๑.บทนำ Aesthetics of mind in Mon cham (สุนทรียภาพแห่งจิตมนุษย์ในม่อนแจ่ม)
สุนทรียศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาว่าด้วยความงาม สิ่งที่สวยงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ [๑]จากคำจำกัดความดังกล่าว เราสามารถวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่น่าชื่นชมหรือน่าพอใจในสิ่งที่สวยงามตามธรรมชาติหรืองานศิลปะ ฯลฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้เขียนมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเกี่ยวกับการมีอยู่ของดอยม่อนแจ่ม เมื่อมีโอกาสได้ไปเยือนดอยแห่งนี้ แม้ภูมิประเทศจะไม่น่าประทับใจและสวยงาม แต่ก็เหมาะจะมาพักผ่อนหย่อนใจ เราสามารถใช้ชีวิตโดยปราศจากความเครียดเพราะเรามีสมาธิทำงานตลอดทั้งปี ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนตัดสินใจที่จะเขียนเรื่อง Aesthetics of mind in Mon cham (สุนทรียภาพแห่งจิตมนุษย์ในม่อนแจ่ม) โดยอาศัยการแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเท่านั้น กระบวนการวิเคราะห์ของเนื้อหาข้อความในบทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสุนทรียศาสตร์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในการเขียนบทความเผยแผ่ในโลกออนไลน์ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นทุกวินาที
๒.ที่มาของความรู้ของจิตมนุษย์ในม่อนแจ่ม

มอนแจ่มเป็นสถานที่ตั้งอยู่ในโครงการหลวงหนองหอย สถานที่ตั้งของหมู่บ้านม้งหนองน้อย มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนยอดดอยม่อนแจ่มนั้นเป็นพื้นที่ดินบนภูเขาสูงที่ผ่านการหักร้างถางผงป่าให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรม เนื้อที่กว้างไกลกินเนื้อที่บนภูเขาหลายลูก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าถ้ามองมากยอดเขาทางด้านทิศตะวันตก อากาศที่นี้เย็นตลอดทั้งปีเหมาะทำแปลงการเกษตรกรรมพืชเมืองหนาวเป็นขั้นบันไดได้ พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่จึงใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โครงการหลวงบนดอยซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีถนนคอนกรีตลัดเลาะไปตามไหล่เขายอดดอยม่อนแจ่ม ระหว่างเส้นเดินทางลัดเลาะตามไหล่เขานั้น มองเห็นวิวสองข้างอันสวยงามยาวไกลสุดสายตาจะมองไปถึงที่เป็นแปลงปลูกผักเป็นขั้นบันไดลดลั่นลงไปสู่เชิงเขาเบื้องล่างเป็นระบบระเบียบสวยงามมาก เมื่อผิวหนังของมนุษย์ได้กระทบลมเย็นที่ไหลขึ้นมาจากเชิงเขาม่อนแจ่มจากเบื้องล่างที่ลอยขึ้นมาแทนที่อากาศร้อนบนภูเขาที่ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า

