค์ด้วยอย่างชาญฉลาดกล่าวคือ  ทรงสร้างปราสาทบายนเปรียบเสมือนแดนพุทธภูมิเป็นสถานที่ปฏิบัติบูชา ด้วยการสวดมนต์สาธยายคุณของพระโพธิสัตว์ และปฏิบัติบูชาด้วยนั่งสมาธิภาวนาไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ ทรงสร้างปราสาทบายนที่แฝงไปด้วยคำสอนของพุทธศาสนามหายานมีการแกะสลัก     เล่าถึงวิถีชีวิตความเป็นไปของมนุษย์และความเชื่อในพุทธปรัชญามหายานให้ประชาชนได้ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้น เมืองนครธมเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรขอม ตั้งอยู่ในพระราชวังนครธมมีเนื้อที่ประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร ส่วนปราสาทบายนเป็นเทวสถาน ใช้ประกอบพิธีกรรมทางพุทธปรัชญามหายานสำหรับพระมหากษัตริย์   ซึ่งเป็นสมมติเทพในการประกอบพิธีกรรมสวดมนต์เพื่อให้จิตมุ่งมั่นไปแดนพุทธภูมิ  เพื่อปฏิบัติธรรมที่นั้นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ซึ่งเป็นภัยในสังสารวัฏ ปราสาทบายนจึงเปรียบได้กับพระแก้วในพระบรมมหาราชวังของพระราชอาณาจักรไทยแต่ตัวปราสาทบายนไม่มีรั้วรอบขอบชิด แต่ใช้กำแพงพระราชวังนครธมเป็นกำแพงของปราสาทบายน ทำไมปรัชญาศาสนาฮินดูนิกายไศวะหายไปจากจิตใจของชาวขอมแห่งอาณาจักรของขอมโบราณได้เมื่อเราวิเคราะห์ความเชื่อศาสนาฮินดูเกิดจากศรัทธา และประกอบพิธีบูชาพระวิษณุแล้วตนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาก็จะบูชากันต่อไปแต่ในวิถีความเป็นจริงของชีวิตประชาชนในดินแดนแถบนี้นั้น ผู้ปกครองเมืองต่างๆมีการทำสงครามเพื่อแย่งแก่งแย่งชิงอำนาจ เพื่อความเป็นใหญ่ในหน้าของปกครองและกวาดต้อนประชาชนของเมือง ที่พ่ายแพ้สงครามไปเป็นทาสของเมืองอื่นเป็นประจำในทุกยุคทุกสมัย 

           ปัจจัยทางการเมืองเรื่องของกิเลสมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากหลังจากผ่านยุคการปกครองของรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ อาณาจักขอมโบราณแตกแยกออกเป็นอิสระหลายหัวเมือง และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒  ยกทัพไปโจมตีปราบเจ้าเมืองต่างๆ และอาณาจักรจามจนได้รับชัยชนะ พระวิษณุเทพเจ้าแห่งการบูชาก่อนออกรบได้ เมื่อได้รับชัยชนะกลับได้การยกย่องจากเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรม ให้เทพเจ้าเป็นผู้ดูแลรักษาตามเชื่อในปรัชญาศาสนาฮินดูและมีการเฉลิมฉลองพระราชอาณาจักรใหญ่มโหฬารด้วยการสร้างปราสาทหินนครวัด ต่อจากนั้นอาณาจักรแห่งนี้ก็เพื่อแสดงถึงคุณของพระวิษณุที่ส่วนให้ทำสงครามได้รับชัยชนะและเป็นการทำความดีต่อพระองค์ และใช้เป็นสถานที่บูชาสวดสรรเสริญคุณของพระวิษณุโดยใช้แรงงานทาสที่มาจากประชาชนที่ถูกกวาด ต้อนมาจากเมืองต่าง ๆ รวมอาณาจักรจามด้วยจากนั้นในปี ค.ศ. ๑๑๗๗ กษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักจามเข้ามาโจมตี เมืองพระนคร  อาณาจักรขอมโบราณสู้รบกันนานถึง ๔ ปีพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้รับชัยะเหนือกองทัพจามแล้ว ทรงพิจารณาว่าการทำสงครามยาวนานชัยชนะเกิดขึ้นด้วยความปรีชาสามารถในการสู้รบของพระองค์เอง และกองทัพทำให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัย ประกาศชัยชนะด้วยการย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครมาอยู่ที่นครธมทรงตนประกาศตนเป็นพระโพธิสัตว์และสร้างปราสาทบายนในเมืองนครธมเป็นเทวสถานบำเพียร เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในปราสาทบายนในนครธม สร้างโรงพยาบาล สร้างเทวสถาน และบรรณาลัย (ที่เก็บคัมภีร์สวดมนต์) ทั่วราชพระอาณาจักรด้วย. 
