The metaphysical problems concerning Bayon Castle
บทนำ
ในการศึกษาปัญหาความจริงของโลกตามแนวคิดอภิปรัชญานั้น มีความแตกต่างจากความเชื่อในหลักความรู้ของศาสนาเทวนิยมนั้น กล่าวคือในสมัยก่อนพุทธกาล พราหมณ์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกศาสตร์และนักปรัชญา เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงที่ฟังตามกัน มักจะแสดงความธรรมะ ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามปฏิภานของตนเองตามการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผลก็ตาม แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ผิดบ้าง ถูกบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้างซึ่งเป็นจุดอ่อนของนักปรัชญาในยุคนั้น เมื่อธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาพร้อมไม่รู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร เมื่อผู้คนมีความทุกข์เกิดขึ้นในใจ จำเป็นต้องหาที่พึ่งของตนช่วยปกป้องรักษา เมื่อพวกเขาเคารพ สักการะบูชาผู้อาวุโสในบ้านเมือง จึงไปขอคำแนะนำ ผู้อาวุโสเหล่านั้นให้คำแนะนำแล้ว ต้องเชื่อฟังถ้อยของท่านเหล่านั้นอันเป็นถ้อยคำเมื่อได้ยินควรเชื่อฟัง นำไปใช้เป็นที่พึ่งของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และหาหลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการคาดคะเนความจริงของที่ตนที่ตนเองสงสัยนั้นอีกต่อไป
กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เขียนรับรู้ความมีอยู่จริงของปราสาทบายนผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง เมื่อมาเยี่ยมชมปราสาทบายนเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๕.๐๐ น. ผู้เขียนกับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตระดับปริญญาโทของหลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนาจำนวน ๔๐ รูป/คน ไปทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เมืองเสียมราฐ กัมพูชา โดยคณะของเราออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องจอมตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง ๑๔ นาทีถึงเมืองเสียมราฐเพื่อทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรนี้ เกี่ยวกับวิชาพุทธปรัชญามหายานและวิชาปรัชญาศาสนาฮินดู
เหตุผลที่เดินทางไปยังเมืองเสียมราฐ เพื่อทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรมีการเปิดสอนวิชาพุทธปรัชญามหายานและปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดูติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี การบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาส่วนใหญ่ของพุทธปรัชญามหายาน มาจากตำราเป็นหลักความรู้ของนิสิตมาจากการฟังบรรยายของอาจารย์ผู้สอน การอ่านตำราเอกสารประกอบการสอนเป็นหลักดังนั้น ความรู้ของนิสิตมาจาการอ่านตำราและฟังคำบรรยายของอาจารย์ในห้องเรียนยังไม่เพียงพอที่จะสร้างสร้างความนึกคิดและจินตนาการ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจพุทธปรัชญามหายานได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากนิสิตต้องเข้าใจวิธีการคิดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในแนวคิดทางปรัชญา และเพื่อให้สามารถจินตนาการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในวิถีชีวิตของผู้ศึกษาได้การประสบความสำเร็จในชีวิตของหน้าที่การงานนั้น แค่การทำงานแลกเปลี่ยนเป็นเงินเดือนนั้นยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต การมีทรัพย์เงิน ทอง บ้านตากอากาศ คอนโดมิเนี่ยมและมีทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์มากมายก็ตาม สิ่งเหล่านี้แค่อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเท่านั้นแต่ใช่จะเป็นชีวิตที่มีความสุขแต่อย่างใด เมื่อประสบความสำเร็จมากเท่าใด ย่อมเกิดอัตตามากไม่มีเพื่อนฝูงคบหาย่อมสภาวะซึ่มเศร้าได้ สุดท้ายชีวิตก็ตายอย่างเดียวดายอยู่ดีเมื่อชีวิตมนุษย์ต้องความสุขและความสงบสุขในการใช้ชีวิต การให้จิตจมปลักความทุกข์ที่เกิดจากความผิดพลาดในอดีต ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสในการบำเพ็ญเพียรเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ได้

๓. ปัญหาต้องวิเคราะห์ว่าปราสาทบายน สร้างขึ้น ตามแนวคิดของปรัชญาศาสนาใด ใครเป็นผู้สร้าง เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาข้อมูลพอสมควร เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของเหตุผลจากความคิดของมนุษย์นั้น จุดเริ่มต้นของความเชื่อมนุษย์ในเรื่องเทพเจ้า เทวดา เป็นความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่จะผัสสะ แต่มนุษย์วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาเหตุผลของคำตอบดังปรากฎหลักฐานของข้อความในพระไตรปิฎกหลายฉบับดัวยกัน พุทธปรัชญามหายานนั้น แนวความคิดของความเชื่อว่าเป็นความจริงในปราสาทบายนธรรมชาติของมนุษย์มีความทุกข์เกิดขี้นในชีวิตเสมอเพราะมนุษย์จิตรับรู้สิ่งที่มากระทบอินทรีย์๖ ย่อมเกิดความไม่พอใจ คับแค้นใจสั่งสมเป็นความรู้ในจิตมนุษย์อยู่เสมอ ๆ เช่นเดียวกัน ในขณะมนุษย์มีความทุกข์ เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่จิตมนุษย์ต้องการความเปลื่ยนแปลง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีกว่าเช่นเดียวกันทุกคนมีความเชื่อว่า เป็นความจริงว่ามีเหตุปัจจัยให้ทำตนประสบความสำเร็จในชีวิตเหตุปัจจัยนั้นมากเหตุภายในและภายนอกชีวิต.
๓.๑ ปัจจัยภายนอกได้แก่ สิ่งที่มีอำนาจเหนือตนเองและอยู่เหนือประสาทสัมผัสขึ้นไปได้แก่องค์มหาเทพต่าง ๆที่บันดาลให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งบรรลุถึงความฝันของตนเอง เมื่อเราศึกษาในรายละเอียดของแนวคิดเกี่ยวกับการก่อสร้างปราสาทบายนนั้น เราพบหลักฐานเบื้องต้นว่าปราสาทบายนแห่งนี้สร้างขึ้นมาจากแนวคิดของพุทธปรัชญามหายานที่มีแนวความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีสภาวะของความเป็นพุทธะอยู่ในจิตของตนกล่าวคือมนุษย์ทุกคนสามารถบำเพ็ญเพียรตนเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อจิตบรรลุถึงสภาวะของความเป็นพุทธะได้ ในปราสาทบายนนั้นผู้บำเพ็ญเพียรพระโพธิสัตว์ในปราสาทบายนคือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรเขรโบราณในปี พ.ศ. ๒๗๒๔ ปราสาทบายนเป็นสถานที่แห่งความจริง ตามแนวคิดของพุทธปรัชญามหายานเป็นทั้งศาสตร์และศิลปศาสตร์กล่าวคือ เป็นการจำลองแดนพุทธภูมิเพื่อปฏฺิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์เพื่อจิตรู้แจ้งสู่สภาวะของความเป็นพุทธเพราะในตัวปราสาทประธานบายน จึงเป็นสถานที่สวดมนต์และทำสมาธิเท่านั้นจะนำชีวิตไปสู่ความเป็นพุทธะได้.

๓.๒ เหตุปัจจัยภายในคืออำนาจของพลังจิตของตนที่ผ่านวิธีการพัฒนาศักยภาพ ตามหลักธรรมของความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น โคตมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าการค้นพบกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ของเป็นค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติในทำให้มนุษย์รู้ว่าชีวิตของมนุษย์ เป็นตามกรรมของตนที่ได้ทำไว้ในภพชาติต่าง ๆ ส่งผลให้ตนไปเกิดในภพนั้น ภพนี้หรือภพโน้น ในความรู้เรื่องจุตูปปาตญาณนั้น พระพุทธเจ้าค้นพบว่ามนุษย์มีจิตไปจุติจิตในภพชาติต่าง ๆ และมีจิตมาปฏิสนวิญญาณ (อุบัติ) ในครรภ์มารดา การค้นพบชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิดนั้นทำให้จิตพระโพธิสัตว์ เกิดความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิดเพราะความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทำให้เกิดทุกข์ในทุกภพทุกชาติจิตของพระโพธิสัตว์จึงไม่อยากกลับมาเกิดอีก. ในแง่ของวิทยาศาสตร์ของความรู้ทำให้จิตของเราเข้าใจในแนวคิดของพุทธปรัชญามหายาน มีศรัทธาในการนำความรู้มาพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทำให้จิตใจมนุษย์มีความเข้าใจกรรมในวิถีความเป็นมนุษย์ของตนเองเพราะการเอาใจใส่ในโลกธรรม ๘ มากเกินไปโดยคอยเงี่ยหูฟังว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับตนว่าเขาชื่นชมของการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำงานมีรายได้ทรัพย์สินเงินทองมากกว่าคนอื่นที่จะทำให้ชีวิตของตนเองมีความสุข และได้รับความสะดวกสบาย แต่ในความเป็นจริงของชีวิตแล้ว มนุษย์ยังประสบกับปัญหาของความทุกข์ในชีวิตอยู่โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพทางกายและจิตพบกับสภาวะของการบีบคั้นจากอารมณ์ทางสังคมทำให้จิตของอ่อนแอไม่อาจรับมือได้ ย่อมเกิดความซึ่มเศร้า จิตจมปลักอยู่กับความทุกข์ที่เกิดจากความผิดหวังในสิ่งที่ผ่านมาเป็นต้น.