๒.๒ จิตมนุษย์ ความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกภาษานั้น ได้แก่ร่างกาย จิต และเจตสิก สุดท้ายคือนิพพาน ชีวิตของมนุษย์ทุกคนประกอบด้วยกายและจิตต่างเป็นปัจจัยให้เกิดชีวิตขึ้นมา จิตอาศัยร่างกายเป็นที่รับรู้เรื่องราวของโลกผ่านอินทรีย์๖ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ ขณะเดียวกันกายอาศัยจิตแสวงหาอาหารมาหล่อเลี้ยงร่างกายเพื่อดำรงธาตุขันธ์มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกได้ จิตเมื่ออาศัยร่างกายแสวงหาสิ่งใดมาเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย เจอทั้งสิ่งที่ใช่และไม่ใช่ที่มีรสชาติอาหารที่ถูกต้องกับใจของตน เมื่อสัมผัสสิ่งที่พอใจก็เกิดอาการยินดีและพอใจแสดงออกมาทางกายของตนเอง วาจาแสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีพอใจในสิ่งที่หาได้ด้วยความคิดที่เกิดจากเหตุผล แต่ในบางครั้งชีวิตของมนุษย์ ไม่พอใจในสิ่งที่ได้เต็มไปด้วยความทุกข์ในจิตเพราะมนุษย์ทุกคนสัมผัสเรื่องราวต่าง ๆ ตลอดเวลา เมื่อสัมผัสแล้วจิตของตนมีความรู้สึกทางจิตที่พอใจบ้างไม่พอใจบ้างอยู่ตลอดเวลา เรื่องราวเหล่านั้นได้แก่หน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ที่มีความนึกคิดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกับตามความอยากของจิตตน ทำให้คนทำงานต้องเหนื่อยล้ากับการแก้ปัญหาซ้ำซากอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา จิตมีความเครียดกับปัญหาที่ต้องแก้ไข ร่างกายย่อมเหนื่อยล้าไม่มีภูมิต้านทานทางร่างกายให้แข็งแรงต่อไปอีกได้ สุดท้ายก็ล้มป่วยลงเพราะร่างกายพักผ่อน ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเพราะ เพราะขาดสติสัมปชัญญะ แม้จะจิตจะฝืนว่าร่างกายตนเองแข็งแรงก็ตามสุดท้ายต้องหยุดพักเพื่อทำงาน
การได้หยุดพักผ่อนจากการใช้ชีวิตในการทำงานได้พักหลับนอนเพียงชั่วคราว เมื่อหายเหนื่อยล้าก็เดินทางจากไป. หมู่บ้านแห่งนี้จึงจัดเป็นรมณียสถานอันน่ารื่นรมย์ ที่มนุษย์จะแสวงหาความสุขการปล่อยว่างอารมณ์หรือเรื่องราวเกี่ยวกับความเครียดที่มีที่มาจากการทำงานอันเป็นความทุกข์ของชีวิต เป็นต้น กำเนิดแม่น้ำสา และน้ำตกแม่สา เคยเป็นพื้นบนภูเขาสูงที่ราษฏร์ได้เข้าหักถางพงษ์เพื่อใช้ปลูกพืช ทำไร่เลื่อนลอยจนสภาพขาดแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ หมดประโยชน์ที่ปลูกพืชทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป จากที่หักล้างว่างเปล่าจนหมดประโยชน์จนกลายเป็นปัญหา นำมาสู่การคิดพัฒนาม่อนแจ่มให้เป็นที่ปลูกพืชเมืองหนาว เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน พอเพียง พึ่งพาอาศัยตนเองได้ ในยามตนพบวิบากกรรมจนไม่สามารถพึ่งพาอาศัยตนเองได้ จึงมาสู่การพัฒนา ที่ปลูกผักในฤดูหนาวจากแปลงผักในพื้นที่สูงหรือภูเขาสูงเพื่อปลูกผักในฤดูหนาวที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงพระราชดำริของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ ๙ ในศูนย์พัฒนาโครงการหนองหอย.
๓.Aesthetics of mind in Mon cham (สุนทรียภาพแห่งจิตมนุษย์ในม่อนแจ่ม)

การเป็นนักวิชาการทางปรัชญานั้น เมื่อเราได้ยินได้ฟังหรือได้เห็นความจริงผ่านโลกออนไลน์ เราจะใช้จิตตัวเองนึกคิดเอาว่า เป็นความรู้และเป็นความจริงโดยไม่อาศัยประสาทสัมผัสนั้นไม่ได้ยาก ที่จะใช้เป็นเหตุผลอธิบายให้ถึงความจริงให้เป็นปรัชญาได้ เพราะยังขาดองค์ประกอบของความรู้ที่สำคัญในทางปรัชญาโดย กลิ่น รดชาติ อุณหภูมิที่มาสีร่างกาย (โผฏฐัพพะ) ของบรรยายกาศ หูได้ยินเสียงลมพัดในยามค่ำคืน ยากจะเข้าถึงความจริงทางปรัชญาด้วยเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล ในการตัดสินความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของความงามตามธรรมชาติบนดอยม่อนแจ่ม.
บรรณานุกรม
[๑] http://www.royin.go.th/dictionary/สุนทรียศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น