         
เหตุปัจจัยจากปรัชญาศาสนาฮินดูสู่พุทธปรัชญามหายาน 


        ๑. การทำสงครามระหว่างอาณาจักรขอมกับอาณาจักรต่าง ๆ ในยุคนั้นเป็นเวลายาวนานนอกจากสงครามกลางเมืองระหว่างเจ้าเมืองด้วยกัน และการโจมตีจากอาณาจักรจาม การทำสงครามเป็นเกมชีวิตย่อมผู้แพ้และผู้ชนะสลับหมุนเวียนเปลื่ยนกันไปทุกคนมีจิตต้องการเป็นชนะไม่มีใครต้องการเป็นผู้แพ้ในการทำสงครามจึงหาวิธีการต่างๆเพื่อให้ตนได้รับชัยชนะ การบวงสรวงบูชาเทพเพื่อออนวอนให้เทวเทพช่วยให้ตนเป็นผู้ชนะ เมื่อตนได้รับชัยชนะจากการทำสงครามก็ยกความดีให้เทพองค์นั้น.  ดังนั้นเมื่อมีความเชื่อเช่นนั้น จิตใจผู้คนที่คาดหวังเป็นผู้ชนะโดยพระวิษณุผู้ดลบันดาลให้ได้รับชัยชนะสงคราม แต่พ่ายแพ้กลับมาบ่อยครั้งจิตย่อมเกิดความชาชินชาชินและเข้มแข็งขึ้น เกิดความคิดพิจารณาว่า การนับถือพระวิษณุไม่ช่วยให้พวกเขาทำสงครามได้รับชัยชนะกลับมามีแต่ความพ่ายแพ้กลับมาหรือได้รับชัยชนะกลับมา เพราะความสามารถของพวกเองต่างหากเหตุผลจากการคิดจากความรู้ประสบการณ์นิยมเหล่านี้ ทำให้ความศรัทธาของชาวเขมรเปลื่ยน แปลงไปย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาในเทวเทพพระวิษณุองค์นั้นคิดหาเหตุผลหาวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จต่อไป

           ๒.การทำสงครามอันยาวนานทำให้ประชาชนชาวเขมรเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะการมัวแต่ทำสงครามทำให้ไม่มีเวลาทำมาหากิน ทำไนา ทำไร่ และปลูกพืชผลทำการเกษตรกรรมเพราะมัวหลบภัยจากสงครามกลางเมืองและสงครามระหว่างชนชาติ นอกจากนี้ยังไปเกณฑ์ทหาร เพื่อทำสงครามอีกด้วยแม้จะมีน้ำท่าจากทะเลสาบเขมร หรือโตนเลสาบล้นฝั่งตลอดฤดูฝนก็ตาม เมื่อประชาชนข้าวปลูกไม่ได้ตามฤดูกาล เพราะภัยจากสงครามทำให้พืชผลทางการเกษตรกรรมขาดแคลนทั่วไปในอาณาจักรขอมข้าวหายากหมากมีราคาแพง ความเชื่อในวิษณุเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรมย่อมเสื่อมลงไป แม้จะเปลื่ยนแปลงไปเป็นเทพผู้รักษาก็ตาม ไม่ได้มีความหมายว่าให้ประชาชนปลอดภัยพ้นจากความลำบาก ของการทำสงครามไม่จึงเป็นเหตุหนึ่งเกิดความเสื่อมศรัทธาในพระวิษณุเทพเจ้าของชาวขอมโบราณ
     
              ๓. การสู้รบบ่อยครั้งตลอดชีวิต  ทำให้ประชาชนไม่อยู่อย่างมีความสุข หลายคนถูกจับไปเป็นทาส ประชาชนขาดอิสระภาพและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต  แต่ปรัชญาพุทธศาสนามหายานสอนให้ผู้คนเข้าถึงอิสระภาพทางจิตด้วยภาวนา เพื่อไปถึงดินแดนแห่งพระพุทธเจ้า  ดังนั้นเทวสถานทุกแห่ง จะมีเขตพระราชฐานชั้นในสำหรับพระมหากษัตริย์  ส่วนนอกเขตพระราชฐานนั้นเป็นของข้าราชบริพารและทาสที่ดูแลเทวสถานนั้น ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมหลังจากสวดมนต์เพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าแล้ว ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าตนเองหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานของชีวิตจากการภาวนา ส่วนในศาสนาฮินดูผู้คนเป็นทาสนั้นพวกเขาไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาสนาฮินดูนั้น เสื่อมถอยลงจากแนวคิดของชาวเขมรแห่งอาณาจักรเขมรโบราณ เป็นต้น        ดังนั้น ความคิดเห็นของมนุษย์จึงเปลื่ยนไปตามปัจจัย  ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ผ่านอินทรียะทั้ง ๖ ของชีวิตจิตใจก็นำความรู้ผ่านประสบการณ์นั้นมานึกคิดพิจารณาไปให้เกิดประโยชน์แก่ตน เหตุปัจจัยที่ทำให้ศาสนาฮินดูเสื่อมไป จากอาณาจักรขอม เพราะปัจจัยสงครามความอดอยากจากสงครามก็มีส่วนทำให้ความเชื่อนั้น เปลื่ยนแปลงไปการนับถือแนวคิดทางพุทธปรัชญามหายานมายาวนานตั้งแต่สมัยฟูนันเจนละ พระนครพอถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา แนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาทเขามาแทนที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนามหายานนับปรากฎการณ์ที่แปลกประหลาดไม่น้อยที่ผู้คนละทิ้งความคิดเดิมที่เชื่อว่า เป็นความจริงมายาวนานหันมานับถือศาสนาใหม่  พระพุทธศาสนาเถรวาทอาจเป็นวิถีการใช้ชีวิตบนพื้นฐานทางปัญญาที่คิดใคร่ครวญและผู้คนมีอิสระภาพมากกว่าการนับถือศาสนาแบบเดิม     ที่ยังแบ่งผู้คนออกเป็นวรรณะต่าง ๆ     และยังมีวรรณะทาสมาคอยรับใช้คนมีอำนาจทางการเมือง  การปกครอง และการเงิน       พุทธศาสนาสอนให้ผู้คนใช้ชีวิตอย่างอิสระ  ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอดจนกระทั่ง ผู้นำเขมรแดงต้องการเปลื่ยนแปลงแนวคิดในการปกครองประเทศและเข้าทำลายพระพุทธศาสนาแล้ว     ได้รับการฟื้นฟูจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้พุทธศาสนา    จึงมั่นคงด้วยการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของชาติ  อีกองค์พระประมุขก็ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็งด้วย.การทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาและศาสนา ไม่ได้มีหน้าสอนในห้องเรียนแต่อย่างใด การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีความหมายต่อการเรียนรู้สำหรับนิสิตและอาจารย์ผู้สอนมาก เพราะว่าเมืองเสียมเรียบ  เป็นดินแดนต้นกำเนิดพุทธปรัชญามหายานที่เผยแผ่แนวคิดมามีอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คนมา  ถึงดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นชัดได้แก่การสร้างปราสาทหินพิมายในอาณาจักรขอมโบราณ ที่เกิดขึ้นยุคสมัยเดียวกันกับปราสาทบายน ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อของพุทธปรัชญามหายานของอาณาจักรขอมโบราณ  ที่แผ่อิทธิพลทางความคิดต่อผู้มีศรัทธามีอาณาเขตครอบคลุมเมืองเสียมเรียบ ทั้งเมืองแล้วยังแผ่อิทธิพลแนวคิดมาถึงอาณาเขตบริเวณอำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีอีกด้วยเพราะในตัวปราสาทหินพิมาย มีรูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ปรากฎในปราสาทหินพิมายแสดงอิทธิพล ความคิดทางพุทธปรัชญามหายานได้ขยายมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ แล้ว เมื่อรู้ว่าต้องเดินทางมาสู่เมืองเสียมเรียบทำให้ฉันเกิดกระตือรือล้นมาก เพราะอยากมาศึกษาหาความรู้ที่กลุ่มปราสาทเมืองเสียมเรียบนี้ด้วย เพราะมีวิชาพุทธปรัชญาสอนในระดับบัณฑิตศึกษาด้วยแนวคิดที่นอกกรอบจากตำราที่ตนได้ศึกษา คือการได้ไปศึกษาในสถานที่จริง ทำให้เรารู้ถึงที่มาของความรู้และทำให้รู้คุณค่าของการปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ และเราสามารถวิเคราะห์หาเหตุผลให้เห็นถึงแก่นแท้ของคำสอนของปรัชญาศาสนาที่ปรากฎเป็นหลักฐานที่มีการแกะสลักหรือจากรึกในส่วนต่าง ๆ ของอาคารปราสาทต่าง ๆ ใน เมืองเสียมราฐเป็นต้น 

