The Metaphysical problems of Phu Chee Fah
(ปัญหาอภิปรัชญาของภูชี้ฟ้า)
บทนำ
โดยทั่วไป นักท่องเที่ยวทั่วโลกมักจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับภูชี้ฟ้า จากนักท่องเที่ยวที่เคยไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ ศึกษาข้อมูลจากแผนที่โลกกูเกิล และอ่านรีวิว (Reviewed) ประสบการณ์จากการเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ในแง่มุมต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มระดับนานาชาติ ซึ่งข้อมูลจากกรมอุทายานแห่งชาติก็ได้ยอมรับความจริงถึงความสวยงามของสถานที่แห่งนี้โดยปริยาย
จนให้ผู้คนเกิดความปรารถนาที่จะมาเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต เพื่อการศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจ คลายความเครียดจากการทำงาน และหันมาใส่ใจกับสุขภาพ ไปนาน ๆ การไปเยี่ยมชมและเก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์ชีวิตไม่ว่าจะรู้สึก ประทับใจหรือไม่ประทับใจ จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความงามของภูชี้ฟ้าโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนี้
ในการศึกษาปัญหาความจริงเรื่องภูชี้ฟ้าถือว่าเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใด เราไม่ควรเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยเสียก่อน จนกว่่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ นักปรัชญาก็ใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้หลักฐานต่าง ๆ หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงแล้ว ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียว ก็ถือว่าไม่น่าเชื่อเพราะมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น และมีความสามารถในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายจำกัด นักตรรกศาสตร์และนักปรัชญามักจะแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองและคาดคะเนความตามหลักเหตุผล อาจให้เหตุผลบางครั้งผิดบ้าง อาจให้เหตุผลบางครั้งผิดบ้าง อาจให้เหตุผลเป็นอย่างนั้น อาจให้เหตุผลเป็นอย่างนี้ ทำให้เกิดข้อเท็จจริงพิรุธน่าสงสัย ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจึงขาดความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
ปรัชญาพุทธภูมิ แบ่งออกเป็นสาขาการศึกษาต่าง ๆ มากมาย คือ อภิปรัชญา, ญาณวิทยา จริยศาสตร์, สุนทรียศาสตร์ และตรรกศาสตร์ เป็นต้น อภิปรัชญาสนใจศึกษาประเด็นเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และการมีอยู่เทพเจ้าเป็นต้น เมื่อนักปรัชญาอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษยชาติ, โลก, ธรรมชาติ, เทพเจ้า เป็นต้น จะต้องมีหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความจริงในเรื่องนั้น
หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ตามหลักวิชาการทางปรัชญาถือว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นถือว่าไม่น่าเชื่อถือ ถ้าเป็นพยานบุคคล (personal witness) ก็ถือไม่น่าเชื่อถือ เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ทางอายตนะภายในร่างกาย และมักมีอคติต่อมนุษย์ด้วยกัน ตามทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์กล่าวไว้ว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมเป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจของมนุษย์เท่านั้น" ดังนั้น จึงเป็นพยานที่น่าเชื่อและสามารถเป็นพยานได้ แต่ความเป็นจริงในปรัชญามี ๒ ประเภท คือ
๑. ความเป็นจริงในระดับประสาทสัมผัส
๒. ความเป็นจริงในระดับเหนือประสาทสัมผัส
เราสามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งสองประเภทได้ดังนี้
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น เป็นความจริงที่มนุษย์ทุกคนสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่รอบตัวมนุษย์ อันได้แก่ วัตถุ, สภาวะ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปในธรรมชาติล้วนเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เช่น ชีวิตมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นโดยปฏิสนธิของวิญญาณในครรภ์มารดา เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจมารวมกันเพื่อสร้างชีวิตมนุษย์ใหม่ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า "สังขตธรรม"
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้นิยมว่า "สังขตธรรม คือ สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์๘ จนจิตบริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากทุกข์ มีจิตใจอ่อนโยนเหมาะแก่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตั้งมั่นในศรัทธาของตนเองและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงต่อตนเอง และผู้อื่น พระองค์ทรงมีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ พระองค์ทรงเห็นว่าชีวิตของมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางการและจิตรวมกันในครรภ์มารดา เป็นต้น