การเดินทางมาสู่ปราสาทบายนทำให้เรารู้ว่าสถานที่แห่งนี้ เกิดจากแนวคิดจากคำสอนในคัมภีร์พุทธปรัชญามหายาน นำมาบูรณาการกับศาสตร์แห่งการก่อสร้างในยุคสมัยใหม่ ให้เป็นกลายเป็นรูปของเทวสถานอันสวยงาม เหมาะเจาะเหมาะสมพรั่งพร้อมด้วยความหมายของหลักคำสอนปรากฎในตัวอาคารของโบราณสถานปราสาทบายนได้และทำให้เราจินตนาการย้อนหลังไปถึงยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒. ในแง่ประวัติศาสตร์และการบูรณาการแนวคิดไปศาสตร์สมัยโดยเฉพาะวิชาการก่อสร้างโยธา วิชาสถาปัตยกรรม ผสมผสานแนวคิดของวัตถุนิยมและจิตนิยมในพุทธปรัชญามหายานเข้าด้วยกัน เกิดเป็นรูปร่างของปราสาทบายนขึ้น เพื่อใช้เป็นที่บำเพียรของพระโพธฺสัตว์ชัยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรขอมโบราณขึ้นมา เพื่อเข้ามรรคาแห่งความเป็นพุทธะ และตั้งอยู่ในพระราชวังนครธม การก่อสร้างใช้แรงงานของทาสมากมายจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นพลเมืองของเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่แพ้สงครามเพราะไม่ยอมสวามิภักดิ์ ส่งเครื่องบรรณาการต่อกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรขอมโบราณ การเดินทางมาสู่ปราสาทแห่งนี้ที่จิตของผู้เรียนรับรู้ผ่านกระสบการณ์สัมผัสทางหู และทางตาจึงเป็นศึกษาด้วยการใช้จิตของผู้ศึกษา ทำความเข้าใจในเรื่องของพุทธปรัชญามหายานจากตำราเป็นหลัก และนิสิตนึกคิดจากจินตนาการจากตำราเป็นส่วนใหญ่ การเรียนรู้ในสถานที่จริงที่เป็นเทวสถานในพุทธศาสนามหายานและใช้คำสอนจริงจึงเป็นประโยชน์แก่นิสิตมาก

แม้กาลเวลาผ่านไปเกือบพันปีแล้ว มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรือง มีการเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยี่ มีการแชร์ภาพ และเสียงของเรื่องราวเกี่ยวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปราสาทบายนมากมายก็ตาม แต่เป็นประสบการณ์ของคนอื่นมิใช่ประสบการณ์ผ่านอินทรีย์ ๖ ของตน จึงยังไม่ก่อให้เกิดความเชื่อศรัทธาจนกว่าเราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ด้วยตัวเราเองการแชร์กิจกรรมเนื้อหาของความรู้ด้วยภาพของการเคลื่อนไหวในวีดีโอ แต่สีสรรค์ของโลกมนุษย์มีบ่อเกิดที่มาของความรู้ตามหลักของวิชาญาณวิทยานั้นมีที่มาของความรู้ของมนุษย์มี ๖ ทางด้วยกันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและธรรมารมย์ แต่การรับรู้ผ่านไวฟายนั้นเราได้รับความรู้เพียง ๒ ทางเท่านั้นเองคือ ตาและหู ความรู้ที่จิตของมนุษย์ได้น้อมรับยังไม่สมบรูณ์เพียงพอที่จะให้เข้าใจถึงความจริงได้ ขาดความรู้ของกลิ่น อุณหภูมิ และการผัสสะทางกาย ยังทำให้เกิดความสงสัยในความรู้ที่ได้ผัสสะเช่นเดิม ดัง
นั้นการเรียนรู้เรื่องปราสาทบายนจึงจำเป็นต้องไปศึกษาในสถานที่จริงน่าจะเป็นประโยชน์แก่พวกเราในกาารข้ามพ้นความสงสัยในความเป็นของวิถีชีวิตของมนุษย์
การศึกษาแนวคิดปรัชญาและศาสนาในปราสาทต่าง ๆ ของเมืองเสียมราฐ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะหลักความรู้ที่เป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญานั้น จิตของมนุษย์ต้องได้รับผ่านอินทรีย์ ๖ เท่านั้น การรับรู้ในความรู้ผ่านทางตาเกิดความคิดสงสัยว่าสิ่งนั้นคืออะไร และหาเหตุผลอันเป็นที่มาของความรู้เป็นทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยมหรือเหตุผลนิยมหรือไม่เพียงใด ด้วยการคิดหาเหตุผลและจินตนาการของจิตมนุษย์เพื่อหาความจริงโดยการอนุมานความรู้ จึงเป็นความรู้เชิงประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสสำหรับผู้ต้องการความรู้อย่างพวกเราการสอนหนังสืออาศัยความรู้จากตำราต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาแม้จะเป็นการสร้างจินตนาการให้แก่ผู้เรียนก็ตาม แต่ความคิดอยู่ในโลกของมโนภาพค่อนข้างคับแคบเพราะว่าความคิดไม่มีวันจะเป็นความจริงหากไม่นำความรู้นี้ไปลงมือให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา
การศึกษาแนวคิดปรัชญาและศาสนาในปราสาทต่าง ๆ ของเมืองเสียมราฐ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะหลักความรู้ที่เป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญานั้น จิตของมนุษย์ต้องได้รับผ่านอินทรีย์ ๖ เท่านั้น การรับรู้ในความรู้ผ่านทางตาเกิดความคิดสงสัยว่าสิ่งนั้นคืออะไร และหาเหตุผลอันเป็นที่มาของความรู้เป็นทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยมหรือเหตุผลนิยมหรือไม่เพียงใด ด้วยการคิดหาเหตุผลและจินตนาการของจิตมนุษย์เพื่อหาความจริงโดยการอนุมานความรู้ จึงเป็นความรู้เชิงประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสสำหรับผู้ต้องการความรู้อย่างพวกเราการสอนหนังสืออาศัยความรู้จากตำราต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาแม้จะเป็นการสร้างจินตนาการให้แก่ผู้เรียนก็ตาม แต่ความคิดอยู่ในโลกของมโนภาพค่อนข้างคับแคบเพราะว่าความคิดไม่มีวันจะเป็นความจริงหากไม่นำความรู้นี้ไปลงมือให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา
มนุษย์รู้จักคิดมีเหตุผลมากขึ้นจึงมีโอกาสของทางเลือกการใช้ชีวิตหลายทางมีมากยิ่งขึ้นในการประกอบอาชีพ และหน้าที่การงานเหมาะสมกับจริตของตนมากกว่าสมัยก่อนความเป็นอิสระภาพของมนุษย์ปราศจากข้อจำกัด ก็มีมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน ยิ่งมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำลายระบบความเชื่อปราศจากเหตุผลมีมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ไม่ใช้ชีวิตจมปลักกับอดีต ที่ผ่านมาความเชื่อของสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสย่อมเสื่อมลงไปตามลำดับยกเว้นมนุษย์ผู้ขาดการพัฒนาศักยภาพตนเองตามมรรคมีองค์แปดของพระพุทธเจ้าย่อมมีจิตใจอ่อนแอชอบหาที่พี่งภายนอกชีวิตตนความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้และเป็นสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของตนยังเป็นที่จำเป็นสำหรับชีวิตของพวกเขาต่อไปความมีอยู่ของปราสาทบายนนักท่องเที่ยวทั่วโลกสามารถรับรู้ความมีอยู่จริงของปราสาทบายน ด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง เมื่อได้เดินทางไปที่เมืองที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร ซื้อทัวร์ และนั่งเครื่องบินโดยสารจากสนามบินเมืองไปสู่เมืองเสียมเรียบ เป็นต้น นครธมเป็นเมืองที่ตั้งของอาณาจักรขอมเมื่อประมาณ ปีพ.ศ.๑๗๒๐ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรจามซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ได้ยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรขอมทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ตัดสินพระทัยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเสียมเรียบหรือเมืองนครหลวงทรงสร้างเมืองใหม่ชื่อ นครธมเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรนี้และได้สร้างปราสาทบายนไว้ในนครธม (Angkor Thom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น