๔.แนวคิดพุทธปรัชญามหายานในเมืองเสียมราฐ เมืองเสียมราฐเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ชาวเขมรตกอยู่ในอิทธิพลของแนวคิดในศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็นเวลา ๔๑๕ ปีศาสนาฮินดูได้ปฏิรูปตนเองจากศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาฮินดูด้วยการผสมผสานแนวคิดของศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน ทำให้ฮินดูกลายเป็นศาสนายิ่งใหญ่ในอินเดียมาถึงจนถึงทุกวันนี้แม้จะล้มสลายไปบ้างในดินแดนนอกชมพูทวีปเช่นอาณาจักรขอมโบราณเป็นต้น เมื่อศาสนาฮินดูได้ปฏิรูปตนเองจากศาสนาพราหมณ์แล้ว พุทธศาสนาเถรวาทก็ปฏิรูปตนเอง ให้คฤหัสถ์มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามากขึ้นเพื่อเข้าถึงศรัทธาของญาติโยมได้มากขึ้น ทำให้เราได้เห็นแนวคิดของพุทธศาสนาเถรวาท เป็นพุทธศาสนามหายานอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ทำให้พระพุทธศาสนาแตก แนวคิดของผู้สอนออกเป็นพุทธปรัชญาหลายสำนักด้วยกัน นักปรัชญาศาสนาเชื่อว่าแนวคิดทางพุทธปรัชญามีถึง ๑๘ สำนักด้วยกัน แต่บางสำนักเหล่านั้นก็เสื่อมสลายไปตามเจ้าของสำนัก เพราะไม่มีลูกศิษย์สืบสานแนวคิดจนถึงยุคปัจจุบัน เหลือเพียงแค่คัมภีร์ที่เจ้าของสำนักทิ้งไว้ให้ศึกษาเท่านั้น แต่สำนักพุทธปรัชญาที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้เป็นพุทธปรัชญาเถรวาทและพุทธปรัชญามหายานเป็นต้น   การปฏิรูปศาสนาพรหามณ์เป็นศาสนาฮินดู   ในแง่ของภาพและเห็นเด่นชัดในวิถีชีวิตของชาวฮินดู      ได้แก่อาหารที่รับประทานเมื่อศาสนาพราหมณ์อยากเอาชนะพระพุทธศาสนานั้น  มีวิธีเดียวจะทำได้กล่าวคือเมื่อพระพุทธศาสนาห้ามฆ่าสัตว์ในศีลข้อที่ ๑  แต่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้ามกินเนื้อสัตว์ยกเว้นเนื้อสัตว์ ๑๐    ชนิด  ห้ามมิให้รับประทานเพราะพระภิกษุในพระพุทธศาสนายังชีพโดยอาศัยผู้อื่นด้วยการออกบิณฑบาต และฉลองศรัทธาของชาวบ้านด้วยการรับบิณฑบาตรอาหารที่ปรุงจากผักต่าง ๆ  และเนื้อสัตว์     ไม่มีสิทธิเลือกรับประทานอาหาร ทำให้เกิดข้ออ้างถึงความไม่บริสุทธิ์ทางกาย เพราะยังชีพด้วยการเบียดเบียนผู้อื่น ส่วนพวกฮินดูหันมารับประทานอาหารทำจากแป้ง ผักและถั่วต่างๆ และปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ  เพื่อความบริสุทธิ์ของกายซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิต   ที่มีความสำคัญไม่น้อยทำให้เกิดศรัทธาในศาสนาฮินดูมากมายจากผู้คนในยุคนั้้น    การกินผักเป็นอาหารอย่างเดียวนั้นอาจร่างกายอ่อนแอเพราะกระดูกไม่แข็งแรงทำให้ร่างกายผอมบางมากทำให้ปัญหาเรื่องกระดูกพรุ่น คนอินเดียใช้วิธีการดื่มนมสัตว์โดยเฉพาะวัว  และควายทดแทนเนื้อเป็นอาหาร  ความไม่เบียดเบียนของพวกฮินดู มีแนวความคิดครอบคลุมไปถึงการมีลูกโดยไม่มีการคุมกำเนิดเพราะการทำแท้งเป็นบาป เป็นต้น. 