๒.ความเป็นจริงเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง มนุษย์จะบรรลุถึงความรู้ในระดับนี้ต้องผ่านการพัฒนาศัยภาพของชีวิตด้วยวิธีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น จึงจะบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดย่อมไม่เสื่อมสลาย เช่นภาวะของนิพพาน เป็นต้น ความจริงทั้งเนื่องจากความรู้ทางปรัชญาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล พราหมณ์อารยัน เป็นนักปรัชญาคิดวิเคราะห์หลักฐานซึ่งเป็นมนุษย์ด้วยกัน เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในปัญหาเกี่ยวกับความจริงของคำตอบในเรื่องที่สงสัยนั้น

ดังนั้นเมื่อนักปรัชญากล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ก็ต้องมีพยานบุคคลมายืนยันความจริงในเรื่องนั้น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น การศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับภูชี้ฟ้าตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ สถานที่ตั้งของภูชี้ฟ้าเป็นพื้นที่ภูเขาตั้งอยู่บนเทือกเขาฟ้าหม่นมีอาณาเขตกินเนื้อที่เข้าไปสู่ดินแดนของไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในส่วนของเนื้อที่กินอาณาเขตเข้าไปประเทศไทยนั้นตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ตำบลตับเต๋า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ยอดภูชี้ฟ้ายื่นออกจากหน้าผาไปทางฝั่งประเทศลาวที่เอียงประมาณ ๔๕ องศา จะมองเห็นหมอกของก้อนเมฆลอยหน้าของผู้เขียน พร้อมกับอากาศเย็นในฤดูหนาวได้ลอยมาผัสสะผิวหนังของผู้เขียนช่วยให้เรารู้ว่า ภูชี้ฟ้านั้นเป็นรมณียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชีวิตมนุษย์ควรเดินทางไปผัสสะด้วยตนเองเพราะทุกชีวิตมีกิเลสของตัณหาในความอยากมี อยากเป็น อยากได้มาสั่งสมจิตอยู่ตลอดเวลา ได้ปลดปล่อยความเครียดที่สั่งสมในชีวิตของตนเองตลอดเวลาและบีบบังคับจิตวิญญาณให้แสวงหาวัตถุแห่งตัณหา มาสนองความต้องการตนเองและสนองความต้องการผู้อื่นตลอดเวลา เมื่อปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นแล้ว จนกลายเป็นความทุกข์เพราะชีวิตซึ่มเศร้า หงอยเหงา ชีวิตมนุษย์เผชิญความทุกข์ตลอดเวลา ไม่มีสิ่งใดน่ากลัวเท่าการไม่รู้จักปล่อยวางจากการยึดมั่นถือมั่น ในการครอบครองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในชีวิตจนเกินไปไม่ยอมรับจริงที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมนำมาสู่สาเหตุของพฤติกรรมฆ่าตัวเองตาย พฤติกรรมต่อต้านสังคม เป็นต้น
มีเหตุผลใด มนุษย์จึงสมมติชื่อยอดเขาแห่งนี้เรียกว่า "ภูชี้ฟ้า" เพราะ เมื่อเราผัสสะด้วยประสาทตาผู้เขียนเห็นว่ายอดภูชี้ฟ้านั้นมีลักษณะคล้ายกับนิ้วชี้ของมือมนุษย์ที่ยกชี้ขึ้นไปสู่บนท้องฟ้า ที่เรียกว่าจักรวาลอันกว้างไกลเกินไปประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของนัยน์ตาส่วนหนึ่งของร่างกายที่เรียกว่าอินทรีย์๖ของมนุษย์จะรับรู้ได้ถึงขอบเขตของจักรวาล หน้าผาอันสูงชันด้านทิศตะวันออกของภูชี้ฟ้า ภูชี้ฟ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมและมีชื่อเสียงมากเพราะนักเขียนหลายท่านไปรีวิวไว้ในโลกออนไลน์หลายร้อยเว็บไซด์ใแต่ละปีมนช่วงฤดูหนาว จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาสู่มาชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า จำนวนหลายแสนคนด้วยกัน โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาทั้งปี จะมีมากในช่วงฤดูหนาวเพื่อชมความสวยงามของเมฆหมอกที่พัดผ่านภูชี้ฟ้า ในระดับต่ำกว่ายอดภูชี้ฟ้าในฤดูหนาวนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปที่ภูชี้ฟ้า เพราะพวกเขาสามารถเห็นมวลหมอกหนาแน่นลอยพัดผ่านภูชี้ฟ้าตั้งแต่เช้า
เมื่อพวกเขาไปยืนอยู่บนยอดภูชี้ฟ้า มองลงจากหน้าผาลงสู่ที่ต่ำกว่าจะมองเห็นเมฆหมอกลอยในระดับต่ำยอดภูชี้ฟ้า เป็นภาพที่สวยงามมากเริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าแสงอาทิตย์กระทบมวลหมอกเหล่านั้น กายของฉันได้ผลกระทบจากลมหนาวพัดจากหุบเขาอันกว้างไกล จากฝั่งประเทศลาว ความหนาวกระทบผิวหนังของเราย่อมทำให้เกิดสภาวะความสุขเกิดขึ้นในจิตใจของตัวเองได้ ความสวยงามของสถานที่แห่งนี้จึงเป็นจุดเด่นที่ คือมวลภาพของเมฆลอยอย่างหนาแน่นในฤดูหนาว อากาศเย็นสบาย พระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า เป็นทัศนียที่สวยงามเกินกว่าคำอธิบายด้วยเหตุผล ที่มนุษย์จะคิดหามาบรรยายให้เข้าถึงได้เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้เฉพาะตนเอง ถึงจะมีความเข้าใจเมื่อชมความงามที่จิตโน้มออกรับไว้มาประทับไว้ใน จิตความงามนี้ให้ติดตามอยู่ในจิตไปทุกหนทุกแห่งท่ี่ชีวิตมนุษย์ได้เดินทางไปทำให้ผู้คนนิยมออกไปถ่ายรูปตรงหน้าผาของภูชี้ฟ้า เพื่อเก็บความทรงจำไว้ในแผ่นภาพมากกว่าทรงจำไว้ในจิตของตัวเอง และไม่มีความคิดหวาดกลัวบางครั้งพลาดพลั้งตกลงจากหน้าผาก็มีเจ้าหน้าที่จำเป็นจึงขึ้งเส้นลวดยาวเหยียดไว้เตือนสติเราให้ระมัดระวังในการเที่ยวภูชี้ฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น