 ๕.ภักดีโยคะต่อพระเจ้า การแสดงความจงรักภักดีของพระศิวะตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้นวิธีปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ของปรัชญาศาสนาฮินดู คือการสวดมนต์ตามคัมภีร์พระเวทติดต่อกันยาวนานเพื่อสรรเสริญคุณค่าของพระศิวผู้ทำลายดังนั้น เทวสถานทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาศาสนาฮินดูนิกายไศวะจะมีหอบรรณาลัยคำว่า" บรรณาลัย หมายถึงเป็นที่เก็บคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิของศาสนา (๑) เมื่อแนวคิดทางศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อแนวคิดการใช้ชีวิตของผู้ปกครองอาณาจักรขอมโบราณ จึงการก่อสร้างเทวสถานมากมายเพื่อใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ที่เป็นตัวปราสาททุกแห่งในเมืองเสียมราฐเหมือนกับการสร้างวัดในพระพุทธศาสนาทุกแห่งเริ่มแรกสร้างมาความเชื่อที่เป็นความจริงสูงสุดตามแนวคิดทางอภิปรัชญาในปรัชญาศาสนาฮินดูนิกายไศวะ เมื่อการสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระศิวะเป็นเวลายาวนานในแต่ละครั้งจึงเป็นต้องมีสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาคัมภีร์พระเวทที่มีจำนวนมากมายหลายฉบับที่เป็นบทสวดไว้ที่หอบรรณาลัยทั้งสิ้น รายละเอียดเกี่ยวกับปราสาทบายน ล้วนแต่สร้างมาจากความเชื่อของผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดู รายละเอียดของตัวปราสาทล้วนสมมติ เป็นสรวงสวรรค์บนเขาไกลาสอันเป็นเป็นที่อยู่ของเทพในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ โดยปกติการก่อสร้าง ทุกอย่างในเทวสถานที่ตัวปราสาทต่างๆพระมหาราชา หรือพระมหากษัตริย์ถูกสมมติให้สมมติเทพ  การก่อสร้างทุกอย่างเกี่ยวกับวิถีชีวิตของความเชื่อ จะถูกนำมาถ่ายทอดลงเป็นเรื่องราวในศาสนวัตถุนั้นๆด้วยยอดกลุ่มปราสาทบายน นักโบราณคดีหลายท่านกล่าวว่าพระพักตร์บนตัวปราสาทนั้นที่ก่อสร้างเราวิเคราะห์ว่าเป็นรอยยิ้มของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แสดงถึงความเมตตากรุณาต่อประชาชนของพระองค์ พระพักตร์ทั้ง๔ ทิศแสดงถึงพระพักตร์ของพระองค์ทรงหันไปรอบยังทิศทั้ง ๔    มองเห็นไพร่ฟ้าประชาชนในทิศทั้ง ๔ ทั้งนี้เป็นเพราะทรงเป็นสมมติเทพจากสรวงสวรรค์มาช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พระมหากษัตริย์ผู้มีศรัทธาในวิถีจิตแห่งพุทธะ   ผู้มีความเมตตาต่อประชาชนของพระองค์และทรงมีพระมหากรุณาช่วยบำบัดทุกข์และบำรุงสุขแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในทิศทั้ง ๔   ของพระราชอาณาจักรขอมโบราณอันยิ่งใหญ่ ที่กินเนื้อที่มาถึงประเทศไทยในปัจจุบันด้วย ดังนั้นพระองค์จึงหันพระพักตร์ออกไปทอดพระเนตรความเป็นไปของวิถีชีวิตประชาชนทั้งสี่ทิศ พวกเราเดินทางชมผ่านพลับพลาหรือบัลก์ช้างซึ่งเป็นฐานของพลับพลาสร้างด้วยหิน จำหลักเป็นรูปการจับช้างและครุฑยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นสถานที่กษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนามการซ้อมรบและการเฉลิมฉลองต่าง ๆ  
 
จุดที่สวยที่สุดของปราสาทบายน   คือ การถ่ายภาพที่มีความงามทางสุนทรียศาสตร์ที่ติดตาตรึงใจกว่าที่ใครคิดปราสาทบายนมียอดพระปรางค์ทั้ง ๔๙      ยอดด้วยกันแต่ละยอดมีการแกะสลักรูปสลักพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ หน้าไกด์ผู้ชำนาญการอธิบายความรู้เกี่ยวกับในปราสาทเขา  วิเคราะห์น่าจะมาจากพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้มีศรัทธาในปรัชญาพุทธศาสนามหายานได้โปรดให้สร้างปราสาทบายน เพื่อใช้ปฏิบัติธรรมสวดมนต์ของพระองค์เองดังนั้นลักษณะตัวปราสาทจึงคล้ายกับเทวสถานใช้สวดมนต์บูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดูที่แผ่อิทธิพลแนวความคิดมาสู่ผู้คนในดินแดนแทบนี้เป็นเวลาหลายปีรอยยิ้มบนพระพักตร์บนยอดพระปรางค์หันหน้าไปยังทิศทั้ง ๔ เพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนไปยังทิศทั้งสี่ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งในระดับโลกิยะและโลกุตตร

๕. ปราสาทบันท้ายศรี ซึ่งสร้างตอนปลายสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมิน    เมื่อประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคมพ.ศ. ๑๕๑๐  แต่มาเสร็จเอาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๔ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นมา เพื่อถวายพระอิศวรซึ่งถือว่าเป็นเทพยิ่งใหญ่แห่งโลกทั้งสาม      สร้างขึ้นโดยพราหมณ์ยัชญวราหะตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ปราสาทแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่สวดมนต์และประกอบพิธีบูชาไฟเพื่อความเป็นมงคลของชีวิตตามมงคลสูตรที่กล่าวในพระพุทธศาสนาเถรวาท

๖.การบริการจัดการเข้าชมโบราณสถาน เมืองเสียมราฐเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อาณาจักรขอมโบราณ   ช่วงเวลานั้นวิถีชีวิตของผู้ปกครองและประชาชน ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความนึกคิดในศาสนาฮินดูนิกายไศวะ ซึ่งศาสนานี้ได้พัฒนาตนเองจากศาสนาพราหมณ์มาสู่ศาสนาฮินดู        ด้วยอิทธิพลแนวคิดจากพุทธศาสนามหายาน ที่พรหมณ์ศังกราจารย์ได้ไปศึกษาแนวคิดของพุทธศาสนามหายานจากมหาวิทยาลัยนาลันทา แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย หลักการที่สำคัญคือได้แนวคิดของการปฏิบัติบูชาในพุทธปรัชญามหายานมาใช้ศาสนาฮินดู คือการทำความดีของพระศิวะด้วยการปฏิบัติบูชาการนำชีวิตของตนไปสู่ความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนั้น      ไปสู่โมกษะได้การทำสมาธิ หรือปฏิบัติบูชาการสร้างเทวสถานปราสาทบายนเป็นการทำความดีต่อพระศิวะและให้ผู้คนไปใช้สวดมนต์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระศิวะยิ่งเป็นคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เมื่อการปฏิบัติบูชาแล้วทำชีวิตของผู้คนก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ ย่อมเกิดศรัทธาในการทะบำรุงศาสนาฮินดูด้วยการก่อสร้างปราสาทต่างๆเพื่อให้ผู้คนได้สวดมนต์ และปฏิบัติบูชาด้วยการทำสมาธิเพราะฉะนั้นจึงมีการก่อสร้างปราสาทมากมายในเมืองเสียมราฐ เมื่อศาสนาฮินดูได้เสื่อมอิทธิพลลงไปปราสาทเหล่ายังทรงคุณในด้านเป็นโบราณสถาน ที่ผู้คนอยากเที่ยวชมความงดงามด้วยความรู้ และสุนทรียศาสตร์แห่งคงามงดงามอย่าน่าอัศหัศจรรย์ของประเทศกัมพูชา ที่ผู้คนทั่วโลกได้เดินทางมาเที่ยวชมปีละหลายล้านคน เมืองเสียมราฐจึงมีที่โรงแรมที่พักถึง ๑๘๙ แห่งด้วยกัน 

             ดังนั้นการบริการจัดการโบราณสถานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเก็บรายได้ต่าง ๆ มิให้รั่วไหลการเข้าไปเที่ยวชมและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการถ่ายรูป ที่อาจทำภาพลักษณ์ของสถานที่ หรือกิริยาหมิ่นเหม่ต่อศาสนาสิ่งเหล่าล้วนแต่เป็นที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่มองข้ามไม่ได้ซึ่งมีผลต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว ดังนั้นนักท่องเที่ยวเขาถึงทำบัตรเข้าเที่ยวชมในตัวเมืองเสียม ราฐ ๑ วัน      เพียงไปยืนถ่ายรูปและชำระเงินค่าตั๋วเขาชมจากนั้นวันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่ของบริษัทนำเที่ยวก็ติดบัตร สำหรับคล้องคอมาให้ก่อนเข้าสถานที่ก็จะมีหน้าที่มาตรวจบัตรเข้าชมสถานที่เท่านั้น ค่าเข้าชมตัวปราสาทเสียค่าใช้จ่ายถึง ๒๐ ดอลลาร์ ใน ๑ วันเท่ากับ ๔๐ บาทของเงินไทยเท่ากับ๘๐๐บาทต่อปีรายได้ขั้นต่ำ จากการชมปราสาทพุทธศาสนามหายานไม่น้อยกว่าปีละ ๘๐๐ ล้านบาทต่อมาในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ จะขึ้นค่าตั๋วแบบรายวันจาก ๒๐ ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นเป็น ๓๗ ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าตั๋วแบบเหมา ๓ วัน ขึ้นจาก ๔๐ ดอลลาร์สหรัฐ เป็น ๖๒ ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าตั๋วเหมาแบบรายสัปดาห์จาก ๖๐ ดอลลาร์สหรัฐ เป็น ๗๒ ดอลลาร์สหรัฐ ในหนึ่งคนเที่ยวชมปราสาทต่างๆ ในเมืองเสียมราฐ มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๒.๒ ล้านคนรายได้จากค่าเที่ยวชมประมาณการขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๖๒.๕ ล้านดอลลาร์ต่อปีจากคุณค่าของศรัทธาในเทพเจ้ามาการสร้างปราสาทต่างๆมาสู่การเพิ่มมูลค่า ในการเข้าตัวปราสาทในพุทธปรัชญามหายานผู้เข้าชมปราสาททุกคนต้องเข้าแถวตามคิว ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เราจะเป็นบรรพชิตที่เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาอย่างพวกเรา ต้องเข้าแถวทำบัตรชมปราสาทผ่านการสแกนหน้าผู้เข้าชมทำบัตรทั้งหมด การเดินทางมาย่อมคุ้มค่าของชีวิตในฐานะอาจารย์ผู้สอนปรัชญาและศาสนา.  

บรรณานุกรม 
๑.www.m-culture.in.th/album/15637/บรรณาลัย
.http://www.matichon.co.th/news/448802
๓.http://www.royin.go.th/dictionary/ 
๔.เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, หน้า ฑ-ฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